ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.566/6 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 185 (340-346) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ. 429/ก/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา คัมภีร์สัททาวิเสส ศัพท์การกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "กรกฎาคม" ระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ ก.ค. ๒๕๖๖ เชิญพบกับ "รำลึกวันภาษาไทยแห่งชาติ : สมุดไทยภูมิปัญญาไทย" ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี หรือสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยแสกน QR Code
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ทัพพีไม้เขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ววัสดุ ไม้ ประวัติ พบที่แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ลักษณะ รูปทรงคล้ายช้อนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ตกแต่งลายเขียนสีแดง บริเวณด้ามจับเขียนลายทาง และบริเวณที่ตักสิ่งของเขียนลายเส้นคดโค้ง --------------------------------------------------คำว่า ประตูผา มาจากลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ที่เป็นแนวเขาลูกโดดสองลูกต่อกัน ระหว่างกลางมีช่องแคบเล็ก ๆ ทำให้ดูเหมือนกำแพงสูงที่มีช่องประตูตรงกลาง จึงเป็นที่มาของชื่อประตูผา.แหล่งโบราณคดีประตูผา ได้พบหลักฐานการทำกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนเขตพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในบริเวณนี้ โดยพบภาพเขียนสีซึ่งยาวที่สุดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และร่องรอยการประกอบพิธีกรรมการฝังศพบริเวณพื้นดินใต้ภายเขียนสี.แม้ที่แหล่งนี้จะมีการถูกขุดรบกวนจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ แต่ก็ยังคงพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่สภาพสมบูรณ์และน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ทัพพีไม้เขียนสี พบจำนวน 2 อัน ในหลุมขุดค้นที่ 2 ชิ้นหนึ่งมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แตกหักบริเวณที่ตักของ อีกชิ้นเหลือเพียงส่วนที่ตักของ .ทัพพีไม้เขียนสีทำด้วยไม้ชิ้นเดียวที่มีการถากและขูดเอาเนื้อไม้ออกจนได้รูปร่างที่ต้องการ สันนิษฐานว่าคงทำขึ้นเพื่อเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย เนื่องจากมีการเขียนลายสีแดงตกแต่งทั้งชิ้นเพิ่มความสวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของคนในอดีต ที่ไม่เพียงรู้จักการผสมสีจากหินสีหรือดินเทศเพื่อใช้เขียนภาพบนผนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำมาเขียนภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ด้วย และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกันเป็นผู้วาดก็เป็นได้. ปัจจุบันทัพพีไม้เขียนสีนี้จัดแสดงอยู่ในตู้แหล่งโบราณคดีประตูผา ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่--------------------------------------------------อ้างอิง- ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (2542). การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 206, 299.- กรมศิลปากร. (2544). เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. หน้า 8, 29-37.- อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ.(2549) รูปเขียนดึกดำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 43.- ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2564). ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. ภาพเขียนสีค่ายประตูผา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/103.ที่มารูปภาพภาพลายเส้นทัพพีไม้- กรมศิลปากร. เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2544.ภาพลักษณะช่องเขาที่มาชื่อประตูผา- สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นศึกษาและคัดลอกภาพเขียนสี แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.
