ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระพุทธบาทบัวบก บริเวณนี้พบแหล่งภาพเขียนสีบนผนังเพิงหินอยู่ ๒ จุด จุดแรกได้แก่ "โนนสาวเอ้ ๑" ซึ่งเป็นโขดหินขนาดใหญ่อยู่กลางลานหิน ภาพเขียนสีบนผนังด้านทิศตะวันออกจัดเป็นภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีแดง เป็นลายเส้นรูปต่างๆ เช่น ลายเส้นคู่ขนาน ลายหยักฟันปลา ลายสี่เหลี่ยมต่อกันเป็นแถวยาว นอกจากนี้ยังมีลายเส้นเขียนด้วยสีขาวเป็นภาพช้าง หงส์และม้า สันนิษฐานว่าเป็นงานที่เขียนขึ้นในสมัยหลัง ถัดจากโนนสาวเอ้ ๑ ไปอีกประมาณ ๕ เมตร เป็นที่ตั้งของแหล่งภาพเขียนสี "โนนสาวเอ้ ๒" ซึ่งปรากฎภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังเพิงหินด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ เป็นภาพลายเส้นคู่ขนานต่อกันเป็นรูปหลายเหลี่ยม ภาพลายวงกลมคล้ายก้านขดและภาพลายเส้นคล้ายสัตว์ที่มี ๔ ขา
ภาพโนนสาวเอ้ ๑
ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้ ๒
วันศุกร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
เวลา ๑๓.๐๐ น.
โรงเรียนบ้านหนองซา
อ. กระนวน จ. ขอนแก่น
จำนวน ๘๘ คน
เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
โดยมีนางแพรว ธนภัทรพรชัย เป็นผู้ให้การต้อนรับ
โครงการเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณ จัดกิจกรรม "อบรมความรู้เกี่ยวกับคุณค่าและวิธีการดูแลเอกสารโบราณ"
ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ถนนหนองยวน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร
ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้
๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙
๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ
- โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท
- โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน
๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว
๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้
๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน
๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔
๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา
๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ
๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน
หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต
หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 เป็นหนังสือที่รวบรวมและเรียบเรียง ภาพ เอกสาร และเหตุการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลองเหตุการสำคัญในครั้งนั้น จัดพิมพ์สี่สีสวยงาม 1 ชุดประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม บรรจุในกล่องสวยงาม จำหน่ายราคาชุดละ 1,750 บาท
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทูมธานี โทร 02-9027940
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. เรียงความเรื่อง อุตสาหกรรมเครื่องทองลงหิน ฉบับชนะการประกวดได้รับรางวัลที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๘ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พิมพ์เผยแพร่ ปีที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๐๘. พระนคร : โรงพิมพ์กระดาษไทย, ๒๕๐๘.
การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับภูมิภาคด้านการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณี (SEAMEO CHAT) ครั้งที่ ๑๓ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมมัณฑะเลย์ ฮิลล์ รีสอร์ท เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในการประชุมครั้งนี้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ (Governing Board Members) และผู้แทนเข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น ๖ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และผู้แทนจากสำนักเลขาธิการองค์การ SEAMEO กรุงเทพฯ เนื่องจากศูนย์ SEAMEO CHAT ได้เปลี่ยนกำหนดการประชุมเดิมจากวันที่ ๒๕ – ๒๗ กันยายน ๒๕๕๗ เป็นวันที่ ๙ – ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ส่งผลให้ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสิงคโปร์ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้
พิธีเปิดการประชุม
การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO CHAT จัดขึ้น ณ ห้องบอลล์รูม โรงแรมมัณฑะเลย์ฮิลล์ รีสอร์ท โดย ดร. โซ วิน (Dr. Soe Win) อธิบดีกรมอุดมศึกษา (เมียนมาร์ตอนบน)[1] กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและแสดงความขอบคุณทุก ๆ คนที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของศูนย์ ดร.โซ วิน ได้กล่าวถึงการปฏิรูป ๔ ด้านโดยกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และเน้นถึงการปฏิรูปการศึกษา ๒ ส่วนคือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และการอุดมศึกษา (Higher Education) ในส่วนของการอุดมศึกษามีแผนงานที่สำคัญคือ การกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาและส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยบริหารตนเองแยกเป็นอิสระจากระบบราชการ (university autonomy) นอกจากนี้ ดร. โซ วินยังได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ SEAMEO CHAT ในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสนับสนุนให้ศูนย์ SEAMEO CHAT ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และท้ายที่สุดยังได้แสดงความหวังว่าคณะกรรมการบริหารจากประเทศสมาชิกจะร่วมกันเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของศูนย์ต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้น ดร. ทินสิริ ศิริโพธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การ SEAMEO ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมว่าการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์นับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประชุมจะมีผลโดยตรงต่อการดำเนินโครงการและกิจกรรมของศูนย์ และการดำเนินงานของศูนย์ต่อภูมิภาค และแสดงความขอบคุณรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ SEAMEO CHAT และแสดงความขอบคุณ คณะกรรมการบริหารทุกคนสำหรับความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน
จากนั้น จึงเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกประธานและรองประธานที่ประชุม โดย Dato’ Wan
Khazanah Ismail จากประเทศมาเลเซียได้รับคัดเลือกเป็นประธานที่ประชุม และProf. Dr. Mo Mo Than จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้รับคัดเลือกเป็นรองประธาน หลังจากนั้น ประธานที่ประชุมขอให้กรรมการบริหารและผู้แทนจากประเทศสมาชิกแนะนำตัวเอง และเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการประชุม
สาระของการประชุม
การประชุมเริ่มโดยประธานหารือที่ประชุมเกี่ยวกับเรื่องขององค์ประชุม ซึ่งรองผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการองค์การ SEAMEO แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามแนวปฏิบัติของ SEAMEO การประชุมคณะกรรมการบริหารจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ๒ ใน ๓ แต่ครั้งนี้มีกรรมการบริหารเข้าร่วมประชุมเพียง ๕ ประเทศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากการประชุมได้มีการจัดเตรียมพร้อมแล้วจึงสามารถดำเนินการประชุมได้ได้ แต่วาระการประชุมใดที่ต้องมีการรับรองหรือให้ความเห็นชอบ จำเป็นต้องส่งให้กรรมการบริหารที่มิได้เข้าร่วมประชุมมีประชามติก่อนจึงสามารถดำเนินการได้
การประชุมเริ่มต้นโดย Daw Myint Myint Ohn ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าในการประชุมครั้งนี้มีเอกสารที่จะนำเสนอรวมทั้งสิ้น ๑๑ ชุด จากนั้น ที่ประชุมจึงได้ร่วมกันพิจารณาเอกสารการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
เรื่องเพื่อทราบ
๑. การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารศูนย์ (Governing Board Member) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย (WP – 1)
ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT แจ้งต่อที่ประชุมว่าในส่วนของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการบริหารศูนย์เนื่องจากมีการแต่งตั้งอธิบดีกรมศิลปากรคนใหม่ รวมถึงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการด้วย
กรรมการบริหารศูนย์ เปลี่ยนเป็น Mr. Bovornvate Rungrujee
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนเป็น H.E. Admiral Narong Pipattanasai
มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
๑. การแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT (WP – 6)
ดร. ทินสิริ ศิริโพธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการองค์การ SEAMEO เสนอที่ประชุม ให้เลื่อนระเบียบวาระการประชุมที่ ๙ (WP – 6) เรื่องการแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT ขึ้นมาพิจารณาก่อน จากนั้น ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง Daw Myint Myint Ohn เป็น
ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT แล้ว จึงขอให้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๒. การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงในการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์
ครั้งที่ ๑๒ (WP – 2)
ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT นำเสนอรายงานการประชุมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามข้อตกลงในการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๑๒ (เอกสารหมายเลข ๒) ตามรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
๒.๑ บทความเรื่อง Traditional Festivals
ที่ประชุมสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการแจกจ่ายหนังสือ “Traditions in Southeast Asia “ Vol. 1 โดยขอให้ศูนย์ SEAMEO CHATจัดส่งหนังสือให้แก่คณะกรรมการบริหารทุกคนด้วย นอกจากนี้ ยังได้สอบถามถึงความคืบหน้าของหนังสือ “Traditional Festivals” Vol. 2 ว่ามีประเทศสมาชิกส่งบทความเพื่อนำลงพิมพ์ในหนังสือแล้วจำนวนเท่าใด ซึ่งศูนย์ SEAMEO CHAT แจ้งว่ามีผู้ส่งบทความเพียง ๔ บทความจาก ๔ ประเทศ ได้แก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ที่ประชุมจึงขอให้ศูนย์ SEAMEO CHAT ส่งหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานและสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวอีกครั้ง
๒.๒ โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลและการให้บริการภายในห้องสมุด
ที่ประชุมได้สอบถามถึงความคืบหน้าของโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูล และการให้บริการห้องสมุดของศูนย์ ซึ่งศูนย์ SEAMEO CHAT ได้แจ้งว่าขณะนี้ศูนย์ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทำให้การพัฒนาศูนย์ข้อมูลไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการภายในห้องสมุดก็มีเพียงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่ จำเป็นต้องต้องรอให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรบุคลากรมาทดแทนก่อน
๓. รายงานประจำปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗) (WP – 3)
ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT นำเสนอรายงานประจำปีของศูนย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗ ตามรายละเอียด ดังนี้
๓.๑ โครงการวิจัยและพัฒนา
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี ศูนย์จึงได้จัดทำโครงการจัดพิมพ์หนังสือ “Traditional Festivals of Southeast Asia” โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดพิมพ์จากกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
มติที่ประชุม เห็นชอบให้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยขอให้ศูนย์ SEAMEO CHAT มีหนังสือ
แจ้งรายละเอียดโครงการไปยังประเทศสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลไปยังมหาวิทยาลัย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๒ โครงการที่ริเริ่มใหม่ของศูนย์
ศูนย์ SEAMEO CHAT ได้จัดการสัมมนาหัวข้อ “ย้อนอดีตประเพณีเมียนมาร์” (Myanmar Traditions in Retrospect) ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ตลอดจนความตระหนักรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และประเพณีของชาติ โดยมีนักวิชาการและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยในกรุงย่างกุ้งนำเสนองานศึกษาวิจัยรวมทั้งสิ้น ๑๕ เรื่อง
๓.๓ โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพ
ศูนย์ SEAMEO CHAT ได้รับความร่วมมือจากศูนย์ต่าง ๆ ของ SEAMEO ส่งบุคลากรมาจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรของศูนย์ อาทิ SEAMEO SPAFA จัดอบรมหลักสูตรเรื่องการเขียนโครงการเพื่อ ขอสนับสนุนทุนในการวิจัย และ SEAMEO INNOTECH จัดอบรมหลักสูตรเรื่องการเขียน Proposal โครงการ เป็นต้น
๓.๔ ความร่วมมือในภาพรวมของภูมิภาค
- การเสริมสร้างความร่วมมือระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ
ศูนย์ SEAMEO CHAT มีการประสานความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานทั้งภายในประเทศ
ระดับภูมิภาค และนานาชาติในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ Dr. Elizabeth Howard Moore จากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ดร. Maria Jaschok จากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และโครงการที่ศูนย์ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นต้น
-การเพิ่มช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆของ SEAMEO
ศูนย์ SEAMEO CHAT ได้ดำเนินการปรับปรุงเว็บไซต์ของศูนย์ โดยพัฒนาข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย อย่างไรก็ดี เนื่องจากขณะนี้ศูนย์ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากร และเว็บไซท์กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการปรับปรุง จึงยังอาจมีข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่ครบถ้วน และไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง
นอกจากเว็บไซท์แล้ว ศูนย์ยังมีการจัดทำเอกสาร แผ่นพับ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นช่องทางในการเผยแพร่โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ด้วย
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการจัดทำวารสาร หรือ Newsletter ของศูนย์ SEAMEO CHAT ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปรับเปลี่ยนจากวารสารสิ่งพิมพ์เป็น e – newsletter แต่ ณ ปัจจุบันผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT ได้แจ้งว่ายกเลิกการจัดทำวารสารของศูนย์แล้ว เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ
๓.๕ ความมั่นคงทางการเงิน
ศูนย์ SEAMEO CHAT มีแนวทางการหารายได้จากโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศูนย์จัดขึ้น ได้แก่
-โครงการประวัติศาสตร์พม่าจากมุมมองของชาวพม่า (Myanmar History from Myanmar Perspectives)
ที่ประชุมได้อภิปรายเกี่ยวกับโครงการนี้กันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า
ค่าลงทะเบียนในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นมากจาก 800 USD เป็น 1500 USD ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าเดินทางจากประเทศต้นทางมายังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งศูนย์ SEAMEO CHAT แจ้งว่ามีต้นทุนในการจัดการเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ที่ประชุมจึงขอให้ศูนย์พิจารณาหาแนวทางเพื่อ ลดค่าใช้จ่ายโครงการลง โดยเสนอแนะว่าศูนย์อาจทบทวนนำโครงการเดิมซึ่งส่วนใหญ่เดินทางโดยรถ มาดำเนินการ หรืออาจลดค่าใช้จ่ายโดยเน้นการทัศนศึกษาเฉพาะแหล่งประวัติศาสตร์บางแห่ง ซึ่งอาจช่วยลดค่าลงทะเบียนได้เช่นกัน
มติที่ประชุม เห็นชอบ โดยให้ศูนย์ SEAMEO CHAT พิจารณาหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายและค่าลงทะเบียนโครงการ Myanmar History from Myanmar Perspectives ตามที่เสนอแนะ
-โครงการสอนภาษาอังกฤษ (English Language Proficiency Courses)
ศูนย์ SEAMEO CHAT มีรายได้จากการเปิดสอนภาษาอังกฤษแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งรายได้จากโครงการดังกล่าวได้รับการจัดสรรให้แก่ครูผู้สอน บุคลากรในโครงการ วัสดุอุปกรณ์ และรัฐบาลตามสัดส่วน
ในส่วนของการนำเสนอรายงานประจำปีของศูนย์ รองผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ SEAMEO ได้แนะนำว่าศูนย์ SEAMEO CHAT ควรจัดทำรายงานประจำปีโดยยึดแนวทางเดียวกันกับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของ SEAMEO เพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกับศูนย์อื่น ๆ
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๔. รายงานด้านการเงิน (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗) (WP – 4)
ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT นำเสนอที่ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดรายรับและรายจ่ายในการดำเนินงานของศูนย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๕. รายละเอียดประมาณการงบประมาณในช่วง ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑) (WP – 5)
ผ.อ. ศูนย์ SEAMEO CHAT รายงานที่ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดประมาณการงบประมาณในช่วง ๓ ปี โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเอกสารงบประมาณดังกล่าว) และสอบถามข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ในส่วนของห้องสมุด ที่ประชุมได้สอบถามว่ามีบุคลากรปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งศูนย์ได้ชี้แจงว่าเนื่องจากบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานได้เลื่อนขึ้นไปรับผิดชอบหน้าที่อื่น และในการจัดสรรบุคลากรมารับหน้าที่แทนจะต้องได้รับการจัดสรรและผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลเมียนมาร์ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้การดำเนินงานของศูนย์ขาดความคล่องตัว
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๖. การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
ผ.อ. ศูนย์ SEAMEO CHAT รายงานเรื่องการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหม่ (WP – 7) ซึ่งได้แก่ U Khaing Win
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๗. ประเด็นสำคัญ ข้อตกลง และการดำเนินงานอันเป็นผลจากการประชุม SEAMEO
(WP – 8)
รองผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการองค์การ SEAMEO นำเสนอที่ประชุมเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ ข้อตกลง และการดำเนินงานอันเป็นผลจากการประชุม SEAMEO โดยเน้นถึงประเด็นสำคัญ ๔ ประเด็นคือ
การเฉลิมฉลองในวาระ ๕๐ ปีของการก่อตั้งองค์การ SEAMEO นโยบายที่เกี่ยวข้อง โครงการและกิจกรรมของ SEAMEO และความร่วมมือต่าง ๆ
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๘. รายงานความคืบหน้าโครงการมีส่วนร่วมกับชุมชนของศูนย์ซีมีโอแชท (WP – 9)
ดร. Naw Si Blut นักวิจัยอาวุโสศูนย์ SEAMEO CHAT แจ้งว่าใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศูนย์ได้รับโรงเรียนในความอุปถัมภ์เพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง คือ โรงเรียน Kyeemyindaing นอกจากนี้ ศูนย์ยังได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้แก่
- โครงการนำนักเรียนทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อปลูกฝังความเป็นชาติและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน
- โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสอนระหว่างครูจากโรงเรียนในความอุปถัมภ์และศูนย์ SEAMEO CHAT
- โครงการมอบรางวัลให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ดีเด่น
- โครงการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของโรงเรียน
- การแสดงความสามารถของนักเรียน เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอความเห็นให้ศูนย์ขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนและนักเรียน
มติที่ประชุม เห็นชอบ
เรื่องอื่น ๆ
๑. โครงการสัมมนานานาชาติเรื่อง “จารีตประเพณีในกระแสความเปลี่ยนแปลง”
(Traditions in a Changing World) (WP – 10)
ดร. Win Myat Aung นักวิจัยอาวุโสประจำศูนย์ SEAMEO CHAT รายงานที่ประชุมว่า ศูนย์กำหนดจัดการสัมมนานานาชาติในหัวข้อ “จารีตประเพณีในกระแสความเปลี่ยนแปลง” (Traditions in a Changing World) ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบ ๕๐ ปีการก่อตั้งองค์การ SEAMEO โดยเนื้อหาของการสัมมนาจะเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีของประเทศต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ที่ประชุมได้สอบถามถึงงบประมาณในการดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมายของการสัมมนา ซึ่งศูนย์ SEAMEO CHAT แจ้งว่าได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานจากสำนักเลขาธิการองค์การ SEAMEO สำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเป็นนักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเสนอแนะให้คัดสรรงานวิจัยที่จะนำเสนอในการสัมมนาเพื่อให้การสัมมนามีความน่าสนใจและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
มติที่ประชุม เห็นชอบ
๒. โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “สังคมและวัฒนธรรมชาวมอญ” (Mon Culture and
Society) (WP – 11)
ดร. Win Myat Aung นักวิจัยอาวุโสประจำศูนย์ SEAMEO CHAT นำเสนอที่ประชุมเกี่ยวกับโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง“สังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญ” ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลความรู้ทั้งในด้านสภาพสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนมอญในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยจะเป็นการบรรยายให้ความรู้ในกรุงย่างกุ้ง ๒ วัน และศึกษาดูงานชุมชนมอญในเมืองต่าง ๆ ๔ วัน ค่าลงทะเบียน 1000 USD
ที่ประชุมได้แนะนำให้ศูนย์ SEAMEO CHAT พิจารณาเลื่อนระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการนี้ออกไปเป็นเดือนมีนาคมหรือหลังจากนั้น เนื่องจากหากยึดกำหนดการเดิมศูนย์จะต้องรับผิดชอบจัดโครงการถึง ๒ โครงการภายในเดือนเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ศูนย์ประสบปัญหาในการดำเนินงาน
๓. การแสดงความขอบคุณและระลึกถึงอดึตกรรมการบริหาร
ที่ประชุมเสนอให้ศูนย์มีหนังสือแสดงความขอบคุณและระลึกถึงไปยังอดีตกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO CHAT ในโอกาสครบ ๕๐ ปีการก่อตั้งองค์การ SEAMEO
๔.คณะกรรมการบริหารศูนย์จากประเทศสมาชิกมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่โรงเรียนในความอุปถัมภ์ของศูนย์ SEAMEO CHAT
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO CHAT ครั้งที่ ๑๒ ที่ประชุม มีมติให้ประเทศสมาชิกให้ความร่วมมือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ประจำชาติและความรู้เกี่ยวกับอาเซียนเพื่อมอบให้แก่โรงเรียนในความอุปถัมภ์ของศูนย์ SEAMEO CHAT
ในการนี้ กรรมการบริหารจากประเทศมาเลเซีย ไทย และเวียดนามได้นำอุปกรณ์สื่อ การเรียนการสอนมอบให้แก่ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO CHAT เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนในความอุปถัมภ์ต่อไป ๕. กำหนดเวลาและสถานที่ประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๑๔
ที่ประชุมมีมติให้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO CHAT ครั้งที่ ๑๔
ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กันยายน ๒๕๕๘
สรุป
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ซีมีโอแชทครั้งที่ ๑๓ ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
การประชุมสิ้นสุดเวลา ๑๒.๐๐ น. วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534