ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,851 รายการ


การประเมินคุณค่าเอกสารเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ของการดำเนินงานจดหมายเหตุ เพื่อพิจารณาคุณค่าเอกสารที่รับมอบมานั้น สมควรเก็บรักษาไว้ตลอดไปในหอจดหมายเหตุแห่งชาติหรือไม่เอกสารที่รับมอบมาเมื่อนำมาจัดเก็บไว้ในระยะเวลาหนึ่งจะนำออกมาประเมินคุณค่าอีกครั้งตามขั้นตอนและวิธีการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เนื่องจากว่าเอกสารที่รับมอบจากหน่วยงานรัฐเป็นเอกสารที่ขอสงวนมาจากการพิจารณาจากบัญชีรายชื่อ ดังนั้นขั้นตอนนี้นักจดหมายเหตุจะต้องทำการประเมินคุณค่าเอกสารจากเอกสารจริง เพื่อพิจารณาตัดสินใจคัดเลือกว่าเอกสารเหล่านั้นมีคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุขั้นตอนการประเมินคุณค่าเอกสารขั้นสุดท้าย1. สำรวจและรวบรวมเอกสารชุดที่จะทำการประเมินคุณค่าเอกสารให้ครบถ้วน โดยรวบรวมจากทะเบียนที่นักจดหมายเหตุได้บันทึกไว้ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกชุดดังนี้- อายุของเอกสาร- ปริมาณเอกสาร- ลักษณะทางกายภาพของเอกสาร หากมีการชำรุดมาก ควรได้รับคัดเลือกให้มาประเมินคุณค่าก่อน- ความจำเป็นและต้องการของผู้ใช้เอกสาร- เป็นเอกสารชุดที่หอจดหมายเหตุยังไม่เคยมีให้บริการ- นโยบายของกรมศิลปากร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ว่าต้องการให้มีการประเมินคุณค่าชุดเอกสารใดก่อน2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณค่าเอกสาร นอกจากนักจดหมายเหตุแล้ว ยังประกอบไปด้วยผู้แทนหน่วยงานเจ้าของเอกสาร นักวิชาการผู้ค้นคว้าใช้บริการข้อมูล โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ร่วมกันวิเคราะห์ กลั่นกรอง พิจารณา ประเมินคุณค่าเอกสารให้เป็นไปตามหลักวิชาการจดหมายเหตุ ตามที่ผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์โครงสร้าง แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการ ภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเอกสาร คัดแยกกลุ่มเอกสารออกตามการแบ่งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร เช่นการคัดแยกออกเป็นกรม กองต่างๆ จากนั้นคัดแยกเอกสารออกเป็นหัวเรื่อง ซึ่งอาจแบ่งตามประเภทเอกสารตามเรื่อง เช่น การประชุมคณะกรรมการ โครงการ แผนงาน กิจกรรม ฯลฯ ดำเนินการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าเอกสาร ทำสรุปสาระสังเขปแต่ละกลุ่มงาน และจัดทำบันทึกการวิเคราะห์การประเมินคุณค่า จัดการประชุมคณะกรรมการ ส่งมอบเอกสารที่ผ่านการประเมินคุณค่าแล้วเพื่อรอการจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารต่อไปอ้างอิง: การประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุ, คู่มือวิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการงานจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2559



          กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดสร้างศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ก่อนเข้าไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม          ศูนย์บริการข้อมูล แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย           ส่วนที่ ๑ โถงต้อนรับ จัดแสดงข้อมูลเบื้องต้นของปราสาทสด๊กก๊อกธม สำหรับผู้เข้าชมที่มีเวลาจำกัดสามารถทำความรู้จักปราสาทสด๊กก๊อกธมโดยย่อ           ส่วนที่ ๒ ห้องฉายวิดีทัศน์ บอกเล่าเรื่องราวของปราสาทสด๊กก๊อกธมอย่างสังเขป ตั้งแต่การสร้างปราสาทเรื่อยมาจนถึงการบูรณะ           ส่วนที่ ๓ ห้องนิทรรศการ จัดแสดงเรื่องราวของปราสาทสด๊กก๊อกธมในแง่มุมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับ “ปราสาท” สถาปัตยกรรมวัฒนธรรมเขมร ความหมาย คติการสร้าง ที่มาของรูปแบบ ความสำคัญ วัสดุในการสร้าง แผนผัง รูปแบบ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เนื้อหาของจารึกสด๊กก๊อกธมในบริบทต่าง ๆ รวมถึงการอนุรักษ์และบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านนิทรรศการสื่อผสม ทั้งป้ายคำบรรยาย หุ่นจำลองสามมิติ สื่อวีดีทัศน์ และการจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทชิ้นส่วน เครื่องประดับสถาปัตยกรรม และองค์ประกอบต่างๆ          ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม เริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เปิดทุกวัน เวลา  ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติม เฟสบุ๊ก: อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม หรือ โทร. ๐ ๓๗๕๕ ๐๔๕๔


ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  421/4กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


#มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๘ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ที่ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ (พระเชษฐาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๘ เมื่อประสูติทรงดำรงสกุลยศเป็นหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๖ แล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๔๓ .พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน มีพระโอรสธิดา ดังนี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖ สิริพระชันษา ๗๘ ปี.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา.ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระสวามี กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง“สืบค้นวัฒนธรรมโลงไม้: รากร่วมมรดกวัฒนธรรมอาเซียน Exploring the Log Coffin Culture: 0Our Shared ASEAN Heritage” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการอนุรักษ์โลงไม้โบราณที่ถ้ำผีแมนโลงลงรัก จังหวัดแม่ฮ่องสอน สนับสนุนโครงการโดย กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดแสดงระหว่างวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖           นิทรรศการนี้จัดแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายในอดีต และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่สูงปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีการค้นพบวัฒนธรรมโลงไม้ที่เป็นวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้ หลักฐานทางโบราณคดีที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อในโลกหลังความตายของผู้คนในอดีต รวมถึงแนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “สืบค้นวัฒนธรรมโลงไม้ : รากร่วมมรดกวัฒนธรรมอาเซียนExploring the Log Coffin Culture: Our Shared ASEAN Heritage” ได้ ณ อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์


แนะนำหนังสือน่าอ่านเรื่อง วิถีชอง ภูมิปัญญาการปลูกและขยายพันธ์สมุนไพรจังหวัดจันทบุรีสุรัสวดี สินวัต. วิถีชอง ภูมิปัญญาการปลูกและขยายพันธ์สมุนไพรจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2562. 200 หน้า ภาพประกอบจังหวัดจันทบุรีถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้านสมุนไพรอันดับต้นๆของไทยและถูกคัดเลือกให้เป็นสมุนไพรในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างครบวงจรของภาคตะวันออก ดังนั้น การจัดทำเอกสารวิจัยเกี่ยวกับการปลูกและขยายพันธ์สมุนไพรของชาวชอง จึงเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาค้นคว้า เนื้อหาด้านในกล่าวถึง วิถีชอง ภูมิปัญญาการปลูกและขยายพันธ์สมุนไพร ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อการเพาะปลูกพืชสมุนไพร ปฏิบัติการภาคสนามการเก็บตัวอย่างดินและการตรวจวิเคราะห์ดินบริเวณแหล่งกำเนิดสมุนไพร สมุนไพรสำคัญของชาวชองจังหวัดจันทบุรี ฯลฯท615.321ส857ว(ห้องจันทบุรี)


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  อย.บ.3/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ก เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 157/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อริยสจฺจเทสน (อริยสฺจ) ชบ.บ 183/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         -         ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺท สิริเถร ) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์กรุงธน ปีที่พิมพ์          2529   จำนวนหน้า      117 หน้า         หมายเหตุ        อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺท สิริเถร ) รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานศพ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนรัก จ.สงขลา  เนื้อหาประกอบด้วย  ประวัติวัดดอนรัก ลัทธิการเมืองที่คนไทยแท้ไม่ต้องการ หอสมุดแห่งชาติ สาขาวัดดอนรัก สงขลา  ธรรมจริยา เล่ม ๔  ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีและหนังสือจดหมายเหตุประพาสต้น ใน ร.5  ร.ศ.๑๒๓ ( พ.ศ. ๒๔๔๗ )


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะล้านนารูปแบบ :  ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่  21ประวัติ :  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2469 พระราชทาน แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2469 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่งมาจัดแสดง ลักษณะ :  พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ทรงสวมมงกุฎ กุณฑล สังวาลไขว้ ทับทรวงประดับพลอยสีแดง พาหุรัด ทองพระกร พระธำมรงค์ และสวมผ้านุ่งลายตาราง อยู่บนฐานบัวหงาย รองรับด้วยฐานหน้ากระดาน 6 เหลี่ยม มีขาสามขา -----------------------------------------------------------พระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะล้านนา เป็นที่นิยมสร้างในช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 น่าจะมีคติการสร้างมาจากพุทธประวัติตอนทรมานพญามหาชมพู ซึ่งได้พบหลักฐานว่าเป็นคตินิยมที่เกิดขึ้นในแถบล้านนาและล้านช้าง โดยได้พบรูปบุคคลสำริดนั่งพนมมือแต่งเครื่องทรงอย่างกษัตริย์ชิ้นหนึ่งในศิลปะล้านช้างที่มีจารึกชื่อ “ชมภูปติ” .เรื่องราวเป็นตอนที่พญามหาชมพูซึ่งถือว่าตนเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดเหนือตน ได้มาคุกคามและรบกวนพระเจ้าพิมพิสารอยู่เสมอ พระพุทธเจ้าทรงเล็งพระญาณเห็นว่า จะโปรดพญามหาชมพูได้ จึงเนรมิตแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่า แล้วให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตไปทูลเชิญพญาชมพูมาเข้าเฝ้า และทรงแสดงธรรมโปรดจนพญามหาชมพูหมดทิฐิมานะและขอบรรพชาอุปสมบท  .ลักษณะพระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะล้านนาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งเป็น แบบที่มีการครองจีวรและมีเครื่องทรงมาสวมทับไว้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ แบบที่แสดงเครื่องทรงเพียงอย่างเดียว ไม่แสดงการครองจีวร โดยทั้งสองแบบน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกันหรือห่างกันไม่มากเนื่องจากลักษณะรูปแบบโดยรวมใกล้เคียงกัน .พระพุทธรูปทรงเครื่องที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ องค์นี้ เป็นแบบกลุ่มที่แสดงเครื่องทรงเพียงอย่างเดียว ไม่แสดงการครองจีวร โดยปกติในกลุ่มนี้มักนิยมประทับนั่งขัดสมาธิราบ แต่องค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะปาละ มีเครื่องทรงที่แสดงอิทธิพลศิลปะลังกา คือ มีการสวมกรัณฑมกุฎ คือ มงกุฎทรงกรวยแหลม โดยประกอบขึ้นจากวงแหวนหรือลูกกลมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงยอดแหลม การสวมเครื่องทรงแบบนี้สามารถเทียบเคียงได้กับเทวดาปูนปั้นที่วัดเจ็ดยอด .นอกจากนี้ส่วนฐานบริเวณบัวคว่ำทำเป็นลวดลายประดิษฐ์แบบศิลปะจีน และมีลายประจำยามก้ามปูและเม็ดไข่ปลา ส่วนขาสามขาที่มาจากสายท่อชนวนที่ไม่ได้ตัดทิ้งก็เป็นแบบที่นิยมพบในพระพุทธรูปช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 -----------------------------------------------------------อ้างอิง- สมพร อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2514. หน้า 118.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 247-251- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า 553-555.- เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์ : รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562. หน้า 88.ที่มารูปภาพรูปบุคคลมีจารึกชื่อ ชมภูปติ- A. B. Griswold. “Notes on the Art of Siam, no. 5. The Conversion of Jambupati”.Artibus Asiae Vol. 24, No. 3/4 (1961), pp. 297.


Messenger