ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,828 รายการ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ ปีมะโรงงูใหญ่          “ปีมะโรงไทยว่าเป็นงูใหญ่          ฉันสงสัยว่าเป็นงูเหลือม งูหลาม          อาจจะเป็นพญานาคน่าครั้นคร้าม          เป็นเรื่องตามเทพนิยายที่อ่านมา          คนจีนว่ามะโรงนี้ปีมังกร          มีฤทธิอาจบินจรขึ้นเวหา          ขออำนาจนาคมังกรช่วยพารา          ให้ฝนฟ้าสมบูรณ์พูนสุขเอย”            จากกลอนพระราชทาน ปีมะโรงงูใหญ่ จะเห็นตามคติความเชื่อของคนไทยคนจีน คำว่า งูใหญ่ อาจหมายรวมถึง พญานาค และ มังกร ที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจและสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลยังความสมบูรณ์พูนสุขให้เกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม จนมีแต่ความสุข สนุกสนานตลอดปีมะโรงงูใหญ่ พุทธศักราช ๒๕๖๗          พร้อมภาพวาดฝีพระหัตถ์ “มังกรบิน” หน้าตาน่ารัก ยิ้มหวาน มีปีกเล็กๆ ๒ ข้างพร้อมที่จะโบยบิน โปรยปรายความอุดมสมบูรณ์ แจกจ่ายความสุขสนุกสนานให้แก่ชาวไทยทุกคน 


เชียงคาน เชียงใจ กับเส้นทางสายบุญไหว้สิมโบราณ EP.4 วัดท่าคกริมโขง - เชียงคาน - เลย      อายุกว่าร้อยปี      มีศิลปะที่สวยงาม      อยู่ติดถนนคนเดิน⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. :  043-242129Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#สิม #เลย #ความรู้ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #โบราณสถาน #เส้นทางสายบุญ #สิมริมโขงเชียงคาน #สิม #สิมโบราณ #คนไทยเลย #เลยก๋อ #เชียงคานเชียงใจ



