ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,843 รายการ

แท่งแก้วทับกระดาษ ทำจากแก้วใสเห็นลายเส้นของอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกีรยติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เหมาะสมที่จะเป็นของที่ระลึก ราคาอันละ 150 บาท สินค้ามีจำนวนจำกัด สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทูมธานี โทร 02-9027940


***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  พระญาณโมลี.  คูหาภิมุข  ยะลา.  พระนคร : บริษัท รุ่งนคร จำกัด, ๒๔๙๖.


ชื่อผู้แต่ง         ธวัช  ปุณโณทก ชื่อเรื่อง          สุภมิต – เกสินี พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ตำรวจ ปีที่พิมพ์          2519 จำนวนหน้า      146 หน้า                      สุภมิต – เกสินี  เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องหนึ่งของจังหวัดนครราชศรีมา    การจัดรวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่น  ทั้งเป๋นการธรรมรงรักษาวรรณกรรมวัฒนธรรม ที่นายธวัช  ปุณโณทก  รวบรวม  ศึกษาค้นคว้าได้ถอดอักษรตัวธรรมจากต้นฉบับเดิม  เพื่อให้ผู้ศึกษาสามราถอ่านเข้าใจเนื้อหาได้  ส่วนลักษณะคำประพันธ์  ก็ได้คงไว้ตามต้นฉบับเดิม                     


ชื่อเรื่อง : สารัตถคดี ประเสริฐ ณ นคร ผู้แต่ง : ประเสริฐ ณ นคร ปีที่พิมพ์ : 2527 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : พิฆเณศ           นายประเสริฐ ณ นคร เป็นข้าราชการบำนาญ ศาสตราจารย์เกียรติคุณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกในสาขาวิชาสถิติ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาวิชาประวัติสาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาอักษรศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาวิชาโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ถึงจะเป็นข้าราชการบำนาญ แต่ก็ยังคงปฏิบัติงานทางวิชาการและมีบทบาทในการบริหารการศึกษาและการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่างๆ นายประเสริฐ ณ นคร ก็ยังมีผลงานด้านต่างๆ อย่าง ผลงานด้านการประพันธ์เพลง ผลงานค้นคว้าประวัติศาสตร์ วรรณคดีและภาษาถิ่น และมีเกร็ดความรู้การบริหาร เป็นบุคคลทรงคุณวุฒิที่ทำประโยชน์ให้แก่การศึกษาของชาติอีกด้วย


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    18 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


          สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยมนุษย์โบราณหลังจากรู้จักการนำโลหะ เช่นทองแดง ทองคำ หรือเงินมาใช้ และเกิดการเรียนรู้กระบวนการหลอม (melting) การหล่อ (casting) ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานโลหกรรมที่ซับซ้อนและมีความสวยงามมากขึ้น จากนั้นจึงพัฒนาคุณภาพความแข็งของโลหะทองแดง นำไปสู่การคิดค้นโลหะผสมชนิดแรก คือ สำริด โดยมีหลักฐานว่าในพื้นที่แถบตะวันออกกลางเป็นศูนย์กลางการใช้สำริดของโลก มีการใช้สำริดมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕,๖๐๐ ปี และได้แพร่หลายเข้าสู่อินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามลำดับที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


เลขทะเบียน : นพ.บ.10/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 6 (62-73) ผูก 8หัวเรื่อง : ศัพปาจิตตีย์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


ชื่อผู้แต่ง        :  พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร์ชื่อเรื่อง         :   พระธรรมเทศนา”ประวัติพิธีกงเต๊ก”ครั้งที่พิมพ์      :  -สถานที่พิมพ์    :   พระนคร กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์ท่งเชียงไทปีที่พิมพ์         :   ม.ป.ป.จำนวนหน้า     :   ๓๐ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ท.พระศรการวิจิตร                     พิธีกงเต๊ก ตามอนุศาสน์ของพระบรมศาสนา ในลัทธิมหายานแห่งพระพุทธศาสนาเป็นพิธีกรรมบำเพ็ญกุศลอุทิศแก่ผู้ที่ล่วงลับไป ในกาลเวลาถัดจากวันตายเป็นต้น-ไป ประกอบขึ้นโดย เจ้าภาพนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมด้วยมีการบริจาคไทยทานต่างๆอุทิศแก่บรรดา ภูต ปีศาจ ปรทัตตูปชีวี (คือเปรต) ตลอดจนมนุษย์ผู้มีร่างกายทุพพล-ภาพ ต้องอาศัยผู้อื่นและยาจก


 ชื่อผู้แต่ง     กรมศิลปากร   ชื่อเรื่อง         การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี                          พิมพ์ครั้งที่    ๑   สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์การศาสนา   ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๘   จำนวนหน้า   ๑๕๒   หน้า   หมายเหตุ     หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาเจดีย์โบราณที่อำเภอ พนมทวน จ.กาญจนบุรีของคณะกรรมการพิจารณาปัญหาฯ ประกอบด้วยสรุปผลการประชุม ๗ ครั้ง ประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณา ๓ ประเด็นและภาคผนวก เรื่อง วาดพงศาวดารเส้นทางเดินทัพและการสำรวจพื้นที่เดินทัพ


ชื่อผู้แต่ง           ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ชื่อเรื่อง              ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๕สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      บ.อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัดปีที่พิมพ์         ๒๕๓๓จำนวนหน้า     ๑๙๘ หน้าหมายเหตุ     พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  พันตำรวจเอก (พิเศษ) บุญเพ็ญ แขวัฒนะ ต.ช.                ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓                 หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕ เล่มนี้ ได้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ มีอยู่ ๔ เรื่องด้วยกัน เริ่มด้วยเรื่องจดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยามแต่โบราณ พงศาวดารโยนก พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง และศักราชรัชกาลครั้งกรุงเก่า


          สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดจะให้สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าว การทำนา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา จึงมีแนวคิดเรื่องของที่อยู่อาศัยของชาวนาไทยภาคกลางเป็นหลักแนวคิดการออกแบบ           เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย           เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง) ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง           เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี -------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการที่มาข้อมูล :  รวบรวมและเรียบเรียงจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน” หมายเหตุ เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum



โคลงโลกนิติ   ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร   ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ ๑๙   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร   สำนักพิมพ์  : รุ่งวัฒนา   ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๔   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ๋์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุณห์  บัวแก้ว   โคลงโลกนิติ                 หนังสือโคลงโลกนิตินี้เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกคาถาสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มีเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่นั้บถือกันมาช้านาน


ชื่อเรื่อง : สังขารนคร  ชื่อผู้แต่ง : สำรวจวิถีสมุทร, หลวง ปีที่พิมพ์ : 2499 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนหน้า : 132 หน้า สาระสังเขป : เรื่อง สังขารนคร แต่งในรูปแบบร้อยกรอง โดยหลวงสำรวจวิถีสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นบทกวีที่กล่าวถึงเมืองสังขารนคร ที่มีท้าวจิตตราชภูธรเป็นผู้ครองเมือง มีเหล่าขุนนางทำหน้าที่ต่าง ๆ มีเหตุให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย เนื้อหาส่วนใหญ่ได้สอดแทรกข้อคิดและธรรมะเข้าไปด้วย โดยมุ่งเน้นเรื่องอัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาทในชีวิต


Messenger