ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,404 รายการ
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.
สาส์นสมเด็จลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาคที่ 33. พระนคร : กรมศิลปากร, 2499. หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาคที่ 33 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงว่างจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็นภาคที่ 33.
โคมคำ. อาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 เหรียญทรงผนวช 2508 มงคลรำลึก-วัดบวรนิเวศ. มติชนสุดสัปดาห์. 37 , (1889) :70 ;28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2559.
ภายในเล่ม เป็นห้วงแห่งโศกาดรูฯ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมถวายความอาลัยต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอเหรียญแห่งประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 9 เหรียญล้ำค่าประจำรัชกาล ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช นั่งขัดสมาธิ ด้านบนพระบรมรูปเขียนคำว่า " ทรงผนวช 2499 "ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระมหาเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "เสด็จฯสมโภชพระเจดีย์ทองวัดบวรนิเวศ 29 สิงห์ 2508 " ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า " ในมงคลสมัยพระชนมายุเสมอพระราชบิดา " "เหรียญทรงผนวช "แยกได้เป็น 2 บล็อก คือ บร็อกธรรมดา (บร็อกปกติ) และบร็อกนิยม (มีรอยเว้าที่ขอบเหรียญตรงหูห่วง)
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์. ราชทูตไทยไปปักกิ่ง. พิมพ์ครั้งที่ ๑. ชัยศิริการพิมพ์ : นนทบุรี, ๒๕๒๐.
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ส่งราชทูตไปเยือนประเทศจีนเพื่อหวังทางการค้าและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยใช้เรื่อกำปั่นใหญ่เดินทางไปคือ เรือ “วิทยาคม” และเรือ “สยามพิภพ” ซึ่งจะมีพระราชส์นพร้อมสิ่งของไปถวายพระเจ้ากรุงปักกิ่ง เรียกว่าเครื่องราชาบรรณาการ “จิ้มก้อง” และจะมีการต้อนรับคณะทูตานุทูตอย่างสมเกียรติ ทั้งที่พัก อาหารคาวหวาน และการบริการต่าง ๆ
ชื่อเรื่อง : อสุเรนทรจารีต คำพากย์
ผู้แต่ง : มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระ
ปีที่พิมพ์ : 2515
สถานที่พิมพ์ : สมุทรปราการ
สำนักพิมพ์ : อักษรประเสริฐ
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ พระอธิการเล็ก ฆงฺคสุวณโณ ณ ฌาปนกิจศพชั่วคราว วัดเลียบ ต.ชิงโค
อ.สิงหนคร จ.สงขลา 28 – 30 เมษายน 2520
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วัฒนกิจพาณิชย์
ปีที่พิมพ์ 2520
จำนวนหน้า 29 หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือ พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มาร่วมงานฌาปนกิจศพและเป็นอนุสรณ์แก่พระอธิการเล็ก ฆงฺคสุวณโณ เนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วย ประวัติโดยสังเขปของพระอธิการเล็ก ฆงฺคสุวณโณ เอกสารชุดมองด้านในเรื่องการบำรุงพระพุทธศาสนาและธรรมะ แง่คิดต่างๆ ของท่านพุทธทาสภิกขุ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง : แหล่งเรียนรู้อารยธรรมแรกเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทย” ระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๖๓ - มีนาคม ๒๕๖๔ นิทรรศการแสดงให้เห็นความสำคัญของเมืองโบราณอู่ทอง สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของไทย พัฒนาการของการดำเนินงานโบราณคดีในเมืองโบราณอู่ทอง กระทั่งจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เพื่อเก็บรักษารวบรวมโบราณวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินการทางโบราณคดีดังกล่าว และแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ของเมืองโบราณอู่ทอง และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณอู่ทอง ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง : แหล่งเรียนรู้อารยธรรมแรกเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทย” ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๖๓ - มีนาคม ๒๕๖๔ เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๕ ๑๐๒๑
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2502
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทิพมณเฑียร (เปลี่ยว วงศาโรจน์) 19 พฤษภาคม 2502
พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมพระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกาครั้งแรก เมื่อ จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบรับสาส์นจากประธานาธิบดี จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบรับบรรณาการแลสาส์นจากประธานาธิบดีอเมริกา จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสิ่งของแลช้างไปประเทศอเมริกา พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังกรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398) พระราชสาส์นถึงกรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) จ.ศ. 1225 (พ.ศ. 2406) จ.ศ. 1227 (พ.ศ. 2408) และ จ.ศ. 1229 (พ.ศ. 2410) พระราชสาส์น พระเจ้านโปเลียนที่ 3 พระราชทานมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) และพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง รับฉากเขียนลายน้ำมันของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1228 (พ.ศ. 2409)
เหรียญกษาปณ์โรมัน “จักรพรรดิวิคโตรินุส” พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เหรียญทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปจักรพรรดิซีซาร์ มาร์คุส พิอาโวนิอุส วิกโตรินุส (Emperor Caesar Marcus Piavonius Victorinus) เห็นพระพักตร์ด้านขวาของพระองค์ ทรงมงกุฎ และเสื้อเกราะ มีตัวอักษรภาษาละตินล้อมรอบอยู่ริมขอบเหรียญว่า “IMP C VICTORINVS P F AVG ย่อมาจาก Imperator Caesar Victorinus Pius Felix Augustus แปลว่า จักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส ศรัทธา ความสุข ด้านหลังเป็นรูปเทพีซาลัส (Salus) เทพีแห่งสุขภาพและความสุขของยุคโรมัน ทรงสวมชุดแบบโรมันที่เรียกว่า ชุดสโทลา (Stola) และคลุมผ้า ที่เรียกว่า ปัลลา (Palla) ผินพระพักตร์ไปทางซ้าย ทรงป้อนอาหารงูของเทพแอสคูราปิอุส (Aesculapius) ผู้เป็นพระบิดาและเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาโรค ทรงจับงูด้วยพระหัตถ์ขวา และถือชามใส่อาหารด้วยพระหัตถ์ซ้าย มีตัวอักษรภาษาละติน ล้อมรอบรูปเทพีซาลัส โดยรอบเหรียญว่า SALVS AVG ซึ่งนักวิชาการต่างประเทศตีความว่าเป็นคำย่อมาจาก Salus Augusti แปลว่า “Health of the Emperor”
จักรพรรดิวิคโตรินุส ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกัลลิค (The Gallic Empire or The Gallic Roman Empire) ซึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโรมันในระหว่างปี พ.ศ. ๘๐๓ – ๘๑๗ ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๔ สันนิษฐานว่าเหรียญนี้ผลิตขึ้นที่โรงกษาปณ์ในเมืองโคโลญจ์ ประเทศเยอรมัน ราว พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ (ประมาณ ๑,๗๕๐ ปีมาแล้ว)
ทั้งนี้เหรียญกษาปณ์โรมันรูปจักรพรรดิวิคโตรินุสนี้ ไม่ได้พบจากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยผู้มอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง แจ้งว่า พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ทำให้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า เหรียญดังกล่าวอาจเป็นของที่นำเข้ามาในสมัยหลัง โดยพ่อค้าชาวยุโรป สมัยอยุธยา แต่หากเหรียญที่พบถูกนำเข้ามาตั้งแต่ช่วงเวลาที่มีการผลิตขึ้นใช้ คือ ระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ ก็ถือเป็นหลักฐานสำคัญ ที่แสดงว่าพื้นที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมัน ศูนย์กลางสำคัญของโลกยุคโบราณ โดยตรงหรือผ่านพ่อค้าชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่นอินเดีย และเปอร์เชีย มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ หรือกว่า ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
คริสเตียน ลองเดส. “เหรียญโรมันพบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. ศิลปากร ปีที่ ๓๖ เล่ม ๑, ๒๕๒๕ อ้างถึงใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี และคณะ. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๖๐). “ปฐมบทแห่งการศึกษาค้นคว้าเรื่องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมบนเส้นทางการค้าทางทะเล”. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “สุวรรณภูมิ : การเชื่อมโยงการค้าโลก”. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี.
Nick Wells. Victorinus [Online], 1 September 2020. Available from www.academia. edu/2091876/Victorinus
Seth William Stevenson, Frederic W. Madden, C. Roach Smith. A dictionary of Roman coins, Republican and Imperial [Online], 1 September 2020. Available from archive. org/details/dictionaryofroma00stev/mode/2up
How to identify roman coins [Online], 1 September 2020. Available from www.all-your-coins. com/en/blog/antique/romaines/comment-identifier-les-monnaies-romaines
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ. 141/15ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (ทิพมนต์)สพ.บ. 235/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 2q หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา--บทสวดมนต์ บทสวดทิพย์มนต์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมฺโพธิเผด็จ)สพ.บ. 139/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี