เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช
พระราชลัญจกรเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ไทย ที่ใช้ประทับกำกับบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ พระราชลัญจกรแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในหนังสือสำคัญต่าง ๆ และพระราชลัญจกรในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต้องสร้างใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
พระราชลัญจกรสยามโลกัคราชเป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูปช้างหมอบอยู่หลังบนที่จับประทับ คำว่า สยามโลกัคราชนั้น เป็นชื่อที่นำมาจากตัวอักษรจีนว่า เสียม-โล-ก๊ก-อ๋อง แปลว่า กษัตริย์ประเทศสยาม เลียนเสียงเป็น สฺยาม-โลก+อคฺค-ราช แปลว่า กษัตริย์สยามผู้ยิ่งใหญ่ ตัวอักษรจีนดังกล่าวปรากฏอยู่ในตราพระราชลัญจกรมหาโลโต ซึ่งเป็นตราประทับที่จักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงมอบให้กับพระเจ้าแผ่นดินสยามสมัยอยุธยา ตราประทับเป็นรูปอูฐ ภาษาจีนกลางเรียกว่า ลั่วถัว (駱駝) ส่วนสำเนียงฮกเกี้ยนเรียกว่า โลโท เนื่องจากในราชสำนักสยามสมัยนั้น ขุนนางเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน จึงเป็นเหตุให้ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนเป็นที่นิยมในราชสำนัก แต่อาจจะมีเพี้ยนเล็กน้อยเป็น “ตราโลโต” หรือ “ตราพระราชลัญจกรมหาโลโต” พระราชลัญจกรองค์นี้ใช้สำหรับประทับบนพระราชสาสน์อักษรจีน เพื่อแสดงฐานะว่า เจ้าแผ่นดินสยามเป็น "อ๋อง" (หวาง) ภายใต้อารักขาของ "ฮ่องเต้" (หวางตี้หรือจักรพรรดิ) ภายในดวงตราพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชทำรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และแกะสลักอักษรขอม ๔ บรรทัด เป็นตราที่ทำเลียนแบบตราพระราชลัญกรมหาโลโต
เดิมพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับประทับตราสัญญาบัตร (ใบตั้งยศหรือบรรดาศักดิ์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง) คู่ด้วยพระบรมราชโองการ และใช้ในการพระราชทานวิสุงคามสีมา ภายหลังพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเท่านั้น ดังปรากฏในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ระบุว่า “พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมาในหว่างกลางองค์เดียว”
เปรียบเทียบพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชและพระราชลัญจกรมหาโลโต ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_6938
----------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
----------------------------------------------------------
ที่มา
https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22895-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A?fbclid=IwAR2RLJ2U_CvGTmUSMpx4li0LHBgCtLwtFRdnYZa5cAeXb6XWzbQTVpqFCBI
(จำนวนผู้เข้าชม 3004 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน