ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,950 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           61/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง        ธานินทร์ กรัยวิเชียร ชื่อเรื่อง          การปฏิรูประบบกฏหมายและศาลในรัชสมัยพระบามสมเด็จฯระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระปิยะมหาราช ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ปีที่พิมพ์          2511 จำนวนหน้า      71 หน้า หมายเหตุ        จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปีนับแต่พระบามสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                                เสวยราชย์ รายละเอียด    เนื้อหาสาระประกอบด้วยความเป็นมาของระบบกฎหมายไทยดั้งเดิม การปฏืรูประบบกฎ หมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ความเป็นมาของศาลไทยดั้งเดิมและการปฏิรูปศาลยุติธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ สวัสดิรักษาคำกลอน สุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางวาศนา (สุธีสร) วัฒนสินธุ์ อ.บ. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2514 ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตรจำนวนหน้า : 138 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นในงานพระราชทานเพลิงศพ นางวาศนา (สุธีสร) วัฒนสินธุ์ ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ เป็นหนังสือที่เก็บรวบรวมสุภาษิตจากหนังสือเรื่องต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งรวมพิมพ์ไว้ เป็นต้นว่า พระอภัยมณี โคบุตร และนิราศต่างๆ สวัสดิรักษาคำกลอน สุนทรภู่แต่งถวายสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ในรัชกาลที่ 2 ด้วยพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมอบสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์นั้นให้เป็นศิษย์ศึกษาอักขรสมัยในสำนักสุนทรภู่ สุภาษิตสอนสตรี สุนทรภู่เห็นจะแต่งราว พ.ศ.2380 - พ.ศ.2383 พิเคราะห์ตามสำนวน ดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่จะแต่งขาย เป็นสุภาษิตสำหรับสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะดังเรื่องบางเรื่อง




ครุฑ ตามความหมายที่ราชบัณฑิตยสถานนิยามไว้ว่า เป็นพญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ ส่วนกำเนิดครุฑนั้นมีอยู่ในทั้งคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดููและศาสนาพุทธหลักฐานเรื่องครุฑในดินแดนประเทศไทยครุฑเป็นที่รู้จักหรือรับรู้ในดินแดนที่เป็นประเทศไทย ตั้งแต่การได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียโดยเฉพาะอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งถือว่าครุฑเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ มีการใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระวิษณุ ปรากฏหลักฐานมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวารวดี กล่าวคือ พบตราประทับดินเผาที่มีรูปครุฑที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ และที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีรูปตรีศูลและจักร รูปวัวมีโหนก และรูปครุฑยืนกางปีก ด้านล่างมีอักษรปัลลวะ แปลความว่า พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุดังนั้นครุฑจึงหมายถึง พระวิษณุ แสดงให้เห็นว่าครุฑในฐานะสัญลักษณ์ของพระวิษณุ มีการรับรู้และนำมาใช้ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ยังพบหลักฐานเกี่ยวกับครุฑอีกหลายชิ้นบริเวณเมืองทวารวดีในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นตกแต่งศาสนสถาน เช่น ประติมากรรมดินเผารูปครุฑ พบที่โบราณสถานหมายเลข ๔๐ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี รูปครุฑปูนปั้น พบที่โบราณสถานหมายเลข ๓ กลุ่มโบราณสถานโคกไม้เดน เมืองบน จังหวัดนครสวรรค์ โบราณสถานทั้งสองแห่งดังกล่าวเป็นสถูปในพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่ามีการใช้รูปครุฑตกแต่งพุทธสถาน ทั้งในลัทธิมหายานและหินยาน มีแผ่นหินอย่างน้อย ๒ ชิ้น จำหลักรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือศีรษะครุฑ ที่มือทั้งสองถือก้านดอกบัวแดงข้างละ ๑ ดอก รองรับพระโพธิสัตว์ดอกละ ๑ องค์สันนิษฐานว่าเป็นรูปเคารพของลัทธิมหายาน เฉพาะรูปครุฑจำหลักหินในลักษณะคล้ายกันนี้ยังพบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี และวัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี รูปครุฑในงานศิลปกรรมทวารวดีในระยะแรกมีใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีปีกขาและอุ้งเล็บเหมือนนก ในระยะถัดมาพบว่ามีรูปครุฑที่มีใบหน้าเป็นนกGarudaGaruda, as defined by Office of the Royal Society, is the mythical king of birds and the vehicle or mount of Lord Vishnu (Narayana). The Garuda is also adopted as the national emblem of Thailand and official seal of the Thai government. The account of Garuda's birth appears in both Hindu and Buddhist mythologies.Evidences of Garuda in ThailandGaruda is known in Thailand by the influence of Indian cultures, particularly Brahmanism-Hinduism influence which represents the belief that Garuda is considered to be a divine vahana and used as a symbol of Lord Vishnu. Evidences of Garuda have been found since at least the Dvaravati period. For example, a terracotta seal embossed with an image of Garuda was found in the city of Chan Sen, Nakhon Sawan Province. Moreover, the terracotta seal with religious images and inscription was found in the city of U Thong, Suphan Buri Province. It was embossed with images of a trident, a hump cow and a standing garuda with outspread wings, including a line of inscribed Palawa letters at the bottom which mean Shiva, Brahma and Vishnu.Thus, Garuda has been known and depicted as a symbol of Lord Vishnu since the 7th century CE. Other evidences were also discovered in Dvaravati Town, Central Thailand. Most of them were sculptures and stuccos used to decorate religious places such as terracotta sculptures of Garuda found at an archaeological site 40, Khu Bua Ancient Town, Ratchaburi Province, stucco of Garuda found at site 3, Khok Mai Den (Mueang Bon), Nakhon Sawan Province. These sites contained Buddhist stupas, that meant images of Garuda were used to decorate Buddhist buildings in accordance with Theravada and Mahayana traditions. There are at least two stone plates appeared at the sites engraved with images of Buddha standing on the head of Garuda and his each hand holding a lotus to support Bodhisattva.It is assumed that this depiction is for worship related to Mahayana cult, especially images of carved Garuda similar to others found at Si Maha Pot in Prachin Buri Province and Wat Maha That in Ratchaburi Province. Garuda seen in early Dvaravati art had a human face with leg, wings and talons of a bird. Later, Garuda that had a bird’s face was found.ภาพ: ครุฑถือดอกบัวจำหลักจากหิน ศิลปะทวารวดี มีใบหน้าเป็นมนุษย์ ได้มาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรีเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานีข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


เลขทะเบียน : นพ.บ.417/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 148  (81-85) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สัททาวิมาลา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.549/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 3 x 47 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : อุปสมบทวิธี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายตันซิวเม้ง หวั่งหลี ต.ม. และนางทองพูล หวั่งหลี จ.ม.,ข.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ตีรณสาร จำนวนหน้า : 598 หน้า สาระสังเขป : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น กล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในระยะที่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นเป็นเป็นผู้ครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เรื่องไซ่ฮั่นเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งที่แสดงถึงการทำสงครามล้างอำนาจ ตั้งตัวเป็นใหญ่มีบุคคลสำคัญในเรื่องนี้สองคน คือ เล่าปัง (หรือเล่าปั๋ง)คนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็นฮั่นอ๋องแล้วเป็นพระเจ้าฮั่นเต้ และห้างอิ๋ อีกคนหนึ่ง ต่อมาเป็นพระเจ้าฌ้อปาอ๋อง ได้ทำสงครมรบขับเคี่ยวกันจนในที่สุด เล่าปัง มีชัยชนะได้รับความยกย่องนิยมนับถือสูงสุด แล้วได้เสวยราชสมบัติเป็นฮองเต้ ปฐมราชวงศ์ฮั่น




องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร พระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่๑๕-๑๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รูปพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร พระเศียรรวบพระเกศาเกล้าขึ้นเป็นมวย (ชฎามกุฏ) กึ่งกลางมีสถูปขนาดเล็ก และทรงอุณหิศประดับตาบสามเหลี่ยม ปลายพระเกศาปล่อยลงมาปรกพระอังสา พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง ริมพระโอษฐ์ทาด้วยสีแดง พระพาหาทรงพาหุรัด สองพระกรคู่หลังยกขึ้นแสดงการทรงวัตถุในพระหัตถ์ (แต่ชำรุดหักหายไป) สองพระกรคู่หน้าแสดงปางสมาธิ และสองพระกรคู่กลางพระหัตถ์ขวาแบฝ่าพระหัตถ์ออก พระหัตถ์ซ้ายชำรุดหักหายไปพระวรกายทรงยัชโญปวีต (หรือสายธุรำ แสดงถึงการเป็นนักบวช) ประทับขัดสมาธิเพชร บนฐานดอกบัว เบื้องหลังเป็นแผ่นประภามณฑลประดับด้วยกระหนกรูปเปลวไฟ พระโพธิสัตว์จุนทา (หรือบางครั้งเรียก จุณฑี) เป็นหนึ่งในธยานิโพธิสัตว์เพศหญิง กล่าวกันว่าเป็นเสมือนมารดาของพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์นิษปันนโยคาวลี (Nispannayogavali) กล่าวว่าคำที่ใช้เรียกขานพระโพธิสัตว์องค์นี้คือ “จุณฑาธารณี” (CundāDhāraṇī) และในคัมภีร์มัญชูวัชระมณฑล (Mañjuvajra-mandala)ระบุว่าพระโพธิสัตว์จุนทาจัดอยู่ในกลุ่มธยานิพุทธไวโรจนะ พระโพธิสัตว์จุนทานั้นมีรูปเคารพแสดงพระกรที่ต่างกันไป ทั้งแบบสองกร สี่กร หกกร แปดกร และมากถึงสิบหกกร ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ในศิลปะอินเดีย ตัวอย่างเช่น ประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทาสัมฤทธิ์ (๔ กร) ศิลปะอินเดียสมัยปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พบในมหาวิทยาลัยนาลันทา ภาพวาดพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร ที่ถ้ำเอลโลร่า (Ellora Cave) หมายเลข ๑๐ เป็นต้น การนับถือพระโพธิสัตว์จุนทานั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศที่นับถือพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะทิเบต จีนและญี่ปุ่น ส่วนบ้านเมืองในพื้นที่คาบสมุทรและหมู่เกาะโดยเฉพาะที่อินโดนีเซียพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์จุนทาในสมัยศรีวิชัยทั้งแบบประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น ประติมากรรมพระโพธิ์สัตว์จุนทา ๔ กร สัมฤทธิ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จากาตาร์ และรูปสลักพระโพธิสัตว์จุนทาบนผนังด้านนอกของจันทิเมนดุต (Candi Mendut) ศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๔ สำหรับประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กรชิ้นนี้ แสดงรูปแบบของศิลปะอินเดียได้แก่ ชฎามกุฏและฐานบัว แต่ในขณะเดียวกันการทำแผ่นหลังทึบดังกล่าวกลับพบได้ทั่วไปในกลุ่มประติมากรรมสัมฤทธิ์ศิลปะชวา และลักษณะความเป็นท้องถิ่นของประติมากรรมชิ้นนี้คือเปลวไฟที่ประดับขอบแผ่นหลังนั้นไม่ได้มีลักษณะเดียวกับศิลปะอินเดียหรือศิลปะชวา ประกอบกับทำประดับไว้ห่างๆกันไม่ได้ติดกันเป็นแถบ ดังนั้นประติมากรรมชิ้นนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยรับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียและชวา บทความโดย นาย พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓. Puspa Niyogi. “Cundā - a Popular Buddhist Goddess.”.East and West Vol. 27, No. 1/4 (December 1977), pp. 299-308.


พระญาลิไทย.  ไตรภูมิพระร่วง.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  นนทบุรี: บรรณาคาร, 2515.          พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงสุโขทัยมี 6 พระองค์ คือ ขุนอินทราทิตย์  ขุนบานเมือง ขุนรามคำแห่ง พระญาเลลิไทย หรือเลือไทย พระญาลิไทย และพระเจ้าศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมิกราชาธิราช  พระญาลิไทย มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีความสามารถในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 3 คือ กามภูมิ 11, รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ 7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้ เรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า สีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล


Messenger