         วันนี้ในอดีต : พระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร          พระราชพิธีโสกันต์ เป็นพระราชพิธีสำคัญของประเทศไทยในอดีต เป็นพิธีหลวงที่สืบทอดแบบแผนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่ง “พระราชพิธีโสกันต์” หรือ “พิธีโกนจุก” ถือเป็นพิธีมงคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเด็ก ผู้เป็นบิดามารดาจึงมักจะจัดพิธีให้ดีที่สุดเท่าที่ฐานะของตนจะทำได้เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีให้แก่บุตรธิดาของตน พิธีการต่าง ๆ จึงทำกันอย่างใหญ่โตสมกับฐานะของแต่ละครอบครัว          ซึ่งพิธีโกนจุกนั้นหากเป็นพิธีโกนจุกโดยผู้นั้นเป็นพระราชโอรส พระราชธิดา ที่ประสูติแต่พระมเหสีและดำรงพระยศชั้นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า จะเรียกพิธีนี้ว่า “พระราชพิธีโสกันต์” นั่นเอง ส่วนพิธีโกนจุกที่ใช้กับพระโอรส พระธิดา ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดา และดำรงพระยศต่ำกว่าพระองค์เจ้าลงมา จะเรียกว่า “เกศากันต์” ซึ่งต่างกันที่การแต่งองค์ทรงเครื่อง ตลอดจนพิธีแห่บางอย่างอาจเพิ่มลดตามลำดับพระยศของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ          เนื่องในวันที่ ๑๓ มกราคม เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร ณ พระนครคีรี เมื่อครั้งอดีต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงได้เรียบเรียงเหตุการณ์ในวันนั้น โดยสรุปไว้ ดังนี้          วันนี้ในอดีต : พระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร          วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ (วันศุกร์ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๒๒๖) (นับแบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๐๘) โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร พระชนม์ ๑๐ ชันษา ทั้งสองพระองค์ เวลาบ่ายพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งราชธรรมสภา ๓๐ รูป ตั้งขบวนแห่แต่หน้าตําหนักมาตามถนนราชวิถี ขึ้นไปฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน ตามเอกสารการชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริว่า          “. . . ในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชาธิเบศรมหาราชปราสาททอง ได้มีการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิน ณ ที่ประทับเกาะบ้านเลนเป็นอย่างมา ก็ครั้งนี้พระราชวังที่ประทับเป็นที่ประพาสก็มีหลายตำบล จึงโปรดให้มีการแห่โสกันต์เป็นการใหญ่อย่างครั้งก่อน ที่พระนครคีรี ณ เมืองเพ๊ชรบุรี ตามอย่างซึ่งเคยมีในโบราณนั้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนยี่ปีชวด ฉศก ศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับปีมีคฤศตศักราช ๑๘๖๔ . . .”          ต่อมาในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ (วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ชวดฉศก จ.ศ. ๑๒๒๖) (นับแบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๐๘) เวลาเช้าโสกันต์ที่วิมานเทวราชศาสตราคมสถาน เวลาบ่ายแห่สมโภชอีก ๑ วัน กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทา มีทุกสิ่งเหมือนคราวโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ฯ ในกรุงเทพเว้นแต่ไม่มีเขาไกรลาส          ใน “พระราชพิธีโสกันต์” ครั้งนั้นมีการละเล่นมากมาย เช่น โขน หนัง ละคร เพลง ละครสํารับเล็ก และการแต่งตัวเข้ากระบวนแห่เป็นนางสระในวันโสกันต์ เวลาค่ำทรงจุดโคมลอยประทีปและโปรดให้มีละครเรื่องอิเหนาเป็นการสมโภช มีเจ้าจอมมารดาวาด พระสนมเอกแสดงเป็นอิเหนา          ปัจจุบัน “พระราชพิธีโสกันต์” จะเลือนหายไปตามสภาพสังคมและกาลเวลา แต่ด้วยแนวคิดของพระราชพิธีนี้ที่ต้องการใช้เป็นเครื่องเตือนใจเด็กและเยาวชนว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนเองและแผ่นดิน ให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ของแต่ละคนที่พึงมีพึงปฏิบัติตามวัยและฐานะ เมื่อตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ได้แล้วย่อมจะช่วยให้สังคมและประเทศชาติพัฒนาขึ้นได้อย่างแน่นอน            เอกสารและหลักฐานการค้นคว้า นัยนา แย้มสาขา. (๒๕๔๙). “ภาพเก่าเล่าอดีต : การแต่งกายในพระราชพิธีโสกันต์”, บทความทางวิชาการนิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๒ . กรมศิลปากร. “พระนครคีรี”. เพชรบุรี : กรมศิลปากร. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ ๒ หมวดราชประเพณีโบราณ. (๒๔๗๓). พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.


เรื่อง มะเกลือ พรรณไม้พระราชทานประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เรียบเรียง : นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน


ชื่อเรื่อง                     คาถาพาหุง (คาถาพาหํุ)สพ.บ.                       461/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา                              บทสวดประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               30 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 27.8 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก        เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


           กรมศิลปากรขอเชิญชวนประชาชนร่วมส่งกำลังใจช่วยเชียร์ให้ภูพระบาท ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 21 - 31 กรกฎาคม 2567             ทั้งนี้ หากที่ประชุมมีมติรับรองภูพระบาทจะเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย และจะทำให้จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีมรดกโลกถึง 2 แห่ง เมื่อรวมกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว






นักศึกษา ปริยญาโท มทร.ธัญบุรี (เวลา 10.30 น.) จำนวน 3 คน


             กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “คลังสิ่งพิมพ์กับการให้บริการเอกสารอ้างอิง” วิทยากร นางอัจฉรา จารุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และนายสรพล ขาวสะอาด หัวหน้าคลังสิ่งพิมพ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร              รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘



ผู้แต่ง : พระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ วงศ์เรือง) ปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : พะเยา สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์นครนิวส์การพิมพ์      พระเจ้าตนหลวง เป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034 ตรงกับรัชสมัยของพญายอดเชียงราย กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดินแดนล้านนาพระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เดิมชื่อ พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา เนื่องจากสร้างขึ้นบริเวณริมหนองเอี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 กรมประมงได้มีการก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำแม่อิงและลำห้วยต่างๆ เอ่อล้นท่วมหนองเอี้ยงเป็นบริเวณกว้าง จนเกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ ซึ่งภายหลังเรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้พระเจ้าตนหลวงประดิษฐานอยู่ริมกว๊านพะเยามาจนถึงทุกวันนี้




Messenger