ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,851 รายการ

ชื่อผู้แต่ง          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร (ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๑๙) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        สหมิตรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๙ จำนวนหน้า      ๗๐ หน้า รายละเอียด                         ในฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๔  มีบทความเกี่ยวกับเรื่องการหารูปร่างของวัตถุ การคาดคะเนขนาดของฟองอากาศที่เกิดจากการเดือด  คาน ค.ส.ล.รับกำแพงอิฐ นิเวศวิทยาในอ่างเก็บน้ำ  การใช้ไอเสีย และแก๊สเฉื่อยในการแก้น็อคของเครื่องยนต์  การหาประสิทธิภาพของระบบน้ำโดยการใช้ Mathematical Model หวังว่าบทความในฉบับนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 37/2553 (27/2549) ส่วนปากภาชนะดินเผา ขอบปากตั้งขึ้น ปากผาย ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกมีลายลูกกลิ้ง ส.8.4 ย.16.2 ดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.425/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 152  (104-108) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : วินัยสังเขป--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.566/3                               ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 185  (340-346) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชุดความรู้  “แม่เล่าเรื่องเมืองสงขลา ตอนที่ 2 ประวัติศาสตร์แรกเริ่มบนคาบสมุทรสทิงพระ”  สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบแอนนิเมชั่น บอกเล่าพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ซึ่งจัดทำเป็นจำนวนทั้งสิ้น  5 ตอน และจะเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook, TikTok, Reel) ตลอดเดือนเมษายน 2566  โดยองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นผลงานของนิสิตฝึกสหกิจ คือ นางสาวณิชกานต์ นาคสุวรรณ์ และ นางสาวสุนันทา สังข์แก้ว สาขาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ควบคุมและอำนวยความสะดวกโดยนางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา รับชมผ่าน TikToK : https://www.tiktok.com/@songkhlanationalmuseum/video/7224326286762708225?fbclid=IwAR3MKFdyQdfYR2GJiEbD_W96Zx8Vvt0JYfqQgrwFdImifp1al6pco5arCeE&is_from_webapp=1&web_id=7211428172935710210


