ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,867 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าฟังการบรรยายพาชมพระราชวังจันทรเกษม ในกิจกรรม “ชาววัง พาชม” ซึ่งภัณฑารักษ์จะพาทุกท่านดื่มด่ำไปกับบรรยากาศโบราณสถานในยามค่ำคืน พร้อมรับฟังเรื่องราวของวังแห่งนี้ นับตั้งแต่เป็นวังหน้าสมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนเปลี่ยนแปลงการใช้งานเป็นที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล โดยเปิดรอบนำชม ทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป ลงทะเบียน ณ จุดขายบัตรเข้าชม (งานนี้เราจะพาท่านไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวังด้วย ใครเป็นสายมูไม่ควรพลาด)
กิจกรรม “ชาววัง พาชม” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม เปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม (เฉพาะภายนอกอาคาร) ทุกวันศุกร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่ 25 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่เวลา 16.30 - 21.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ผู้พิการ และชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3525 1586
ผู้แต่ง : ส่านูพอ บิโข่ ปีที่พิมพ์ : 2542 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : กลางเวียงการพิมพ์ ปัญหาลานนาหรือล้านนาชื่อใดจะถูกต้องเรื้อรังมานาน มีการถกเถียงกันทั้งในระดับนักปราชญ์และชาวบ้าน ข้อถกเถียงดังกล่าวกินเวลานานเกือบหนึ่งศตวรรษ ในที่สุดคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยได้ตัดสินว่าล้านนาเป็นชื่อที่ถูกต้อง แต่แทนที่คำตัดสินจะยุติกลับได้กระแสคัดค้านที่กว้างออกไป โดยที่บรรดานักปราชญ์ไม่สนใจปัญหาดังกล่าวอีกเลย ภายในหนังสือพบแล้วลานนาจะพูดถึงเรื่องการพิจารณาชื่อที่ถูกต้องรวมไปถึงทฤษฎีในการพิจารณาด้วย
virtualhistoricalpark.finearts.go.th/kamphaengphet
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณกำแพงเพชร ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสามารถติดต่อกับที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านในท้องที่จังหวัดพิจิตรและพิษณุโลกได้และยังต่อเนื่องไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นภูเขา จากลักษณะทางภูมิประเทศดังกล่าว พบว่ามีความเหมาะสมในการตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สามารถใช้ติดต่อกับชุมชนในพื้นที่ราบได้สะดวก และเป็นชุมชนพักสินค้าเพื่อเปลี่ยนแบบแผนการคมนาคมจากที่ราบสู่เขตภูเขาที่ขึ้นไปทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกต่อไป เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์พื้นที่บริเวณนี้ได้เป็นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการทำสงคราม โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาและล้านนา ซึ่งหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ในเมืองกำแพงเพชรได้แสดงลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับดินแดนทั้งสามแห่ง และได้พัฒนาต่อยอดลักษณะทางศิลปะ รวมทั้งแสดงออกมาในรูปแบบของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรได้อย่างสวยงาม ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นและชัดเจน เมืองโบราณกำแพงเพชรมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวเป็นแนวขนานไปกับแม่น้ำปิง กำแพงเมืองแต่เดิมมีลักษณะเป็นคันดินและคูน้ำสามชั้น ต่อมาได้มีการพัฒนากำแพงเมืองชั้นในเป็นกำแพงก่อด้วยศิลาแลง เชิงเทินตอนบนก่อเป็นรูปใบเสมาและมีป้อมประตูโดยรอบ กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เมืองโบราณกำแพงเพชรมาอย่างต่อเนื่องทั้งการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน รวมทั้งการก่อตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรขึ้น แล้วจึงมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยขอบเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบันพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมดรวม 2,114 ไร่ หรือ 3.34 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ 1. เขตกำแพงเมือง มีพื้นที่ 503 ไร่ ตั้งอยู่ในขอบเขตของเมืองกำแพงเพชรโบราณบนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงเมืองศิลาแลงรอบล้อม 2. เขตอรัญญิก มีพื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง นอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ปีพุทธศักราช 2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกได้ประกาศในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซียให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชรเป็นมรดกโลก เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐานที่แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลือและปรากฏให้เห็น
วันที่ 18 สิงหาคม 2557 เวลา 13.30 น. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายพิธีการการจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี 2557 ร่วมประชุมคณะกรรมการฝ่ายพิธีการฯ ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร เพื่อเตรียมการจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี 2557
เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เป็นการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถาน โดยการตกแต่งสกัดหินด้านในเป็นผนังเรียบและสกัดหินส่วนล่างให้เป็นแท่นสำหรับประดิษฐานรูปเคารพขนาดใหญ่ติดกับผนังด้านหลัง ส่วนด้านหน้าได้นำหินทรายก้อนสี่เหลี่ยมมาก่อวางเรียงเป็นผนังห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าทางด้านทิศเหนือและมีหน้าต่างที่ผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ภายในห้องประดิษฐานพระพุทธสลักนูนสูง ๕ องค์ ที่ผนังด้านหลังมีจิตรกรรมฝาผนังภาพประสาท ๑ หลัง ตรงกลางมีภาพพระพุทธรูปปางประทานอภัยอยู่ในกรอบของภาพปราสาท ด้านข้างมีใบหน้าของเทวดา ๔ องค์ ปัจจุบันสภาพค่อนข้างลบเลือน
วัดลูกเขย
วันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคมอ. อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น จำนวน ๓๕ คนเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นโดยมีนางแพรว ธนภัทรพรชัย เป็นวิทยากรนำชม
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
อธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ปี 2558
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๕๘ ณ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