ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ประเทศไทย เริ่มต้นกันที่ประเทศไทยก่อนเป็นที่แรก โดยปีนี้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (เนื่องจากปีนี้มีเดือน 8 สองหน จึงต้องเลื่อนไปเป็นเดือน 7 แทน) หรือวันที่ 26 พฤษภาคม โดยทั่วไป รัฐบาลจะประกาศให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา โดยในช่วงเช้าประชาชนจะนิยมเข้าวัด ทำบุญตักบาตร และฟังธรรมเทศนา และช่วงค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถ วิหาร หรือเจดีย์ บางครั้งทางวัดหรือหน่วยงานต่างๆ อาจมีการบวชพระสงฆ์และสามเณร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วยค่ะ . ในภาคท้องถิ่นแต่ละจังหวัดอาจมีกิจกรรมที่พิเศษนอกเหนือจากการเข้าวัดทำบุญ และเวียนเทียนทั่วไป อย่างเช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการจัด “ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ” ชาวเชียงใหม่จะเดินเท้าขึ้นดอยสุเทพกันตั้งแต่ช่วงค่ำในคืนก่อนหน้าวันวิสาขบูชา โดยจะมีการตั้งขบวนแห่น้ำสรงพระธาตุ มีขบวนฟ้อนรำนำหน้าไปตามถนนทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าของวันวิสาขบูชาประชาชนก็จะไปการนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ และทำบุญตักบาตรก่อนเดินทางกลับ การเดินเท้าขึ้นไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพนี้ ชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่าเป็นบุญกุศลมากและเป็นกิจกรรมที่ “ควรทำ” อย่างน้อยสักครั้งในชีวิต



องค์ความรู้ เรื่อง แผ่นเงินดุนรูปธรรมจักร จากเมืองโบราณกันทรวิชัย เรียบเรียง/ภาพ : นางสาวกรกช พาณิชย์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น 


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๓๙๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ผู้บัญชาการกรมศิลปากรพระองค์แรก          พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก          ในรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการมีตำแหน่งในออดิตออฟฟิศ พนักงานตรวจบัญชีเงินพระคลัง ทรงรับหน้าที่จัดการพระที่นั่งและพระราชวังบางปะอิน ทรงคิดแบบอย่างสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๑๘ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ โปรดให้เป็นราชทูตสยามประจำ ณ กรุงลอนดอน และอเมริกา ครั้นพุทธศักราช ๒๔๒๙ เป็นคอมมิตตีผู้ ๑ ใน ๔ บังคับการตำแหน่งเสนาบดีกรมพระนครบาล เมื่อตั้งเป็นกระทรวงนครบาลในพุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้เป็นเสนาบดีกระทรวงนั้น ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๓๗ เป็นรัฐมนตรี แล้วเลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๕๐ เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ          ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้เป็นผู้จัดการพระราชพิธีต่างๆ เช่น การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญชาการสร้างพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ครั้นพุทธศักราช ๒๔๕๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร เป็นสมุหมนตรี และเสนาบดี กระทรวงมุรธาธร เป็นเสนาบดีที่ปรึกษา          เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลป์ไว้ส่วนหนึ่ง และให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการมารวมกันตั้งขึ้นเป็นกรมศิลปากร มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน ในครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร เป็นผู้บัญชาการกรมศิลปากรอีกส่วนหนึ่งด้วย         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๖๘ สิริพระชันษา ๗๑ ปี เป็นต้นราชสกุล กฤดากร   ภาพ : มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๔ เรื่อง “ผ้าพระบฏ : พุทธศรัทธาบนผืนผ้า” ระหว่างวันที่ ๑๖ มิถุนายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔            นิทรรศการนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าพระบฏ อันเป็นมรดกศิลปกรรมทางศาสนาที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชและประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์หวงแหนมรดกศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น            รูปแบบของนิทรรศการประกอบด้วยนิทรรศการพิเศษ จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และวีดิทัศน์ประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ผ้าพระบฏ : พุทธศรัทธาบนผืนผ้า” จำนวน ๒ ชุด เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช : Nakhon Si Thammarat National Museum          ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ผ้าพระบฏ : พุทธศรัทธาบนผืนผ้า” ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๕๓๔ ๑๐๗๕




เลขทะเบียน: กจ.บ.1/1-7:1ก-5ก,5ข,7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมสงฺคิณีปริจฺเฉท พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 326


     แผ่นอิฐปิดทองคำเปลว จำนวน ๒ แผ่น จัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      อิฐแผ่นที่ ๑ กว้าง ๑๖ เซนติเมตร ยาว ๓๕ เซนติเมตร หนา ๖.๕ เซนติเมตร อิฐมีเนื้อละเอียด มีการขัดผิวบริเวณด้านหน้าและด้านข้างทำให้ผิวเรียบ ด้านหลังมีผิวหยาบปรากฏร่องรอยแกลบข้าวในเนื้ออิฐ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐในสมัยทวารวดี ด้านหน้าของแผ่นอิฐปิดทองคำเปลวเป็นแถบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบางส่วนชำรุดหลุดร่อนออกเห็นคราบสีขาว สันนิษฐานว่าเป็นกาวหรือยางไม้ ที่ใช้ปิดทองคำเปลวเข้ากับแผ่นอิฐ ร่องรอยลักษณะนี้ยังปรากฏบนส่วนขอบผิวด้านหน้าและด้านข้างของแผ่นอิฐด้วย      อิฐแผ่นที่ ๒ กว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๓๒.๕ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร  อิฐมีเนื้อละเอียด ผิวด้านหน้าและด้านข้างเรียบจากการขัดผิว ด้านหลังไม่มีการขัดผิวทำให้เห็นร่องรอยแกลบข้าวในเนื้ออิฐ ด้านหน้ามีร่องรอยการตีตารางสี่เหลี่ยมจำนวน ๔ แถว ๆ ละ ๑๐ ช่อง ทำให้เกิดช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน ๔๐ ช่อง บางช่องมีร่องรอยคราบสีขาวที่อาจเป็นกาวหรือยางไม้ และบางช่องมีการปิดทองคำเปลวเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจมีทองคำเปลวปิดไว้ทุกช่องก็เป็นได้ อิฐทั้งสองแผ่นนี้ผลิตขึ้นด้วยฝีมือประณีตแตกต่างจากอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป ทั้งยังมีการปิดแผ่นทองคำเปลว ซึ่งถือเป็นวัสดุมีค่า จึงสันนิษฐานว่าอิฐทั้งสองแผ่นนี้อาจสร้างขึ้นเพื่อเป็น “อิฐฤกษ์” ที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมเมื่อเริ่มก่อสร้างศาสนสถาน เพื่อให้พื้นที่เกิดความเป็นสิริมงคลและความศักดิ์สิทธิ์ โดยคติการวางฤกษ์ปรากฏมาแล้วในอินเดีย และส่งอิทธิพลให้ชาวพื้นเมืองทวารวดี กำหนดอายุแผ่นอิฐทั้งสองในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว       ปรากฏหลักฐานการวางอิฐฤกษ์ที่โบราณสถานในเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง โดยอิฐฤกษ์ที่พบมีรูปแบบแตกต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ การผลิตด้วยฝีมือประณีต และมีการตกแต่งผิวหน้าอิฐ ได้แก่ อิฐฤกษ์เขียนสีเป็นรูปลายก้านขดและลายเรขาคณิตพบจากเจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อิฐฤกษ์จำหลักลายพรรณพฤกษา ลายก้านขดและลายเรขาคณิตพบจากเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม อิฐฤกษ์ปิดทองคำเปลวพบจากโบราณสถานที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และ อิฐฤกษ์ปิดทองคำเปลวพบจากโบราณสถานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้น   เอกสารอ้างอิง วิภาดา  อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.