ชื่อเรื่อง                          พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ) สพ.บ.                             427/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  52 หน้า : กว้าง 5 ซม.  ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                          พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                        ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก   เป็นคัมภีร์ใบลาน  อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องรัก ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง "มารยาทในงานวันเกิด" วันสำคัญในชีวิตของคนเราก็จะมีวันเกิด วันนี้ที่เรานับเป็นวันสำคัญด้วยการจัดงานวันเกิด ตามพิธีพราหมณ์ที่ไทยรับเอามาปฏิบัติและกลายเป็นประเพณีไทยตั้งแต่คนเกิดคนตายมีมากมายหลายขั้นตอน พิธีเนื่องในวันเกิดประกอบด้วยพิธีทำขวัญวันเกิด พิธีทำขวัญเดือน โกนผมไฟและตั้งชื่อ การโกนจุก แต่ในปัจจุบัน พิธีเหล่านี้บางอย่างเหลือแต่ชื่อ แต่บางท้องถิ่นยังทำสืบเนื่องกันมาอยู่ตามประเพณีโบราณซึ่งอาจมีคนบางกลุ่มท้องถิ่นที่ยังปฏิบัติอยู่แต่ไม่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยของคนทั่วไป การทำบุญวันเกิดที่สืบเนื่องกันมาในปัจจุบันคือ พิธีทำบุญวันเกิด ซึ่งทำได้หลายแบบ ดังนี้ 1. ทำบุญประจำวันเกิดทุกสัปดาห์ เกิดตรงกับวันอะไรก็ทำบุญวันนั้น การทำบุญประจำสัปดาห์ส่วนมากใช้วิธีตักบาตร จำนวนของพระจะตักใส่กี่รูปก็ได้ บางคนสะดวกอยู่ใกล้วัด หรือพระมาบิณฑบาต หลายรูปสามารถทำบุญตักบาตรได้เท่าอายุ และเกินไปอีกรูปหนึ่ง เท่ากับเป็นการต่ออายุของตนเอง 2. ทำบุญประจำวันเกิดประจำปี วิธีทำประจำปีมักจะทำเป็นงานใหญ่กว่าการใส่บาตรธรรมดา เจ้าของวันเกิดจะทำบุญเลี้ยงพระ ถวายสังฆทานในตอนเช้า หรือเพลเที่ยง พอตอนบ่ายก็รับประทานเลี้ยงกันระหว่างญาติมิตร พิธีสงฆ์อาจจัดที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความสะดวก 3. ทำบุญวันเกิดเมื่ออายุครบ 25 ปี ธรรมเนียมไทยถือว่าคนที่อายุ 25 ปีเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ วัยเบญจเพสที่สำคัญที่สุดตอนหนึ่งของชีวิตตามความเชื่อโบราณว่าคนอายุ 25 ปี มักจะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงหรือเกิดเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในชีวิตได้ 4. ทำบุญวันเกิดเมื่ออายุครบรอบ 12 ปี เช่น ครบ36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี 84 ปี 96 ปี เป็นต้น การที่มีอายุครบรอบ 12 ปีถือว่าเป็นมงคลชีวิต จึงควรทำบุญเป็นการเฉลิมฉลองวันเกิด โดยเฉพาะคนไทย คนจีน ที่อยู่จนถึงเกษียณอายุราชการคือ60 ปี ถือว่าต้องฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ และการทำบุญฉลองวันเกิดนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าของวันเกิด มารยาทของเจ้าภาพจัดงานวันเกิด เจ้าภาพที่จัดงานวันเกิดอาจไม่ใช่เจ้าของวันเกิดก็ได้ ในกรณีที่เจ้าของวันเกิดอายุยังน้อย บิดา มารดาจะจัดงานให้ หรือเจ้าของวันเกิดอาจชราภาพ อายุ 7 รอบ 8 รอบแล้ว ลูกหลานจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแทนได้ การจัดงานมีทั้งงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีพิธีการ เป็นกันเองซึ่งทั้งนี้แล้วแต่เป็นความต้องการของผู้จัด ไม่ว่างานจะจัดขนาดไหนก็ตามเจ้าภาพต้องระวังไม่ให้มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดก็ต้องให้น้อยที่สุด ถ้าจะส่งบัตรเชิญ ควรส่งล่วงหน้าหากจำเป็นต้องการจำนวนผู้มาร่วมงานที่แน่นอน ต้องให้ผู้รับตอบกลับ ทั้งนี้เจ้าภาพอาจสอดไปรษณียบัตรแนบไปด้วยก็ได้ เพื่อการตอบกลับในการมาร่วมงาน ไม่ควรเชิญผู้ที่ไม่คุ้นเคย ควรเชิญญาติสนิทมิตรสหายจริงๆ และจ่าหน้าซองบัตรเชิญด้วยปากกาสีน้ำเงิน (อนุโลมพิมพ์ได้) การทำบุญจะทำที่วัดหรือที่บ้านก็ตาม ควรบอกตำแหน่งแหล่งที่จัดงานให้ชัดเจน อาจมีแผนที่ที่มีรายละเอียดสถานที่ตั้งจัดงานแนบไปด้วยในซองบัตรเชิญ การใช้วิธีบอกด้วยโทรศัพท์หรือวาจา ควรแจ้งข่าวล่วงหน้าพอควร เพื่อแขกที่มาร่วมงานจะได้จัดเวลาได้ถูกต้องและมาตามกำหนดเวลาของการจัดงาน มารยาทของผู้ไปร่วมงานวันเกิด 1. วันเกิดเป็นวันมงคล เจ้าของวันเกิดถือว่าเป็นวันสำคัญของเขา ผู้ไปร่วมงานจึงควรแต่งกายให้สุภาพ สวยงาม 2. ควรคารวะเจ้าของงานก่อนหาที่นั่ง หรือไปช่วยปฏิบัติกิจใดๆในงาน 3. ระมัดระวังเรื่องคำพูด ไม่ควรเล่าเรื่องอัปมงคล หรือเรื่องที่ไม่ค่อยดีงามในงานวันนี้ 4. ควรแสดงกิริยาอาการสนุกสนานร่าเริง เพื่อเจ้าภาพจะได้มีความรู้สึกเป็นสุขสบายใจด้วย ไม่ความแสดงอาการเศร้าซึมในงานวันเกิดที่ไปร่วม 5. รักษามารยาทในการรับประทานอาหาร 6. ควรไปถึงงานก่อนเวลา หากเป็นงานบุญจะได้มีโอกาสร่วมสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล รับพรร่วมกับเจ้าภาพด้วย แม้เป็นงานเลี้ยงก็ไม่ควรไปสาย เจ้าภาพจะได้จัดที่นั่งให้เพียงพอ 7. ควรจัดหาของขวัญมอบให้เจ้าของวันเกิดให้เหมาะสม เช่นถ้าเป็นเด็กอาจมอบของเล่น สลากออมสิน เงิน เสื้อผ้า หนังสือ หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็ก หากเป็นผู้สูงอายุก็ต้องดูความเหมาะสม อาหารเสริมบางจำพวกเหมาะสำหรับคนแก่ เช่น รังนก เครื่องดื่มชนิดต่างๆ อาหารกระป๋อง นม กระเช้าผลไม้ ดอกไม้ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง 8.ไม่ควรรีบกลับเร็วเกินไป จะทำให้เจ้าภาพรู้สึกว่าแขกไม่พอใจ หากมีกิจธุระควรแจ้งเจ้าภาพให้ทราบก่อน 9. ควรใช้เวลาพอควรแล้วลาเจ้าภาพกลับ ไม่ควรอยู่นานเกินไปเช่นกัน 10. ระหว่างงานไม่ควรวิจารณ์การจัดงาน อาหาร ตลอดถึงแขกที่มาร่วมงาน ควรรักษามารยาทเพื่อความสุขของเจ้าภาพ 11. ท่านบุรุษที่สูบบุหรี่ ควรสังเกตสิ่งแวดล้อม ถ้าจะสูบควรขอตัวไปสูบบริเวณสถานที่ห่างจากแขกที่ร่วมงาน จะได้ไม่รบกวนผู้อื่น 12. ของชำร่วยที่เจ้าภาพวางไว้ให้แขกหยิบเองไม่ควรหยิบไปมากกว่า 1 ชิ้น และไม่ควรเลือกเหมือนของซื้อของขาย อ้างอิง : พิษณุพร. มารยาทสากล. กรุงเทพฯ: ไอแลนด์พับลิชชิ่ง, 2521. มารยาทสังคม. ธนบุรี: โรงพิมพ์เจริญกิจ, 2514. รัศมี-สุทธิ ภิบาลแทน. มารยาทในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไท พัน อินเตอร์ แอคท์, 2537. ผู้เรียบเรียง : นางกรองแก้ว เปเหล่าดา บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการเนื่องในโครงการวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เรื่อง สุวรรณลิงคะแห่งเขาหลีเมือง ร่องรอยศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูในนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๑.๓๐ น.           วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ดร.อมรา ศรีสุชาติ ที่ปรึกษากรมศิลปากร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ บรรยายหัวข้อ “ศิวลึงค์ทองคำแห่งเขาพลีเมือง : นัยและความสำคัญเบื้องหลังการค้นพบ”           วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายหัวข้อ “คติการนับถือศิวลึงค์จากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ” และ นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช บรรยายหัวข้อ “หลักฐานศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูที่ปรากฏในนครศรีธรรมราช”            ผู้สนใจสามารถติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร ในวันที่ ๙ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป


วัดผาอ่าง         วัดผาอ่าง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งวัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ตามหนังสือรับรองสภาพวัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณครั้งแรกตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน จากทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าเมืองจึงเป็นวัดหน้าด่าน และปรากฏร่องรอยขององค์เจดีย์ และองค์พระนอนศิลปะไทใหญ่ เป็นที่ชินตาของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา          ในอดีตเคยถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ ๒๕๒๑ พระอธิการผาย วิมโล (สันประเสริฐ) เจ้าอาวาสองค์แรก พร้อมด้วยพ่อเฒ่าจางจิ่ง แม่เฒ่าจางนาค คำคุณ กำนันปิน สะอาดจิต อดีตกำนันตำบลปางหมู และประชาชนบ้านปางหมู รวมกันสร้างศาลาไม้และศาลาปฏิบัติธรรมขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชุมชน ต่อมาพระครูอนุชิตสุตาทร (สวัสดิ์ ถาวรธมฺโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนและเจ้าอาวาสวัดผาอ่าง ท่านได้พัฒนาวัดผาอ่างมาอย่างต่อเนื่อง          ศาสนสถานสำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐาน ณ ศาลาบริเวณหน้าวัดผาอ่าง เป็นศิลปะไทใหญ่ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด และปิยเจดีย์ (เจดีย์แห่งความรัก) ศิลปะไทใหญ่ - พม่า เจดีย์องค์ประธานเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยเจดีย์องค์เล็ก ๔ องค์ ถัดออกมาซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ด้าน และมีสิงห์ยืนอยู่รอบสี่ทิศ มีแนวกำแพงล้อมรอบ มีบันไดนาคขึ้นสู่ซุ้มประตูกำแพงทิศใต้ โดยมีตำนานว่าพญาสิงหนาทราชาและเจ้าแม่นางเมี๊ยะ สร้างเป็นอนุสรณ์ความรักให้แก่นางคำใสที่ได้ช่วยชีวิตพญาสิงหนาทราชาถึงสองครั้งที่วัดผาอ่างแห่งนี้ #แม่ฮ่องสอน#วัดในแม่ฮ่องสอน #วัดผาอ่างเรียบเรียง นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุ ชำนาญการภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่บรรณานุกรมวัดผาอ่าง.  ๒๕๕๙.  ประวัติความเป็นมาของวัดผาอ่าง.   (Online).  www.facebook.com/WatPhaAng/videos/1046373745458798?locale=th_TH.  ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙.ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.  ๒๕๕๕.  ปิยเจดีย์ วัดผาอ่าง.  (Online).   www.m-culture.in.th/album/149230/ปิยเจดีย์_วัดผาอ่าง,  ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.  ๒๕๕๘.  หนังสือรับรองสภาพวัด.  ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘.


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเรื่อง "โกศ : ฝีมือช่างท้องถิ่นน่าน"โกศองค์นี้ ใช้บรรจุพระศพพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ที่ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๔๖๑ และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา ซึ่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยใช้เป็นโกศลำลอง หรือโกศชั่วคราว เพื่อประกอบอิสริยยศหรือประดับเกียรติยศ ระหว่างรอโกศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานจากกรุงเทพมหานคร จัดส่งมายังเมืองน่าน และโกศองค์นี้ยังใช้ในงานศพเจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน) ที่ถึงแก่กรรมในปี ๒๔๙๕ และงานศพเจ้าราชบุตร(หมอกฟ้า ณ น่าน) ที่ถึงแก่กรรมในปี ๒๕๐๑เดิมจัดเก็บอยู่ ณ วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน พระโสภณธรรมวาที (พระธรรมนันทโสภณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร มอบให้ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๖ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน


ชื่อเรื่อง                     พระราชกำหนดครั้งกรุงศรีอยุธยา และประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์ผู้แต่ง                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   กฎหมายเลขหมู่                      349.593 ด495พพ สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 บุญส่งการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               98 หน้าหัวเรื่อง                     กฎหมาย -- ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระราชกำหนดครั้งกรุงศรีอยุธยา ว่าด้วยกฎ 11 กฎ ประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์เรื่อง ต่าง ๆ 8 เรื่อง


          ตลับ           แบบศิลปะ : อยุธยา           ชนิด : เงิน           ขนาด :สูง 2.60 เซนติเมตร กว้าง 3.70 เซนติเมตร           ลักษณะ : ตลับพร้อมฝาทรงกลมแบน ตัวตลับด้านนอกทำรูปทรงคล้ายถ้วยก้นมีเชิงด้านใน เมื่อดึงฝาออกมีลิ้นยื่นออกมาสำหรับใส่ฝ่า ฝาทรงกระบอกเตี้ย ด้านบนโค้งมนขึ้นเล็กน้อย ผิวหน้าด้านบนตลับทำแบนเรียบ ตกแต่งลวดลายดุนเป็นรูปดอกไม้, ที่ด้านข้างตัวและด้านข้างของฝาตกแต่งลายแถวกากบาท           สภาพ : ค่อนข้างสมบูรณ์ มีรอบบุบ และมีคราบสนิมจับทั่วไป           ประวัติ : พบที่วัดชุมนุมสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/22/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “๕ ทศวรรษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น” วิทยากร นายลักษมณ์ บุญเรือง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.             ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน 3 เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน 1250 รูป ในปี 2567 วันมาฆบูชา ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง จาตุรงคสันนิบาต ที่แปลความได้ว่า การประชุมด้วยองค์ 4 เกิดขึ้น ได้แก่ 1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร ในกรุง ราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมาย 2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 แล้วทั้งสิ้น 4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ความสำคัญของวันมาฆบูชานั้น อยู่ตรงที่วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวคือ พระโอวาทที่เป็นประธานของพระศาสนา หรือศีล 227 ข้อ ที่พระพุทธองค์นำมาแสดงให้พระภิกษุได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติ โดยมีใจความโดยรวมว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำแต่ความดีให้บริบูรณ์ การทำจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลส” หรือ ให้ละเว้นการทำชั่ว กระทำแต่ความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ ในวันนี้จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ฟังเทศน์ที่วัด ในตอนค่ำของวันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปที่วัด เพื่อทำพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ


เชียงคาน เชียงใจ กับเส้นทางสายบุญ EP.3 ไหว้สิมโบราณวัดมหาธาตุ      วัดเก่าแก่      มีเสนาสนะที่สำคัญหลายรายการ      อยู่ใกล้ถนนคนเดิน⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. :  043-242129 Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#สิม #เลย #ความรู้ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #โบราณสถาน #เส้นทางสายบุญ #สิมริมโขงเชียงคาน #สิม #สิมโบราณ #คนไทยเลย #เลยก๋อ #เชียงคานเชียงใจ


Messenger