ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

เกียรติมุข หรือ หน้ากาล   ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มอบให้   “เกียรติมุข” หรือ “หน้ากาล” เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถานโดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฏในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูกใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศรีษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็น กระบังหน้า   ตามคติในศาสนาฮินดู "เกียรติมุข" หรือ "หน้ากาล" หมายถึง “เวลา” ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวลจึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง “กาล” หรือ “หน้ากาล” มีความหมายเดียวกับ “เวลา” ซึ่งเป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของศาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ   ที่มาของข้อมูล : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


ระหว่างทศวรรษ ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐ กรมป่าไม้ โดยสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ดำเนินการสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผืนป่าอำเภอสา ดังนำเสนอรายละเอียดใน ๒ ตอนก่อนหน้านี้ .. ต่อมา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังดำเนินการสำรวจอำเภออื่นๆ เช่น ป่าน้ำแก่น อำเภอภูเพียง ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏเป็นแผนที่ผืนป่า มีเครื่องหมายระบุเฉดสีพันธุ์ไม้เช่นเคย โดยสีส้มแทนไม้เต็งรัง สีฟ้าเป็นป่าดิบแล้ง อีกทั้งยังมีห้วยน้ำแก่นกับสาขาห้วยนำเหลืองไหลผ่านหล่อเลี้ยงพันธุ์พืชตลอดสาย  สำหรับรอยวงเส้นประนั้น เจ้าหน้าที่ระบุว่า บริเวณป่าที่ขอ สามารถสันนิษฐานได้ ๓ กรณีคือ ขอสงวน ขอแนวกันไฟป่า หรือขอสัมปทาน หากไม่มีรายละเอียดใดๆ จึงอาจเป็นการร่างเส้นเพื่อมิให้เกิดการบุกรุกก็เป็นได้ .... จากแผนที่ดังกล่าวและแผนที่ผืนป่าอำเภอสาครั้งก่อน สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้จังหวัดน่านเมื่อ ๕๐ - ๖๐ ปีที่แล้ว เป็นปราการรักษาทรัพยากรธรรมชาติแหล่งหนึ่งในภูมิภาคล้านนาตะวันออก เฉกเช่นหัวใจและปอดที่มนุษย์ขาดไม่ได้ฉันนั้น ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ ( นักจดหมายเหตุ ) เอกสารอ้างอิง : หจช. พย. แผนที่สำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและ  สหกรณ์ ผจ นน 1.6 / 9 เรื่องแผนที่แสดงป่าน้ำแก่น (ม.ท.)


ชื่อเรื่อง                                พระธรรมคุณเผด็จ (พระธรรมคุณเผด็จ)สพ.บ.                                  116/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 6 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.67/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 43 (14-18) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.99/ง/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 58 (154-159) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : กจฺจายนมูล (พระมุลลกัจจายนนาม-ตัทธิต) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.128/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 74 (267-274) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : มูลตันไตย (มุลฺลตันไตย)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ เรื่อง “วัว” ในรูปแบบประติมากรรม สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จัดทำข้อมูลโดย นางสาวพรพิณ โพธิวัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.3/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



          พระราชลัญจกรเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ไทย ที่ใช้ประทับกำกับบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ พระราชลัญจกรแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในหนังสือสำคัญต่าง ๆ และพระราชลัญจกรในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต้องสร้างใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนรัชกาล           พระราชลัญจกรสยามโลกัคราชเป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูปช้างหมอบอยู่หลังบนที่จับประทับ คำว่า สยามโลกัคราชนั้น เป็นชื่อที่นำมาจากตัวอักษรจีนว่า เสียม-โล-ก๊ก-อ๋อง แปลว่า กษัตริย์ประเทศสยาม เลียนเสียงเป็น สฺยาม-โลก+อคฺค-ราช แปลว่า กษัตริย์สยามผู้ยิ่งใหญ่ ตัวอักษรจีนดังกล่าวปรากฏอยู่ในตราพระราชลัญจกรมหาโลโต ซึ่งเป็นตราประทับที่จักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงมอบให้กับพระเจ้าแผ่นดินสยามสมัยอยุธยา ตราประทับเป็นรูปอูฐ ภาษาจีนกลางเรียกว่า ลั่วถัว (駱駝) ส่วนสำเนียงฮกเกี้ยนเรียกว่า โลโท เนื่องจากในราชสำนักสยามสมัยนั้น ขุนนางเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน จึงเป็นเหตุให้ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนเป็นที่นิยมในราชสำนัก แต่อาจจะมีเพี้ยนเล็กน้อยเป็น “ตราโลโต” หรือ “ตราพระราชลัญจกรมหาโลโต” พระราชลัญจกรองค์นี้ใช้สำหรับประทับบนพระราชสาสน์อักษรจีน เพื่อแสดงฐานะว่า เจ้าแผ่นดินสยามเป็น "อ๋อง" (หวาง) ภายใต้อารักขาของ "ฮ่องเต้" (หวางตี้หรือจักรพรรดิ) ภายในดวงตราพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชทำรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และแกะสลักอักษรขอม ๔ บรรทัด เป็นตราที่ทำเลียนแบบตราพระราชลัญกรมหาโลโต           เดิมพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับประทับตราสัญญาบัตร (ใบตั้งยศหรือบรรดาศักดิ์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง) คู่ด้วยพระบรมราชโองการ และใช้ในการพระราชทานวิสุงคามสีมา ภายหลังพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเท่านั้น ดังปรากฏในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ระบุว่า “พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมาในหว่างกลางองค์เดียว” เปรียบเทียบพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชและพระราชลัญจกรมหาโลโต ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_6938----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ----------------------------------------------------------ที่มา https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22895-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A?fbclid=IwAR2RLJ2U_CvGTmUSMpx4li0LHBgCtLwtFRdnYZa5cAeXb6XWzbQTVpqFCBI


 ประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้นมีวัตรปฏิบัติที่คล้ายกันกับของบ้านเราค่ะ คือ รัฐจะประกาศให้เป็นวันหยุดราชการเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา ประชาชนนิยมแต่งกายด้วยชุดสีขาวหรือสีอ่อนเพื่อไปเข้าวัดทำบุญ ตักบาตรในช่วงเช้า และมีฟังธรรมก่อนเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุหลวงในช่วงค่ำ ซึ่งนอกเหนือจากการทำบุญตามประเพณีแล้วยังมีการจัดงานเฉลิมฉลองในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดการประชุม เสวนา การจัดการแสดงฟ้อนรำต่างๆ รวมถึงการแสดงหุ่นอีป๊อก หรือหุ่นกระบอกลาวให้ได้ชมกันอีกด้วย




          ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้ดำเนินการโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชนและขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก ประกอบการอธิบายพัฒนาการทางสังคมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี เพื่อสนับสนุนข้อมูลการจัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก           ผลจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีลำสระหัว อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒ หลุม ขนาด ๔x๔ เมตร ในหลุมขุดค้นที่ ๑ พบหลุมฝังศพซ้อนทับกันหลายชั้น จำนวน ๑๗ หลุมฝังศพ ลักษณะการฝังศพเป็นแบบนอนหงายเหยียดยาว ส่วนใหญ่หันศีรษะไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานของอุทิศที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาแบบทรงพาน เครื่องมือเหล็ก ลูกกระพรวนสำริด และลูกปัดแก้ว ผลการกำหนดอายุด้วยวิธี AMS จากตัวอย่างถ่านในระดับที่ ๘ (๑๐๐-๑๑๐ cm.dt) ได้ค่าอายุ ๓,๑๖๘ – ๒,๙๗๕ ปีมาแล้ว หรือ ๑,๒๑๙ - ๑๐๒๖ ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลุมขุดค้นที่ ๒ พบหลุมฝังศพ จำนวน ๖ หลุมฝังศพ หลักฐานที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาทรงหม้อก้นกลม ภาชนะ ดินเผาทรงหม้อมีเชิง กำไลสำริด ลูกปัดหิน ลูกแก้ว เครื่องมือเหล็กแบบจงอยปากนก และเครื่องมือเหล็กแบบสิ่ว ผลการกำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านในระดับ ๑๐๘ cm.dt ได้ค่าอายุ ๒,๗๘๐ - ๒๗๒๔ ปีมาแล้ว หรือ ๘๓๑ - ๗๗๕ ปีก่อนคริสตกาล สรุปผลเบื้องต้นได้ว่า แหล่งโบราณคดีลำสระหัวเป็นที่อยู่อาศัยและที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก (ราว ๓,๑๐๐ -๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)            เพื่อศึกษาความสืบเนื่องสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองโบราณศรีเทพ และพัฒนาการของการสร้างคูน้ำ-คันดินกำแพงเมืองระหว่างเมืองนอกและเมืองใน กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้กำหนดแผนการดำเนินงานโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชน และขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อน ประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีต่อไป ----------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๓๑ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี           สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๓๑ ชาววังออกนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็ก            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๔๑ พระชันษา ๑๑ ปี           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายทั้งจากพระบรมชนกนาถและพระราชชนนี   ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี


Messenger