คืนนี้ (วันที่ 5 ธันวคม 2566) 18.00 - 21.00 น. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทดลองระบบไฟกิจกรรม "ซุโขทัย Light up" ขอเชิญชวนผู้สนใจมาถ่ายรูป แต่งชุดไทย มาดูไฟที่อุทยานฯสุโขทัย กันนะ
ทั้งนี้ กิจกรรม "ซุโขทัย Light up" ทุกศุกร์ - อาทิตย์ เวลา 18.00-21.00 น. เริ่มวันที่ 8 ธันวาคม 2566 - 31 มกราคม 2567 มีกิจกรรมที่น่าสนใจดังนี้
- เปิดไฟส่องสว่างโบราณสถาน
- ครั้งแรก ! กับการเดินชมวัดมหาธาตุ ยามค่ำคืน
- ฟังวิทยากรบรรยายนำชมวัดมหาธาตุ วันละ 2 รอบ (18.30/19.30)
- การแสดงจากนักเรียน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า "ศรีอินทราทิตย์" และโรงเรียนลิไทพิทยาคม
- นั่งรถรางชมความงามโบราณสถานยามค่ำคืน
- อิ่ม อร่อย กับอาหาร ที่ตลาดท่าน้ำรับเสด็จ
เต้าปูน
แบบศิลปะ : อยุธยา
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูง 11 เซนติเมตร กว้าง 3.6 เซนติเมตร
ลักษณะ : ทรงสูง ตัวด้านนอกทำเป็นรูปทรงถ้วยชาหรือจอกขนาดเล็ก ด้านในเมื่อดึงฝาออกมีลิ้นทรงกระบอกคอดกลางยื่นออกมาสำหรับใส่ฝา ก้นมีเชิง, ฝาทรงสูง ส่วนล่างผายเล็กน้อย จุกฝาทำเป็นทรงยอดรูปดอกบัวตูม
สภาพ : ค่อนข้างสมบูรณ์ มีคราบสนิมจับทั่วไป
ประวัติ : พบที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2505 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544
สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/21/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานบัตรอวยพร (ส.ค.ส.) เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ แก่ปวงชนชาวไทย โดยด้านหน้าของบัตรพระราชทานพรปีใหม่ มีตราประจำพระราชวงศ์จักรีอยู่กึ่งกลาง ด้านล่างเป็นตราพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และตราพระนามาภิไธย ส.ท.
ทั้งนี้ เมื่อเปิดบัตรพระราชทานพร ด้านซ้ายมีข้อความว่า "พระราชทานพรปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๗" พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ส่วนด้านขวาเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงฉายกับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ใต้พระบรมฉายาลักษณ์ระบุพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การสำรวจ ศึกษาวิจัยและจัดทำฐานข้อมูลเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินในประเทศไทย” วิทยากร นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
จารึกวัดข่วงชุมแก้ว พ.ศ. ๒๐๓๒ จารึกวัดข่วงชุมแก้ว หรือจารึกวัดหนองหนาม ลพ. ๒๓ เดิมอยู่ในพิพิธภัณฑ์มณฑลพายัพ วัดพระธาตุหริภุญชัย หนังสือวิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เรียกจารึกนี้ตามสถานที่พบว่าจารึกวัดหนองหนาม ปัจจุบันอยู่ในตำบลหนองหนาม อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ต่อมาในจารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ จารึกในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ได้ใช้ชื่อว่าวัดข่วงชุมแก้ว ด้วยพบคำว่าวัดข่วงชุมแก้วปรากฏในจารึกหลักนี้ จารึกวัดข่วงชุมแก้ว แผ่นหินทรงใบเสมา จารึกด้วยอักษรฝักขาม ระบุ พ.ศ. ๒๐๓๒ ตรงกับรัชกาลพญายอดเชียงราย กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ ๑๐ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๐-๒๐๓๘ เนื้อหาของจารึก ระบุศักราชได้ ๘๕๑ ตัว ปีกัดเร้า หรือจุลศักราชได้ ๘๕๑ ตรงกับพ.ศ. ๒๐๓๒ ปีระกา เนื้อหาโดยย่อ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงมหาเทวี ได้พระราชทานจังโกอันปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งได้ถวายข้าคำสำหรับอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและดูแลวัด จำนวน ๑๐ ครัวเรือน ซึ่ง มหาเถรมังคลพุทธิมาเจ้า ได้สร้างอารามข่วงชุมแก้ว เมืองควก ตามฤกษ์ที่ปรากฏบนจารึก ตรงกับวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๐๓๒ ในครั้งนั้นได้มีการถวายข้าคน ตามรายนามดังนี้ พันจัน ถวายข้าคน ๓ ครัวเรือน แม่มหาเถรมังคลพุทธิมาเจ้า จำนวน ๑ ครัวเรือน มหาเถรมังคลพุทธิมาเจ้า ๔ ครัวเรือน สืบต่อเนื่องกันไปจนถึงลูกหลานสืบต่อกันไปตราบต่อเท่าสิ้นศาสนา ๕,๐๐๐ ปีเนื้อหาโดยย่อด้านที่ ๒ ส่วนแรกกล่าวถึงจารึกระบุถึงการฝังหินจารึกในอีก ๒ วันต่อมา โดยมีปรากฏสักขีพยานประกอบไปด้วยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ท่ามกลางประชาชนในเมืองควก ได้แก่ มหาพุกามเจ้า มหาสามีศรีสุนันทะกัลยาณะ กับราชบัณฑิต ตามด้วยชื่อขุนนาง มีพันนาหลังเชียงน้อย แสนเขาสอย ร้อยนาหลัง ล่ามหมื่น ลำพันคอม ส่วนที่สอง กล่าวถึงการรับพระราชอาชญาจากมหาราชเทวีให้ราชบัณฑิตชื่อญาณวิสารทะ พร้อมด้วยมหาพุกามเจ้า ไปยังที่ประชุมพระสงฆ์โดยมี มหาสามีศรีสุนันทะกัลป์ยาณะเป็นประธาน ผูกพัทธสีมาไว้ในวัดข่วงชุมแก้วนี้ แบ่งเป็นเขต ๒ เขต ท่ามกลางหมู่พระสงฆ์ที่มาชุมนุมกันอยู่ในขณะนี้ทราบโดยทั่วกัน มหาเทวีที่ปรากฏในจารึกนี้ อาจเป็นพระมเหสีในพระเจ้ายอดเชียงราย ที่ครองราชย์ในขณะนั้น ด้วยในรัชสมัยของพระองค์ปรากฏการสร้างวัดหลายแห่งโดยปรากฏชื่อมหาเทวี เช่น จารึกวัดตะโปทารามที่กล่าวถึงพระนางอะตะปาเทวี จารึกวัดพวกชอด พ.ศ. ๒๐๓๔ จารึกวัดมหาวัน (พะเยา) และจารึกวัดต้องแต้ม ที่กล่าวถึงการสร้างวัดของมหาเทวี แสดงให้เห็นถึงสถานะของสตรีชั้นสูงในสมัยล้านนาที่มีบทบาทในการทำนุบำรุงพระศาสนาโดยได้ถวายสิ่งของ ข้าคน มอบอำนาจให้ราชบัณฑิตในการกำหนดเขตวัดหรือเขตสีมาหรือกระทำการแทน อ้างอิง ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
#นิทานอีสปในยุคแรกของไทยเมื่อเห็นประโยค “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” คงพอจะเดากันได้ว่า มาจากนิทานอีสปนั่นเอง เมื่อนิทานจบ ก็จะมีข้อคิดแถมท้ายนิทานแต่ละเรื่อง นิทานอีสปเป็นนิทานสั้นๆ เนื้อเรื่องอ่านสนุกมีข้อคิด เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำนิทานอีสปมาแปลเป็นภาษาไทย โดยมีหลักฐานการเผยแพร่นิทานอีสปสู่ประเทศไทยที่ชัดเจน ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 6 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้นิทานอีสปได้รับความนิยมแพร่หลายในประเทศไทยในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ 3-4นิทานอีสป ของ หมอบรัดเลย์ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ชื่อว่า จดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2387 และพบว่าในหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ 7 มีการเรียบเรียงนิทานอีสปลงพิมพ์ จำนวน 2 เรื่อง โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นนิทานอีสป แต่ได้ตั้งชื่อว่า คำเปรียบข้อหนึ่ง และ คำเปรียบข้อสอง และมีชื่อเรื่องนิทานภาษาอังกฤษกำกับไว้ หลังจากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2407 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ได้กลับมาออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอร์อีกครั้ง และได้เรียบเรียงนิทานอีสป ลงพิมพ์ด้วย รวมทั้งสิ้น 44 เรื่องสมัยรัชกาลที่ 5อิศปปกรณัม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและชุมนุมกวี มีการกล่าวถึงการแปลนิทานอีสปในพระราชวิราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2447 จึงคาดว่า นิทานอีสป หรือ อิศปปกรณัมนี้ คงจะแปลในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2447 โดยได้ทรงแปลนิทานอีสปจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยร่วมกับปราชญ์และกวีในราชสำนักอีกหลายท่าน อาทิ พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาราชสัมภารากร พระเทพกระวี กรมหลวงพิชิตปรีชา กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ขุนท่องสื่อ พระทิพยวินัย และขุนภักดีอาษา ซึ่งไม่ทราบว่าทรงแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษฉบับใด ลักษณะเป็นนิทานร้อยแก้วขนาดสั้น ท้ายนิทานแต่ละเรื่องด้วยจะมีการสรุปเนื้อหาข้อคิดจากนิทาน และประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจ ในลักษณะ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อเป็นคติสอนใจและแนวทางแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง ปัจจุบันต้นฉบับตัวเขียนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อีสปปกรณัม เก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติสมัยรัชกาลที่ 6นิทานอีสป ของ ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (พ.ศ. 2453)นิทานอีสปสำนวนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสหรือที่รู้จักกันในชื่อ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) นิทานอีสปสำนวนนี้ จัดพิมพ์แทรกอยู่ในหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของโรงเรียนอัสสัมชัญ ภายในเล่มมีการสอนการอ่าน การเขียน หลักเกณฑ์ของภาษา และนิทานต่างๆ เพื่อให้ เด็กได้ฝึกอ่าน รวมทั้งนิทานอีสปด้วยนิทานอีสป ของพระจรัสชวนะพันธ์ หนังสือนิทานอีสปของพระจรัสชวนะพันธ์ หรือ มหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี จัดทำขึ้นโดยได้รับคำแนะนำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ให้แปลและเรียบเรียงหนังสือนิทานอีสปเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2456) เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับหัดอ่านของเด็กชั้นมูลศึกษา (เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ จำนวนพิมพ์ 30,000 เล่ม ราคาเล่มละ 25 สตางค์ มีนิทานทั้งสิ้น 45 เรื่อง มีคติธรรมสอนใจ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” อยู่ท้ายนิทานทุกเรื่อง บรรณานุกรมจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. อิศปปกรณำ: นิทานอีสป ฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. อิศปปกรณัม: วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2562.เมธาธิบดี, พระยา. แบบเรียนภาษาไทย นิทานอีสป. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/10202ฮีแลร์, ฟ. ดรุณศึกษา ตอนกลาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จากhttp://164.115.27.97/digital/items/show/19645เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#นิทานอีสป #บรรณารักษ์ชวนรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
วันที่ 6 มกราคม 2566 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ หน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สุพรรณบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “สนุกอ่าน สนุกคิด” ในโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ โรงเรียนวัดตลาดใหม่(อินทประชาสรรค์) ต.ตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม 75 คน
วันที่ 6 มีนาคม 2567 นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ สำรวจพื้นที่ของศพด.สังกัด อบต.ดอนปรู เพื่อจัดกิจกรรมโครงการนิทาน โดยร่วมหารือกับ นางสาวศากุน ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการกองการศึกษา อบต.ดอนปรู
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองชากังราว : ต้นทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดกำแพงเพชร... วัฒนธรรม (Culture) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น และสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ประเพณี ศาสนา ความเชื่อ และหมายรวมถึงแบบแผนพฤติกรรมทั้งหมดของสังคมที่สืบทอดกันต่อมานับแต่อดีตผ่านการเรียนรู้ คิดค้น ดัดแปลงจากสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีแบบแผนประเพณี ศิลปกรรม เป็นต้น .ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง สิ่งดีงามที่มีอยู่เดิมของสังคมที่สั่งสมสืบทอดกันมา โดยอาจเป็นวัฒนธรรมสิ่งที่จับต้องได้ (Tangible) อาทิ วัดวาอาราม โบราณสถาน หรือวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) เช่น ประเพณี ความเชื่อ ..Pierre Bourdieu นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เสนอแนวคิดเรื่องทุนทางวัฒนธรรมว่าจำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ .๑. ทุนภายในตัวบุคคล (embodied state) อยู่ในรูปแบบของทุนทางวัฒนธรรมที่ผ่านการสั่งสมในตัวบุคคลมาเป็นเวลานาน และแสดงออกผ่านลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม หรือความรู้สึกนึกคิดผ่านตัวบุคคลนั้น ๆ.๒. ทุนทางรูปธรรม (objectified state) ทุนทางวัฒนธรรมที่อยู่ในรูปแบบวัตถุ โดยวัตถุนั้นสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เช่น รูปภาพ หนังสือ เครื่องดนตรี เป็นต้น.๓. ทุนทางสถาบัน (institutionalized state) ทุนทางวัฒนธรรมที่อยู่ในรูปแบบของสังคม เกิดจากการเชื่อมโยงคุณค่าของบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับสถาบัน องค์กร หรือสถานที่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดหรือที่มาอันจะนำไปสู่การรับรองคุณค่าหรือคุณสมบัติที่อยู่ในบุคคลหรือวัตถุนั้น ๆ ..เมืองชากังราว เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏชื่อตั้งแต่สมัยสุโขทัยในศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ (พ.ศ. ๑๙๑๑) สืบเนื่องมายังหลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องราวในสมัยอยุธยา ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. ๑๘๙๙ รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (พ.ศ. ๒๒๒๓) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทั้งนี้จากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชากังราวได้แน่ชัด.พระวินิจฉัยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เกี่ยวกับเรื่องเมืองชากังราวปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาครั้งแรกในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ และทรงพระนิพนธ์อธิบายเพิ่มเติมในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ว่าเมืองชากังราวเป็นเมืองเดิมของเมืองนครชุมซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำปิง ใต้ปากคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร และเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในเวลาต่อมา ดังตัวอย่างความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง.“...เรื่องเมืองกำแพงเพชรเก่าใหม่ตรวจในสมัยต่อมาได้ความดังนี้ ที่เรียกว่าเมือง “นครปุ” นั้น ที่ถูกคือเมือง “นครชุม”...เมืองนี้ เมืองเดิมที่เรียกในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมืองชากังราว ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกใต้ปากคลองสวนหมาก เมืองกำแพงเพชรที่ริมน้ำทางฝั่งตะวันออกเป็นเมืองสร้างทีหลัง...”.นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการที่สันนิษฐานคล้ายคลึงกันว่าเมืองชากังราวคือเมืองเดิมของเมืองกำแพงเพชร หรือตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (บทความเรื่อง หลักการสอบค้นเมืองในสมัยสุโขทัย ในหนังสือ ผลงานค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทย และ เรื่องของเกลือ (ไม่) เค็ม) รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (บทความเรื่อง เมืองกำแพงเพชร ในรายงานการสัมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา สาระยา (บทความเรื่อง กำแพงเพชร - รัฐอิสระ ในรายงานการสัมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร) ..จากความเชื่อที่แพร่หลายและความภาคภูมิใจว่าเมืองชากังราวคือเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ทำให้ประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชรนำทุนทางวัฒนธรรมนี้มาเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริการในท้องถิ่น สอดคล้องกับแนวคิดของ Pierre Bourdieu ในการนำทุนทางวัฒนธรรมประเภทที่สามทุนทางสถาบัน (institutionalized state) มาประยุกต์ใช้ โดยการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ของตนให้ตามชื่อเมืองเดิมในอดีตอันเป็นรากฐานวัฒนธรรมที่สืบต่อมายังปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด และความเป็นเอกลักษณ์ของชื่อที่บ่งบอกถึงจังหวัดกำแพงเพชร อาทิเช่น บะหมี่ชากังราว (ประมาณ ๘๐ ปีมาแล้ว ) เฉาก๊วยชากังราว (พ.ศ. ๒๕๔๔ ) สถานประกอบการ เช่น โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว (พ.ศ. ๒๕๒๐ ) รวมถึงการประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร เช่น การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ภาค ๕ ครั้งที่ ๔๐ “ชากังราวเกมส์” ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นต้น...เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (๒๕๕๗). ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ประเภททุนทั่วไป. ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗.ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๔๕๗). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กับคำอธิบายของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). หอสมุดวชิรญาณ.ธิดา สาระยา. (๒๕๒๘). กำแพงเพชร - รัฐอิสระ. ใน รายงานการสัมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร. (หน้า ๓๐๘-๓๑๗). วิทยาลัยครูกำแพงเพชร.ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๑๔). หลักการสอบค้นเมืองในสมัยสุโขทัย. ใน ผลงานค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทย และ เรื่องของเกลือ (ไม่) เค็ม. (หน้า ๔๔-๔๗). โรงพิมพ์อักษรสมัย.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๑๙). เที่ยวเมืองพระร่วง (พิมพ์ครั้งที่ ๘). มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์.ศรีศักร วัลลิโภดม. (๒๕๒๘). เมืองกำแพงเพชร. ใน รายงานการสัมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร. (หน้า ๒๐๙-๒๑๕). วิทยาลัยครูกำแพงเพชร.เอกราช จันทร์กลับ. (๒๕๖๓). แนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].Bourdieu, Pierre. (1986). The Forms of Capital. in Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (P 241-258). Greenwood.