ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,851 รายการ

          กรมศิลปากรขอแสดงความยินดีกับนางเสริมกิจ ชัยมงคล ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม และนางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมศิลปากร ตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ผลงานความภาคภูมิใจของช่างสิบหมู่” วิทยากร นายเกียรติศักดิ์ หนูทองแก้ว นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่, นางสาวทิพวรรณ บุญยม นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักช่างสิบหมู่ และนายเอกชัย เนวชื่น นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักช่างสิบหมู่ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร



ชื่อเรื่อง                     ตำราเวชศาสตร์ (แผนนวด)สพ.บ.                       460/1หมวดหมู่                   แพทยศาสตร์ภาษา                       ไทยหัวเรื่อง                     การนวด                              แพทย์แผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               38 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 29 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรไทยโบราณ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


Good to know @ Library เกษตรพันธุ์ก้าว นำเสนอเรื่องราวในแวดวงเกษตรกรรม วันนี้เสนอเรื่อง "ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้" แนะนำโดย นางสาวเสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน






อบต.บ้านใหญ่ นักเรียนปฐมวัยและครู ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง (เวลา 09.00-10.00 น.) จำนวน 39 คน


            หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมภาพยนตร์เพื่อการอนุรักษ์ “หนังดี 14 นาฬิกา” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน              ในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 จัดฉายภาพยนตร์ เรื่อง “ทรชนคนสวย” (พ.ศ. 2510) ภาพยนตร์ไทยแนวสายลับผจญภัย ซึ่งเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่มีการทำทริคภาพระยะไกลของเรือดำน้ำขนาดใหญ่ และฉากภายในที่มีรายละเอียดของอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งฉากเรือดำน้ำระเบิดใต้ทะเล ตลอดจนเพลงฮิตรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน แมวเหมียว ของคณะสามศักดิ์ โดยเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอดีตนายตำรวจหนุ่มตัดสินใจออกตามล่าแก๊งค้ายาเสพติดเพียงลำพัง แม้จะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่เขาเคยรับใช้ก็ตาม กระทั่งได้พบหลิน ลูกสาวอดีตหัวหน้าแก๊งคนก่อน ผู้เข้ามาร่วมมือกับนายตำรวจหนุ่มในการทลายแก๊ง เพื่อล้างแค้นคนที่สังหารพ่อเธอแล้วขึ้นครองอำนาจแทน ในขณะเดียวกันนักสืบไทยจากหน่วยต้านยาเสพติด ก็เข้ามาพัวพันกับการตามล่าล้างแค้นภายในแก๊งครั้งนี้ด้วย นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และ มิสจิ้นหลู ดาราสาวชาวไต้หวัน ร่วมด้วย แมน ธีระพล ,รุจน์ รณภพ ฯลฯ กำกับและอำนวยการสร้างโดย หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ความยาว 130 นาที และอนุรักษ์ภาพยนตร์ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กำหนดการฉายภาพยนตร์ เวลา 14.00 น. ณ ห้อง NLT mini theatre อาคาร 1 ชั้น 1 (จำกัดที่นั่ง 20 ท่าน)               นอกจากนี้ยังสามารถติดตามชมภาพยนตร์ในครั้งต่อไป วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง อีแตน (2511), วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512), วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เรื่อง ไอ้ทุย (2514), วันที่ 18 ธันวาคม 2567 เรื่อง สาย สีมา นักสู้สามัญชน (2524), วันที่ 25 ธันวาคม 2567 เรื่อง Lumierel (2559)               ท่านที่สนใจรับชมภาพยนตร์ สามารถ walk-in เข้ามาจองที่นั่งได้ก่อนหนังฉาย 15 นาที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2281 3634 และสามารถติดตามกิจกรรมอื่น ๆ ของหอสมุดแห่งชาติ ได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ : National Library of Thailand  



ผู้แต่ง : ธนาคารกรุงเทพปีที่พิมพ์ : 2544สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : เจริญรัฐการพิมพ์      วัดพระศรีโคมคำเป็นวัดที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ราวพุทธศักราช 2034 โดยมีพระพุทธปฏิมาพระเจ้าตนหลวงเป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สุดในเมืองพะเยา คาดว่าน่าจะมีอายุราว 508 ปี ส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพได้จัดตีพิมพ์ พระกฐินพระราชทาน ทอด ณ วัดศรีโคมคำฉบับนี้ เพื่อธำรงรักษาความเชื่อ สิ่งเคารพ บูชาสูงสุดชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ควรค่าแก่การรักษาไว้




  ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ วันที่่ 12 ก.พ. 59


เว็ปไซต์อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร: www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark1. ที่ตั้ง        อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไป ทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่ 2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์        ในบริเวณที่ตั้งจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมือง ไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว เพราะความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ทำให้เกิดการตั้งบ้านเมืองทำมาหากิน ซึ่งแต่ละเมืองอยู่กันมากนัก เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบที่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณ ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน        จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไป พระบรมธาตุ เมืองนครชุมว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมน่าจะเป็นเมืองใหญ่และมี ความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจและเป็นเมืองเล็กๆ ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า กำแพงเพชรในสมัยอยุธยา เพราะหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคต (พ.ศ. 1913 – 1914) เมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยแตกแยก บางเมืองหันมาเป็นพันธมิตรกับอยุธยา ชื่อเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึก กฎหมายลักษณะโจรกล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940 เชื่อกันว่ากษัตริย์อยุธยา ต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจจากเมืองนครชุมเดิม ย้ายมาอยู่ที่เมืองชากังราวหรือกำแพงเพชรนั่นเอง และภายหลังการ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 เมืองกำแพงเพชร ได้ลดบทบาทลงและคงจะร้างไปในที่สุด        กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีโบราณสถานรวมกลุ่มกันหนาแน่นในบริเวณที่ต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน ฃนอกจากนี้สภาพภูมิประเทศโดยรอบโบราณสถานยังเป็นป่าธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี เพื่อคงไว้ซึ่ง บรรยากาศของโบราณสถานในเขตอรัญญิกหรืออรัญวาสีเช่นวันเวลาในอดีต        อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความงดงามอลังการของศิลปกรรมไทยในยุคแรกๆ ผลงานทาง ศิลปกรรมที่เป็นเลิศนี้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2534 3. โบราณสถานที่สำคัญ        เมืองกำแพงเพชรลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู วางแนวยาวขนานไปกับ ลำน้ำปิง ตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้        กำแพงเมืองกำแพงเพชรเดิม คงมีลักษณะเป็นคันดินและคูเมือง 3 ชั้น ต่อมาได้พัฒนากำแพงเมืองขึ้นไปเป็นกำแพงศิลาแลง มีการสร้างเชิงเทิน ใบเสมา และป้อมประตูรอบ ส่วนที่เป็นกำแพงด้านในยังคงปรากฎร่องรอยให้เห็นอยู่ข้างบริเวณด้านทิศเหนือ เชื่อกันว่ากำแพงศิลาแลงนี้คงมาดำเนินการก่อสร้างในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1911 – 2031)       3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดโบราณ หรือ สระมน ศาลพระอิศวร วัดกลางนคร เป็นต้น        3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมือง โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดฆ้องชัย วัดอาวาสน้อย วัดเชิงหวาย วัดดงหวาย วัดช้าง และวัดกะโลทัย เป็นต้น        ส่วนโบราณสถานที่ตั้งอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำปิง ทั้งภายในและภายนอกเมืองนครชุม ก็ยังมีกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ ภายใน เมืองนครชุมมีวัดพระบรมธาตุและวัดซุ้มกอ เป็นต้นส่วนที่อยู่นอกเมืองนครชุม ได้แก่ ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหม่องกาเล และ วัดเจดีย์กลางทุ่ง เป็นต้น        อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลดกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับ อุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานอันล้ำเลิศทางสถาปัตยกรรมไทยยุคแรก ความงดงามอลังการของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแห่งอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานที่เป็นผลงานอันเป็นเลิศนี้ปรากฎอยู่มากมาย ในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าว 4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว        โดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัด กำแพงเพชร ระยะทาง 358 กิโลเมตร        โดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ กำแพงเพชร บริการทุกวัน        การเที่ยวชม     เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.                               อัตราค่าเข้าชม   ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาท                                                       ผู้มีสัญชาติอื่น 30 บาท       การท่องเที่ยว    สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 055 711921                               สำนักงาน ททท. 055 514341-3 หรือ 1672                               โรงแรมที่พัก      เพชรโฮเต็ล 055 712810                                                       ชากังราว 055 711315                                                       นวรัตน์ 055 711106                                                       ราชดำเนิน 055 711022                             ร้านอาหารแนะนำ เกี๋ยวเตี๋ยวไก่ลูกสาวนายหยา                                                        ร้านบะหมี่ชากังราว                                                        ร้านเรือนแพริมปิง                             ตำรวจท่องเที่ยว 1155                             ตำรวจทางหลวง 055 511340 หรือ 1193                             สินค้าพื้นเมือง กล้วยไข่ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่


หนังสือแนะนำวัฒนธรรมไทยภาษาอังกฤษ


Messenger