ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อผู้แต่ง          พระมหาวีระ ถาวโร ชื่อเรื่อง           หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๕ จำนวนหน้า      ๑๑๕ หน้า รายละเอียด                         หนังสือเล่มนี้ เป็นการพิมพ์เผยแพร่ในด้านเกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากมุมหนึ่งขอพระพุทธศาสนา หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นเพราะว่า หลวงพ่อ พระมหาวีระ ถาวดร (ฤาษีลิงดำ) ท่านได้สนทนาธรรมกับบรรดาญาติโยมแบบเป็นกันเอง ไม่มีพิธีรีตองใด ๆ เมื่อผู้รับฟังเกิดข้อสงสัย หรือมีปัญหาข้องใจก็จะได้ ซักถามให้เข้าใจ จะได้มีความเข้าใจง่าย ๆ หนังสือเล่มนี้สำเร็จมาได้ เนื่องจากการสนับสนุนทุนทรัพย์ร่วมกันในการพิมพ์ ทั้งจากพระภิกษุสามเณรและญาติโยม ที่เห็นคุณประโยชน์   


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 39/2553 (17/2549) ขวานหินขัด มีบ่า ด้านหนึ่งขัดเรียบ อีกด้านหนึ่งมีรอยกะเทาะ ย.7.2 ก.4.5 หิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.426/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 5.5 x 58 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153  (109-119) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.566/5                               ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 185  (340-346) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                               กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ.                                 429/ก/1กประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      52 หน้า : กว้าง 4.8 ซม.  ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา                                            คัมภีร์สัททาวิเสส                                            ศัพท์การกบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          สำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “มารทะนงสงคราม” ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ เริ่มจำหน่ายบัตร ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป           วันเสาร์ที่ ๑๙ และ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี บัตรราคา ๘๐, ๖๐, ๔๐ บาท  สอบถามเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๑๑๔, ๐ ๓๕๕๓ ๕๑๑๖           วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา บัตรราคา ๑๐๐, ๘๐, ๖๐, ๔๐ บาท  สอบถามเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๔๔๔๖ ๖๒๐๒, ๐ ๔๔๔๖ ๖๒๐๓   เนื้อเรื่องการแสดงโขน  ชุด มารทะนงสงคราม           กล่าวถึงนนทุก  อสูรเทพบุตร  มีหน้าที่ล้างเท้าอยู่เชิงบันไดเขาไกรลาส  ถูกเหล่าเทวดา นางฟ้า  กลั่นแกล้ง  ถอนผมจนหัวล้าน เกิดความโกรธแค้นจึงขึ้นไปขอพรพระอิศวรให้นิ้วชี้เป็นเพชร ชี้ใครให้ถึงความตาย  ครั้นได้นิ้วเพชรตามต้องการก็กำเริบฤทธิ์  ใช้ชี้สังหารเทวดา นางฟ้า บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก  พระนารายณ์ทราบข่าว วางอุบายแปลงเป็นนางเทพอัปสร  มาลวงนนทุกใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองหัก  นนทุกรู้ว่าต้องอุบายพระนารายณ์  ก็กล่าวตัดพ้อ  ว่ามีถึงสี่มือถือทรงเทพอาวุธศักดา  แต่ไม่กล้ามาสู้ซึ่ง ๆ หน้า  พระนารายณ์จึงให้สัจจะแก่นนทุก  ให้ชาติหน้าไปเกิดเป็นพญายักษ์ผู้เรืองฤทธิ์ มีสิบหน้า ยี่สิบมือ พระองค์จะอวตารเป็นมนุษย์ตามไปผลาญชีวิต  ฝ่ายนนทุกก็จองอาฆาตพระนารายณ์ให้ได้รับความทุกข์ลำเค็ญพรากจากสิ่งที่รัก  เมื่อต่างให้สัจจะซึ่งกันและกันแล้ว  พระนารายณ์ก็สังหารนนทุกถึงแก่ความตาย           จากสัจจะแรงอาฆาตก็มาอุบัติในชาติใหม่บนโลกมนุษย์  เมื่อพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระราม นนทุกมาจุติเป็นทศกัณฐ์ลอบลักนางสีดาพาไปไว้ยังกรุงลงกา  พระรามพร้อมด้วยพระลักษมณ์น้องชายต้องเดินป่าติดตามจนมาพบหนุมาน  นำไพร่พลวานรมาถวายเป็นข้าทหาร  พระรามจึงยกกองทัพข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกาเพื่อชิงนางสีดาคืน   ฝ่ายทศกัณฐ์ครั้นทราบข่าวจึงบัญชาใช้เสนายักษ์  ไปแจ้งข่าวศึกลงกาแก่พญามังกรกัณฐ์  เจ้าเมืองโรมคัล ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ให้ยกทัพมาช่วยรบ  มังกรกัณฐ์แผลงศรไปต้องเกราะพระรามขาด  พระราม  ทรงแผลงศรไปทำลายคันศรมังกรกัณฐ์หัก  พญายักษ์เกิดหวาดกลัวเหาะหนีไปแอบในกลีบเมฆ  แปลงกายเป็นหลายตน   แต่ไม่พ้นอำนาจศรของพระรามแผลงมาต้องอกมังกรกัณฐ์สิ้นชีวิต          ฝ่ายแสงอาทิตย์ พญายักษ์ อุปราชเมืองโรมคัล  รู้ข่าวมังกรกัณฐ์พี่ชายถูกพระรามฆ่าตายก็เสียใจโกรธแค้น  ยกกองทัพพร้อมด้วยพิจิตรไพรีผู้เป็นพี่เลี้ยงมาทำสงครามกับพระราม  พระรามรู้ฤทธิ์เดชแสงอาทิตย์จากพิเภกว่ามีแว่นวิเศษเป็นอาวุธ  จึงบัญชาใช้องคตแปลงร่างเป็นพิจิตรไพรี  ไปลวงเอาแว่นสุรกานต์ที่ฝากพระพรหมไว้มาทำลาย  จากนั้นพระรามก็ยกกองทัพออกทำสงคราม  แสงอาทิตย์รบสู้พระรามไม่ได้สั่งให้พิจิตรไพรี  ขึ้นไปขอแว่นวิเศษที่ฝากจากพระพรหมนำมาส่องสังหารศัตรู  แต่พอรู้ว่าถูกข้าศึกวางกลลวงเอาแว่นไปแล้ว  แสงอาทิตย์ยิ่งแค้นใจเข้าสู้รบ  จนถูกพระรามแผลงศรผลาญชีวิตตายตามมังกรกัณฐ์ผู้เป็นพี่ชายไป  


พระอิศวรแห่งเทวาลัยมหาเกษตร. พระอิศวรหรือพระศิวะ เป็นเทพสำคัญ ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาเทพมีหน้าที่ทำลายล้างโลก (เพื่อให้เกิดการสร้างขึ้นใหม่) โดยเฉพาะในลัทธิไศวนิกายนั้นถือว่าพระอิศวรเป็นเทพผู้มีอำนาจสูงสุด พระองค์มีลักษณะเด่น คือ มี ๓ พระเนตร มักถือตรีศูลไว้ในพระหัตถ์ มีชายา คือ นางปารวตี และมีโอรส ๒ องค์ ได้แก่ พระสกันทกุมาร และพระคเณศ ส่วนพาหนะ คือ โคนนทิ. โดยที่เมืองสุโขทัยก็ปรากฏการนับถือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูด้วยเช่นกัน เทวรูปพระอิศวรเดิมประดิษฐานอยู่ที่ เทวาลัยมหาเกษตร ซึ่งเป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ดังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงที่กล่าวถึง พระยาลิไทโปรดฯ ให้สร้างเทวาลัย โดยพระองค์เสด็จมาประดิษฐานพระอิศวรและพระวิษณุ ณ เทวาลัยแห่งนี้ ซึ่งเทวรูปพระอิศวรองค์นี้มีความสูง ๓.๐๘ เมตร พระเศียรมีลักษณะเป็นมวยผม (ชฎามกุฏ) ประดับด้วยปิ่นรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวร พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรรียาว มีพระเนตรที่สาม สัญลักษณ์แห่งไฟบรรลัยกัลป์และการทำลายล้าง พระนาสิกงุ้ม แย้มพระสรวลเล็กน้อยพระหนุกลม พระวรกายอวบอ้วน บั้นพระองค์สูง พระอุระกว้าง ทรงภูษายาว และมีผ้าอีกผืนหนึ่งเหน็บเป็นชายพกห้อยออกมาทางด้านหน้าของสายรัดประคดและทิ้งชายทั้งสองข้าง โดยท่าทางของพระหัตถ์ (มุทรา) แบบนี้ อมรา ศรีสุชาติ สันนิษฐานว่า เป็นท่าสำหรับให้ผู้บูชาสวมใส่หรือเสียบดอกไม้สด เรียกว่า กฏกหสฺต (อ่านว่า กะ-ตะ-กะ-หัด-สตะ) หรือ สิงฺหกรณ (อ่านว่า สิง-หะ-กะ-ระ-นะ) ส่วนศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่า น่าจะใช้สำหรับใส่สิ่งของ ซึ่งเป็นส่วนที่หล่อแยกชิ้นต่างหาก แต่ได้สูญหายไปแล้ว โดยข้างหนึ่งอาจเป็นตรีศูล และอีกข้างหนึ่งเป็นลูกประคำ ตามประติมานวิทยาที่ปรากฏโดยทั่วไปของพระอิศวร ปัจจุบันเทวรูปพระอิศวรองค์นี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ น่าจะมีการประดิษฐานเทวรูปสำริดองค์อื่น ๆ อีกด้วย โดยอาจเป็นการสร้างขึ้นพร้อมกันหรือสร้างขึ้นภายหลัง เช่น พระพรหม พระหริหระ และเทวสตรี เป็นต้นอ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐). ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส. สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ. อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๕๗). “นัยสำคัญ จากเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร.” ศิลปากร ๕๗. ๕ (กันยายน-ตุลาคม): ๙๗-๑๐๗.


           กรมศิลปากรมอบของขวัญปีใหม่จากใจกรมศิลปากร ๒๕๖๗ เปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ชมฟรี งดเก็บค่าธรรมเนียม ในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ระหว่างวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึง ๕ มกราคม ๒๕๖๗ โดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ เปิดบริการทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.            ผู้เข้าชมสามารถจอดรถบริเวณลานจอดรถประตู ๓ (หลังปราสาทพนมรุ้ง) มีค่าธรรมเนียมบัตรจอดรถ ๕๐ บาท ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร : ๐ ๔๔๖๖ ๖๒๕๑ หรือ INBOX : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park


          ตลับทองคำ           แบบศิลปะ : อยุธยา           ชนิด :  ทองคำ           ขนาด :สูง 1.5 เซนติเมตร ปากกว้าง 0.8 เซนติเมตร           อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 21 - 23           ลักษณะ : ตลับทรงกระบอกขนาดเล็กมีฝาปิด ผิวเรียบเกลี้ยงไม่มีลวดลาย           ประวัติ : ขุดพบจากวัดชุมนุมสงฆ์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ประวัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/07/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


         เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานพระรูป และลายพระหัตถ์เชิญพุทธศาสนสุภาษิต ว่า “จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ” แปลความว่า “จิตที่ฝึกแล้ว นำความสุขมาให้“ เป็นพระคติธรรมสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗            พร้อมด้วยพรประทานว่า เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ขอท่านจงหมั่นฝึกจิตให้มั่นคงดี เพื่อความสุขความเจริญทุกเมื่อเทอญ


พิธีวาไม้ ขออนุญาตซ่อมแซมหอหลวงเจ้าคันธา (เจ้าสามตา) --- หอหลวงเจ้าคันธา หรือศาลเจ้าสามตา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหอคำหรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา เนื่องจากตัวอาคารเป็นโครงสร้างไม้ มีปลวก และไม้มีสภาพผุกร่อนแตกหัก ทั้งในส่วนของโครงสร้างฐาน และหลังคา รวมถึงกาแล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จึงมีความประสงค์ที่จะดำเนินการซ่อมแซมศาลหลังนี้อันเป็นที่สักการะบูชาประจำพิพิธภัณฑ์ และสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีสภาพมั่นคง และเป็นที่กราบไหว้บูชา ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างรวบรวมงบประมาณในการบริจาคเพื่อดำเนินการซ่อมแซมเป็นลำดับต่อไป


แมวขูดมะพร้าว วัสดุ : ไม้, เหล็กประวัติ :  ร้านรัตนาแอนติค มอบให้เมื่อ 9 ตุลาคม 2528ขนาด : กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ลักษณะ : ไม้แกะสลักเป็นรูปแมวนอนหมอบยืดขาหน้า หางเก็บข้างลำตัว บริเวณดวงตาประดับกระจกสีเขียว แกะลายเส้นเป็นหนวดแมว ที่ปากแมวมีเหล็กทำเป็นซี่เล็ก ๆ ใช้สำหรับขูดมะพร้าวยื่นออกมา ที่ก้นแมวมีห่วงเหล็กสถานที่เก็บรักษา : คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ -----------------------------------------------------------อุปกรณ์ขูดมะพร้าวเป็นหนึ่งในเครื่องใช้ในครัวเรือนที่สามารถพบเห็นได้ตามบ้านเรือนในหลายภาค เนื่องจากอาหารไทยหรือขนมไทยหลายอย่างมีส่วนประกอบของมะพร้าวหรือกะทิ โดยแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกและรูปร่างที่ต่างกันไป  ในภาคกลางคนจะนิยมเรียกว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว” อาจเพราะมองว่า ส่วนเหล็กที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าว คล้ายกับฟันกระต่าย หรือบ้างก็ว่ามาจากรูปร่างที่นั่งที่นิยมทำเป็นรูปกระต่าย แต่ที่ภาคเหนือกลับนิยมทำเป็นรูปแมว จึงเรียกว่า “แมวขูดมะพร้าว” (หรือ งอง) อาจเพราะมองเหล็กที่ขูดมะพร้าวคล้ายกับเล็บแมว หรือเพราะนิยมทำที่นั่งเป็นรูปแมวส่วนทางภาคใต้ จะเรียกว่า “เหล็กขูด” หรือ แหล็กขูด นิยมทำเป็นรูปสิงห์ สัตว์ต่าง ๆ หรือรูปคน   .วิธีใช้งานแมวขูดมะพร้าว เหมือนกันกับภาคอื่น ๆ คือ คนขูดจะนั่งลงบนส่วนที่นั่งในท่าทางที่ถนัด นำจานหรือถาดมารองไว้ที่ใต้เหล็กที่ใช้ขูด และนำมะพร้าวแห้งผ่าครึ่งมาขูดส่วนเนื้อมะพร้าวออกเบา ๆ  สามารถใช้งานได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รวมถึงเด็ก ๆ ด้วย แต่ต้องคอยระมัดระวังเป็นพิเศษ. ในภาคเหนือมีอาหารหรือขนมที่ต้องใช้ส่วนประกอบของเนื้อมะพร้าวหรือกะทิหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย ขนมจีนน้ำลอ ขนมต้มกะทิ ขนมจ็อก ขนมลิ้นหมา ขนมแตงลาย ขนมกนน้ำอ้อย เป็นต้น.นอกจากแมวขูดมะพร้าวจะเป็นตัวช่วยในการขูดมะพร้าวได้สะดวกและง่ายขึ้นแล้ว ก็ยังแสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของช่างที่ดัดแปลงส่วนที่นั่งทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามอีกด้วย.แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบเห็นแมวขูดมะพร้าวตามครัวเรือนแล้ว เนื่องจากอาจเพราะมีเครื่องขูดมะพร้าวแบบไฟฟ้าที่ทุ่นแรงได้มากกว่าเข้ามาแทน หรือคนนิยมซื้อมะพร้าวหรือกะทิแบบที่ขายสำเร็จรูปมาใช้ปรุงอาหารเลยเพื่อประหยัดเวลา --------------------------------------------------------อ้างอิง- พจนก กาญจนจันทร. “แมว กระต่าย และต้นไม้แห่งชีวิต”. ศึกษาสิ่งของ เข้าใจผู้คน 30 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี : พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560. หน้า 140-150.- พิชชา ทองขลิบ. “กระต่ายขูดมะพร้าว”. ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 จาก https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php...




          กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง "ย้อนอดีต : เทคนิคการทำลูกปัดหินและสิ่งทอสมัยโบราณ"  Threads of Time: Unraveling Ancient Techniques in Beads and Textiles Crafting  วันเสาร์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ครั้งที่ ๑ เป็นการบรรยายทางวิชาการเวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น.            - การบรรยายพิเศษ เรื่อง“หลักฐานเครื่องแต่งกายของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” วิทยากรโดย นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร             - การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง"เชือก เส้นใย และเครื่องมือจากพืช : บทบาทและความสำคัญในสังคมมนุษย์สมัยโบราณ“วิทยากรโดย รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร            - การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “สิ่งทอยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ฮารัปปา ประเทศปากีสถาน (๔๐๐๐ - ๑๙๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล) วิทยากรโดย  ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเออร์ คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐอเมริกา            - การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “ลูกปัดหินจากแหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และคันธาระ“วิทยากรโดย  ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๒ เป็นการบรรยายนำชมและสาธิตการทำลูกปัดหินสมัยโบราณ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.การบรรยายนำชมโดย - นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ - นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  - นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  บรรยายและสาธิตการทำลูกปัดหินสมัยโบราณ วิทยากรโดย - ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเออร์ คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐอเมริกา - รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร - ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเหตุ : • บรรยายด้วยสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) • สำรองที่นั่งล่วงหน้าทางโทรศัพท์เท่านั้น โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (วันพุธ-วันอาทิตย์) • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซื้อบัตรเข้าชมตามปกติ--------------------------------------------------------------------- The Fine Arts Department through the Office of National Museums is so thrilled to invite you to join a talk and demonstration of the topic "Threads of Time: Unraveling Ancient Techniques in Beads and Textiles Crafting" With Keynote Speakers; - Mr Somchai Na Nakhonphanom An Archaeologist (Advisory Level) Fine Arts Department - Assoc.Prof. Thanik Lertcharnrit (Ph.D.) Faculty of Archaeology Silpakorn University - Prof. Jonathan Mark Kenoyer (Ph.D.) Department of Anthropology University of Wisconsin, Madison, USA - Asst.Prof. Wannaporn Rienjaeng (Ph.D.) Material Culture Laboratory Faculty of Sociology and Anthropology Thammasat University   On Saturday, 6th July 2024 08:30 a.m. to 04:00 p.m.   Advance Booking: Tel. 0 2224 1402 (Wednesday to Sunday)  


Messenger