ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,866 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.79/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 5.9 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 49 (71-77) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระสังคิณี-พระมหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ เรื่อง "การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ มกราคม" เรียบเรียงข้อมูลโดย นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง : กากี กลอนสุภาพ
ชื่อผู้แต่ง : พระคลัง (หน), เจ้าพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
จำนวนหน้า : 44 หน้า
สาระสังเขป : กากีกลอนสุภาพ เป็นวรรณคดีไทยที่ประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพ เล่าเรื่องตำนานโบราณของนางกากี เนื้อเรื่องมีอยู่ว่าท้าวพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีมีพระมเหสีชื่อกากี นางมีรูปงามและมีกลิ่นกายหอมฟุ้ง ท้าวพรหมทัตสิเน่หานางยิ่งนัก ครั้งหนึ่งนางกากีมาหาท้าวพรหมทัตที่กำลังเล่นสกา ได้สบเนตรกับพญาครุฑที่แปลงกายเป็นมาณพหนุ่มกำลังทรงสกากับท้าวพรหมทัต เกิดความปฏิพัทธ์ซึ่งกันและกัน และพากันไปเสพสุขอยู่ ณ วิมานฉิมพลี พอนางกากีหายไปท้าวพรหมทัตเสียใจยิ่งนักคนธรรพ์พี่เลี้ยงจึงอาสาไปตามหานางกากี เมื่อคนธรรพ์พบนางกากีได้ออกอุบายให้นางหลงรัก จนเรื่องรู้ถึงพญาครุฑ พญาครุฑรู้สึกเสียหน้าจึงตัดสัมพันธ์และนำนางมาคืนที่กรุงพาราณสี ท้าวพรหมทัตผู้ทราบเรื่องราวทั้งหมดจากคนธรรพ์จึงให้ลอยแพนางกากีไปเสีย เพราะสตรีเยี่ยงนางถ้าเลี้ยงไว้ก็หนักแผ่นดิน
วีดีทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ชุด "ถึงครูผู้ให้" นำเสนอ
“ครูผู้ให้” : นายสุชาติ ขวัญหวาน
กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ร่วมเขียนภาพเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส นายศักย ขุนพลพิทักษ์ เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี ๒๕๖๔
ระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔
ณ อาคารนิทรรศการ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
‘รางวัลเลขท้ายสองตัวประจำวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เลขที่ออกคือ…’ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับประโยคข้างต้น เพราะทุกวันที่ ๑ และ ๑๖ ของเดือนถือเป็นช่วงเวลาทองของนักเสี่ยงโชคจากรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล และมักปรากฏผู้โชคดีได้รับรางวัลที่ ๑ ผ่านสื่อต่าง ๆ กันอยู่เนือง ๆ แต่การถูกรางวัลนั้นจะเรียกว่าน่าจะขึ้นอยู่กับดวงชะตาของแต่ละบุคคลหรือบางครั้งอาจมีวิธีการหาตัวเลขนำโชคในรูปแบบความเชื่อและวิธีการต่าง ๆ ดังเช่นเมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เรื่อง กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เรื่องราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ ระบุว่า วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้รับรายงานวิทยุสื่อสารจากกระทรวงมหาดไทย สั่งการ เรื่อง หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าขณะนี้ราษฎรภาคอีสานปั่นป่วน เนื่องจากการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ ถึงกับขายบ้าน ขายนา ไม่เป็นอันทำมาหากิน โดยให้ดำเนินการสอบสวนและหาแนวทางป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม จึงดำเนินการแจ้งเวียนไปยังนายอำเภอทุกอำเภอเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสกลนครบางคนลักลอบไปหาซื้อเหรียญในราคาเหรียญละ ๔๐๐ บาทขึ้นไป ในบางพื้นที่ อาทิ อำเภอเมืองนครพนม กำหนดให้เหรียญรัชกาลที่ ๑ ราคาสูงถึงราคาเหรียญละ ๑๐,๐๐๐ บาท และเหรียญรัชกาลที่ ๔ ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐ บาท สืบเนื่องจากมีการโฆษณาจากคนรับซื้อว่าหากนำเหรียญดังกล่าวไปให้อาจารย์ปลุกเสกจะสามารถบอกเลขท้ายลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ได้อย่างแม่นยำ แต่ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการสอบถามจากราษฎรในจังหวัดนครพนม พบว่า ราษฎรในพื้นที่บางแห่งมีการตื่นตัวและรับรู้เหตุการณ์นี้แต่ยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเหรียญลักษณะดังกล่าวขายและยังไม่มีผู้ใดขายบ้านขายนาหาซื้อเงินเหรียญ เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการชี้แจงให้ราษฎรทราบว่า เงินเหรียญกษาปณ์เริ่มมีใช้ในรัชกาลที่ ๔ ดังนั้นจึงไม่อาจเป็นไปได้ว่าจะมีเหรียญในลักษณะดังกล่าวออกมาจำหน่าย------------------------------------------------------เรียงเรียงโดย : นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กองกษาปณ์. (๒๕๕๗). เงินตรา. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๖๔ จากhttp://www.royalthaimint.net/ ewtadmin/ewt/mint_web/ewt_newsphp?nid=46&filename=index) หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๔๔ กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ เรื่อง ราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ (๒๘ มิ.ย. - ๑๐ ก.ค. ๒๔๙๙)
องค์ความรู้ เรื่อง : เมืองโยนก นครในตำนานล้านนา
โดย : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
. ตำนานสิงหนวัติกุมารเล่าถึงการเข้ามาในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำกก ของชาวไทยเทศ มีผู้นำคือ สิงหนวัติกุมารได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คือ เมืองโยนกนาคพันธุ์ หรือเมืองโยนกนั่นเอง และมีการอยู่อาศัยเรื่อยมา จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ได้เกิดเหตุอาเพศ ตำนานเล่าว่าชาวเมืองได้จับปลาไหลเผือกมากิน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว บ้านเมืองล่มสลายหายไปในที่สุด
. ชื่อเรียก “โยน” หรือ “ยวน” ที่เรียกกลุ่มคนและแคว้นบริเวณลุ่มแม่น้ำกกตั้งแต่สมัยพญามังรายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น น่าจะมีที่มาจากชื่อเมืองโยนก ซึ่งแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านเห็นว่า เมืองโยนกนี้ ไม่น่าจะเป็นเพียงเมืองในตำนาน เพราะลักษณะการเล่าเรื่องในตำนานบอกถึงความทรงจำถึงเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน
. นักวิชาการสันนิษฐานว่าเมืองโยนกที่ล่มสลายไป น่าจะมีที่ตั้งอยู่ ๒ บริเวณ คือ บริเวณเวียงหนองล่ม (หรือเวียงหนองหล่ม ในภาษาเหนือ) ในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอแม่จันและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และอีกบริเวณคือ หนองหลวง ในพื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ซึ่งทั้ง ๒ แห่งนี้ มีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเช่นเดียวกัน แต่จากหลักฐานโบราณสานและโบราณวัตถุ ทำให้เชื่อว่าเมืองโยนกอยู่บริเวณเวียงหนองหล่ม มีน้ำหนักมากกว่า นอกจากนั้น เวียงหนองหล่มยังตั้งอยู่บนบริเวณรอยเลื่อนแม่จัน ที่ยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่ง ดร.นวลศิริ วงศ์ทางสวัสดิ์ ได้ให้ความเห็นไว้ว่าสาเหตุที่ทำให้เวียงโยนกหรือเวียงหนองล่มสลาย อาจเป็นเพราะตั้งอยู่ตรงตำแหน่งรอยเลื่อนนั้นพอดี
. พื้นที่เวียงหนองหล่มกินพื้นที่ ๔ ตำบล ใน ๒ อำเภอ ได้แก่ ตำบลจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน และตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน มีการสำรวจทางโบราณคดีพบโบราณสถาน ทั้งวัดร้างและแหล่งเตาเผาโบราณ จำนวน ๗๘ แหล่ง อย่างไรก็ตาม โบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำรวจพบในพื้นที่เวียงหนองหล่ม สามารถกำหนดอายุได้ในราวช่วงสมัยล้านนาเท่านั้น ยกเว้น กลองมโหระทึก ที่ชาวบ้านพบจากหนองเขียว ที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
. หากดูจำตำแหน่งที่ตั้งประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีส่วนใหญ่ที่พบแล้ว จะเห็นได้ว่าเวียงหนองหล่มตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างเมืองเชียงรายและสบกก (บริเวณที่แม่น้ำกกไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขง) และระหว่างเมืองเชียงรายกับเมืองเชียงแสน โดยหากล่องแม่น้ำกกจากเมืองเชียงรายมาจะถึงเวียงหนองหล่มก่อนจะเข้าไปยังเมืองเชียงแสน ชุมชนบริเวณนี้จึงน่าจะเป็นชุมชนแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเมืองเชียงแสน อาจจะในฐานะชุมชนที่เป็นแหล่งหาปลา หรือแหล่งเกษตรกรรม เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นที่ชุ่มน้ำที่มีแม่น้ำสาขาไหลเชื่อมไปยังแม่น้ำโขง จึงเป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุม และมีแม่น้ำสายย่อย เหมาะแก่การเพาะปลูก
อย่างไรก็ตาม ในพื้นเมืองเชียงแสนกล่าวว่า พญาแสนภูได้สร้างเมืองเชียงแสนขึ้นบนเวียงเดิม ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่า เวียงเดิมที่กล่าวถึงในตำนานอาจจะกินพื้นที่กว้างขวางถึงบริเวณเวียงหนองหล่ม แต่จุดที่ตั้งเมืองเชียงแสนอาจจะเป็นเมืองเดิมที่มีการอยู่อาศัยอย่างเบาบาง จึงยังไม่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนล้านนาก็เป็นได้
- สำหรับ " กลองมโหระทึกจันจว้า " สามารถติดตามได้ในลิงค์ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/.../virtual-model...
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
เรียบเรียงโดย :
นางสาวนงไฉน ทะรักษา
นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
ตำบลบางกะจะ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีสถานที่สำคัญ คือค่ายเนินวง วัดพลับบางกะจะ ศาลหลักเมือง และวัดโยธานิมิต เป็นที่ตั้งของ "สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ" และ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี" ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ท5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันบ้านบางกะจะ ต.บางกะจะ อ.เมือง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ของจังหวัดจันทบุรี ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวขึ้น และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่เรียบกันว่า “บางกะจะ” นั้น มีใครทราบบ้างไหมว่าชื่อนี้มีที่มาอย่างไร นายธารินทร์ ศรีจันทร์ ชาวบ้านตำบลบางกะจะได้ให้ข้อมูลว่า เดิมที่บ้านบางกะจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 7-8 กิโลเมตร การคมนาคมไปมาไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า หมู่บ้านนี้มีป่าไม้หนาแน่นและติดคลอง จึงมีสัตว์จำพวกนกและกาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกกา ดังนั้นในตอนเช้าของทุกวันจะได้ยินเสียงพวกนก กา ส่งเสียงร้องกันดังลั่นอยู่บนต้นไม้ นั้นถ้าใครมาเที่ยวหรือผ่านมาในหมู่บ้านนี้ในตอนเย็นๆ ก็จะได้ยินเสียงร้องของสัตว์พวกนี้ดังสนั่นป่า คนทั่วๆไปจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบางกาจับ” ต่อมากาลเวลาผ่านไปจึงเปลี่ยนไปเป็น “บ้านบางกะจะ” จนถึงปัจจุบันนี้ แต่ที่เรียกกันว่า “บางกะจะ” นั้นหมายถึงหมู่ที่ 1 ของตำบลนี้ ส่วนหมู่บ้านอื่นๆก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น บ้านตะบกเตี้ย บ้านท่าแฉลบ บ้านเก่า บ้านหัวหิน บ้านป่าใต้ บ้านเกาะลอย เป็นต้น แต่ชื่อดังกล่าวก็อยู่ในตำบลบางกะจะทั้งสิ้น ปัจจุบันหมู่บ้านบางกะจะได้เจริญขึ้นมาก มีตลาดภายในหมู่บ้าน มีการจัดตั้งเป็น “สุขาภิบาล” และยกฐานะเป็น ”เทศบาลตำบลบางกะจะ” การคมนาคมติดต่อสะดวก เป็นทางผ่านของตัวเมืองจันทบุรี และอำเภอท่าใหม่ มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ค่ายเนินวง วัดโยธานิมิต และวัดพลับ เป็นอีกสถานที่อีกแห่งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้ทำพิธีก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี และบ้านบางกะจะยังเป็นเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ของจังหวัดจันทบุรีด้วย-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี-----------------------------------------------------------อ้างอิง : นิภา เจียมโฆษิต. ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. 2538. ขอขอบคุณภาพประกอบ จากเว็บไซด์ เภพาเที่ยว เรื่อง “หนึ่งวัน@จันทบุรี ตอน บางกะจะ” https://www.phephatiew.com/travel
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ลูกดิ่ง เครื่องมือช่าง สร้างปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทหิน ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์สำหรับคนยุคปัจจุบันอย่างเราท่าน จะระลึกนึกตามไปถึง ว่าคนโบราณนั้นสร้างปราสาทหินขึ้นมาได้อย่างไร หินก้อนใหญ่น้ำหนักมากชักลากมาด้วยวิธีใด นำขึ้นไปเรียงบนยอดปราสาทสูงได้อย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรแกะสลักลวดลายลงบนหินที่แข็งแกร่ง มีวัสดุอุปกรณ์ใดในการคิดคำณวนออกแบบแผนผังได้อย่างมหัศจรรย์ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องยนต์กลไกหรือระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เฉกเช่นทุกวันนี้
จากการศึกษาที่ผ่านมา ได้เผยให้เห็นถึงร่องรอยและหลักฐาน ตลอดจนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนโบราณในการก่อสร้างปราสาทหิน ตามหลักกลศาสตร์ดั้งเดิม เช่น คานดีด คานงัด รอก แรงโน้มถ่วง จุดศูนย์ถ่วง การใช้ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์ช่วยในการวางผังอาคาร และที่สำคัญคือความมุมานะอุตสาหะภายใต้ความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้า
ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้ปรากฏร่องรอยหลักฐานดังกล่าวมานี้ และมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ ใคร่จะนำเสนอไว้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญของ เครื่องมืองานช่างก่อสร้างโบราณ นั่นก็คือ ลูกดิ่ง
ดิ่ง หรือ ลูกดิ่ง (plumb) คือ เครื่องมือช่างสำหรับการอ้างอิงแนวดิ่ง มีลักษณะเป็นตุ้มน้ำหนัก ทรงกรวยหงาย ด้านบนมีห่วงผูกเชือก ใช้ตรวจสอบแนวดิ่งของสิ่งก่อสร้าง เช่น เสา กำแพง ว่าตั้งตรงหรือไม่ หรือบ้างก็ใช้วัดระดับความลึกของน้ำในสระ
เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้ตรวจสอบพบลูกดิ่งดินเผา และลูกดิ่งหิน เก็บรักษา ณ สำนักงานอุทยานฯ มาแต่เดิม กระทั่ง ๑ ปี ผ่านไป (เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔) นายวิเชียร อริยเดช อดีตนายช่างที่เคยร่วมงานบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง ได้มาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี ๒๕๑๘ ตนเองได้เคยขุดพบลูกดิ่งดินเผาและลูกดิ่งหิน ที่สระน้ำใกล้ปราสาทพนมรุ้ง (สระน้ำหมายเลข ๕) โดยลูกดิ่งที่เป็นดินเผานั้นมีสภาพสมบูรณ์ และลูกดิ่งที่ทำจากหินส่วนล่างจะแตกชำรุด จึงได้นำลูกดิ่งที่เก็บรักษาไว้ออกมาให้นายวิเชียรดูและยืนยันได้ว่าคือลูกดิ่งที่พบเมื่อปี ๒๕๑๘ นั่นเอง
ในการนี้ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้บันทึกข้อมูลประวัติของลูกดิ่งดังกล่าวทั้ง ๒ ชิ้น และมีลูกดิ่งที่พบเพิ่มเติมอีก ๑ ชิ้น รวมเป็น ๓ รายการ ส่งมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เพื่อเก็บรักษาอย่างเป็นระบบ เป็นแหล่งอ้างอิงศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป ดังนี้
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๑ ทำจากดินเผา ขนาดกว้าง ๔.๗ เซนติเมตร ยาว ๙.๑ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๑๐ กรัม ตกแต่งส่วนบนเป็นเส้นลวดซ้อนกันหลายเส้น สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีรอยบิ่นเล็กน้อย พบที่ สระน้ำโบราณหมายเลข ๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๒ ทำจากหิน ขนาดกว้าง ๔.๑ เซนติเมตร ยาว ๗.๓ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๒๗ กรัม ตกแต่งส่วนบนขีดเป็นลายฟันปลา สภาพชำรุด ส่วนล่างหักหาย พบที่ สระน้ำโบราณหมายเลข ๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๓ ทำจากดินเผา ขนาดกว้าง ๔.๐ เซนติเมตร ยาว ๕.๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๕๗ กรัม ผิวเรียบไม่มีลวดลายตกแต่ง สภาพชำรุดที่ส่วนบนและส่วนล่าง ประวัติ เก็บรักษา ณ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง มาแต่เดิม
อนึ่งนอกจากปราสาทพนมรุ้งแล้ว ที่ปราสาทแห่งอื่นๆ ก็เคยค้นพบลูกดิ่งด้วย เช่นที่ ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหนองหงส์ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
สันนิษฐานว่า ลูกดิ่ง ดังกล่าวน่าจะเป็นเครื่องมือช่าง ใช้ตรวจสอบแนวดิ่ง ในงานก่อสร้างปราสาทหิน นับเป็นอีกหนึ่งหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่ช่วยให้เราเห็นภาพบรรยากาศของงานช่างและการก่อสร้างในสมัยโบราณ ที่ยังคงรักษารูปทรงของวัตถุและวิธีการใช้งานจากอดีตสู่ปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย : นายภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อ้างอิง:
ทนงศักดิ์ หาญวงษ์. รายงานการขุดแต่งศึกษาโบราณสถานปราสาทหนองหงส์ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. เสนอ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา, ๒๕๔๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
วิเชียร อริยเดช, อายุ ๗๖ ปี ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร อดีตนายช่างศิลปกรรม ๖, สัมภาษณ์เมื่อ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔.
https://th.wikipedia.org/wiki/ลูกดิ่ง_(เครื่องมือ) เข้าถึงเมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๔.
ขอขอบคุณ: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เอื้อเฟื้อภาพลูกดิ่ง ที่เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๑๗ มีนาคม ๒๔๒๖ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๒๕ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๒๖) พระองค์มีพระโสทรกนิษฐภคินี ๓ พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่ พระองค์เจ้าชายยุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าหญิงนภาจรจำรัสศรี พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนพดารา และพระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ พระองค์ได้เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า ครั้นพุทธศักราช ๒๔๓๔ ทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษพิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร
ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เสด็จกลับมารับราชการ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรฯ กรมขุนลพบุราเมศวร์ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๕๒ เป็นเจ้ากรมพลำภัง ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ ถึง ๒๔๖๘ ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
ถึงรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นนายพลโท ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. นายทหารพิเศษ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. และเป็นสมุหมนตรี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๕๘ ถึง ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี ครั้นพุทธศักราช ๒๔๗๓ เป็นอภิรัฐมนตรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๗๕ สิริพระชันษา ๕๐ ปี เป็นต้นราชสกุล ยุคล
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : พระวิมาดาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงฉายพระรูปคู่กับพระราชโอรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรแบบบาแค็ง) กำหนดอายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือราว ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว สร้างขึ้นด้วยหินทราย ใช้เทคนิคการจำหลักหรือสลักด้วยเครื่องมือโลหะ ขนาด กว้าง ๘๕.๕ ซม. ยาว ๑๗๕ ซม. หนา ๒๐ ซม. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับมอบจากอำเภอปราสาท และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุของชาติ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทับหลังในสถาปัตยกรรมขอม หมายถึง แท่งหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางเหนือกรอบประตูสลักลวดลายภาพเล่าเรื่องทางศาสนา วรรณคดีเกี่ยวกับศาสนา ลายพวงมาลัย ลายใบไม้ เป็นต้น ลายที่ปรากฏบนทับหลังนี้สามารถนำมากำหนดอายุสถาปัตยกรรมได้ ทับหลังชิ้นนี้สลักลายเต็มแผ่น องค์ประกอบภาพแบ่งเป็น ๒ ส่วน มีแนวลายกลีบบัวเป็นเส้นแบ่ง ส่วนบนสุดสลักเป็นซ่องซุ้ม ๑๓ ช่อง มีรูปบุคคลประนมมือ ภาพปรากฏเพียงช่วงอก พื้นที่ตรงกลางสลักภาพพระนารายณ์สี่กรประทับนั่งมหาราชสีลาสนะ พระหัตถ์ขวาบนถือสังข์ พระหัตถ์ขวาล่างถือคฑา พระหัตถ์ซ้ายบนถือจักร พระหัตถ์ซ้ายล่างถือภู ทรงสวมชฎามงกุฎ ประทับนั่งบนไหล่ครุฑที่ยืนบนแท่นรูปกลีบบัวมือสองข้างของครุฑยุคหางนาค ๒ ตัวไว้ ลำตัวนาคสลักเป็นลายดอกไม้สี่กลีบทอดโค้งยาวตามแนวทับหลังทั้งสองข้าง นาคมี ๓ เศียรหันหน้าตรง เหนือลำตัวนาคเป็นลายใบไม้เต็มใบ ใต้ลำตัวนาคเป็นลายใบไม้ม้วน ส่วนล่างสุดของทับหลังเป็นลายกลีบบัวมีเกสร ลวดลายที่ปรากฏบนทับหลังมีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาแค็ง ได้แก่ ภาพคนโผล่ออกมาจากซุ้ม แนวลายกลีบบัว ครุฑใบหน้าคล้ายมนุษย์แต่มีจะงอยปาก มีปีก มีขาคล้ายขาสิงห์ ลักษณะจะงอยปากเป็นแบบที่ปรากฏมาแต่ศิลปะขอมแบบพะโค พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ ถือเป็น ๑ ใน ๓ ของเทพผู้ยิ่งใหญ่(ตรีมูรติ) ในศาสนาฮินดู ประกอบด้วย พระพรหมเป็นเทพผู้สร้าง พระนารายณ์เป็นเทพผู้รักษา และพระอิศวร(พระศิวะ)เป็นเทพผู้ทำลาย พระนารายณ์เป็นเทพเก่าแก่ของอินเดียตั้งแต่ยุคพระเวท เดิมเป็นหนึ่งในเทพแห่งแสงอาทิตย์ เป็นส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์ มีหน้าที่ก้าว ๓ ก้าว หรือที่เรียกว่า ตรีวิกรม คือ เป็นเทพแห่งอาทิตย์ตอนเช้า ตอนเที่ยงและตอนเย็น กลุ่มเทพแห่งแสงอาทิตย์ที่มีอยู่หลายองค์ เช่น สุริยเทพเป็นเทพแห่งแสงอาทิตย์ทั้งปวง สาวิตรีเทพแห่งแสงอาทิตย์สีทองยามเช้าและยามเย็น อุษาเทวีเทพแห่งรุ่งอรุณ เป็นต้น จนต่อมาในสมัยมหาภารตะและยุคปาณะ ความรุ่งเรืองของพระนารายณ์จึงเจริญขึ้นจนถือเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง ได้นามว่า พระนารายณ์ หมายถึง ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ พระนารายณ์เป็นพระโอรสองค์สุดท้ายในบรรดาโอรส ๑๒ พระองค์ของเทวีอทิติกับท้าวกัศปะเทพบิดร แต่บางตำนานในยุคหลังกล่าวว่าอุบัติขึ้นเอง บ้างก็ว่าพระศิวะสร้างขึ้น สถานที่ประทับของพระนารายณ์เรียกว่า ไวกูณฐ์ มีลักษณะเป็นแผ่นทอง มีวิมานประดับด้วยแก้วอยู่กลางเกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนม บัลลังก์คือ พระยาอนันตนาคราช มีพระยาครุฑเป็นพาหนะ พระมเหสีคือ พระลักษมีหรือพระศรีเป็นเทพีแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร รูปเคารพของพระนารายณ์ จะทำเป็นเทพที่มีเศียรเดียว มี ๔ กร และทรงถืออาวุธหลายอย่าง อาวุธที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของพระนารายณ์ คือ จักร และสังข์ ซึ่งจะต้องถืออยู่เป็นประจำ ส่วนอีก ๒ กร อาจถืออาวุธอย่างอื่นแตกต่างกันไป เช่น คฑา ตรี ดอกบัว บ่วงบาศ ฯลฯ แต่ละอย่างก็มีประวัติความเป็นมาความหมายต่างกัน ดังนี้ - จักร มีชื่อว่า วัชรนาถ หรือจักรสุทรรศน์ เป็นจักรที่พระเพลิงมอบให้เป็นอาวุธ บางตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นจากรัศมี และความร้อนแรงขององค์สุริยเทพ เป็นเครื่องหมายของดวงอาทิตย์และแทนวงโคจรของดวงอาทิตย์รอบจักรวาล - สังข์ มีชื่อว่า ปาญจะชันยะ มีประวัติเล่าว่าเดิมเป็นเปลือกหอยสังข์หุ้มกายอสูรชื่อ ปัญจชน ต่อมาได้ถูกพระกฤษณะฆ่าตาย จึงได้นำเปลือกสังข์มาใช้เป็นอาวุธ สังข์เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ชีวิต และความอุดมสมบูรณ์ เป็นอาวุธสำหรับขว้างไปทำลายส่วนที่เป็นหัวใจของศัตรูโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องเป่าเพื่อประกาศการเริ่มต้นของเหตุการณ์อันเป็นมงคล สามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้ - คฑา มีชื่อว่า เกาโมทก หรือนันทา เป็นสิ่งที่พระเพลิงมอบให้พร้อมจักรวัชรนาถ ส่วนความหมายของคฑา หมายถึง ผู้คุ้มครอง สร้างระเบียบและลงโทษผู้ทำความชั่วร้ายโดยเฉพาะอสูรต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูของเทพเจ้า - ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของโลกและการสร้างโลก อย่างไรก็ตามบางครั้งพระนารายณ์จะถือวัตถุรูปกลมในฝ่ามือแทน คือ ภู หรือแผ่นดิน อันเป็นสัญลักษณ์ของโลกเช่นกัน พระนารายณ์จะทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ สวมมงกุฎ กลางพระอุระจะมีขน พระอุระเป็นเครื่องหมายศรีวัตสะ อันมีกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทรเป็นอิตถีพลังหรือศักติ โดยวิธีรวมตัวเป็นพระนารายณ์อย่างมหัศจรรย์ คือ แทรกตัวผ่านผิวหนังที่อุระข้างขวาเข้าไปสถิตอยู่ในหัวใจของพระนารายณ์ ตรงรอยแทรกเข้าไปนั้นเหลือปรากฏเป็นกลุ่มขนบนรอยปาน ในการสร้างรูปเคารพพระนารายณ์มักแสดงให้เห็นศรีวัตสะในรูปดอกไม้ ๔ กลีบ ทรงขนมเปียกปูน ส่วนผิวกายจะแตกต่างไปตามยุค ซึ่งยุคในเทพนิกายฮินดูได้แบ่งตามคุณงามความดีของมนุษย์ ดังนี้ ๑. กฤดายุค (กฺริดา-) น. เป็นยุคที่มนุษย์ประกอบไปด้วยคุณงามความดี มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด ยุคนี้มีอายุเท่ากับ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปีของโลกมนุษย์ พระนารายณ์ยุคนี้มีผิวกายสีขาว ๒. ไตรดายุค (ไตฺร-) น. เป็นยุคที่ความดีและความซื่อสัตย์ของมนุษย์เสื่อมลงเหลือ ๓ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค พระนารายณ์มีผิวกายเป็นสีแดง ๓. ทวาบรยุค (ทะวาบอระ-) น. เป็นยุคที่ความดีของมนุษย์เหลือเพียงครึ่งเดียว หรือเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค พระนารายณ์มีผิวกายเป็นสีเหลือง ๔. กลียุค (กะลี-) น. เชื่อกันว่าเป็นวาระสุดท้ายของโลกเป็นยุคที่ศีลธรรมเสื่อม เป็นยุคที่ความดีของมนุษย์เหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลงโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ช่วงเวลาที่มีแต่ความรุนแรงเลวร้ายเกิดขึ้น พระนารายณ์ยุคนี้มีผิวกายสีดำ---------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------------------------------อ้างอิง : ๑. ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๒. ๒. พีรพน พิสณุพงศ์, “วิวัฒนาการมนุษยชาติกับเรื่องนารายณ์อวตาร” ศิลปากรปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม – มิถุนายน ๒๕๓๘) หน้า ๑๐๙. ๓. ศิลปากร, กรม, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย : แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), พิมพ์ครั้งแรก, ๒๕๓๖. ๔. ศิริพร สุเมธารัตน์, หลักฐานโบราณคดีในเมืองสุรินทร์. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท, ๒๕๕๐.