ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,866 รายการ

          ลูกปัดแบบมีตามีแหล่งผลิตในแถบเมดิเตอร์เรเนียนในอาณาจักรกรีก โรมัน และเปอร์เซีย (ตั้งแต่ช่วง ๓๐๐ ปีก่อนพุทธศตวรรษ - พุทธศตวรรษที่ ๖) ลูกปัดแบบมีตาที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในพื้นที่คาบสมุทรอนาโตเลีย มีอายุถึง ๕๐๐-๓๐๐ ปีก่อนพุทธศตวรรษ และได้พบลูกปัดรูปแบบนี้ในอินเดียซึ่งพบมากในภาคเหนือและภาคกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๗ เมืองโบราณของอินเดียที่พบลูกปัดมีตา คือ ตักศิลา อุชเชนศราวัสติ โกสัมภี และโกณฑิณยปุระ เป็นต้น ลูกปัดมีตาที่พบในอินเดียแสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับกรีก-โรมัน เปอร์เชีย สำหรับในประเทศไทยได้พบลูกปัดมีตาในแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ซึ่งมีอายุสมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ โดยมักจะพบร่วมกับลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาเกต และยังพบในเมืองท่าโบราณทางภาคใต้ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก (เหมืองทอง) จังหวัดพังงา และแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี           สำหรับลูกปัดมีตาซึ่งเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง พบที่แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งเป็นเมืองท่าโบราณในฝั่งอันดามัน เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ และยังพบลูกปัดมีตาในฝั่งอ่าวไทยที่แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ ลูกปัดมีตาจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างเมืองท่าโบราณในภาคใต้และเมืองท่าของอินเดียซึ่งมีมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓–๕ รวมถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ -----------------------------------จัดทำข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ที่มาข้อมูล :ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ลูกปัดต่างชาติในแหล่งโบราณคดีไทย,” ศิลปากรปีที่ ๓๓, ฉบับที่ ๑ (มีนาคม - เมษายน ๒๕๓๒):, ๑๔-๑๕. ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘. บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๕๒.




ชื่อเรื่อง                     อุโบสถศิลกถาผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.315 จ196อสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2496ลักษณะวัสดุ               230 หน้าหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา                              ศีลภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงอุโบสถ ข้อปฏิบัติ การรักษาศีล 5 กรรมฐาน อานิสงส์แห่งกสิณภาวนา


           วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและสื่อมวลชน พร้อมนำชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ อาทิ การแสดงหุ่นหลวง การนำเสนอผลสัมฤทธิ์ในการนำโบราณวัตถุไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่มาตุภูมิ งานเทคโนโลยีในพิพิธภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์โดยเยาวชน           มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จึงได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทยขึ้นในโอกาสครบรอบ “๑๔๖ ปี กิจการพิพิธภัณฑ์ไทย” ภายใต้แนวคิด “พิพิธภัณฑ์ เข้าถึงได้ สนุก และทันสมัย” (Learning by Playing) ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๙ กันยายน ๒๕๖๓ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ


  ***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 18     ฉบับที่ 702    วันที่ 16-30 เมษายน 2536


ชื่อผู้แต่ง            สุภรณ์ อัศวสันโสภณ,ผู้แปล   ชื่อเรื่อง            บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศในทิรสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓   พิมพ์ครั้งที่       ๑   สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์      ทสน.สหประชาพาณิชย์   ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๒    จำนวนหน้า       ๔๘๕    หน้า   หมายเหตุ       หนังสือเล่มนี้แปลจากหนังสือชุด Recorde of the Relations between Siam and Foreign Countries in the 17thCentury รวม ๕ เล่ม เนื้อหาสาระเป็นจดหมายตอบโต้ รายงานและบันทึกเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศที่เข้ามา ค้าขายในประเทศไทยในสมัยอยุธยา


อิติปิโสกลบท. พระนคร: โรงพิมพ์ดำรงวัธน์การพิมพ์, 2495.พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ พระภิกษุเทียบ  บุณยะกาญจน วันที่ 25 ตุลาคม 2495 หนังสืออิติปิโสกลบทนี้ เจ้าคุณพระสาสนโสภณ (แจ่ม  จตฺตฺสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้มอบฉบับไว้ให้แก่หอพระสมุดฯ เมื่อปี พ.ศ. 2464 เป็นหนังสือเก่า ซึ่งนักปราชญ์แต่ก่อน ได้ยกพระพุทธคุณบทอิติปิโส ตั้งเป็นกระทู้ แต่งอธิบายพระพุทธคุณ สำหรับบริกรรม รวบรวมและแปลเป็นภาษาไทย294.315 อ722ท


ประวัติความเป็นมา           “ถ้าจะอาศัยโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ เป็นหลัก แล้วสร้างเป็นนาฏศิลป์ขึ้นเป็นชุด ๆ ก็จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุแต่ละสมัยมีชีวิตชีวาขึ้น หากสร้างขึ้นได้ตามยุคตามสมัย ก็จะเกิดเป็นนาฏศิลป์ไทยที่นำเอาศิลปต่างยุคต่างสมัยอันมีลักษณะท่าทางและสำเนียงดนตรีที่มีความสวยงามและความไพเราะแตกต่างกันมารวมไว้ให้ชมในที่แห่งเดียวกัน อันจะจูงใจให้ผู้ดูผู้ชมปรารถนาที่จะศึกษาหาความรู้จากโบราณวัตถุสถานแพร่หลายออกไป ข้าพเจ้าจึงพยายามศึกษาศิลปและโบราณวัตถุ สมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยอาศัยภาพปั้นหล่อจำหลักของศิลปโบราณวัตถุจากโบราณสถานสมัยนั้น ๆ เป็นหลักและค้นคว้าเปรียบเทียบกับภาพและเอกสารทางศิลปกรรมและโบราณคดีจากประเทศใกล้เคียงแล้ววางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุด เรียกรวมกัน ที่หมายรวมกันไว้ว่า “ ระบำชุดโบราณคดี” (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๐๑ : ๑๑๕ – ๑๑๖)           นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีในสมัยนั้น ได้สนับสนุนให้สร้างอาคารใหม่จำนวน ๒ หลัง คือ อาคาร มหาสุรสิงหนาถและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นด้วยความตั้งใจจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดีถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารแสดงศิลปโบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งกำหนดไว้ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษในกรมศิลปากร ทรงศึกษาแบบอย่างและทรงเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้นายพรศักดิ์ ผลปราชญ์ ศึกษาและเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป แต่ในขณะที่เตรียมงานอยู่นั้น (ประมาณพุทธศักราช ๒๕๐๙) ได้รับแจ้งจากนายประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า “ท่านตนกู อับดุล รามานห์ นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฏศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำประกอบภาพยนตร์เรื่อง Raja Bersiong ซึ่งท่านตนกู แต่งขึ้น โดยขอให้กรมศิลปากรจัดระบำจำนวน ๒ ชุด ชุดหนึ่งคือรำซัดชาตรี และอีกชุดหนึ่ง คือระบำแบบศรีวิชัย” ด้วยเหตุที่ท่านตนกู