ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.305/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



โบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา #โบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีปราสาทประธาน 3 หลัง เรียงกันตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาททั้ง 3 หลัง มีประตูทางเข้าเฉพาะด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยตั้งอยู่ ศาสนสถานถูกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และคูน้ำเว้นทางเข้าตามแนวแกนทิศด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก ใช้วัสดุศิลาแลงและหินทราย ทั้งนี้ ปรากฏภาพสลักทับหลังที่น่าสนใจ ที่ติดกับตัวงปราสาท จำนวน 6 ชิ้น ดังนี้ #ชิ้นที่1 ทับหลังปราสาทหลังกลาง #สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับนั่งในท่ามหาราช (นั่งชันเข่า) ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก ประทับยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่2 ทับหลังปราสาทหลังทิศเหนือ #สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า อยู่ในกรอบซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่3 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศใต้ #สลักภาพบุคคลไว้เครา ประทับนั่ง ขนาบข้างด้วยสตรี ซ้ายและขวา ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่4 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศเหนือ #สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า มือขวาถือดาบ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย ขนาบด้วยสิงห์มือจับท่อนพวงมาลัย สันนิษฐานว่าเป็นเทพผู้ปกปักรักษาศาสนสถานแห่งนี้ #ชิ้นที่5 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก #สลักภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่6 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก #สลักภาพพระวรุณทรงหงส์ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันตก ยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล จากรูปแบบศิลปกรรมของภาพสลักทับหลัง มีลักษณะคล้ายกับทับหลังศิลปะเขมร แบบาปวน จึงกำหนดอายุสมัยโบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีอายุอยู่ในช่วง ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หลายคนคงสงสัยว่า #ทับหลังแบบบาปวน ดูจากอะไร? ขอให้ทุกคนสังเกต โครงสร้างหลักของทับหลังแบบบาปวน คือ หน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านล่างของทับหลัง เหนือหน้ากาลมีรูปบุคคล ซึ่งอาจมีพาหนะหรือไม่ก็ได้ หน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยวกขึ้นแล้วตกลงเป็นกรอบสี่เหลี่ยม ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ม้วน เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตั้ง ทั้งนี้อาจมีรูปแบบอื่นปรากฏ เช่น สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง นั่นเอง ติดกันด้านทิศเหนือ ยังมี #ปราสาทนางรำ ซึ่งเป็น โบราณสถานประเภท “อโรยคศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยนะครับ หากมีโอกาส ลองแวะเวียนไปเยี่ยมชมกันดูนะครับ ทั้งนี้ “กู่พราหมณ์จำศีล” และ “ปราสาทนางรำ” เป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณเป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีศาสนสถานขนาดใหญ่ อย่างกู่พราหมณ์จำศีล เป็นศาสนสถานประจำชุมชน และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จึงมีดำริให้สร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ข้อมูลโดย นายวรรณพงษ์ ปาะละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง -กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร. 2535 -รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ปราสาทขอมในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน. 2551.




ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเพื่อให้เอกสารจดหมายเหตุที่เก็บรักษาอยู่นั้น เป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งาน เป็นการทำให้ผู้ค้นคว้าเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ มีทั้งการให้บริการสืบค้นจากบัญชีเอกสารเพื่อขอใช้เอกสาร โดยสามารถใช้บริการ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติส่วนภูมิภาค ผู้ใช้บริการจะต้องประสานงานเพื่อทราบชุดเอกสารที่ให้บริการในแต่ละที่ และการสืบค้นออนไลน์ โดยสามารถเข้าใช้บริการได้ที่https://archives.nat.go.th/th-th/ในส่วนของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา เอกสารที่ให้บริการมีดังนี้https://web.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/3103153866631262สามารถศึกษาระเบียบเกี่ยวกับการใช้บริการและค่าทำสำเนาเอกสารได้ที่https://drive.google.com/.../1n4Ismg6.../view..


ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  421/10ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


       50Royalinmemory ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๓๒ (๑๓๓ ปีก่อน) – วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา [เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ]        พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ” (พระนามเดิม : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ) ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ทิวงคตเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗ (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๙๙.)      Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๑๕ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖     (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


#มหามกุฎราชวงศานุประพัทธ์ ๑๗ มิถุนายน ๒๓๗๑ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา หรือ พระองค์เจ้าบุตรี เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาอึ่ง ในรัชกาลที่ ๓) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๓๗๑.พระองค์เจ้าบุตรี ทรงทราบขนบธรรมเนียมราชการ ทั้งชำนาญอักษรไทยและอักษรเขมร แต่งโคลงฉันท์ได้ ได้ทรงรักษากุญแจพระราชวัง ภายหลังได้ทรงบังคับการในพนักงานนมัสการและกำกับแจกเบี้ยหวัด ทรงเป็นผู้ถวายอุปการะสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มาแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.ในรัชกาลที่ ๕ จึงทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๙ ทรงกำกับดูแลด้านพิธีกรรมต่าง ๆ และโบราณราชประเพณีของวังหลวง.พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๕๐ สิริพระชันษา ๘๐ ปี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้ายและมีพระชันษามากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้แก้ไขคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๔.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา นับเป็นพระราชภาติยะในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔.ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  อย.บ.3/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ เรื่อง "เจดีย์ประธานวัดนางพญา"วัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจดีย์ประธานวัดนางพญาเป็นตัวอย่างสำคัญวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงระฆังที่ปรากฏในสุโขทัย ประการแรก ได้แก่การเปลี่ยนจากฐานบัวถลา ๓ ชั้น ที่รองรับองค์ระฆังมาเป็นฐานมาลัยเถา (ลูกแก้วกลมซ้อนกันเป็นวง ๓ ชั้น) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา ประการที่สอง มีมุขที่ยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้ามีทางขึ้น และเข้าไปภายในองค์ระฆังได้ การประดับมุขทั้ง ๔ ด้านนี้ไม่เคยปรากฏในเจดีย์ทรงระฆังสุโขทัย แต่ปรากฏที่เจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และประการที่สาม ปล้องไฉนที่มีระยะห่างของแต่ละปล้องที่คั่นด้วยท้องไม้เป็นรูปแบบที่ปรากฏในอยุธยา ในขณะที่ปล้องไฉนของสุโขทัยจะติดกันทุกปล้องเอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, ๒๕๓๓).วิไลรัตน์ ยังรอต และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๑).ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑).__________. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑).


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           55/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ค เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อริยสจฺจเทสน (อริยสฺจ) ชบ.บ 183/8เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         -         ชื่อเรื่อง           วชิราวุธานุสรณ์ ๒๕๑๐ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     ธนบุรี สำนักพิมพ์       เทพนิมิตรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2510   จำนวนหน้า      291  หน้า        หมายเหตุ        ที่ระลึกงานวชิราวธานุสรณ์ พ.ศ.๒๕๑๐ รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานวชิราวุธานุสรณ์  พุทธศักราช ๒๕๑๐  ครบรอบปีที่ ๘ ด้านหน้าเป็นรายชื่อ คณะกรรมการด้านต่างๆ ของงานรวมทั้งคณะกรรมการ  การประกวดนางสาวไทยในสมัยก่อนนอกจากนั้น เป็นหมายกำหนดการของงานต่อด้วยนิยายแปลเรื่องแกลงคดีรหัสอันหนึ่ง เรื่องสวนอนุสรณ์หรือพระราช อุทยานสราญรมย์ เรื่องหัวใจนักรบ  เรื่องตามรอยพระยุคลบาท (ร.๖) ที่ประทับชายเลของร.๖และพระปรีชา ญาณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทางด้านโบราณคดี


Messenger