ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อเรื่อง                     วินยสิกขาบท (วินัย)สพ.บ.                       462/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               118 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 29.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เรื่อง เฉลิมพระชนมพรรษา แนะนำโดย นางโสภี เฮงสุดผล บรรณารักษ์ชำนาญการ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น คือพระราชพิธีทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันประสูติขององค์พระมหากษัตริย์หรือพระบรมราชินี การเฉลิมพระชนมพรรษา มีชื่อเป็นสองตอน คือ ฉลองอย่างหนึ่ง เฉลิมอย่างหนึ่ง ฉลองนั้น คือฉลองพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา ซึ่งมีมาแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้สมโภชในวันสวดมนต์ถือน้ำเดือน ๕ และวันสรงน้ำสงกรานต์เป็นการฉลอง ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกการฉลองพระชนมพรรษามาทำในเดือน ๑๑ เนื่องจากพระชนมายุบรรจบครบรอบในเดือนนี้ และทรงเป็นการใหญ่โตกว่าการเฉลิมพระชนมพรรษา คือฉลองพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา การพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาถือเอาวันพระบรมราชสมภพโดยทางสุริยคติ เช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือวันที่ ๒๑ กันยายน เป็นฤกษ์ ส่วนการฉลองพระชนมพรรษานั้นถือเอาวันตรงวันพระบรมราชสมภพโดยทางจันทรคติ พระราชพิธีทั้งสองนี้ บางทีก็ใกล้กันและบางทีก็ต่างกัน ในการพระราชพิธีฉลองพระชนมพรรษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ไม่มีพระราชพิธีอะไรมากนัก สาเหตุเนื่องจากยังไม่มีผู้เข้าใจในพระราชพิธีและทราบพระราชประสงค์ที่แท้จริง ครั้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพระราชพิธีพระชนมพรรษา ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นงานใหญ่อย่างออกหน้าออกตาไม่ได้ทรงกระทำเป็นการภายในอย่างครั้งในรัชกาลที่ ๔ ทั้งนี้เพราะมีผู้เข้าใจในการพระราชพิธีพระชนมพรรษามากขึ้น อาทิ จัดแต่งพุ่มไฟประกวดกันในพระบรมมหาราชวังตามวังเจ้านายและบ้านข้าราชการ ราษฎรทั่วไปก็จุดประทีปโคมไฟสว่างไสวตลอดสองฝั่งแม่น้ำลำคลองและท้องถนน นอกจากนี้ในการพระราชพิธีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดรายการลงไปว่าวันไหนจะทรงประกอบพระราชพิธี และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอะไร ซึ่งเป็นวิธีการที่พระมหากษัตริย์ต่อๆ มาได้ทรงถือเป็นแบบอย่างมาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับการหยุดราชการเนื่องในวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาที่นับว่าประกาศเป็นวันนักขัตฤกษ์เป็นประจำปีเป็นทางการและเป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ ได้ประกาศหยุดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ถือในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว -------------- ที่มา พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทย พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์, ๒๕๕๑ สงวน อั้นคง. สิ่งแรกในเมืองไทย เล่ม ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: วังบูรพา, ๒๕๒๙. หน้า ๑๓๙-๑๔๔.


              กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การซ่อมบูรณะ-ประดับตกแต่งเรือพระราชพิธี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” วิทยากร นางสุภาภรณ์ สายประสิทธิ์, นายช่างศิลปกรรมทักษะพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่, นางปาริด์ชาติ พัฒน์ทอง นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่, นายเกรียงศักดิ์ เนียมสุด นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักช่างสิบหมู่, นายสาโรจน์ แสงสี นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักช่างสิบหมู่ และนางสาวดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร              รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗





โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จ.กรุงเทพฯ (เวลา 13.00-15.00 น.) จำนวน 80 คน



            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เปิดเป็นกรณีพิเศษ ในช่วงเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 6 - 10 พฤศจิกายน 2567 ขอเชิญชมการจัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของเมืองพิมาย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ในบรรยากาศพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Phimai Night at the museum มีไฮไลท์อยู่ที่การจัดแสดงทับหลังจากปราสาทพิมายและประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เปิดให้เข้าชมจนถึงเวลา 20.00 น. พร้อมมีบริการจอดรถฟรี สำหรับท่านที่จะไปร่วมเทศกาลเที่ยวพิมายและไปชมความตระการตาของการแสดงแสง สี เสียง ณ อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา







เว็ปไซต์อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท: www.finearts.go.th/phuphrabathistoricalpark      ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๕๗๐ กิโลเมตร ภูพระบาทเป็นทิวเขาเตี้ยๆ ที่แทรกตัวอยู่ทางทิศตะวันออกของแนวเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นแนวทอดยาวอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าเขือน้ำ” เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๔ โดยกรมศิลปากรได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า จำนวน ๓,๔๓๐ ไร่


ประเด็นข่าวสำคัญ   - จิตรกรรมฝาผนัง "เฟรสโก" ร้อยปีชำรุดหนัก   - วธ.นำร่องคิวอาร์โค้ดอุทยานสุโทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชรได้ผล   - นิทรรศการภาพถ่ายโบราณสมัย ร.๔   - โรงหนัง "ติดล้อ"เอกสารเเนบ


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


Messenger