ชื่อเรื่อง                                นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมัค) สพ.บ.                                  275/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--ปกรณ์พิเศษ                                           พุทธศาสนา--คัมภีร์ บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          การทอผ้านับเป็นภูมิปัญญาของชาวสยามมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะเมืองจันทบุรีมีการทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองกันแพร่หลาย ดังพระราชหัตถเลขาพระพุทธเจ้าหลวงคราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเมื่อ พ.ศ.2419 ว่า...เมื่อวานนี้เราซื้อผ้าได้ที่บางกระจะ...ซึ่งผ้าที่พระองค์ทรงซื้อจากราษฎร ได้พระราชทานให้ผู้ติดตามและทหารตามเสด็จฯนั้นเป็นผ้าตาสมุกไหม ผ้าตาสมุกด้ายแกมไหม และผ้าพื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้มีพระราชนิพนธ์ชื่นชมผ้าไหมเมืองจันทบุรีว่า"ดูงามดีนัก"           การทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองของชาวจันท์ มีเทคนิคการย้อมผ้าด้วยการผสมสีจากเปลือกไม้หรือแก่นพรรณไม้ หรือวัสดุพื้นบ้านธรรมชาติ ทำให้สีคงทนอยู่ได้เป็นร้อยปี จากชื่อเสียงที่โด่งดังในการทอผ้าของคนไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงมีดำริที่จะบันทึกไว้เป็นตำรา จึงได้มีท้องตรามายังมณฑลต่างๆรวมทั้งมณฑลจันทบุรีให้รายงานสีสำหรับการย้อมด้ายและไหม           จากเอกสารจดหมายเหตุได้ระบุไว้ว่าชนิดของสีธรรมชาติที่ใช้ย้อมด้ายและไหมของมณฑลจันทบุรี มีความหลากหลายกว่ามณฑลอื่นๆ ได้แก่สีเหลือง ทำด้วยเปลือกมะพูด สีน้ำตาล ทำด้วยแก่นแกแล สีเขียว ทำด้วยเปลือกมะพูดกับผงคราม สีหมากรุก ทำด้วยเมล็ดลูกคำ สีแดง ทำด้วยครั่งไทยและใบโรงทอง สีช็อกแกแร้ต ทำด้วย เปลือกโปรง สีดำ ทำด้วยลูกมะเกลือ สีน้ำเงินคราม ทำด้วยใบคราม สีม่วง ทำด้วยครั่งไทยกับใบคราม (ภาษาที่ใช้ตามต้นฉบับ :ผู้เขียน)           ซึ่งสีธรรมชาติเหล่านี้เป็นพันธุ์ไม้ที่ส่วนใหญ่หาได้เฉพาะถิ่นในเมืองจันทบุรีเอง ส่วนจังหวัดตราดและจังหวัดระยองมีรายงานมาว่า จังหวัดระยองมีการย้อมผ้าด้วยมะเกลือเพียงเล็กน้อย ส่วนจังหวัดตราดไม่มีการย้อมผ้าเองเลย ///ผู้เขียนเห็นว่าเทคนิคการย้อมผ้าโบราณด้วยสีธรรมชาติน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะฟื้นฟูการทอผ้าพื้นเมือง และการย้อมผ้าด้วยภูมิปัญญาของบรรพชน ย่อมมีโอกาสในการสร้างมูลค่าและคุณค่าในวงการทอผ้าต่อไป--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ --------------------------------------------------------------------อ้างอิง เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์.(13)มท2.5/29เรื่อง ให้สอบสวนการย้อมผ้าสมัยโบราณราชบัณฑิตยสภา.[14 ต.ค.-10 ธ.ค.2473].


งองขูดมะพร้าว       งองขูดมะพร้าวหรือแมวขูดมะพร้าว คนภาคกลางเรียก กระต่ายขูดมะพร้าว แต่คนล้านนาเรียก “งอง” ซึ่งเรียกตามลักษณะของเหล็กที่ใช้ขูด มีรูปงอ ฟันเหล็กเป็นซี่ ๆ “กองงอง” มีใช้กันทั่วไป ตัวฐานทำจากไม้สัก มีไว้สำหรับนั่ง แกะขาด้านหนึ่งสูง ด้านหนึ่งต่ำ แล้วเจาะรูสำหรับใส่เหล็กขูดในด้านที่สูงกว่า แล้วตกแต่งให้เหมือนรูปสัตว์ เช่น แมว กระต่าย       แมวขูดมะพร้าวเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่จำเป็น ยิ่งในงานบุญมักใช้เพื่อขูดมะพร้าวทำอาหารทั้งคาวและหวาน แต่ปัจจุบันหาได้ยากแล้ว เนื่องจากหากต้องการมะพร้าวจะไปซื้อที่โม่สำเร็จกันในตลาด หรือไม่ก็ใช้นมสดปรุงอาหารแทนกะทิภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง : ศรีเลา เกษพรหม.เครื่องใช้ล้านนา.“แมวขูดมะพร้าว” (Online). http://www.sri.cmu.ac.th/~elanna/elanna51/misc/misc1-14.html,สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๔.


ชื่อเรื่อง                   ประวัติพระยาพิพิธสมบัติผู้แต่ง                     -ประเภทวัสดุ/มีเดีย     หนังสือหายากหมวดหมู่                 ประวัติศาสตร์เลขหมู่                    923.2593 พ722ปสถานที่พิมพ์             พระนครสำนักพิมพ์               โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจปีที่พิมพ์                  2498ลักษณะวัสดุ             22 ซ.ม. 172 หน้า.หัวเรื่อง                   ชีวประวัติ                             เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพม่า ภาษา                     ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือชีวประวัติของมหาอำมาตย์ พระยาพิพิธสมบัติ (ดาบ กุวานนท์)  และตามด้วยเล่าเรื่องเที่ยวเมืองพม่า (บางตอน) พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.196/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 47 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 108 (133-140) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต(อักกรวัตตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger