ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.10/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 6 (62-73) ผูก 9หัวเรื่อง : ศัพปาจิตตีย์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อผู้แต่ง        :   ศิลปากร , กรม ชื่อเรื่อง         :   คำให้การเรื่องทัพญวนในรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่พิมพ์      :   - สถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์      :   อรุณการพิมพ์ ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๙ จำนวนหน้า     :   ๒๑๒ หน้า หมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกกฤษณ์  สีวะรา ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส วันที่  ๒๕  ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙                      คำให้การเรื่องทัพญวนในรัชกาลที่ ๓ เป็นหนังสือที่รวบรวมคำให้การของเชลยญวนที่จับได้จากแผ่นดินเขมร เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์  สิงหเสนี) รับสนองพระบรมราชโองการยกทัพไปรับญวนในตอนต้นรัชกาลที่ ๓  โดยบันทึกจากคำให้การของเชลยที่ส่งมาจากกองทัพอื่นๆและที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์  สิงหเสนี) สั่งให้สอบปากคำหรือที่ถามด้วยตนเองนอกจากจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วยังนับเป็นการสืบต่ออายุของหนังสือให้ยืนยาวต่อไป


 ชื่อผู้แต่ง  : ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย   ชื่อเรื่อง  :  ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๙   ครั้งที่พิมพ์  :  -   สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์  :  เจริญวิทย์การพิมพ์   จำนวนหน้า  :  ๒๘๔ หน้า   หมายเหตุ  :  ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายชวลิลร์ กันตารัติ ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย อันเป็นการรวมเนื้อหาและประเด็นที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นต่างๆ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นจากผู้รู้หลายท่านมาประมวลเฉพาะส่วนที่สำคัญ หรือส่วนที่พอจะอธิบายความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องการละเล่นเหล่านี้


ชื่อผู้แต่ง          ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชื่อเรื่อง          พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๔สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯสำนักพิมพ์     บัวหลวงการพิมพ์ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๒จำนวนหน้า     ๓๐๒ หน้าหมายเหตุ    พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาว ธิติ บุนาค ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส                วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๒                 หนังสือเรื่องพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕  เล่มนี้ กล่าวถึง พระราชประวัติพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราช ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระบรมราชาภิเษก เลียบพระนคร อุปราชาภิเษก เฉลิมศักดิ์ การเกี่ยวข้องกับฝรั่งต่างประเทศ เป็นต้น


          เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง โดยการประกอบเครื่องไม้เป็นส่วน ๆ เช่น ทำฝา ทำหน้าจั่วให้เสร็จก่อน แล้วจึงเตรียมโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เช่น เสา รอด พื้น โครงหลังคา เสร็จแล้วจึงนำส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านั้นมาประกอบกันเป็นเรือน .          เรือนเครื่องสับ หรือเรือนหลังคาจั่ว เป็นเรือนใต้ถุนสูง พื้นยกสูงจนเดินรอดได้ ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือเลี้ยงสัตว์ เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ฝาเรือนเป็นไม้จริง ส่วนมากเป็นไม้สัก ทำเป็นแผง มีหลายแบบ เช่น ฝาปะกน หรือฝาปะกนลูกฟัก ฝาสำหรวด ฝามักสอบเข้าเล็กน้อย หน้าต่างเปิดเข้าด้านใน หลังคาจั่วลาดชัน มุงด้วยจาก กระเบื้อง หรือสังกะสี มีไม้ปิดเครื่องมุงด้านสกัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียก “ป้านลม” (ปั้นลม)           เรือนเครื่องสับมีทั้งแบบที่สร้างเป็นเรือนเดี่ยว ประกอบด้วยเรือนนอน ครัว ระเบียง และชาน หรือสร้างเป็นเรือนหมู่ มีเรือนนอนมากกว่าหนึ่งหลัง มีชานเชื่อมถึงกัน มีเรือนครัว หอนั่ง หรือหอนก เรือนหมู่ เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขยาย หรือเรือนคหบดี หรือผู้มีฐานะทางสังคมสูง          ปัจจุบัน เรือนไทยภาคกลางแบบดั้งเดิมเหลือน้อย แม้มีการสร้างเรือนไทยสำหรับผู้ต้องการสร้างบ้านใหม่ในสมัยปัจจุบัน แต่รูปแบบนั้นเปลี่ยนไปจากแบบแผนเดิม ภาพจาก รูปตัด เรือนทับขวัญ ที่มา ศาสตราจารย์ น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น.,ราชบัณฑิต, ๒๕๓๘ *หมายเหตุ ภาพจากการ scan จากหนังสือตัวอักษรจึงไม่ชัด ผู้เรียบเรียงจึงได้เขียนด้วยลายมือทับเพื่อความชัดเจนของตัวอักษร สรุปและเรียบเรียง : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ที่มาข้อมูล : รวบรวม เรียบเรียง และสรุปจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน” หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 1 พ.ค. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum



โคลนติดล้อ    ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑   สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร   สำนักพิมพ์ :  หจก อรุณการพิมพ์   ปีที่พิมพ์ :  ๒๔๙๘   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย  สมบูรณ์   โคลนติดล้อ                ในการกระทำความติดต่อซึ่งกันและกันในหมู่นานาประเทศนั้น บางทีก็เหลือที่จะแก้ไขป้องกันมิให้เครื่องกีดขาวต่าง ๆ มาติดล้อแห่งความเจริญของชาติได้ ของขีดขวางเหล่านี้ในขั้นต้นก็ดูไม่สู้จะสลักสำคัญอะไรนักแต่ครั้นล่วงเวลาไปก็กลับกลายเป็นของใหญ่โตขึ้นทุกทีจนถึงวันหนึ่งเราจึงรู้สึกว่าแทบจะทนทานไม่ได้


ชื่อเรื่อง : สาวิตรี ความเรียงและบทละครร้อง ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน จำนวนหน้า : 130 หน้า สาระสังเขป : การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ เรื่องสาวิตรี ในรูปแบบความเรียง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักและความภักดีของภรรยาที่มีต่อสามี เมื่อพระสัตยวานถูกพระยมคร่าเอาชีวิตไป นางสาวิตรีผู้เป็นชายาได้วิงวอนขอชีวิตของสามีคืนจากพระยมจนได้ ทั้ง ๆ ที่พระยมไม่เคยละความเที่ยงธรรมเว้นชีวิตผู้ใดเลย แต่ด้วยอำนาจแห่งความรักและความภักดีของนางที่มีต่อสามีทำให้พระยมต้องยอมพ่ายแพ้ และยอมคืนชีวิตพระสัตยวานให้แก่นาง พร้อมอำนวยพรให้อีกหลายประการ ส่วนที่ 2 ของหนังสือเล่มนี้คือ เรื่องสาวิตรี ในรูปแบบบทละครร้อง


THAI CULTURE, NEW SERIES NO. 14 THAI TRADITIONAL SALUTATION BY PHYA ANUMAN RAJADHON


บริษัท ดอคคิวเมเนีย (Documania)จำกัด ผู้ผลิตสารคดีชุด "นักสืบมิวเซียม" ตอน "เรื่องเล่าจากใต้สมุทร"ได้มาถ่ายทำรายการที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี และกองโบราณคดีใต้น้ำ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ "นายชินณวุฒิ วิลยาลัย" ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ นอกจากนี้ยังได้ขอบันทึกวิดิโอสถานการณ์จำลองการทำงานใต้น้ำในสระฝึกดำน้ำเดชพิรุฬห์ของกองโบราณคดีใต้น้ำ โดย "นายณภัทร ภิรมย์รักษ์" ผู้ช่วยนักโบราณคดี เป็นผู้สาธิตการทำงานใต้น้ำ ติดตามชมได้ทางช่องไทยพีบีเอส เร็วๆนี้


ชื่อเรื่อง                     คู่มืออบรม ว่าด้วยโครงการอบรมการอาชีพผู้แต่ง                       คณะกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชนประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   การบริหารจัดการเลขหมู่                      658.3124 ค123คสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์การศาสนาปีที่พิมพ์                    2496ลักษณะวัสดุ               44 หน้าหัวเรื่อง                     การฝึกอบรม – คู่มือภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมบันทึกโครงการอบรมการอาชีพและจัดพิมพ์รายละเอียดเป็นสมุดคู่มือการอาชีพ


          การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙           วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสตอนเหนือเมืองกำแพงเพชรเก่า (เขตอรัญญิก) ได้แก่ วัดกำแพงงาม วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดอาวาสใหญ่ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับกลุ่มโบราณสถานด้านนอกกำแพงเมืองไว้ ดังนี้            มีพระราชนิพนธ์ถึงที่ตั้งของโบราณสถานว่าเป็นพื้นที่สูงและมีพื้นเป็นศิลาแลง และลักษณะการใช้ศิลาแลงในการก่อสร้างกำแพงโบราณสถาน โดยพบว่าที่วัดกำแพงงามยังปรากฏแนวกำแพงที่มีความสมบูรณ์กว่าโบราณสถานแห่งอื่น ๆ “...แล้วจึงไปขึ้นดินสูง ที่สูงนั้นพื้นเป็นแลงทั้งสิ้น...พอขึ้นที่สูงนั้นหน่อยหนึ่งก็ถึงวัดเป็นวัดใหญ่ ๆ แต่ไม่มีชื่อทั้งสิ้น ด้วยเป็นวัดทิ้งอยู่ในป่าเสียแล้ว วัดเหล่านี้ใช้แลงแผ่นยาว ๆ ตั้ง ๒ ศอกเศษ หน้ากว้างคืบเศษฤาศอก ๑ หนา ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว ตั้งเรียงดันเป็นระเนียดมีกรอบแลงเหลี่ยมลอกมุมทับหลังเหมือนกันทุก ๆ วัด แต่วัดที่เขาให้ชื่อไว้ว่ากำแพงงามเป็นเรียบร้อยดีกว่าทุกแห่ง ทีจะทำภายหลังวัดอื่น...”            ข้อความที่บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดพระนอนมีการกล่าวถึงลักษณะที่สมบูรณ์ของเจดีย์ประธานวัดพระนอนไว้ว่า “…จะว่าด้วยวัดพระนอนนี้วิหารใหญ่มาก แต่โทรมไม่มีอะไรอัศจรรย์ ในทักษิณชั้นล่างตั้งสิงห์เบือนเห็นจะมากคู่ แต่เดี๋ยวนี้เหลือ ๒ ตัว ชิ้นกลางเป็นวิหาร ๕ ห้อง...เสาใช้แลงท่อนเดียวเป็นเสา ๔ เหลี่ยมใหญ่ ห้องข้างหน้ามีพระนอน ห้องข้างหลังมีพระนั่ง ๒ องค์ ชิ้นหลังเป็นพระเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม ระฆังกลมรูปแจ้งามมาก เกือบจะสู้พระเจดีย์กลางถนน เมืองย่างกุ้งได้...”            ส่วนพระราชนิพนธ์ที่กล่าวถึงโบราณสถานวัดพระสี่อิริยาบถมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการตั้งชื่อวัดไว้ความว่า “...ตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู...ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า เห็นว่าให้ชื่อว่าวัดพระยืนไม่เข้าเค้า จึงเปลี่ยนให้เรียกว่าวัดพระเชตุพนไปพลาง กว่าจะมีชื่ออื่นดีกว่า เหตุด้วยเมืองสุโขทัยมีวัดเชตุพน บางทีเขาจะตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง...”            โบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ มีข้อความบรรยายเกี่ยวกับรูปแบบของเจดีย์ และลักษณะแผนผังของวัดที่คล้ายกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุของเมืองลพบุรี “…ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์หรือปรางค์อันใดพังเสียหรือไม่แล้ว ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่เป็นฐานเดียวกัน หลาย ๆ องค์บ้าง องค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีและวัดพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมี ข้างหน้าวัดมีสระ ๔ เหลี่ยมกว้างยาวลึกประมาณสัก ๕ วา...น้ำในนั้นมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้ เมื่อเห็นวัดนี้เข้าแล้ว เป็นการจำเป็นที่จะยืนยันรับรองว่าวัดในเมืองจะเป็นวัดพระแก้วไม่ได้เลย ถ้าพระแก้วได้อยู่ในเมืองนี้คงจะอยู่วัดนี้ ใช่จะแต่เฉพาะว่าวัดใหญ่เกี่ยวด้วยกาลเวลาเสียด้วย เป็นอันสันนิษฐานได้ในเรื่องเมืองกำแพงเพชรนี้ ดังที่จะว่าต่อไป”            “เมืองกำแพงเพชรนี้เดิมตั้งอยู่ห่างฝั่งน้ำทุกวันนี้ประมาณ ๑๐๐ เส้น น่าจะมีลำน้ำมาที่ชายเนินแลง ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าเป็นที่ลุ่มน้ำ หรือที่อื่นตลอดจนถึงเวลาพระร่วงเป็นใหญ่ในเมืองสวรรคโลกเป็นเวลาร่วมกันกับมังรายลงมาจากเชียงราย ตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง พวกเจ้านายในเมืองสวรรคโลกกลัวว่าสวรรคโลกล่อแหลมนัด จึงคิดอ่านตั้งสุโขทัยเป็นเมืองหลวงขึ้นอีกเมืองหนึ่ง สวรรคโลกให้ลูกเธอไปอยู่เป็นทัพหน้า ข้างฝ่ายแม่น้ำน้อยนี้จะเป็นด้วยแม่น้ำเปลี่ยนไปก็ตาม หรือเมืองเดิมตั้งอยู่ห่างน้ำก็ตาม พระร่วงหรือวงศ์พระร่วงเห็นควรจะเลื่อนเมืองลงมาตั้งริมน้ำให้ข่มแม่น้ำนี้ จึงมาสร้างกำแพงขึ้นใหม่ให้ชื่อเมืองกำแพงเพชร ทำทางหลวงเดินขึ้นไปสวรรคโลกสายหนึ่ง มากำแพงเพชรสายหนึ่ง เพื่อจะให้เดินทัพช่วยกันได้สะดวก...ด้วยเหตุฉะนั้น เจ้าผู้ครองเมืองกำแพงเพชรจึงย้ายเข้ามาอยู่ในกำแพง ได้สร้างวัดใหญ่ขึ้นแต่วัดเดียว เมื่อองค์อื่นจะสร้างก็สร้างเติมต่อ ๆ ไป จึงไม่มีวัดใหญ่ในกำแพงเมือง วัดในกำแพงต้นทางที่มีพระเจดีย์ซึ่งมกุฎราชกุมารสมมติให้เป็นวัดมหาธาตุ ถ้าจะเทียบกับวัดข้างนอกเมืองเล็กนักเป็นไม่ได้วัดพระแก้วนั้นเล่าพระแก้วก็อยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่พระแก้วจะตกมาอยู่กำแพงเพชรคงจะมาอยู่ก่อนสร้างกำแพงเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้...” จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรวัดในเขตอรัญญิก ได้มีพระราชวินิจฉัยว่าโบราณสถานนอกกำแพงเมืองน่าจะมีอายุเก่ากว่าในกำแพงเมือง และได้เทียบขนาดของโบราณสถานระหว่างในเมืองกำแพงเพชรกับนอกเมืองแล้ว พบว่านอกเมืองมีขนาดใหญ่กว่า โดยเฉพาะที่วัดอาวาสใหญ่ ทำให้มีข้อพระราชวินิจฉัยว่าพระแก้วมรกตหากได้มีการประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรจริง น่าจะประดิษฐานที่วัดอาวาสใหญ่ด้านนอกเมืองแห่งนี้           การเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้ยังประโยชน์ต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองกำแพงเพชรเป็นอย่างมาก ทั้งพระราชวินิจฉัยที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสภาพในอดีตของโบราณสถานในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรบรรณานุกรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๒๖. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙.


  ***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 18     ฉบับที่ 700    วันที่ 16-31 มีนาคม 2536


ชื่อเรื่อง : บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๕   ผู้แต่ง : ไพโรจน์  เกษแม่นกิจ   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว                    บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรราที่ ๑๗ เล่ม ๕ นี้เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาเป็นจดหมายโต้ตอบและรายงานเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจหลายประการซึ่งไม่มีปรากฏในพระราชพงศาวดารของไทยเรา


Messenger