ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,847 รายการ

          สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดจะให้สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าว การทำนา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา จึงมีแนวคิดเรื่องของที่อยู่อาศัยของชาวนาไทยภาคกลางเป็นหลักแนวคิดการออกแบบ           เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย           เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง) ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง           เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี -------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการที่มาข้อมูล :  รวบรวมและเรียบเรียงจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน” หมายเหตุ เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum



โคลงโลกนิติ   ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร   ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ ๑๙   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร   สำนักพิมพ์  : รุ่งวัฒนา   ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๔   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ๋์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุณห์  บัวแก้ว   โคลงโลกนิติ                 หนังสือโคลงโลกนิตินี้เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกคาถาสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มีเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่นั้บถือกันมาช้านาน


ชื่อเรื่อง : สังขารนคร  ชื่อผู้แต่ง : สำรวจวิถีสมุทร, หลวง ปีที่พิมพ์ : 2499 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนหน้า : 132 หน้า สาระสังเขป : เรื่อง สังขารนคร แต่งในรูปแบบร้อยกรอง โดยหลวงสำรวจวิถีสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นบทกวีที่กล่าวถึงเมืองสังขารนคร ที่มีท้าวจิตตราชภูธรเป็นผู้ครองเมือง มีเหล่าขุนนางทำหน้าที่ต่าง ๆ มีเหตุให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย เนื้อหาส่วนใหญ่ได้สอดแทรกข้อคิดและธรรมะเข้าไปด้วย โดยมุ่งเน้นเรื่องอัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาทในชีวิต




ชื่อเรื่อง                     โคลงนิราศวัดรวก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก) แต่งผู้แต่ง                       คณะกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชนประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9113 ธ367คสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                    2466ลักษณะวัสดุ               72 หน้าหัวเรื่อง                     โคลง                              นิราศภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งโคลงนิราศวัดรวกขึ้นเมื่อพ.ศ. 2428 ในคราวติดตามหลวงญาณภิรมย์ (บุญ)อัญเชิญพุทธบรรณาการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ไปบูชาพระพุทธบาท สระบุรี พรรณาการเดินทางจากวัดรวก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทาง ออกจากวัดรวกในตอนบ่าย ผ่านจุดพักเดินทางต่าง ๆ อาทิ ศาลาสระประโคน บางโขมด บ่อโศก ดงโอบ ศาลาเจ้าเณร หนองคนที เขาตก สระยอ สระสามเส้น จนถึงพระพุทธบาทในเวลาสองยาม


  ***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 18     ฉบับที่ 701    วันที่ 1-15 เมษายน 2536


ตำราพระราชพิธีพรุณศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2466.มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพลเทพฯ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พิมพ์แจกในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล ปีกุน พ.ศ. 2466  พระราชพิธีพรุณศาสตร์ เป็นพิธีเจริญมงคล เพื่อขอให้ฝนตกมาทำความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดิน ในเล่มนี้ อธิบายถึงพระราชพิธีโดยละเอียดว่าพิธีเป็นอย่างไร ต้องใช้อะไรประกอบในพิธีบ้าง ของที่ใช้ มีภาพแสดงลักษณะรูปที่ใช้ประกอบพิธี รวมทั้งบทสวดในพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน390.22ต367


ปูนปั้นประดับซุ้มเจดีย์ ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานวัดพระพายหลวง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย   ลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของเจดีย์ มีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ยอดซุ้มทำเป็นรูปเทวดาประนมหัตถ์ประทับอยู่เหนือรูปกาล วงโค้งตกแต่งรูปหงส์และดอกไม้ ปลายกรอบซุ้มทั้ง ๒ ข้าง ตกแต่งรูปกินรีและกินนรปลายลายกระหนกหางโต เป็นลวดลายปู้นปั้น ที่แสดงให้เห็นถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย และสะท้อนถึงคติความเชื่อที่ปรากฎอยู่ในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย   ที่มาของข้อมูล : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


        ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว)         ชินปิดทอง         ขุดได้ในพระเจดีย์ใหญ่วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๕         พระพิมพ์เนื้อชินปิดทอง รูปพระนางสิริมหามายาทรงยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ ตามที่ปรากฏในพุทธประวัติตอนประสูติ แม้ว่าจะไม่ปรากฏรูปพระโพธิสัตว์หรือบุคคลอื่นประกอบ แต่การสร้างพระพิมพ์รูปบุคคลในอิริยาบถยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ก็ทำให้ทราบได้ว่าคือพุทธประวัติตอนนี้


ชื่อเรื่อง                                ปํสุกูลจีวรทานานิสํสกถา (อานิสงส์ผ้าป่า)สพ.บ.                                  114/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 กฐินและผ้าป่า  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.99/ค/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  68 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 58 (154-159) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : กจฺจายนมูล (พระมุลลกัจจายนนาม-ตัทธิต) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ ชื่อเรื่อง              พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานแด่ พระเจ้าลูกยาเธอ , หลักราชการ , พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งที่ยี่สิบหก , พิมพ์ครั้งที่ สี่สิบสาม ,พิมพ์ครั้งที่ยี่สิบสี่ สถานที่พิมพ์         - สำนักพิมพ์           -  ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๖ จำนวนหน้า          ๑๐๔  หน้า หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจิตรา ตะวันฉาย ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๖                        หนังสือพระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอนี้ แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกประกอบด้วยพระบรมราโชวาทพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิด และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ส่วนภาคที่สองพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงปราจิณกิตบดี และจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช                          หนังสือหลักราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นสำหรับแจกข้าราชการในโอกาสตรุษสงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ แต่ถึงแม้กาลเวลาจะได้ล่วงเลยมาขนบัดนี้ นับได้หลายสิบปี หนังสือเรื่องนี้ก็ยังทันสมัย และเหมาะสำหรับข้าราชการจะยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอ                           เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่ออธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจแจ่มแจ้งว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เรียกว่า อริยสัจสี่  


เลขทะเบียน : นพ.บ.79/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  90 หน้า ; 5.9 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 49 (71-77) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระสังคิณี-พระมหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.3/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger