อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เว็ปไซต์อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร: www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark
1. ที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไป ทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่
2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ในบริเวณที่ตั้งจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมือง ไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว เพราะความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ทำให้เกิดการตั้งบ้านเมืองทำมาหากิน ซึ่งแต่ละเมืองอยู่กันมากนัก เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบที่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณ ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน
จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไป พระบรมธาตุ เมืองนครชุมว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมน่าจะเป็นเมืองใหญ่และมี ความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจและเป็นเมืองเล็กๆ ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า กำแพงเพชรในสมัยอยุธยา เพราะหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคต (พ.ศ. 1913 – 1914) เมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยแตกแยก บางเมืองหันมาเป็นพันธมิตรกับอยุธยา ชื่อเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึก กฎหมายลักษณะโจรกล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940 เชื่อกันว่ากษัตริย์อยุธยา ต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจจากเมืองนครชุมเดิม ย้ายมาอยู่ที่เมืองชากังราวหรือกำแพงเพชรนั่นเอง และภายหลังการ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 เมืองกำแพงเพชร ได้ลดบทบาทลงและคงจะร้างไปในที่สุด
กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีโบราณสถานรวมกลุ่มกันหนาแน่นในบริเวณที่ต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน ฃนอกจากนี้สภาพภูมิประเทศโดยรอบโบราณสถานยังเป็นป่าธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี เพื่อคงไว้ซึ่ง บรรยากาศของโบราณสถานในเขตอรัญญิกหรืออรัญวาสีเช่นวันเวลาในอดีต
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความงดงามอลังการของศิลปกรรมไทยในยุคแรกๆ ผลงานทาง ศิลปกรรมที่เป็นเลิศนี้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2534
3. โบราณสถานที่สำคัญ
เมืองกำแพงเพชรลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู วางแนวยาวขนานไปกับ ลำน้ำปิง ตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้
กำแพงเมืองกำแพงเพชรเดิม คงมีลักษณะเป็นคันดินและคูเมือง 3 ชั้น ต่อมาได้พัฒนากำแพงเมืองขึ้นไปเป็นกำแพงศิลาแลง มีการสร้างเชิงเทิน ใบเสมา และป้อมประตูรอบ ส่วนที่เป็นกำแพงด้านในยังคงปรากฎร่องรอยให้เห็นอยู่ข้างบริเวณด้านทิศเหนือ เชื่อกันว่ากำแพงศิลาแลงนี้คงมาดำเนินการก่อสร้างในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1911 – 2031)
3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดโบราณ หรือ สระมน ศาลพระอิศวร วัดกลางนคร เป็นต้น
3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมือง โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดฆ้องชัย วัดอาวาสน้อย วัดเชิงหวาย วัดดงหวาย วัดช้าง และวัดกะโลทัย เป็นต้น
ส่วนโบราณสถานที่ตั้งอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำปิง ทั้งภายในและภายนอกเมืองนครชุม ก็ยังมีกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ ภายใน เมืองนครชุมมีวัดพระบรมธาตุและวัดซุ้มกอ เป็นต้นส่วนที่อยู่นอกเมืองนครชุม ได้แก่ ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหม่องกาเล และ วัดเจดีย์กลางทุ่ง เป็นต้น
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลดกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับ อุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานอันล้ำเลิศทางสถาปัตยกรรมไทยยุคแรก ความงดงามอลังการของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแห่งอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานที่เป็นผลงานอันเป็นเลิศนี้ปรากฎอยู่มากมาย ในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าว
4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว
โดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัด กำแพงเพชร ระยะทาง 358 กิโลเมตร
โดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ กำแพงเพชร บริการทุกวัน
การเที่ยวชม เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาท
ผู้มีสัญชาติอื่น 30 บาท
การท่องเที่ยว สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 055 711921
สำนักงาน ททท. 055 514341-3 หรือ 1672
โรงแรมที่พัก เพชรโฮเต็ล 055 712810
ชากังราว 055 711315
นวรัตน์ 055 711106
ราชดำเนิน 055 711022
ร้านอาหารแนะนำ เกี๋ยวเตี๋ยวไก่ลูกสาวนายหยา
ร้านบะหมี่ชากังราว
ร้านเรือนแพริมปิง
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 055 511340 หรือ 1193
สินค้าพื้นเมือง กล้วยไข่ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่
1. ที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไป ทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่
2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ในบริเวณที่ตั้งจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมือง ไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว เพราะความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ทำให้เกิดการตั้งบ้านเมืองทำมาหากิน ซึ่งแต่ละเมืองอยู่กันมากนัก เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบที่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณ ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน
จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไป พระบรมธาตุ เมืองนครชุมว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมน่าจะเป็นเมืองใหญ่และมี ความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจและเป็นเมืองเล็กๆ ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า กำแพงเพชรในสมัยอยุธยา เพราะหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคต (พ.ศ. 1913 – 1914) เมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยแตกแยก บางเมืองหันมาเป็นพันธมิตรกับอยุธยา ชื่อเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึก กฎหมายลักษณะโจรกล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940 เชื่อกันว่ากษัตริย์อยุธยา ต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจจากเมืองนครชุมเดิม ย้ายมาอยู่ที่เมืองชากังราวหรือกำแพงเพชรนั่นเอง และภายหลังการ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 เมืองกำแพงเพชร ได้ลดบทบาทลงและคงจะร้างไปในที่สุด
กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีโบราณสถานรวมกลุ่มกันหนาแน่นในบริเวณที่ต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน ฃนอกจากนี้สภาพภูมิประเทศโดยรอบโบราณสถานยังเป็นป่าธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี เพื่อคงไว้ซึ่ง บรรยากาศของโบราณสถานในเขตอรัญญิกหรืออรัญวาสีเช่นวันเวลาในอดีต
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความงดงามอลังการของศิลปกรรมไทยในยุคแรกๆ ผลงานทาง ศิลปกรรมที่เป็นเลิศนี้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2534
3. โบราณสถานที่สำคัญ
เมืองกำแพงเพชรลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู วางแนวยาวขนานไปกับ ลำน้ำปิง ตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้
กำแพงเมืองกำแพงเพชรเดิม คงมีลักษณะเป็นคันดินและคูเมือง 3 ชั้น ต่อมาได้พัฒนากำแพงเมืองขึ้นไปเป็นกำแพงศิลาแลง มีการสร้างเชิงเทิน ใบเสมา และป้อมประตูรอบ ส่วนที่เป็นกำแพงด้านในยังคงปรากฎร่องรอยให้เห็นอยู่ข้างบริเวณด้านทิศเหนือ เชื่อกันว่ากำแพงศิลาแลงนี้คงมาดำเนินการก่อสร้างในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1911 – 2031)
3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดโบราณ หรือ สระมน ศาลพระอิศวร วัดกลางนคร เป็นต้น
3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมือง โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดฆ้องชัย วัดอาวาสน้อย วัดเชิงหวาย วัดดงหวาย วัดช้าง และวัดกะโลทัย เป็นต้น
ส่วนโบราณสถานที่ตั้งอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำปิง ทั้งภายในและภายนอกเมืองนครชุม ก็ยังมีกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ ภายใน เมืองนครชุมมีวัดพระบรมธาตุและวัดซุ้มกอ เป็นต้นส่วนที่อยู่นอกเมืองนครชุม ได้แก่ ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหม่องกาเล และ วัดเจดีย์กลางทุ่ง เป็นต้น
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลดกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2534 ร่วมกับ อุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานอันล้ำเลิศทางสถาปัตยกรรมไทยยุคแรก ความงดงามอลังการของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแห่งอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานที่เป็นผลงานอันเป็นเลิศนี้ปรากฎอยู่มากมาย ในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าว
4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว
โดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัด กำแพงเพชร ระยะทาง 358 กิโลเมตร
โดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ กำแพงเพชร บริการทุกวัน
การเที่ยวชม เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาท
ผู้มีสัญชาติอื่น 30 บาท
การท่องเที่ยว สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 055 711921
สำนักงาน ททท. 055 514341-3 หรือ 1672
โรงแรมที่พัก เพชรโฮเต็ล 055 712810
ชากังราว 055 711315
นวรัตน์ 055 711106
ราชดำเนิน 055 711022
ร้านอาหารแนะนำ เกี๋ยวเตี๋ยวไก่ลูกสาวนายหยา
ร้านบะหมี่ชากังราว
ร้านเรือนแพริมปิง
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 055 511340 หรือ 1193
สินค้าพื้นเมือง กล้วยไข่ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่