ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
ชื่อเรื่อง อานิสงส์เวสสันดร (ฉลองมหาชาด) สพ.บ.422-1ข
สพ.บ. 422-1ข
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55.3 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
เทศน์มหาชาติ
ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอมธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
50Royalinmemory ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๐๗ (๑๕๘ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าคุณจอมมารดาสำลี พระสนมเอก (สกุลเดิม บุนนาค) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๑ พระชนมายุ ๙๔ พรรษา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๗๖.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓๖ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “โครงกระดูกมนุษย์จากวัดชมชื่น หลักฐานของคนก่อนสุโขทัย” เปิดให้ชมระหว่างวันที่ ๒๑ กันยายน - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
นิทรรศการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อกิจการพิพิธภัณฑ์ไทย และเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนในการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่เป็นมรดกของชาติสืบไป เนื้อหานิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อันเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกก่อนการขยายตัวและพัฒนาเป็นเมืองศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัย
ขอเชิญชมนิทรรศการ “โครงกระดูกมนุษย์จากวัดชมชื่น หลักฐานของคนก่อนสุโขทัย” ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
#มหามกุฎราชวงศานุประพัทธ์ ๑๘ มิถุนายน ๒๓๙๓ วันประสูติพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์.พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๓๐ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม ประสูติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๓๙๓.เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับยังพระบวรราชวัง พระองค์ทรงสร้างพระราชมณเฑียรแห่งใหม่ขึ้น โดยมีลักษณะเป็นเก๋งจีน เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรแห่งใหม่นั้น พระองค์เกิดพระอาการประชวรติดต่อเป็นเวลานาน เมื่อซินแสเข้ามาดูจึงกราบทูลว่า เนื่องจากพระที่นั่งเก๋งจีนองค์นี้ สร้างในที่ฮวงจุ้ยที่เป็นอัปมงคล ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้รื้อพระที่นั่งเก๋งจีนลง ไปปลูกไว้ที่นอกวังหลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่บริเวณที่สร้างพระที่นั่งเก๋งจีนองค์เดิม แต่ได้เลื่อนตำแหน่งที่ตั้งไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นตึกฝรั่ง เรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า "พระที่นั่งวงจันทร์" ตามพระนามของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระที่นั่งใหม่ว่า "พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์".พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๕๙ สิริพระชันษา ๖๗ ปี.พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ นับเป็นพระราชภาติยะในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔.ภาพ : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565
หลายจังหวัดมีการจัดงานอย่างสนุกสนานหลังจากว่างเว้นกันมาจากการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ลอยกระทง หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำตรงกับคืนวันเพ็ญ เดือน 12 มีการจุดธูปเทียนปักลงบนสิ่งที่ไม่จมน้ำที่ประดิษฐ์เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ
ประเพณีลอยกระทงมีมานานตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณ พ.ศ. 1800 นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้
การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยสุโขทัย กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลากพอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ใบตอง กาบกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ ประดับด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียนปักที่กระทง แล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปในแม่น้ำลำคลอง ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ชื่อเรื่อง วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรีผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 294.3135 ว416สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรีปีที่พิมพ์ ม.ป.ปลักษณะวัสดุ 32 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม. หัวเรื่อง วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี -- ประวัติภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดป่าเลไลยก์วรวรวิหาร สุพรรณบุรี เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ รวมถึงโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ เรื่อง "พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้มจระนำวัดช้างล้อม"เมืองศรีสัชนาลัยพบพระพุทธรูปที่มีการทำชายสังฆาฏิพับซ้อนแบบธรรมชาติ ๒ แห่ง ได้แก่พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้มจระนำวัดช้างล้อม และพระพุทธรูปลีลาปูนปั้น ในวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ซึ่งพระพุทธรูปลีลาปูนปั้นนี้ สันนิษฐานว่าเป็นงานที่สร้างขึ้นในสมัยของพญาลิไทหรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีวัดช้างล้อมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ ที่พบเศษเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หยวน กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งตรงกับในสมัยของพญาลิไท ดังนั้นการทำชายสังฆาฏิลักษณะนี้ น่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่พบได้ในพระพุทธรูปปูนปั้นและพระพุทธรูปสำริดสมัยสุโขทัยบางองค์ เช่น กลุ่มพระพุทธรูปสกุลช่างน่าน ที่วัดกู่คำ และวัดกอก จังหวัดน่าน เป็นต้นปัจจุบันพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานในซุ้มจระนำเจดีย์วัดช้างล้อม องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดได้ย้ายมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัยเอกสารอ้างอิงศักดิ์ชัย สายสิงห์.พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์, ๒๕๕๖.__________. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 55/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ฆ
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง อุทัย วงศ์ทางสวัสดิ์
ชื่อเรื่อง โหงวเฮ้ง
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2532
จำนวนหน้า 209 หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายลออง พูลสวัสดิ์
รายละเอียด หนังสือที่ระลึกงานศพนายลออง พูลสวัสดิ์ เนื้อหาสาระเป็นเรื่องโหงวเฮ้ง ตำราโบราณชาวจีน และปุจฉาวิสัชนาในประเทศโดยพระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์( เทศถ์เทศรังสี )
ฮูปแต้มเรื่องพระเวสสันดรชาดกบนผนังสิมในจังหวัดขอนแก่นผู้เรียบเรียง : นายภีมเดช ด้วงบาง นักศึกษาสหกิจศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาผู้ตรวจแก้ : นางสาวกุลวดี สมัครไทยนักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น#บทความ #องค์ความรู้ทางวิชาการ #กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่๘ขอนแก่น
ชื่อผู้แต่ง แซน ปัจจุสานนท์
ชื่อเรื่อง ประวัติตระกูลแซ่บ๊อก จังหวัดจันทบุรี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรุงสยามการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๔๘ หน้า
รายละเอียด
หนังสือเล่มนี้ เป็นประโยชน์แก่ญาติที่มีส่วนเกี่ยวดองกับตระกูล แซ่บ๊อก ซึ่งเป็นหนังสือที่เกิดขึ้น โดยความปรารภของท่านผู้ที่มาจากตระกูลที่มีอายุสูงผู้หนึ่ง มีความประสงค์เพื่อให้ชนชั้นหลัง ผู้ที่สืบสายโลหิตของตระกูล จะได้รู้จักว่าผู้นั้นเป็นปู่เป็นทวด ผู้นี้เป็นน้องเป็นหลาน โดยเกี่ยวเนื่องกันจากสายโลหิตผู้นั้นผู้นี้ เมื่อมีหลักที่แน่นอนแล้ว ก็จะได้กระจ่างและสืบตระกูลกันได้ง่าย
กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) โดยมีประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ
- การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ
- การตัดสิน การย้าย หรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (กรณีต่างสายงานและเป็นสายงานที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน)
- การคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
- การคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ในสายงานเดียวกัน หรือในต่างสายงานและเป็นสายงานที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มตำแหน่งเดียวกัน กับสายงานในตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ หรือเคยดำรงอยู่ ในหน่วยงานของกรมศิลปากร ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล (กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม)
- การคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ในสายงานเดียวกัน หรือในต่างสายงานและเป็นสายงานที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มตำแหน่งเดียวกัน กับสายงานในตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ หรือเคยดำรงอยู่ ในหน่วยงานของกรมศิลปากร ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล (กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม)
- การคัดเลือกบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ในหน่วยงานของกรมศิลปากร ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล (กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม)
- การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม