ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ



     นายผดุง เปลี่ยนดี ปลัดอำเภอโท อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มอบให้เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙       จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ตราประทับดินเผารูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร มีด้ามจับเป็นทรงกรวยแหลม ยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร ส่วนปลายเจาะรูกลม สันนิษฐานว่าใช้สำหรับสำหรับร้อยเชือกเพื่อพกพานำติดตัว ผิวหน้าเป็นภาพกระต่ายมองเห็นด้านข้าง โดยกระต่ายหันหน้าไปทางด้านขวา กระต่ายมีหูยาว ตากลม หางกลมสั้น อยู่ในท่าหมอบ ประกอบอยู่กับลวดลายคล้ายพรรณพฤกษาหรืออาจเป็นลายเปลวไฟภายในกรอบวงกลมที่มีล้อมรอบด้วยลายเม็ดประคำ ลวดลายทั้งหมดนี้เป็นร่องลึกลงไป สำหรับนำไปกดประทับบนวัสดุ เช่น ดินเหนียว เพื่อให้เกิดรอยประทับนูนขึ้นมาบนผิววัสดุนั้น      กระต่าย เป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเนื่องในพุทธศาสนา โดยปรากฏในชาดกเรื่อง “สสปัณฑิตชาดก” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคุณธรรมของกระต่ายที่เสียสละชีวิตเป็นอาหารให้เป็นทานแก่ผู้อื่น กระต่ายจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรม นอกจากนี้ในวัฒนธรรมอินเดียกระต่ายยังเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับการเมืองหรือประชาชนด้วย      ในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีพบรูปกระต่ายไม่มากนัก นอกจากตราประทับชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปกระต่ายบนฐานบัวซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นส่วนประดับบนจุกภาชนะดินเผา จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ประติมากรรมปูนปั้นรูปกระต่าย ใช้ประดับ ศาสนสถาน พบจากตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และยังพบเหรียญเงินซึ่งด้านหนึ่งมีรูปกระต่ายบนฐานบัวส่วนอีกด้านเป็นรูปศรีวัตสะด้วย      ตราประทับรูปกระต่ายนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นตราประทับที่พ่อค้า หรือนักเดินทาง พกติดตัวเข้ามาหรืออาจผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยคนพื้นเมืองทวารวดี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของบุคคลหรือกลุ่มคน อาจเกี่ยวข้องกับศาสนา หรือใช้เป็นเครื่องรางก็เป็นได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง ณัฐิกานต์ จันต๊ะยอด. (๒๕๖๑). สัตว์สัญลักษณ์บนเหรียญเงินทวารวดี. สืบค้น ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ จาก http ://coinmuseum.treasury.go.th /news_view.php?nid=149.   ดวงกมล  อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔. อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙. อนันต์  กลิ่นโพธิ์กลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.



          ๑. การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐานในแต่ละห้องภาพนั้น เน้นจุดเด่นคือตัวภาพที่บรรยายลักษณะของพระภิกษุกำลังพิจารณาสภาพซากศพในลักษณะต่างๆ ตัวภาพมีขนาดใหญ่อยู่บริเวณด้านล่างของแต่ละห้องภาพ ตัวภาพที่เขียนเป็นภิกษุจะมีการเขียนสีตัวภาพแล้วตัดเส้นแบบแผนโบราณ แต่ผ้านุ่งหรือจีวรมีการไล่น้ำหนักของสี แสดงให้เห็นถึงผ้าที่พริ้วและทับซ้อนเสมือนจริง ทั้งตัวภาพที่เป็นซากศพแต่ละลักษณะ ช่างก็เขียนไปในทางเสมือนจริงเช่นกัน