ขอระบำแบบศรีวิชัยไปแสดงประกอบ ภาพยนตร์ จึงทำให้นายธนิต อยู่โพธิ์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างระบำโบราณคดีตามสมัยของศิลป-โบราณวัตถุค้นพบ ประกอบด้วย สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน และสมัยสุโขทัย           การจัดทำระบำโบราณคดีนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ เรื่อง คือ เพลงดนตรีที่ใช้ประกอบระบำ ท่ารำและเครื่องแต่งกาย ทั้งหมดจะต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน ทั้งนี้นายธนิต อยู่โพธิ์ได้มอบหมายให้นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง นางลมุล ยมะคุปต์ และนางเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ //เพลงประกอบ “ระบำทวารวดี”           คำว่า “ระบำ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง ระบำ คือการฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงามของศิลปะการรำและความรื่นเริงบันเทิงใจ ไม่มีการดำเนินเป็นเรื่องราว ระบำในยุคแรก อาทิ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิด ระบำพรหมาสตร์ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ - นาง ลักษณะของระบำชนิดนี้ผู้แสดงจะรำตามบทหรือตีท่ารำตามบทขับร้อง ต่อมาได้มีการคิดประดิษฐ์เพลงระบำมากขึ้น แต่การแต่งกายจะไม่ได้แต่งกายยืนเครื่องหากแต่แต่งกายตามรูปแบบการแสดง นั้น ๆ จึงเรียกระบำที่มีมาแต่เดิมว่า“ระบำมาตรฐาน” และระบำที่เกิดขึ้นที่ภายหลังเรียกว่า“ระบำเบ็ดเตล็ด”ระบำเบ็ดเตล็ดที่แต่งขึ้นภายหลังจะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทรกอยู่ในการแสดง อาทิ ระบำเริงอรุณ จากการแสดงโขน ตอนศึกวิรุณจำบัง ระบำไกรลาสสำเริง จากการแสดงละครเรื่องมโนห์รา ระบำนพรัตน์ จากละครเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนชมถ้ำ ระบำเหล่านี้ผู้แสดงต้องตีท่าตามบทขับร้องด้วยกันทั้งสิ้น           ต่อมาได้มีการประดิษฐ์ระบำที่เลียนแบบกิริยาอาการของสัตว์เพื่อนำมาแทรกอยู่ในการแสดง เช่น ระบำม้าหรือระบำอัศวลีลา จากการแสดงโขน ชุดพระรามครองเมือง (ตอนปล่อยม้าอุปการ) เพลงที่ประกอบคือเพลงม้ารำและเพลงม้าย่อง ระบำมยุราภิรมย์ แทรกอยู่ในละครในเรื่องอิเหนา ตอนย่าหรันตามนกยูง เพลงที่ประกอบระบำ คือเพลงมยุราภิรมย์ เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว และมีส่วนลงจบ เพลงระบำเหล่านี้มักจะไม่มีบทขับร้องมีแต่การบรรเลงดนตรี แนวคิดในการประพันธ์เพลงนำมาจากกิริยาอาการของสัตว์นั้น ๆ การประพันธ์เพลงระบำที่ไม่มีบทขับร้องนี้ ส่วนใหญ่จะประพันธ์ทำนองเพลงเป็น ๒ ส่วน คือ ประพันธ์อัตราจังหวะ ๒ ชั้น หรือเรียกว่า เที่ยวช้าและอัตราชั้นเดียวหรือเรียกว่า เที่ยวเร็ว           สำหรับแนวคิดการประพันธ์เพลงประกอบระบำโบราณคดี ได้แบ่งทำนองออกเป็น ๒ ส่วนเช่นกัน ซึ่งนอกจากประพันธ์ทำนองเพลงตามยุคสมัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงให้สอดคล้อง กับยุคสมัยด้วย จึงจำเป็นต้องจัดสร้างขึ้นใหม่บ้างตามภาพจำหลักที่พบในสมัยนั้นด้วยแนวคิดที่ต้องการ จะสะท้อนภาพเรื่องราวและร่องรอยของมนุษย์ในอดีตตามหลักฐานที่ได้มาจากการศึกษาสำรวจขุดค้น ศิลปโบราณวัตถุตามหลักวิชาการทางโบราณคดี โดยต้องการที่จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุที่ปรากฏในแต่ละยุคสมัยนั้น ได้เคลื่อนไหวเป็นท่าทางนาฏศิลป์ที่สวยงาม และมีสำเนียงดนตรีที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะระบำทวารวดี นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องดนตรีบางชิ้นเลียนแบบตามยุคสมัยทวารวดี และประสมวงขึ้นใหม่ให้มีความเหมาะสมตาม ยุคสมัย เครื่องดนตรีที่จัดประสมเป็นวงดนตรีสำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้ถือว่าเป็น “วงเฉพาะ” ด้วยใช้สำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้โดยตรง วงดนตรีแต่ละวงประกอบด้วยเครื่องดำเนินทำนอง และเครื่องกำกับจังหวะ โดยยึดจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องภาพแกะสลักนักดนตรีในสมัยทวารวดี ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี ที่มาของภาพ : สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี หน้า ๑๐           สำหรับแนวคิดเรื่องเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบระบำชุดทวารวดีนี้ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้ศึกษาจากภาพแกะสลัก ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี จากภาพเริ่มจากด้านซ้ายประกอบด้วยนักร้อง ๒ คน เครื่องดนตรีมีพิณ ๕ สาย ฉิ่ง และด้านขวาสุดสันนิษฐานว่าเป็นพิณน้ำเต้า จากการสัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้บรรเลงระนาดตัดครั้งแรกในระบำทวารวดี ได้กล่าวว่า           “วงดนตรีในระบำโบราณคดีทั้ง ๕ ชุด คุณพ่อมนตรี มีความเห็นว่าเมื่อเรามองย้อนยุคสมัยไป ขณะที่นาฏศิลป์ไปเอาภาพจำหลักมาทำให้มีชีวิตขึ้นมาได้ คุณพ่อมนตรีจึงนำเอาเครื่องดนตรีที่อยู่ในภาพจำหลักนั้นมาสร้างใหม่ โดยมอบให้ นายจรูญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมเครื่องดนตรีและสามารถทำเครื่องดนตรีได้เป็นผู้สร้างเครื่องดนตรีตามภาพจำหลัก ได้แก่ พิณ ๕ สาย แล้วก็หาหลักฐานว่าในยุคสมัยนั้นหรือก่อนหน้านั้นมีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง ก็พบว่า มีเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายระนาดตัด แต่ให้ทำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะได้มีเสียงสูง - เสียงต่ำต่างกัน หลังจากนั้นก็พิจารณาว่าสมัยสุโขทัย มีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง และในสมัยอยุธยามีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง พบว่ามี จะเข้ ที่มีการสันนิษฐานว่าไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญ จึงนำเข้ามาประสมด้วย นำขลุ่ยเข้ามาประสม แต่ทั้งนี้ต้องมี “ตะโพนมอญ” เพราะสมัยทวารวดี มีชนชาติมอญอาศัยอยู่ ทั้งทำนองเพลงที่ประพันธ์ก็มีสำเนียงมอญจึงใช้ตะโพนมอญตีกำกับหน้าทับ เครื่องกำกับจังหวะย่อยใช้กรับ “กรับไม้ไผ่” ไม่ใช้กรับพวง แต่ไม่มีเครื่องสีเพราะไม่ปรากฏว่ามีเครื่องสีในภาพจำหลัก           หลังจากนั้น จึงนำมาบรรเลงรวมวง ฝึกซ้อมกันอยู่หลายสิบครั้ง จนเกิดความกลมกลืนทั้งวง ทั้งนี้ได้กำหนดให้จะเข้ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเป็นหลัก ของวง พิณ ๕ สาย มีเสียงเบา ก็ดีดตามทำนองเพลงเช่นกัน ระนาดตัดที่จัดสร้างขึ้นใหม่ ๒ ราง คุณพ่อมนตรี จึงให้ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงต่ำ)เสียงต่ำทำหน้าที่ดำเนินตามทำนองเพลง ส่วนระนาดรางตัดรางเล็ก(เสียงสูง) ให้บรรเลงตามทำนองและบรรเลงสอดแทรกเพื่อให้มีเสียงดังกังวาน หรือสร้างสีสันให้กับทำนองเพลง ตะโพนมอญ ตีกำกับหน้าทับและทำหน้าที่ขึ้นนำทำนองเพลง ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ทำหน้าที่ตีกำกับจังหวะย่อย” (สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ,สัมภาษณ์: วันที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๖๓) เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบระบำทวารวดี ประกอบด้วย พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัดรางใหญ่ (เสียงต่ำ) ระนาดตัดรางเล็ก (เสียงสูง) ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก กรับไม้ไผ่           เมื่อนำมาประสมเป็นวงดนตรีแล้ว แบ่งออกเป็นเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงสูง) ๑ ราง และระนาดตัดรางเล็ก (เสียงต่ำ) ๑ ราง เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก และกรับไม้ ๒ คู่           ทำนองเพลงระบำทวารวดีที่นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงสำเนียงมอญ แบ่งทำนองเพลงออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ ๑ ทำหน้าที่เป็นทำนองนำและทำนองลงจบ เรียกว่า “รัวทวารวดี” ส่วนที่ ๒ เป็นทำนองเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดีเป็นเพลงท่อนเดียวให้บรรเลงทั้ง เที่ยวช้าและเที่ยวเร็วตามรูปแบบเพลงระบำที่ได้เคยทำไว้ แต่เพลงระบำทวารวดีนี้จะใช้ทำนองเดียวกัน บรรเลงทั้งอัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว ซึ่งจะแตกต่างกับระบำโบราณคดีชุด อื่น ๆ อาทิ ระบำลพบุรี โน้ตเพลงระบำทวารวดี ภาพ : โน้ตเพลงระบำโบราณคดีลายมือ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ภาพ : โน้ตเพลงระบำทวารวดี ที่คัดลอกใหม่ (ที่มาของภาพ : หนังสือระบำชุดโบราณคดี หน้า ๓๖ )          เที่ยวช้า (อัตรา ๒ ชั้น) ใช้เพลงระบำลพบุรีที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เที่ยวเร็ว (อัตราชั้นเดียว) นำเพลงเขมรชมดง ๒ ชั้นมาตัดลงเป็นชั้นเดียว แล้วนำมาใช้เป็นเที่ยวเร็วของระบำลพบุรี           ดังนั้นเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดี ได้แก่ เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว) และรัวทวารวดี ลงจบ           ระบำทวารวดี นำออกแสดงครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรมประจำปี ณ เวทีสังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ รายนามผู้บรรเลงเพลงระบำทวารวดี ที่บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง มีดังนี้ เครื่องดนตรี - ผู้บรรเลง พิณ ๕ สาย-  ปกรณ์  รอดช้างเผื่อน จะเข้ - ทองดี สุจริตกุล ขลุ่ย - สุรพล  หนูจ้อย ระนาดตัดรางเล็ก - ศิลปี  ตราโมท ระนาดตัดรางใหญ่ - สิริชัยชาญ  ฟักจำรูญ ตะโพนมอญ - ปฐมรัตน์  ถิ่นธรณี ฉิ่ง - วิเชียร  อ่อนละมูล ฉาบ - อนุชาติ  วรรณมาศ กรับคู่ ๑ - ยงยุทธ  ปลื้มปรีชา กรับคู่ ๒ - บุญช่วย  โสวัตร   ------------------------------------------------ข้อมูล : นางบุญตา เขียนทองกุล รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ สำนักการสังคีต ------------------------------------------------บรรณานุกรม - ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พุทธศักราช ๒๕๒๕, กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๒๕ - ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒ กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๐. - ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๑. - ศิลปากร,กรม.สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรมศิลปากร รวบรวมจัดพิมพ์ประกอบการแสดงแต่งกายเนื่องในงานฉลองครบ ๒๐ ปี สภาการพิพิธภัณฑ์ ระหว่างชาติ ๖ มีนาคม ๒๕๑๑. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๑ - ศิลปากร,กรม. ระบำชุดโบราณคดี. กรมศิลปากรจัดแสดงในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๐ //ศิลปากร,กรม. อธิบายเพลงแผ่นเสียงลองเพลย์ ชุดที่ ๖. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๑๔. - สัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม สำนักการสังคีต


มกร   สังคโลก ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานีและเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย มอบให้   สัณฐานรูปตัว s ในภาษาอังกฤษ ส่วนหัวเป็นแผงตั้งขึ้นคล้ายเขาโดยใช้ลายกนกตกแต่งจากส่วนบนสุดของหัวมาถึงหลัง จมูกคล้ายงวงสั้นๆ ตั้งชันขึ้น ปากอ้าเห็นฟันเขี้ยว มีลูกกลมในปาก มีเครายาว ลำตัวยาว ขาหน้าสั้น เท้ามีสี่นิ้วและกรงเล็บงุ้ม ตัวท่อนล่างไม่ปรากฏ, กลวงตลอดตัว เขียนลายเป็นเกล็ดสีดำบนลำตัวสีขาว   มกร เป็นสัตว์ทะเลในตำนานสันนิษฐานว่าน่าจะคล้ายกับสัตว์จำพวกปลาและจระเข้แต่มีลักษณะพิเศษ ลำตัวและหางเหมือนปลา ในฮินดูปกรณัม มกร เป็นพาหนะของเทพวรุณ เจ้าแห่งฝนและมหาสมุทร มกรยังเป็นเครื่องหมายประดับบนธงของกามเทพ เป็นสัญลักษณ์ของน้ำประติมากรรมรูปมกรนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นส่วนเชิงบันได เชิงระเบียง เชิงชายหลังคา   ที่มาของข้อมูล : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓ 


เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา ขอเสนอพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์แก่หอจดหมายเหตุอย่างหาที่สุดมิได้  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยงานศิลปวัฒนธรรม และหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ดังเห็นได้จากทรงเคยหัดโขนเบื้องต้นกับครูนาฏศิลป์ ทรงวิริยะอุตสาหะทางดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แม้ภายหลังทรงรับพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แล้ว ก็ยังทรงใฝ่พระทัยเสมอมา  ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๘ รัฐบาลมีดำริจัดสร้างหอจดหมายเหตุในจังหวัดพะเยา เพื่อรวบรวม อนุรักษ์เอกสารราชการที่มีความสำคัญทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และประวัติศาสตร์ของภูมิภาค จึงกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคาร เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ทรงตอบรับ ยังความซาบซึ้งในน้ำพระทัยแก่ประชาชนเป็นล้นพ้น  ครั้นการก่อสร้างสำเร็จใน พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระเมตตาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารหอจดหมายเหตุเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคมอีกครั้ง พระองค์ก็ทรงตอบรับเช่นเคย พร้อมกับพระราชทานพระนามพระอิสริยยศของพระองค์ให้เป็นชื่อหอจดหมายเหตุอย่างเป็นทางการว่า   " หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา "    ณ วันนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา ครบรอบ ๒๑ ปี ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมิรู้ลืม และตั้งปณิธานปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถให้สมกับที่ทรงมีน้ำพระทัย ทรงเห็นคุณค่าของเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่สืบไป  ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ ( นักจดหมายเหตุ ) เอกสารอ้างอิง : สุวคนธ์ ตังสุหน. พิธีเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรม  โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา   วันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒. ม.ป.ป.


ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  192/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                เทสนาสุวรรณสิรสาสูตร(สุวรรณสิรสาสูตร)สพ.บ.                                  114/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 กฐินและผ้าป่า  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.99/ข/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 58 (154-159) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : กจฺจายนมูล (พระมุลลกัจจายนนาม-ตัทธิต) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.128/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 74 (267-274) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : มูลตันไตย (มุลฺลตันไตย)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger