ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ

ชื่อผู้แต่ง          พระมุจลินทโมลี ชื่อเรื่อง            ประวัติวัดมุจลินทวาปีวิหาร ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท. สำนักพิมพ์       ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          2497 จำนวนหน้า      48 หน้า รายละเอียด              หนังสือประวัติวัดมุจลินทวาปีวิหาร หมู่ที่ 2 ตำบลตุยง  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี  เนื้อหาสาระประกอบด้วย  เรื่องประวัติวัดมุจลินทวาปีวิหาร ตำนานการสร้างเมืองหนองจิก   และตำนานการสร้างวัดและลำดับเจ้าอาวาสทั้ง 5 รูป รวมทั้งพระราชหัตเลขาฉบับที่ 3 ของ ร.5 ในคราวเสด็จประพาส แหลมมาลายู ร.ศ.108  ต้นหน้ามีภาพประกอบพระประธานรูปหลวงพ่อนวล พระครูพิบูลย์ และพระมุจลินทโมลี พระพิมพ์ , เหรียญพระยาเนื้อว่านหลวงพ่อทวด


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 151/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1จ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          สำนักการสังคีต ขอเชิญชมรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ วันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “ทศกัณฐ์พรหมพงศ์ลงกา” ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย นายสมชาย อยู่เกิด อำนวยการแสดงโดย นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


          กลับมาอีกครั้งกับกิจกรรรม “ ฮีต ๑๒ ฮอยฮีตคองวัฒนธรรม” เปิดศักราชใหม่ด้วยประเพณีบุญใหญ่ของชาวอีสาน “บุญเดือนสี่ : บุญผะเหวด” โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ร่วมกับพันธมิตรเครือข่าย ทุกท่านจะได้พบกับกิจกรรม ดังนี้           - “ธุงผะเหวด” ลวดลายวิจิตร และการบรรยายความรู้เกี่ยวกับ “ธุงผะเหวด” จากกลุ่มช่างทอธุงบ้านบัวเจริญ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ทุงอีสาน -ทุงบ้านบัวเจริญ อุบลราชธานี และความรู้เกี่ยวกับประเพณีบุญผะเหวดของชาวอีสาน โดยพระวิทยากร พระปกรณ์ ชินวโร วัดมณีวนาราม และขอเชิญร่วมขบวนแห่ธุงผะเหวดโบราณที่ม่วนซื่นสวยงาม           - วาดงานศิลป์บนผืนธุงผะเหวด โดยนักศึกษาคณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี           - สาธิตการทำธุงใยแมงมุม ที่มีรูปแบบและสีสันอันหลากหลาย           - ตลาดอุบลฮักคราฟท์ ได้นำผลิตภัณฑ์ออแกนิค และงานฝีมือต่างๆจากชุมชนคนอุบลฯ อุบล"ฮัก"คราฟท์-Ubon Hugs Crafts มาให้เลือกชม ชิม ช็อป           ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. ทั้งนี้ หากไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมได้ สามารถรับชมถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กเพจ Ubon Ratchathani National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี https://www.facebook.com/UbonNationalMuseum อย่าลืมกดถูกใจ กดติดตาม จะได้ไม่พลาดกิจกรรมดีๆ


ชื่อผู้แต่ง           เทพชู ทับทอง ชื่อเรื่อง            กรุงเทพฯ เมื่อวันวาน ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        บริษัท พี.วาทน พับลิเคชั่น  จำกัด ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๕ จำนวนหน้า       ๒๔๐  หน้า       รายละเอียด      สารคดีที่บอกกล่าวถึงความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯในสมัยก่อน  สภาพทั่วไปของภาวะเศรษฐกิจยุคข้าวยากหมากแพง  ร้านอาหาร  สภาพอาหาร โรงโปเก โรงเรียนหลวง  เบี้ยหรือเงินตราในสมัยก่อน  เรื่องปืน เช่น  ปืนเที่ยง รวมทั้งรถมอเตอร์ไซต์โจรผู้ร้าย  ตำรวจ  ทหาร และขบถ


เครื่องทองแห่งกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปบุทองคำ ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐) พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Buddha image in subduing Mara. Ayutthaya Art (14th - 15th century). Found in the crypt of Wat Mahathat, Ayutthaya. จัดแสดง: อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


๒๔ กุมภาพันธ์ "วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"และ "วันศิลปินแห่งชาติ""ช้างเผือก จากเมืองน่านในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒"ในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ได้นำช้างเผือกถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า•  เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๘ ...ในศักราชเดียวกันนั้นหมอคล้องช้างชื่อน้อยคันธาไปคล้องช้างก็ได้ช้างเผือกพลาย ๑ ตัวสูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว งายาว ๑ คืบ ๓ นิ้วที่ในแขวงเมืองงิม นำเข้ามาเถิงตำหนักท่านขี่เล่น ๑๕๐•  ในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายท้าวขุนทั้งหลายออกไปต้อนรับเอาพระยาช้างเผือกในวันนั้น เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำเม็งวันอังคารนั้น ท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาแห่เอาพระยาช้างเผือกมาสู่เวียง ในยามแถจักใกล้สู่เที่ยงวันท่านก็มีหื้อระวังรักษาอบรมกันเฝ้าไว้ตำหนักหลวงข่วงสนามหั้นก่อนแลในศักราชเดียวนี้เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ยกเอาพลนิกายโยธาเจ้านายลูกหลานแลพระยาหัวเมืองเชียงของ เชียงแขงภูคาเมืองหลวง กุมเอาพระยาช้างเผือกลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าปราสาททอง ในกรุงเทพมหานครวันนั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็มีความยินดี แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลหื้อแก่เจ้าหลวงสุมนเทวราช มีเงินใต้ ๒ ชั่งแลสรรพสิ่งของทั้งหลายมวลเปนอันมากหั้นแล ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจการทั้งหลายแล้ว ท่านก็กราบทูลลาขึ้นมาหั้นแล ท่านขึ้นมาเถิงเมืองพิไชยหั้นแล ในกาลเมื่อลุนหลังท่านเอาช้างเผือกลงไปเมืองใต้นั้น หมอคล้องช้างก็ซ้ำได้ช้างแดงแถมตัว ๑ ก็เอามาสู่เวียงในศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัว ปีเมิงเป๋า เดือน ๙ ปฐมขึ้น ๑๓ ค่ำหั้นแล เถิงเดือน ๙ ทุติยะขึ้น ๑๑ ค่ำเจ้าพระยารัตนะหัวเมืองแก้วแลเจ้าราชวงษ์คุมเอาช้างแดงลงไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็สรรเสริญยกยอยังบุญคุณเจ้าหลวงมากนักหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองในเดือน ๑๐ ลง ๔ ค่ำหั้นแล ครั้นว่าท่านขึ้นมาเถิงเมืองแล้ว ท่านก็มีอาชญาแก่ท้าวพระยาเสนาอามาตย์หื้อแปงหอเทวดาไว้ที่ป่าแดดเมืองงิมที่ได้ช้างเผือกนั้นให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าอย่าหื้อคนทั้งหลายได้ทำปาณาติบาตแก่สัตว์ทั้งหลายในแขวงป่าที่นั้นหั้นแล...".ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ กล่าวว่า.ปีฉลูนพศก จุล ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๔๖๐ เมื่อณวันพุฒเดือน ๑ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ หมอควานเที่ยวโพนช้างในแขวงเมืองน่าน คล้องช้างพลายเผือกเอกช้าง ๑ วัดได้สูง ๓ ศอก ๒ นิ้ว พระยาน่านฝึกหัดเชื่องราบดีแล้ว พาช้างนั้นลงมาถวาย ถึงกรุงเทพฯ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีฉลูนพศก เสด็จไปรับแลมีการแห่สมโภชเหมือนช้างเผือก ๒ ช้าง ที่ได้มาแต่ก่อน พระราชทานชื่อขึ้นรวาง เปนพระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่ พระยาน่านเปนอันมาก แต่มิได้เลื่อนยศขึ้น เพราะเหตุว่าผู้ครองเมืองน่านในครั้งนั้น เปนตระกูลเจ้ามาแต่ก่อน ใช้นามในพื้นเมืองว่าเจ้าฟ้าเมืองน่านเหมือนอย่างเจ้าเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ไม่ใช่เปนตระกูลซึ่งตั้งเปนเจ้าขึ้นใหม่เหมือนเจ้า ๗ ตน เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูนที่ได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้างในรัชกาลเดียวกัน ยังไม่ปรากฎว่าเคยมีมาแต่ก่อน ทั้งในสยามประเทศตลอดจนเมืองพม่าแลเมืองรามัญในเวลาเมื่อเปนอิศร ในครั้งกรุงเก่า เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ปรากฎว่ามีช้างเผือก ๗ ช้างจริงอยู่ แต่จะเปนเผือกเอกกี่ช้างก็ไม่ปรากฎ ประเพณีที่ถือกันในประเทศไทย, มอญ, พม่า มีเหมือนกันมาแต่โบราณ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใด ได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมี ถือว่าเปนมิ่งมงคลเพิ่มภูลพระเกียรติยศ ถึงถวายพระนามพิเศษแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ว่าพระเจ้าช้างเผือก เจ้าแผ่นดินพม่าได้มีพระนามพิเศษเรียกในพงษาวดารว่าพระเจ้าช้างเผือกลงมาจนพระเจ้ามังระที่มาตีกรุงเก่าคราวหลัง ด้วยประเพณีมีมาแต่โบราณอย่างนี้ เมื่อได้พระยาช้างเผือกถึง ๓ ช้างในรัชกาลที่ ๒ จึงบังเกิดความชื่นชมยินดีในพระบารมีเปนอันมาก ได้ถวายพระนามตามโบราณราชประเพณีว่า พระเจ้าช้างเผือก แลในเวลานั้นโรงช้างเผือกในพระราชวังไม่พอกัน ทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อครั้งกรุงเก่าทำโรงช้างเผือกไว้ระหว่างพระที่นั่งวิหารสมเด็จกับพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ๒ โรง ระหว่างพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทกับพระที่นั่งสุริยามรินทร ๒ โรง ควรจะสร้างโรงช้างเผือกไว้ในพระราชวัง อย่างเดียวกับเมื่อครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สร้างโรงช้างเผือกเปนโรงช่อฟ้าขึ้นตรงที่ในระหว่างประตูสนามราชกิจกับประตูพรหมโสภา ๔ โรง ๆ ต้นทางตวันออกไว้พระเทพกุญชร ซึ่งเปนช้างพังเผือกเอกได้ในรัชกาลที่ ๑ โรงที่ ๒ ไว้พระยาเสวตรกุญชร โรงที่ ๓ ไว้พระยาเสวตรไอยรา โรงที่ ๔ ไว้พระยาเสวตรคชลักษณ์.พระยาเศวตคชลักษณ์ เป็นพระยาช้างที่ได้ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นช้างพลายลูกเถื่อนเผือกเอก คล้องได้ที่ป่าแขวงเมืองน่าน พระยาน่านนำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวาย โปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๖๐ พระราชทานนามว่า พระยาเศวตคชลักษณ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงศ์จตุรภักตร์ สุรารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า.พระยาเศวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์ เกิดตระกูลสรรพสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศรราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร สุธารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑลมิ่งมงคลเลิศฟ้า(ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกรูปงาม หู หาง คา ชน และเล็บ สี ขาว แต่ที่ตัวช้างเป็นเจือสีเหลือง สูง ๓ ศอก .พระยาเศวตคชลักษณ์ มีชีพอยู่ต่อมาจนล้มเมื่อวันศุกร เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๘๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๗.ธงช้างเผือก.ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือกำปั่นของหลวงขึ้น ๒ ลำ สำหรับรัฐบาลทำการค้าแล่นไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์และมาเก๊า เรือทั้งสองลำชักธงแดงตามที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม อังกฤษเจ้าเมืองสิงคโปร์ได้บอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่า เรือเดินทะเลของพวกชาวมลายูที่ไปค้าขายที่สิงคโปร์ก็ชักธงแดงเหมือนกัน จึงขอให้พระเจ้ากรุงสยาม ใช้ธงอย่างอื่นเสียเพื่อจะได้กัดการเรือหลวงได้สะดวก.ซึ่งในสมัยของพระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้าง คือพระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ นับเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาวอยู่ภายในวงจักรกรีขาวติดไว้กลางธงแดง อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวงเท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ธงแดงตามเดิม.อนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมี.พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงหล่อพระยาช้างเผือกที่ได้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาจนถึงแผ่นดินรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ ๑๙ ช้าง เพื่อถวายบูชาพระแก้วมรกตนั้น ต่อมาได้โปรดให้ให้ช่างหล่อด้วยโลหะสำริด ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บริเวณชานด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่บริเวณฐานบุษบกรอบพระมณฑป ในบริเวณเดียวกันกับพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาล ช้างยืนแท่นหล่อด้วยโลหะรมดำต่อมาในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกคู่บารมีเพิ่มจนมีจำนวนครบถึงรัชกาลที่ ๙.งาพญาเสวตคชลักษณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องงาช้าง หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครเอกสารอ้างอิงจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑ เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ปีเถาะ-จุลศักราช-๑๒๔๑/ภาคผนวกประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑o เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. ๒๔๖๑ เข้าถึงได้โดย https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่_10พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒. โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส. ๒๔๕๙. เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร-รัชกาลที่-๒/๔๗-ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์-ช้างเผือกเมืองน่านภาพประกอบโดย ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/pumpongpaet/posts/674987072669807


เลขทะเบียน : นพ.บ.408/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์ต่างๆ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.537/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180  (292-302) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สุวัณณต่อมคำ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๕ และภาค ๖ พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 208 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ ถ้าได้อ่านพาะวันๆจะเห็นได้ว่า ไม่ค่อยได้เรื่องราวอะไรนัก แต่ถ้าอ่านไปหลายๆวัน จะเห็นว่าล้วนมีข้อความติดต่อเกี่ยวโยงถึงกันตลอด ย่อมอำนวยประโยชน์ให้แก่นักอ่านหลายจำพวก โดยพาะ ๒ จำพวกนี้ ๑. นักประวัติศาสตร์ จะมองเห็นคุณค่าของหนังสือนี้อย่างแท้จริงเมื่อเขียนพงศาวดารประเทศไทยในยุคนั้น ๒. นักศึกษาทางการเมือง จะมองเห็นรัฐประศาสนโยบายทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศ และเป็นการภายใน




ถาดตาชั่งโลหะ พร้อมลูกตุ้มน้ำหนัก จากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 แหล่งเรือจมบางกะไชย 2 อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งเรือจมที่กองโบราณคดีใต้น้ำ ใช้เวลาในการสำรวจขุดค้นภายในตัวเรือและนอกตัวเรือถึง 5 ครั้ง ครั้งแรกคือปีงบประมาณ 2537 จากนั้นเว้นช่วงระยะเวลาไปและกลับมาทำงานอีกครั้งในปีงบประมาณ 2542 ถึง 2545 ด้วยหลักฐานโบราณวัตถุที่พบทั้งเครื่องถ้วยลายครามของจีนสมัยจักรพรรดิว่านลี่ ในราชวงศ์หมิง ประกอบกับตัวอักษรจีนบนกล่องคันชั่งไม้ และจารึกที่คันฉ่องสำริด สามารถกำหนดอายุแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 จากการสำรวจขุดค้นแหล่งเรือจมนี้หลายครั้ง ทำให้พบหลักฐานวัตถุเป็นจำนวนมากและมีความแตกต่างหลากหลาย ตามที่ได้เคยนำเสนอในเพจกองโบราณคดีใต้น้ำก่อนหน้านี้ไปบ้างแล้ว วันนี้ขอนำเสนอหลักฐานโบราณวัตถุที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งที่พบจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 นี้ จึงขอเชิญติดตาม



Messenger