การเขียนภาพในเรื่องเกี่ยวกับจริยวัตรของพระภิกษุเช่นนี้เป็นราชนิยมในช่วงรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในงานจิตรกรรมฝาผนัง โดยการกำหนดอายุของจิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ดนี้ก็คงไม่ได้พิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพเพียงอย่างเดียวจะต้องพิจารณาในเรื่องของเทคนิคหรือมุมมองของการเขียนภาพของช่างเขียนและองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาคารสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏ หรือ การเขียนตัวภาพที่มีต่างชาติร่วมด้วยทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาได้เช่นกัน ภาพที่ ๑ การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐาน           ๒. การเขียนธรรมชาติ จิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ด เป็นการเขียนบรรยากาศโดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่กว้างและลึกระยะใกล้ ไกล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนท้องฟ้า ภูเขา ต้นไม้ หรือ ทะเล แม่น้ำ ช่างเขียนเป็นภาพลักษณะเสมือนจริงมีการไล่น้ำหนักแสงเงา ตามแบบแผนการเขียนภาพทางตะวันตก เนื่องจากในช่วงสมัยนั้นมีการนิยมการเขียนภาพลักษณะนี้ ทั้งยังเขียนภาพแบบมีระยะเช่นต้นไม้ที่อยู่ใกล้มีขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่อยู่ระยะไกลออกไปมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยตามลำดับ การเขียนใบไม้ใช้วิธีแต้มสี และกระทุ้งเพื่อไล่น้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงที่กระทบกับใบไม้ ภาพที่ ๒ การเขียนธรรมชาติ           ๓. การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต มีการเขียนอาคารในรูปแบบทางตะวันตกผสมผสาน เขียนภาพอาคารแบบภาพเปอร์สเปคทีฟ (Perspective)แสดงถึงความลึกทั้งยังใช้เรื่องของสี ร่วมด้วย คือในระยะที่ลึกเข้าไปภายในอาคารจะไล่น้ำหนักของสีใช้สีเข้มทึบดำเพื่อแสดงให้เห็นถึงความลึกเข้าไปภายในเสมือนกับแสงที่ไม่สามารถส่องเข้าไปได้ ทั้งยังมีการเขียนสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นเข้าไปในภาพด้วย เช่นชีวิตของชาวเล การทำประมง รูปแบบเรือต่างๆ ซึ่งภาพที่ปรากฏนี้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องของประวัติศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วยภาพที่ ๓,๔ การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต ๔. มีการนำศิลปะ ๒ แขนง มาผสมผสานกัน ผนังด้านหน้าพระประธาน คือประติมากรรมและจิตรกรรม ภาพที่ ๕ การเขียนผสมผสาน           ๕. ยังคงมีการเขียนตัวภาพแบบประเพณีอยู่ คือ ภาพเทพชุมนุม นักสิทธิวิทยาธร โดยเขียนเครื่องทรงอาภรณ์ มีชฎาผ้านุ่งตัดเส้นแบบไทยประเพณี และมีการเขียนคั่นภาพด้วยเส้นสินเทาภาพที่ ๖,๗ การเขียนตัวภาพแบบประเพณี


          สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เผยแพร่ในรูปแบบ E-Book สามารถอ่านออนไลน์ได้ทาง https://www.nat.go.th/คลังความรู้/หนังสือทรงคุณค่า


การทำแผนที่แบบตะวันตกเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มต้นจากการที่นายเฮนรี่ อาละบาสเตอร์ (Henry Alabaster) ราชทูตอังกฤษประจำสยามและที่ปรึกษาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กราบบังคมทูลคำแนะนำการทำนุบำรุงบ้านเมืองแบบตะวันตกหลายประการ รวมทั้งการสำรวจและทำแผนที่ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ แผนที่เพื่อวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปเมืองพระตะบอง แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม พ.ศ. ๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยามให้สถาบันการแผนที่อินเดียทำการวางโครงข่ายสามเหลี่ยม สายเขตแดนตะวันออก โดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ที่ภูเขาทอง และจุดตรวจสอบที่พระปฐมเจดีย์ และโยงต่อออกไปจนถึงบริเวณปากอ่าว เพื่อจะได้โยงยึดเข้าด้วยกันกับสายหมุดหลักฐานที่สถาบันการแผนที่อินเดียได้ทำเข้ามาทางทะเล สำหรับใช้สำรวจแผนที่ทางทะเล ซึ่งมีนายร้อยเอก เอช ฮิลล์ (H. Hill) เป็นหัวหน้ากองแผนที่ นายเจมส์ แมคคาร์ธี (James McCARTHY) เป็นผู้ช่วย และเป็นผู้นำระบบโครงข่ายสามเหลี่ยมเข้ามา ถือเป็นพื้นฐานการทำแผนที่ของประเทศไทยในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต และโปรดเกล้าฯ ให้นายอาละบาสเตอร์ ดำเนินการ ในเวลานั้น นายอาละบาสเตอร์ ได้กราบบังคมทูลเสนอให้นายแมคคาร์ธี เข้ามารับราชการในสยามหลังจากปฏิบัติงานของสถาบันการแผนที่อินเดียเสร็จสิ้น ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากรมทำแผนที่ขึ้น โดยมีพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี) เป็นเจ้ากรมทำแผนที่คนแรก แผนที่หลักระวางแรกที่กรมแผนที่จัดทำขึ้น เป็นแผนที่พระราชอาณาจักรสยาม “Map of The Kingdom of Siam and its Dependencies” หรือเรียกตามชื่อเจ้ากรมแผนที่ ว่า “แผนที่แมคคาร์ธี” ส่งไปพิมพ์ที่อังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ภายในแผนที่มีส่วนแทรกเป็นแผนที่ผังเมืองขนาดย่อ ๓ เมือง ได้แก่ เมืองกรุงเทพฯ เมืองเชียงใหม่ และเมืองหลวงพระบาง ต่อมา ราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักรจะจัดพิมพ์แผนที่ราชอาณาจักรสยาม เพื่อแนบไปกับหนังสือ SURVEYING AND EXPLORING IN SIAM ที่นายแมคคาร์ธี เจ้ากรมทำแผนที่ได้เขียนไว้ ราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักรจึงได้มอบหมายให้นายเฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สไมลส์ (Herbert Warington Smyth) เป็นผู้ปรับแก้แนวเขตแดนของสยามในแผนที่ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรก (พ.ศ. ๒๔๓๐) ให้ตรงกับอาณาเขตที่มีอยู่จริงใน พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) เนื่องจากสยามเสียดินแดนส่วนหนึ่งทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปในเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งในการจัดพิมพ์แผนที่ครั้งที่ ๒ นี้ ได้นำแผนที่ผังเมืองขนาดย่อ ๓ เมือง ได้แก่ เมืองกรุงเทพฯ เมืองเชียงใหม่ และเมืองหลวงพระบาง ลงพิมพ์แทรกไว้เช่นเดียวกับการจัดพิมพ์ครั้งแรกด้วย แต่ในส่วนของแผนที่ผังเมืองเชียงใหม่ พบว่ามีการปรับเพิ่มแนวสะพานพระเจ้าอินทวิชยานนท์ข้ามลำน้ำปิง (ขัวกุลา) หรือ สะพานหมอชีกเข้าไปด้วยผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๖๐. ย้อนอดีตล้านนา ตอน รวมเรื่องน่ารู้จากแผนที่เมืองนครเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒. มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. ม.ป.ป. “ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  เล่มที่ ๑๒ เรื่องที่ ๑๐ แผนที่. (Online).   https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php..., สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔.๓. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม.  ๒๕๖๔. เบื้องหลังการทำแผนที่เมืองไทย “ฉบับแรก” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (Online).   https://www.silpa-mag.com/history/article_64436, สืบค้นเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๔.


ชื่อเรื่อง                                วินยสงฺเขป (วิไนฮอม) สพ.บ.                                  301/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 60 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ข/1-17  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.305/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เมื่อสอบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวัดราชาธิวาส จากเอกสารจดหมายเหตุของกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงศึกษาธิการ และหนังสือหายาก (กจช. น2/200) ภายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พบว่ามีเรื่องราวน่าสนใจที่ควรย้อนอดีตเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวัดราชาธิวาส วัดราชาธิวาส มีชื่อเรียกแต่เดิมว่า “วัดสมอราย” เป็นวัดโบราณเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชาธิวาสเป็นวัดที่เจ้านายหลายพระองค์ได้จำพรรษาในขณะทรงผนวช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ และกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ อีกหลายพระองค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อจุลศักราช 1213 (พ.ศ. 2394) ได้พระราชทานนามวัดสมอรายใหม่ให้มีนามว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” สืบมาถึงปัจจุบัน ------------------------- การบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระอาจารย์ศรี (พระปัญญาพิศาลเถร) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มาจำพรรษาและทรงปฏิสังขรณ์พระอารามให้อยู่ในสภาพดี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงปลูกพระตำหนักช่อฟ้าใบระกา 5 ห้อง มีเฉลียงรอบ เคียงคู่กับพระอุโบสถข้างทิศทักษิณ ถวายแด่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎไว้เป็นที่ประทับ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมต่อจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อสร้างใหม่หมดทั้งวัด ซึ่งเป็นการซ่อมและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ที่ปรากฏอยู่คือ พระอุโบสถ พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฏิไม้ทาสีแดง หอสวดมนต์ ถนนหิน ลานหิน ภูเขาถมอ เสาหิน เขื่อนคู ถนนผ่ากลางวัด พร้อมทั้งสะพาน นอกจากนั้นทรงหล่อพระสัมพุทธพรรณีประดิษฐานในพระอุโบสถด้วย นอกจากนั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีพระราชศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศลร่วมการปฏิสังขรณ์วัดด้วย และทรงรับเป็นพระอุปถัมภิกา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ หอไตร ศาลาการเปรียญ สะพานท่าน้ำ กุฏิเจ้าอาวาส กุฎีที่ชำรุด หอสวดมนต์ และให้เขียนภาพเวสสันดรชาดกที่ฝาผนังด้านในพระอุโบสถต่อจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างพระตำหนักสมเด็จพระอัยยิกาและสร้างเขื่อนหน้าวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ย้ายพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยมาประดิษฐานไว้ในวัด และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างกุฏิตึกแถว 3 หลัง ในคณะบน สร้างเขื่อนกั้นน้ำ ครัวไฟ กำแพง ศาลาท่าน้ำ รั้วคอนกรีต และประตูด้านหน้าวัด เป็นต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บูรณะพระสัมพุทธวัฒโนภาส ฐานชุกชีพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียบเรียงโดย บุศยารัตน์ คู่เทียม นักจดหมายเหตุเชี่ยวชาญ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ------------------------- อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชนิพนธ์เรื่องวัดสมอราย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิกสำนักวัดราชาธิวาส, 22 เมษายน 2499. (กจช. น. 2/200) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ 6(ร)/37 - 42 เรื่อง การปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาส (23 เม.ย. ร.ศ. 123 - 18 เม.ย. ร.ศ. 129) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ ร.6 ศ 9.1/105 เรื่อง ปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาศ กรุงเทพ (27 พ.ย. 2453 - 8 มิ.ย. 2467) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ ร.6 ศ 9.1/106 เรื่อง ปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาศ (15 - 30 ธ.ค. 2467) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงศึกษาธิการ ร.7 ศ 9.1/41 เรื่อง ขออนุญาตจ่ายเงินบัญชีพระราชทรัพย์เดิมทำการก่อสร้างกุฏิและอื่น ๆ ที่วัดราชาธิวาสกับเรี่ยไรในการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า (24 ธ.ค. 2473 - 29 ต.ค. 2474) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงศึกษาธิการ ร.7 ศ 15/10 เรื่อง นิตยภัตพระสงฆ์วัดราชาธิวาส (13 - 20 ม.ค. 2473) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพหอพระสมุดวชิรญาณ 46M00057 ภาพการปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาส หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพหอพระสมุดวชิรญาณ 46M00060 ภาพวัดราชาธิวาส หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 002 หวญ 39/19 ภาพวัดราชาธิวาส หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพหอพระสมุดวชิรญาณ (2) ภ 004 หวญ 3/1 ภาพพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) พระประธานในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพถ่ายทางอากาศ ชุด Williams Hunt ภ WH 2/149 ภาพวัดราชาธิวาส #องค์ความรู้จากจดหมายเหตุ #จดหมายเหตุ



ชื่อผู้แต่ง         ทองหยก เลียงพิบูลย์ ชื่อเรื่อง          นิทานชีวิต (เงาบุญ - เงาบาป) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     นครหลวง สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๕๗๐  หน้า รายละเอียด                    หนังสือ  เรื่องเงาบุญ  เงาบาป (นิทานชีวิต)  จัดพิมพ์บริจาคเพื่ออุทิศส่วนกุศล แด่นายเกษม และ ด.ญ.วัชรีวรรณ  ล่ำซำ  เนื่องในวันถึงแก่กรรมครบรอบ  ๑๒ ปี  ในวันที่  ๖  กรกฎาคม  ๒๕๑๖  เป็นหนังสือชุดกฎแห่งกรรม  รวมจำนวน  ๑๐  เรื่อง


          พิมาย เป็นดินแดนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บริเวณเมืองพิมายในอดีตสันนิษฐานว่าครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในปัจจุบันคือ อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย บางส่วนของอำเภอประทาย บางส่วนอำเภอโนนแดง บางส่วนอำเภอโนนสูง และบางส่วนอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์          เมืองพิมาย ปรากฏร่องรอยของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการมาตามลำดับ จนเจริญสูงสุดในสมัยวัฒนธรรมเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ มีการขยายเมือง วางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีศาสนสถานอยู่กลางเมือง มีบารายนอกเมืองตามแบบเมืองในวัฒนธรรมเขมรทั่วไป และปรากฏชื่อ “วิมาย”ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำเดียวกับพิมายอย่างชัดเจนในช่วงเวลานี้ ในจารึกที่พบที่พิมายและที่พบในประเทศกัมพูชา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิมายและอาณาจักรเขมร ซึ่งมีหลักฐานต่อเนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมเขมรช่วงสุดท้ายที่ปรากฏที่เมืองพิมาย          เมื่ออาณาจักอยุธยาสถาปนาขึ้นในบริเวณภาคกลางเมืองพ.ศ. ๑๘๙๓ อำนาจทางการเมืองของอยุธยายังไม่เข้าครอบคลุมดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรอยู่ แม้ว่าจำนวนประชากรจะเบาบางลงและอาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงมากแล้วก็ตาม การที่เมืองพิมาย เคยเป็นเมืองสำคัญระดับศูนย์กลางอำนาจในภูมิภาคแถบนี้มาก่อน จึงมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการเมืองและเครือญาติกับบรรดาหัวเมืองของเขมรในภาคอีสานและศูนย์กลางที่เมืองพระนคร โดยยังคงความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เมื่ออยุธยาพยายามขยายอำนาจมาทางตะวันออก จะต้องเข้าควบคุมดินแดนในบริเวณต้นแม่น้ำมูลก่อน ถึงแม้ว่าอยุธยาจะสามารถทำลายศูนย์กลางอำนาจของเขมรได้สำเร็จและได้ดินแดนบางส่วนมาอยู่ในความควบคุม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมดินแดนแถบนี้ได้อย่างเรียบร้อย เนื่องจากอยู่ไกลและการคมนาคมไม่สะดวก และหัวเมืองเขมรในอีสานก็อาจจะเข้ามากับเขมรเมื่อต้องทำศึกกับอยุธยา          ด้วยเหตุนี้ ทำให้ราชสำนักอยุธยาต้องเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสถานภาพของเมืองใหม่เพื่อควบคุมสถานการณ์ และเป็นตัวแทนของราชสำนักในบริเวณนี้แทนที่เมืองพิมาย นอกจากจะเป็นการตัดกำลังของเขมรแล้ว ยัง สามารถใช้เป็นฐานกำลังของตนในการขยายอำนาจ โดยเพิ่มความสำคัญทางการเมืองให้กับเมืองนครราชสีมา ขึ้นเป็นศูนย์อำนาจในระดับภูมิภาคแทน ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนัก เมืองนครราชสีมาได้กลายเป็นฐานกำลังของราชสำนักอยุธยาในภูมิภาคนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของราชสำนักในการควบคุมปกครองหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำเร็จ และผลักดันเมืองศูนย์กลางเดิมให้มีฐานะเป็นเมืองขึ้น          ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกในทำเนียบหัวเมือง ตามกฎหมายตราสามดวงบทพระอัยการนายทหารหัวเมืองที่ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นเมืองเดียวที่ปรากฏในทำเนียบเมืองสมัยอยุธยาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของเมืองพิมายน่าจะคงอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา แต่เป็นเมืองขึ้นที่มีประชากรหนาแน่น พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและคมนาคมจากเมืองนครราชสีมาไปสู่อาณาจักรเขมร และเจ้าเมืองพิมายน่าจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดหรือเป็นที่ไว้ใจพิมายน่าจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดหรือเป็นที่ไว้ใจของเจ้าของเจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มเมืองนครราชสีมา –พิมาย เข้ามาใกล้ชิดศูนย์กลางอำนาจในส่วนกลางมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มห่างไกลจากเขมรมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถพัฒนาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนโดยเฉพาะด้านภาษาพูด แต่ในช่วงเวลานี้อำนาจของอยุธยายังคงครอบคลุมอยู่เพียงตอนต้นของแม่น้ำมูล          ในรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๒๐๐) ได้ทรงส่งช่าวชาวฝรั่งเศสมาออกแบบผังเมืองและสร้างป้อมกำแพงเมืองนครราชสีมาใหม่ ก็ปรากฏชื่อของเมืองพิมายเป็นเมืองหน้าด่านของนครราชสีมาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ในระยะเวลาก่อนหน้านี้ เมืองพิมายได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยาอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของราชสีมา          เมื่อสมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไว้วางพระทัยอีกคนหนึ่งไม่ยอมอ่อนน้อมราชสำนักอยุธยาต้องใช้เวลาปราบกบฏกว่า ๓ ปี เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว เมืองนครราชสีมาได้ถูกลดบทบาทลง โดยให้หัวเมืองที่ขึ้นกับนครราชสีมาเพิ่มบทบาททางการเมืองของตนให้มากขึ้น เป็นการถ่วงดุลมิให้มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงเมืองเดียว ทำให้เมืองนครราชสีมาอ่อนแอลง เพราะเกิดกบฏบุญกว้างซึ่งเป็นลาว สามารถยึดนครราชสีมาได้และยกลงมาจนถึงลพบุรี จากนโยบายนี้และการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งของชาวกุยในเขตควบคุมของเมืองพิมายในปลายสมัยอยุธยาทำให้ฐานะของเมืองพิมายเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง          ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๒๖๐ ชาวกุยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์แถบเมืองอัดปือแสงปางได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่า เขมรป่าดง (ปัจจุบันคือพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ) เข้ามาตั้งชุมชนกระจัดกระขายอยู่ทั่วไป การเข้ามาของชาวกุยทำให้เมืองพิมายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะดินแดนเขมรป่าดงอยู่ในเขตปกครองเมืองพิมาย ซึ่งครอบคลุมไปถึงเขตแดนต่อกับเมืองจำปาศักดิ์ (บริเวณห้วยขยุงในเขตจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) ดังนั้นเมืองพิมายซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเมืองขึ้นของนครราชสีมาจึงเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นเพื่อควบคุมชาวกุยเหล่านี้ ในช่วง ๑๐ ปี สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนัก เมืองพิมายมีอิทธิพลและอำนาจทางการเมืองพอๆกับนครราชสีมา เนื่องจากต้องการให้มีความเข้มแข็งสามารถควบคุมชาวกุยที่อพยพเข้ามาตั้งชุมชนใหม่ๆ ได้          ปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ทรงตั้งผู้นำชาวกุย ๕ คน ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ทำราชการควบคุมชาวกุยในเขตชุมชนของตนโดยให้ขึ้นกับเมืองพิมาย เป็นการตอบแทนที่ช่วยจับช้างเผือกกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองพิมายได้เข้ามาควบคุมปกครองชาวกุยอย่างจริงจัง โดยตั้งชาวกุยออกเป็นชุมชน เป็นบ้านต่างๆ จากการปฏิบัติราชการของเจ้าเมืองพิมายยังความพอพระทัยให้กับพระเจ้าเอกทัศน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากส่วยของป่าที่มีค่าของชาวกุยได้ถูกลำเลียงไปสู่ราชสำนัก เป็นสินค้าที่มีค่าสูงในระบบการค้าต่างประเทศของอยุธยาอย่างมากมาย เช่น ช้าง แก่นสน ปีกนก นอแรด งาช้าง          ต่อมาให้ยกชุมชนชาวกุยจากบ้านขึ้นเป็นเมือง คือเมืองขุขันธ์ เมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) เมืองสังขะ และเมืองรัตนบุรี เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเหล่านี้จากหลวงขึ้นเป็นพระ โดยให้ขึ้นกับเมืองพิมาย ทำให้เมืองพิมายมีอำนาจและบารมีเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งมีความมั่นใจที่ทำให้เมืองพิมายเป็นศูนย์กลางอำนาจท้องถิ่นแทนเมืองนครราชสีมา และประสบความสำเร็จในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๑๑          การที่พม่ามุ่งเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาทำให้หัวเมืองตะวันออกอยู่นอกเขตการรบ จึงยังคงมีกำลังทรัพย์และกำลังคนที่อุดมสมบูรณ์อยู่ เหมาะกับการที่จะใช้เป็นที่ตั้งฐานกำลังเพื่อขยายอำนาจทางการเมือง กรมหมื่นเทพพิพิธและพรรคพวกจึงยึดครองเมืองนครราชสีมาไว้ แต่ก็ถูกตีโต้จากขุนนางท้องถิ่นของเมืองพิมายจนประสบความพ่ายแพ้          เจ้าเมืองพิมายต้องการให้กรมหมื่นเทพพิพิธประทับอยู่ที่เมืองพิมายจนมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมืองนครราชสีมา สถาปนากรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้ารวมทั้งจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลโดยมีเขตแดนตั้งแต่หัวเมืองตะวันออกฝั่งดอนไปจรดเขตแดนของหัวเมืองลาว ใช้ชื่อว่าชุมนุมเจ้าพิมายและย้ายศูนย์กลางอำนาจจากนครราชสีมา มาอยู่ ณ เมืองพิมาย คงทิ้งกำลังทหารจำนวนหนึ่งไว้นอกเมืองนครราชสีมาเพื่อรักษาเมืองเท่านั้น พร้อมทั้งสถาปนาขุนนางน้อยใหญ่ตามแบบราชสำนักโดยให้พระพิมายเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการ ตั้งบุตรพระพิมายเป็นพระยามหามนตรีและพระยาวรวงศาธิราช มีข้าราชการและผู้มีที่หนีมาจากกรุงศรีอยุธยาเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ปรากฏมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายทีเมืองพิมายหลายแห่ง เช่น เมรุน้อยและโบสถ์เจ้าพิมาย ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว เมรุพรหมทัตและพระพุทธรูปขนาดใหญ่อีก ๒ องค์ ปัจจุบันอยู่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย เข้าใจว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ แต่อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงได้ตกอยู่กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และพรรคพวก          เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชขับไล่ข้าศึกที่ยึดครองอยู่บริเวณภาคกลางของไทยไปแล้ว จึงเริ่มนโยบายรวมชาติ โดยเข้าโจมตีชุมชนเจ้าพิมายในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ ชุมนุมพิมายได้จัดทัพรับแต่ก็พ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มขุนนางที่เข้าร่วมกับชุมนุมเจ้าพิมายหนีหายไป เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระยามหามนตรี และตัวกรมหมื่นเทพพิพิธถูกประหารชีวิต เป็นอันสิ้นสุดสภาพรัฐอิสระของพิมายอย่างเด็ดขาด          พระเจ้าตากสินฯ ทรงจัดการปกครองหัวเมืองแถบนี้เสียใหม่ โดยให้นครราชสีมาเป็นเมืองเอกเมืองเดียวในภูมิภาคอีสีสาน แต่ก็ยังทรงทำอะไรไม่ได้มากนัก เนื่องจากยังมีสงครามติดกันอยู่ และราชสำนักเอง ก็ขาดแคลนกำลังคนในการจัดการปกครองในภูมิภาค จึงต้องใช้ขุนนางในพื้นที่ แต่การแต่งตั้งเจ้าเมืองนครราชสีมาและเมืองพิมาย ทรงกระทำด้วยความรอบครอบเพราะต้องการคนที่ไว้วางพระทัย เนื่องจากหัวเมืองแถบนี้มีกำลังคนมากและเคยจัดจั้งชุมนุมเป็นรัฐอิสระมาแล้ว          จะด้วยเหตุใดก็ตาม ทรงแต่งตั้งให้ขุนขนะ (ต้นสกุล กาญจนาคม) ขุนนางท้องถิ่นในนครราชสีมา ที่มีความดีความชอบในการจับกรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาผู้นี้ เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินฯอีกผู้หนึ่งในช่วงจลาจลในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ส่วนเจ้าเมืองพิมายเมืองขึ้นของนครราชสีมาจะเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ แต่มีชื่อของยกกระบัตรเมืองพิมาย (ปิ่น ต้นสกุล ณ ราชสีมา) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองพิมายและนครราชสีมาในโอกาสต่อไป-----------------------------------------------------------ข้อมูลและเรียบเรียงนำเสนอ โดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี-----------------------------------------------------------บรรณานุกรม ขจีรัตน์ ไอราวัณวัฒน์. ความสำคัญทางการเมืองของเมืองนคราชสีมา : บทบาทของเจ้าเมืองตระกูล ณ ราชสีมา ระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๘๘ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๓๒ คุรุสภา ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ กรุงเทพฯ:คุรุสภา ,๒๕๐๖ ---------.ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๐ กรุงเทพฯ:คุรุสภา ,๒๕๒๘ ดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยา .จดหมายเหตุเสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และ มณฑลอุดรอีสาน ร.ศ. ๑๒๕ พ.ศ.๒๔๔๙ .กรุงเทพฯ:มูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและ หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล และพะราชธิดา,๒๕๗๘ เติม วิภาคย์พจนกิจ.ประวัติศาสตร์อิสาน.พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์๒๕๓๐ ธิดา สาระยา เมืองประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ ๒๕๓๘ มานิต วัลลิโภดม นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา,พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพขุนคงฤทธิ์,กรุงเทพฯ:คุรุสภา ๒๕๑๓ ศรีศักดิ์ วัลลิโภคมโบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา.กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ ๒๕๒๕ ศิลปากร,กรม พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ กรุงเทพฯ ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย ๒๕๓๔๐ -----------. พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาน พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางโสฬสนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์,๒๕๓๙ ----------. เรื่องกฎหมายตราสามดวง กรุงเทพฯ:อุดมศึกษา,๒๕๒๐ สุรัตน์ วรางครัตน์ การค้าต่างแดนของอิสานในอดีต ,วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๑๐ เล่มที่ ๒ ๒๕๒๗ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา,นครราชสีมา :นิวส มบูรณ์การพิมพ์ ,๒๕๒๖ ----------. หมู่พงศาวดารชื่อพงศาวดารเมืองประทายสมันต์ เลขที่ ๐๐๑,๓



-- องค์ความรู้ เรื่อง รวมคำถาม – มีคำตอบ “การทำลายเอกสาร” -- ในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลายๆ หน่วยงานยังคงคร่ำเคร่งกับการจัดการกับเอกสาร โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติส่วนงานบริหารทั่วไปของแต่ละหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติตามระเบียบฯ ในการสำรวจเอกสารที่ประสงค์จะทำลาย ระหว่างการปฏิบัติงานตรงนี้ เจ้าหน้าที่อาจจะเกิดคำถามมากมาย ในวันนี้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา ซึ่งเป็นส่วนงานที่มีภารกิจหนึ่งคือให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ จึงขอรวบรวมคำถาม พร้อมคำตอบ ที่แต่ละหน่วยงานสอบถามเข้ามามาก เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานนั้น และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะทำลายเอกสารต่อไป โดยจะพยายามตอบคำถามให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย หากผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานใด ท่านใด ยังมีความสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา แนะนำสามารถทักทายในกล่องข้อความ หรือโทรเพื่อสอบถามได้ที่ เบอร์โทร 0-5441-1051 โดยสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอคำปรึกษาเรื่องการทำลายเอกสารราชการ หากหน่วยงานใดประสงค์รับคู่มือแนะนำการทำลายเอกสาร สามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางการสื่อสารทั้งสองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คำตอบเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานเอกสารที่กำลังคร่ำเคร่งในห้วงเวลานี้ผู้เขียน : นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


Messenger