ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        :   ปรมานุชิตชิโนรส , สมเด็จกรมพระชื่อเรื่อง         :   กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่สิบหกสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   บริษัท ศรีสมบัติการพิมพ์ จำกัดปีที่พิมพ์         :   ๒๕๒๗จำนวนหน้า     :  ๕๖ หน้าหมายเหตุ       :   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ  นายสรรพวิชัย (บุญเกิด)  นิโครธานนท์ ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดศรีมหาธาตุ บางเขน วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗                    หนังสือ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์นี้ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าโดยทางสำนวนโวหาร นับว่าเป็นหนังสือชั้นเอกในกวีนิพนธ์เรื่องหนึ่งว่าโดยเนื้อความโอวาทนุสาสนี สำหรับสตรีที่จะพึงปฏิบัติต่อสามี เป็นทิฏฐานุคติของกุลสตรีผู้หวังประโยชน์เป็นอัตสัมมาปณิธิจะพึงปฏิบัติโดยหลังจรรยา


ชื่อผู้แต่ง        :  -ชื่อเรื่อง         :   ตำราพระโอสถพระนารายณ์ครั้งที่พิมพ์      :  พิมพ์ครั้งที่สิบสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   ด่านสุทธาการพิมพ์ปีที่พิมพ์         :   ๒๔๒๖จำนวนหน้า     :   ๑๔๑ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณืในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระสุธรรมกิตยารักษ์ ต.ช.(ชู  หังสสูต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๖                      ที่เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์  เพราะมีตำราพระโอสถซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  หลายขนาน ปรากฏชื่อหมอ และมีวันคืนที่ได้ตั้งพระโอสถนั้นๆไว้ชัดเจน อยู่ในระหว่างปีกุน จุลศักราช 1021 (พ.ศ.2202) จนถึงปีฉลู จุลศักราช1023พ.ศ.2204) คือ ในระหว่างปีที่ 3 จนที่ 5 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปลาดที่มีตำราขี้ผึ้งรักษาแผล ที่หมอฝรั่งประกอบถวายในครั้งนั้น  


 ชื่อผู้แต่ง          จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3   ชื่อเรื่อง           จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3 เล่ม 5   ครั้งที่พิมพ์        -   สถานที่พิมพ์      คลองสาน กรุงเทพมหาคร   สำนักพิมพ์        ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์   ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2530                 จำนวนหน้า 150 หน้า   หมายเหตุ         รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                                   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนเป็นล้นพ้นหาที่สุดจะพรรณนาได้ พระราชกรณียกิจตลอดเวลา 27 ปี แห่งการครองราชย์ ทรงสร้างสรรค์คุณประโยชน์อเนกอนันต์อันเป็นรากฐานแห่งความเจริญวัฒนาทั้งสิ้น  


ชื่อผู้แต่ง          ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชื่อเรื่อง           พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๔สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯสำนักพิมพ์     บัวหลวงการพิมพ์ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๒จำนวนหน้า    ๓๐๒ หน้าหมายเหตุ    พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาว ธิติ บุนาค ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส                วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๒                 หนังสือเรื่องพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕  เล่มนี้ กล่าวถึง พระราชประวัติพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราช ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระบรมราชาภิเษก เลียบพระนคร อุปราชาภิเษก เฉลิมศักดิ์ การเกี่ยวข้องกับฝรั่งต่างประเทศ เป็นต้น


          ในอดีตจังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีการให้สัมปทานกิจการทำป่าไม้แก่บริษัทต่างชาติ และบ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานที่เหลืออยู่ของอิทธิพลของชาวตะวันตกในล้านนาในสมัยนั้น           บ้านหลังนี้เป็นบ้านของนายหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ (Louis Thomas Leonowens) บุตรชายของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุได้ ๗ ปีหลุยส์ได้ติดตามมารดาเข้ามาในสยาม และหลังจากสำเร็จการศึกษาในยุโรปแล้วก็ได้กลับเข้ามาในสยามอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๗ ปี หลุยส์เริ่มเข้าสู่วงการค้าไม้ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนของบริษัท บริติชบอร์เนียว (The British Borneo Company Limited) ในการเจรจาขอรับอนุญาตทำป่าไม้ประจำเมืองระแหง (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก) ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙ เขาได้ลาออกจากบริษัทบริติชบอร์เนียวเพื่อเปิดบริษัทค้าขายทั่วไปของตัวเองที่เชียงใหม่ และได้ย้ายบริษัทมาตั้งที่ลำปางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พร้อมทั้งได้รับสัมปทานทำป่าไม้ด้วย ดังนั้น บ้านหลังนี้จึงปลูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทั้งที่พักของนายหลุยส์และอาคารสำนักงานของเขาที่ลำปาง (หลุยส์ยังเปิดสำนักงานนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่กรุงเทพฯ ด้วย) เมื่อหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์เสียชีวิตที่อังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๖๒ กรมป่าไม้จึงได้รับมอบโอนกิจการทำไม้ของบริษัท บริติช บอร์เนียว จำกัด และบริษัทหลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ รวมถึงบ้านหลังนี้ด้วยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นอาคารที่ทำการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในระยะหนึ่ง และต่อมาได้กลายเป็นบ้านพักสำหรับพนักงาน จนกระทั่งพนักงานลดจำนวนลงจึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ลักษณะเป็นบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น แบบเรือนปั้นหยา สไตล์โคโลเนียล ชั้นล่างก่อปูนแข็งแรง ส่วนชั้นบนเป็นเรือนไม้ มีจุดเด่นคือ ห้องโถงที่ทำเป็นมุขเจ็ดเหลี่ยมยื่นออกไปด้านหน้า ติดหน้าต่างบานเกล็ดไม้โดยรอบ บริเวณโดยรอบบ้านมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น และยังมีอาคารสำนักงานอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารถือปูนชั้นเดียว อาคารหลังนี้แต่เดิมใช้เป็นที่เก็บตู้เซฟของบริษัทของนายหลุยส์           ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ลำปาง ถนนป่าไม้ เขตชุมชนท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง เขตเทศบาลนครลำปาง โดยทาง ออป. ร่วมกับภาคเอกชน ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าได้เริ่มโครงการบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้ตัวบ้านคงสภาพดีดังเดิมให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๐ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของชุมชนในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ชุมชน ผ่านกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตลาดนัด และการจัดเสวนาวิชาการ โดยบ้านหลุยส์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชุมชนใช้ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย ภาพ : หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ภาพ : บ้านหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ ภาพ : ห้องโถงชั้นล่าง ภาพ : ฝ้าเพดานห้องโถงชั้นบนกรุด้วยแผ่นไม้เรียงกันอย่างสวยงาม ภาพ : ชั้นบนเป็นเรือนไม้ เหนือบานประตูมีการแกะสลัก ฉลุลายไม้อย่างประณีต --------------------------------------- เรียบเรียงโดย นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เอกสารอ้างอิง วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. ร้อยปีหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ กับแผ่นดินสยาม. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖ (มีนาคม ๒๕๔๘): ๑๓๑-๑๓๗ กิตติชัย วัฒนานิกร. นายห้างป่าไม้ สีสันชีวิตอดีตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์, ๒๕๕๘. จังหวัดลำปาง โดยชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. ท่ามะโอ เรโทร แฟร์ บ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์. ลำปาง: ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า, จังหวัดลำปาง, ๒๕๖๑. (อัดสำเนา)


ปรีดิเทพย์พงษ์  เทวกุล, หม่อมเจ้า.  มหาวชิรุณหิศ, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า.  พระราชประวัติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา         อัยิกาเจ้า และจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ.  พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, 2499.             พระราชประวัติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า และจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ นี้ เนื้อหาเป็นรายละเอียดพระราชประวัติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า โดยพลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์งพษ์  เทวกุล ทรงเรียบเรียง และอีกส่วนหนึ่งเป็นจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน  พ.ศ. 2426 เรื่อยมา จนถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536.



ชื่อเรื่อง : สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาคหนึ่ง) ชื่อผู้แต่ง : นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา และดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2492 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 250 หน้า สาระสังเขป : เรื่องสาส์นสมเด็จ เป็นลายพระหัตถ์โต้ตอบกันในระหว่างสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงปรึกษาหารือและโต้ตอบในเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2476 เนื้อหาในลายพระหัตถ์มีทั้งข้อราชการงานเมือง และเรื่องราวทั่วไป โดยเรื่องราวต่าง ๆ ได้สอดแทรกความรู้ในด้านศิลปะ อักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี



ชื่อเรื่อง                     โขน ชุดพระรามครองเมืองผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศิลปะการแสดงเลขหมู่                      792.5 ศ528ขสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์                    2501ลักษณะวัสดุ               24 หน้า หัวเรื่อง                     โขนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกโขน ชุด พระรามครองเมือง กรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ณ โรงละคอนศิลปากร ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ หนังสือที่ทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดี


           “ตุละวิภาคพจนกิจ” หนังสือพิมพ์เล่มแรกของ ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือที่รู้จักกันในนาม “เทียนวรรณ” มีความหมายว่า “หนังสือพิมพ์นี้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมาดุจตราชั่ง” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเด่นและแตกต่างไปจากหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการตื่นตัวในเรื่องการทำหนังสือพิมพ์ ภายหลังจากที่หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์เป็นฉบับแรก คือ หนังสือจดหมายเหตุ บางกอก รีคอร์เดอร์ หรือ The Bangkok Recorder เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นจะเป็นลักษณะข่าวประกาศ ของทางราชการ ข่าวต่างประเทศ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ภาพ : หนังสือพิมพ์ “ตุละวิภาคพจนกิจ” ภาพ : ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือ เทียนวรรณ ต้นตระกูล “ โปรเทียรณ์” นักประพันธ์ไทยสมัยรัชกาลที่ ๕             ต.ว.ส. วัณณาโภ เห็นว่าในสมัยนั้นไม่ค่อยมีหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์จริง ๆ จะมีแต่ลักษณะจดหมายเหตุมากกว่า จึงได้ออก “ตุละวิภาคพจนกิจ” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความคิดของท่าน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องบ้านเมือง สถานะของคนและชาติไทย เสนอให้แก้กฎหมาย ปฏิรูปศาล เรียกร้องให้เลิกทาส เลิกบ่อนการพนัน เลิกฝิ่น เสนอให้มีโรงเรียนสำหรับผู้หญิง ให้ตั้งธนาคาร ฯลฯ ตลอดจนเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบ “ปาเลียเมนต์” แต่เป็นที่น่าเสียดาย ต.ว.ส. วัณณาโภ ออกตุละวิภาคพจนกิจมาได้เพียง ๖ ปี ก็ต้องหยุดเพราะทนการขาดทุนไม่ไหว ประกอบกับอายุมากร่างกายอ่อนล้าจึงยุติการตีพิมพ์ //ปัจจุบัน “ตุละวิภาคพจนกิจ” หนังสือพิมพ์ของ ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือ เทียนวรรณ จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดดำรงราชานุภาพ--------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ--------------------------------------บรรณานุกรม ต.ว.ส. วัณณาโภ. ตุละวิภาคพจนกิจ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ร.ศ. ๑๒๐. สงบ สุริยินทร์. เทียนวรรณ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๔๓. สถิตย์ เสมานิล. วิสาสะ. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรไทย, ๒๕๑๔.


  ***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 18     ฉบับที่ 699    วันที่ 1-15 มีนาคม 2536


ชื่อเรื่อง : บางกอกแก้วกำศรวล หรือ นิราศนครศรีธรรมราช   ชื่อผู้แต่ง : อังคาร  กัลยาณพงศ์   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๑   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : เจริญวิทย์การพิมพ์   หมายเหตุ : จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของห้องสมุดอนุมานราชธน ณ หอสมุดแห่งชาติ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๑                        ในงานฉลองหอสมุด ได้ตีพิมพ์บางบทจากสวนแก้วที่อังคารแต่งขึ้นใหม่ โดยที่สวนแก้วทั้งเล่มไม่แล้วเสร็จสมเจตน์จำนงผู้เขียน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อันมีผลโยงมาถึงนักคิดนักเขียนอย่างอังคารด้วย ด้วยเหตุแห่งความผันผวนเช่นนี้ ทำให้อังคารมีแรงบันดาลใจให้ร้อยกรอง นิราศนครศรีธรรมราช ขึ้นมาได้นับเป็นเล่มที่มีท่วงทีทำนอง ลำนำภูกระดึง ทั้งยังเป็นการเล่าชีวประวัติแทรกไว้ และรวมผลงานที่กระจัดกระจายไว้ด้วย ดังผู้เขียนให้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า บางกอกแก้วกำศรวล


     ชื่อเรื่อง : คู่มือเอาชีวิตรอดในที่ทำงาน      ผู้เขียน : โนริกะ  โอดะ      สำนักพิมพ์ : กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป      ปีพิมพ์ : 2563      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-8158-77-7      เลขเรียกหนังสือ : 158.7 อ969ค      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป 1      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1   สาระสังเขป : "อยู่ให้เป็นก่อนเริ่มต้นชีวิตการทำงาน สิ่งที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้ชีวิตการทำงานอยู่รอด ทัศนคติใหม่ๆ ในการทำงาน" คำกล่าวของนักเขียนที่เป็นทั้งนักสร้างกิจการ   ต่อเนื่อง บล็อกเกอร์ผู้มีชื่อเสียง ถูกสัมภาษณ์จากสื่อใหญ่หลายสื่อ อีกทั้งเขียนคอลัมน์พิเศษให้กับสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง แชร์ประสบการณ์จริงจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปี ปัจจุบันก่อตั้งบริษัทของตัวเอง เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานระดับล่างเงินเดือนต่ำ ระหว่างเส้นทางการก่อสร้างบริษัทครั้งที่ 4 เต็มไปด้วยการต่อสู้และหยาดน้ำตา แต่ละย่างก้าวล้วนมีข้อคิดและบทเรียนให้ได้เพิ่มพูนสั่งสมประสบการณ์การทำงานและเต็มไปด้วยความมานะพยายามลงมือทำให้เป็นจริง ในโลกความเป็นจริงของการทำงานมักที่จะเลี่ยงกับการถูกตำหนิไม่ได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มเข้าสังคมการทำงานและยังไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมในที่ทำงาน เกิดความรู้สึกต่อต้านการทำงาน ความเครียด          ความกดดัน ความขัดแย้งที่ถาโถมเข้ามาจนอาจทำให้ลาออกกันเลยที่เดียว "คู่มือเอาชีวิตรอดในที่ทำงาน" เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องราวของการอยู่ให้เป็นก่อนเริ่มต้นชีวิต    การทำงาน และก้าวผ่านสถานการณ์แย่ๆ นั้นไปได้ โดยเนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วย (1) ที่ทำงานเหมือนสนามรบ หากคิดจะอยู่ให้รอดเหมือนปลาได้น้ำ ก็ต้องได้ใจหัวหน้าเสียก่อน เช่น เด็กใหม่น่าแกล้ง มันจำเป็นไหมที่ต้องช่วยสั่งข้าวกล่องให้ทุกครั้ง ทำงานเสร็จหมดแล้วแต่ไม่กล้ากลับบ้านก่อนหัวหน้า ทำไงดี? โดนสั่งให้ทำงานที่มันไม่ใช่         จะก้มหน้ายอมรับหรือยืดอกปฏิเสธดี เป็นต้น (2) ต้องทั้งวางแผนทั้งวางอุบาย อยากอยู่อย่างผู้ชนะก็จะต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เช่น เห็นคนอื่นนินทาแล้วขัดหูขัดตา แต่ถ้าไม่ร่วมวงจะเป็นตัวประหลาดไหม ผลงานของทั้งแผนกไม่ดี เรื่องอะไรมาโยนความผิดให้ฉันคนเดียว ไม่ได้เจตนาจะแย่งความดีความชอบ แต่งานนี้ผลงานฉันคนเดียวจริงๆ! เป็นต้น และ (3) เส้นสายก็คือเส้นทางการเงิน อยากให้ลูกค้าเชื่อมั่นและยอมรับในตัวคุณ จงเริ่มต้นจากการรับฟังและสร้างหีบห่อให้ตัวเองเสียก่อน เช่น มันเป็นขั้นตอนและระเบียบของบริษัท ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจ ชอบติดต่อตอนเลิกงานหรือเวลาพักผ่อน ฉันรอตอบกลับในเวลาทำงานได้ไหม ลูกค่าคิดแต่จะให้ลดราคา ฉันควรยืนอยู่ฝั่งบริษัทหรือฝั่งลูกค้าดี เป็นต้น ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งประสบการณ์ที่ได้นำมาถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้นำมาปรับใช้กับสถานการณ์ที่พบเจอในที่ทำงาน ลองเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสรับรองว่าจะผ่านทุกๆ ปัญหาไปได้   



Messenger