ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,828 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ได้มีการจัดแสดง นิทรรศการถาวรภายในพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ดังนี้๑.พลับพลาจัตุรมุขเป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จัดแสดงเครื่องใฃช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชูปโภคต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก๒.พระที่นั่งพิมานรัตยาจัดแสดงโบราณศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์เก็บรวบรวม ได้แก่ ประติมากรรมที่สลักจากศิลา เช่น เทวรูป และพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี กลุ่มพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา ที่พบในพระพาหาซ้ายของพระมงคลบพิตร และพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีความวิจิตรงดงาม รวมทั้งพระพิมพ์แบบต่าง ๆ ที่พบจากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ประณีตงดงามอีกหลายชิ้น จัดแสดงรวมอยู่ด้วย๓.อาคารที่ทำการภาคจัดนิทรรศการถาวร ๕ เรื่อง คือ๓.๑ ศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยาจัดแสดงโบราณศิลปวัตถุที่เป็นประติมากรรมประดับศาสนสถาน และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ อาทิ เช่น ลวดลายปูนปั้น กระเบื้องมุงหลังคา ยอดนภศูล ใบเสมา สถาปัตยกรรมจำลอง เป็นต้น๓.๒ เครื่องปั้นดินเผา : สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยาจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาโบราณต่างๆ เพื่อส่งเป็นสินค้าออกของไทย เช่น เครื่องถ้วยสังคโลกจากสุโขทัย และจัดแสดงเครื่องถ้วยจากต่างประเทศ เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญในสมัยอยุธยาโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ โถลายครามสมัยราวงศ์หยวนของจีน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐๓.๓ อาวุธยุทธภัณฑ์จัดแสดงอาวุธสงครามสมัยอยุธยารัตนโกสินทร์ ได้แก่ ปืนใหญ่สมัยอยุธยา ลูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดต่าง ๆ ปืนคาบศิลา ปืนก้องไพร ปืนใหญ่หลังช้าง เป็นต้น๓.๔ ศิลปวัตถุพุทธบูชาจัดแสดงศิลปวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในพรุพุทธศาสนา เช่น รอยพระพุทธบาท ตาลปัตร ระฆัง ขันสาคร เครื่องใช้ประดับมุก เครื่องทองเหลือง ตู้พระธรรม สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้น๓.๕ วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับสายน้ำจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนริมฝั่งน้ำในพระนครศรีอยุธยา ที่ผูกพันกับสายน้ำอย่างลึกซึ้งและยังเป็นตัวกำหนดสภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยจัดแสดงโบราณวัตถุ อาทิเช่น โขนเรือม้า เก๋งเรือ เรือจำลองแบบต่าง ๆ รวมทั้งภาพถ่ายสภาพชีวิตริมน้ำของชาวกรุงเก่าในอดีต๓.๖ ห้องที่ระลึกพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)จัดแสดงเป็น ๒ ส่วน๑.ห้องเจ้าคุณเทศาฯ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการปกครองแบบมณฑล เทศาภิบาล และผลงานต่างๆของพระยาโบราณราชนินทร์ที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา๒.ห้องเจ้าคุณโบราณฯ จัดแสดงเรื่องราวกับกับชีวประวัติของพระยาโบราณราชธานินทร์ จัดแสดงสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของดั้งเดิมของพระยาโบราณราชธานินทร์
virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phuphrabat อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทตั้งอยู่บนภูเขาที่ชื่อว่าภูพระบาท ในเขตพื้นที่เมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นเทือกเขาหินทราย อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 320 – 350 เมตร สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีพืชพันธุ์ธรรมชาติประเภทไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบว่าบนภูพระบาทแห่งนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กำหนดอายุได้ราว 2,500 – 3,000 ปีมาแล้ว ดังตัวอย่างการค้นพบภาพเขียนสีอยู่มากกว่า 54 แห่งบนภูเขาลูกนี้ นอกจากนี้ก็ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้างและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ซึ่งร่อยรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขนาดพื้นที่ 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 จากนั้นจึงได้พัฒนาแหล่งจนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในที่สุด และได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรม มีโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 78 แห่ง มีภารกิจหลักในการดูแลรักษา อนุรักษ์และพัฒนา และทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุที่อยู่ภายในพื้นที่อุทยานฯและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งยังเปิดให้บริการในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร
ลำดับ
ชื่อเรื่อง
เล่มที่
ตอนที่
วันที่ประกาศ
หน้า
๑
ระเบียบการกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตและการควบคุมการแสดงละคร
๕๙
๘๐ ง
๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๕
๓๑๑๐
๒
ระเบียบการกรมศิลปากร ว่าด้วยการอบรมศิลปิน
๕๙
๘๐ ง
๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๕
๓๑๑๓
๓
ระเบียบกรมศิลปากร (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ
๗๘
๗๗ ก ฉบับพิเศษ
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔
๒๓
๔
ระเบียบกรมศิลปากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตแสดงโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุให้บุคคลชมโดยเรียกเก็บค่าชมเป็นปกติธุระ
๗๘
๕๔ ก ฉบับพิเศษ
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔
๒๗
๕
ระเบียบกรมศิลปากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่าด้วยแบบบัญชีรายการโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ
๗๘
๑๑๔ ก ฉบับพิเศษ
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔
๓๑
๖
ระเบียบกรมศิลปากร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่าด้วยการขออนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร
๗๘
๑๔๗ ก ฉบับพิเศษ
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔
๓๔
๗
แก้คำผิด ระเบียบกรมศิลปากร ฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓ และ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๔ เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๗๗
๗๘
๘๒ ง
๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๔
๒๒๑๔๙
๘
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๑๓) [แก้ไขระเบียบกรมศิลปากร ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๔]
๘๗
๑๒ ก
๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๓
๕๕
๙
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๖)
๙๐
๑๗๒ ก
๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖
๖๘๙
๑๐
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
๙๕
๙๐ ก ฉบับพิเศษ
๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๑
๓๕
๑๑
ระเบียบกรมศิลปากร ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๒๓ ว่าด้วยการอนุญาตให้ส่งหรือนำโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ที่เป็นปูชนียวัตถุ หรือศาสนวัตถุ ออกนอกราชอาณาจักร
๙๗
๔๑ ก ฉบับพิเศษ
๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓
๓๓
๑๒
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ออกนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐)
๑๐๔
๑๘๒ ก ฉบับพิเศษ
๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๐
๑
๑๓
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเก็บรักษาและการจ่ายเงินกองทุนโบราณคดี พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๐๙
๑๒ ก
๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕
๒๖
๑๔
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการอนุญาตให้โอนโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่มีเหมือนกันอยู่มากเกินต้องการ พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐๙
๙๗ ก
๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
๔๓
๑๕
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการทำบัญชีรายการโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ หรือสิ่งเทียมโบราณวัตถุหรือสิ่งเทียมศิลปวัตถุ พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐๙
๙๗ ก
๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
๔๕
๑๖
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตโบราณสถาน พ.ศ. ๒๕๓๖
๑๑๐
๑๘๓ ก
๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖
๑
๑๗
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในโบราณสถานหรือเขตโบราณสถาน พ.ศ. ๒๕๔๗
๑๒๑
พิเศษ ๑๓๑ ง
๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗
๒๔
๑๘
ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในโบราณสถานหรือเขตโบราณสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
๑๒๒
๑๒๖ ง
๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘
๔
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากร
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2557 เวลา 9.00 น. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย
ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ เลขานุการรัฐมนตรีฯ และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางมาตรวจเยี่ยมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากร โดยมี นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมศิลปากร ร่วมให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะผู้บริหาร ได้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และรับฟัง
ความคืบหน้าโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล
ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดลูกเขย เป็นศาสนสถานก่อด้วยอิฐอยู่บนลานหิน เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่อทึบ ๓ ด้าน เว้นด้านหน้าเป็นประตูทางเข้า ภายในอาคารแต่เดิมสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เนื่องจากได้ขุดแต่งพบชิ้นส่วนของรอยพระบาทอยู่เล็กน้อย ภายนอกอาคารโดยรอบ มีการสกัดเจาะหินเป็นหลุมและหลุมสี่เหลี่ยม พิจารณาจากหลักฐานที่พบซึ่งมีชิ้นส่วนโลหะประเภทที่ใช้สำหรับยึดเกี่ยวเครื่องไม้ จึงสันนิษฐานว่า แต่เดิมด้านนอกน่าจะมีขายคาต่อยื่นออกมาตามแนวของหลุมเสาที่พบนี้
เจดีย์ร้าง
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทละครพูดสลับลำเรื่องวิวาหพระสมุท พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 โปรดให้พิมพ์ประทานเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอบเชย พิพิธสมบัติ ณ ฌาปนสถาน วัดธาตุทอง วันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2509
พระนคร
โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
2509
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19
กรมศิลปากร งดให้บริการหอสมุดแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และโบราณสถานที่มีการเก็บค่าเข้าชมทุกแห่ง
ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม - 25 เมษายน 2563
ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ สถานที่ที่ปิดให้บริการ คือ
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์*
2. โบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ
3. โบราณสถานปราสาทบ้านพลวง
ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
*หมายเหตุ สามารถติดต่องานราชการได้ตามปกติ ตามวันเวลาทำการค่ะ งดให้บริการเฉพาะส่วนห้องจัดแสดงเท่านั้นค่ะ
วัสดุ ดินเผา
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 2,500 – 1,000 ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ ได้จากการขุดค้นบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสำนักงานศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี เมื่อ 22 พฤษภาคม 2545
ภาชนะอุทิศ เป็นภาชนะดินเผาที่ใช้ในการประกอบพิธีปลงศพให้กับคนตาย โดยอาจให้ผู้ตายนำติดตัวไปใช้ในโลกหลังความตาย หรือเป็นเพียงการมอบสิ่งของให้แก่ผู้ตายเพื่อไม่ให้ผู้ตายวนเวียนกลับมารบกวนแก่ผู้มีชีวิตอยู่ โดยภาชนะอุทิศจะกลบฝังไปพร้อมกับศพ
จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี 2545 ในชั้นวัฒนธรรมสมัยที่ 2 (ประมาณ 2,500 – 1,000 ปีมาแล้ว) ระยะที่ 1 ภาชนะอุทิศที่พบเป็นหม้อทรงกลม ปากโค้งออก ไหล่ลาดหรือโค้งเล็กน้อย ลำตัวป่องโค้งเป็นวงแคบ ก้นกลมหรือก้นแหลม รูปทรงคล้ายบาตรพระ ผิวสีนวล เนื้อดินในสีดำ พบร่วมกับการฝังศพแบบนอนเหยียดยาว เป็นสมัยที่เริ่มพบการฝังศพครั้งที่ 2 (Secondary burial) แบบที่ใส่และไม่ใส่ภาชนะ โดยภาชนะฝังศพในระยะนี้จะวางในแนวตั้ง ด้านบนปิดครอบด้วยภาชนะทรงอ่างที่ตกแต่งด้วยลายปั้นแปะเป็นเกลียวเชือกใกล้บริเวณขอบปาก
การตกแต่งภาชนะอุทิศแบบหนึ่งที่พบคือ บริเวณปากถึงคอภาชนะจะเขียนสีแดงทึบหรือเรียบไม่ตกแต่ง บริเวณไหล่เว้นช่องว่าง แล้วตกแต่งด้วยการเขียนสีเป็นเส้นตรงแนวนอนขนานกันโดยรอบ และคั่นด้วยเส้นเฉียงคล้ายเป็นลายสามเหลี่ยม ส่วนบริเวณลำตัวจนถึงก้นทาน้ำดินสีแดง จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเมืองบัว ได้พบการตกแต่งภาชนะอุทิศในลักษณะนี้จำนวน 8 ใบ
ชื่อวัตถุ สถูปดินเผาจำลอง
ทะเบียน ๒๗/๑๕๓/๒๕๓๒
อายุสมัย สมัยศรีวิชัย
วัสดุ ดินเผา
ขนาด สูง ๔.๕ เซนติเมตรกว้าง ๔.๕เซนติเมตร
แหล่งที่พบ พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี ควนสราญรมย์ (ควนพุนพิน, ควนท่าข้าม) ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“สถูปดินเผาจำลอง”
“สถูป” มีพัฒนาการมาจากเนินดินฝังศพหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญ สำหรับการสร้างสถูปในศาสนาพุทธมีกล่าวถึงในคัมภีร์มหาปรินิพพานสูตรว่า เป็นพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าซึ่งให้สร้างสถูปเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเพื่อเป็นสถานที่ให้ชาวพุทธได้สักการบูชา ต่อมาได้มีการทำสถูปจำลองขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ดังที่ได้กล่าวถึงในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเดินทางมายังอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ ว่าประชาชนจะสร้างสถูปจำลองเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ดังได้พบสถูปดินเผาจำลองที่นาลันทาและพุทธคยา
ในประเทศไทยพบสถูปจำลองที่เมืองโบราณสมัยทวารวดี เช่น เมืองโบราณนครปฐม และเมืองโบราณคูเมือง ส่วนในภาคใต้พบสถูปจำลองในถ้ำในเขตจังหวัดยะลาและพบในโบราณสถาน เช่น แหล่งโบราณคดีควนสราญรมณ์(ควนพุนพิน/ควนท่าข้าม) และวัดหลง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่เมืองโบราณยะรังได้พบสถูปจำลองเป็นจำนวนมาก สถูปจำลองในภาคใต้ส่วนใหญ่พบทำจากดินมีทั้งดินดิบและดินเผาและทำจากหิน พบ ๒ รูปแบบ คือ
สถูปจำลองที่มีลักษณะองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำและส่วนยอดซ้อนกันคล้ายฉัตร สถูปจำลองที่มีลักษณะองค์ระฆังคล้ายโอคว่ำและส่วนยอดเป็นกรวยแหลม การพบสถูปจำลองทั้งในภาคกลางและภาคใต้แสดงให้เห็นถึงคติในการทำสถูปจำลองเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาซึ่งเป็นคติที่รับมาจากอินเดีย อมรา ศรีสุชาติ เสนอข้อคิดเห็นว่า การพบสถูปจำลองเป็นจำนวนมากที่เมืองโบราณยะรังเป็นหลักฐานของการนับถือศาสนาพุทธมหายาน นิกายไจตยะหรือเจติยวาท อันเป็นนิกายที่เน้นการบูชาเจดีย์ซึ่งมีหลักธรรมคำสอนที่สำคัญว่าการสร้างเจดีย์ การประดับเจดีย์ และการบูชาเจดีย์เป็นบ่อเกิดแห่งบุญอันใหญ่หลวง “สถูปดินเผาจำลอง” จึงเป็นหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่แสดงถึงคติในพระพุทธศาสนาของคนในภาคใต้
เอกสารอ้างอิง
- นิตยา กนกมงคล. “สถูปทรงหม้อน้ำ ศิลปะทวารวดีที่พบในเขตภาคกลางของประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศษสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
- ผาสุขอินทราวุฒิ. “คติความเชื่อของชาวพุทธในรัฐทวารวดี,” เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่องพัฒนาการทางโบราณคดี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ อักษรสมัย, ๒๕๔๒.
- อมรา ศรีสุชาติ. “ยะรัง : ชุมชนโบราณ,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ (๒๕๔๒): ๖๒๔๕ – ๖๒๕๘.
โครงการพัฒนาบุคลากรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
กิจกรรม "การอบรมเชิงปฏิบัติการการอนุรักษ์และจัดเก็บโบราณวัตถุประเภทโลหะ"
สถานที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ติดต่อ : -
สำหรับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีเท่านั้น