ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 151/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1ฉเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ ชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ ขอเชิญร่วมกิจกรรมโครงการบรรยายและเสวนาทางวิชาการ เนื่องในวาระครบ 130 ปี ห้ามเจ้านายมิให้ไปเมืองสุพรรณบุรี เรื่อง เทศาภิบาล : ศาสตร์การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 วันศุกร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖  เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยการสแกน QR Code หรือลงทะเบียนทางลิ้งนี้ https://forms.gle/m3KVKaprpKjvwFqs8 (ปิดรับลงทะเบียนวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ หรือหากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนแล้ว)


ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง           สี่ศาสตราจารย์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      นครหลวง ฯ สำนักพิมพ์        บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช  จำกัด ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๕ จำนวนหน้า       ๑๓๐  หน้า หมายเหตุ         ที่ระลึกงานสี่ศาสตราจารย์ ๙ กันยายน ๒๕๑๕ รายละเอียด      หนังสือที่ระลึกในการเกษียณอายุราชการ ของ ๔ อาจารย์ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ประกอบด้วยศาสตราจารย์ รอง ศยามานนท์  ศาสตราจารย์ คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่  ณ อยุธยา ศาสตราจารย์ ม.ร.ว แสงโสม  เกษมศรีและศาสตราจารย์หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์




       ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี        เรียบเรียง : นางทัศนีย์ เทพไชย (ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ)        ภาพ : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี         เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่ช่วยให้ผู้คนสัญจรเข้าสู่กรุงเทพฯ หรือเดินทางต่อไปยังสายใต้ได้สะดวกขึ้น  จากการสำรวจแนวทางการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2504 หยุดการก่อสร้างชั่วคราวเนื่องจากขาดงบประมาณ  หลังจากนั้นเมื่อได้รับงบประมาณในปีพ.ศ. 2505 จึงทำการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ  โดยสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี         มีพิธีเปิดเดินรถในวันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506  เวลา 14.30 น. โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 15 (อยู่ ญาโณทโย ) สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ทรงเจิม พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ ประพรมน้ำมนต์         จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีตัดแถบแพรเปิด ณ สถานีหนองปลาดุก ซึ่งเป็นการเปิดสถานีรถไฟพร้อมกัน 10 แห่งตามระยะทางสถานีหนองปลาดุก ถึงสถานีสุพรรณบุรี  ทั้งนี้ในขบวนรถไฟมีนายสุนทร หงส์ลดารมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พลเอกไสว แสนยากร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายมนูญ บริสุทธิ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ร่วมเดินทางมาพร้อมขบวนรถไฟจนถึงสถานีสุพรรณบุรี       เริ่มเปิดให้บริการประชาชนโดยสารในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2506  มีทั้งสิ้น 4 ขบวน ได้แก่            ขบวนรถ 345 ออกจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) เวลา 13.20 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 15.50 น. และถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 18.00น.          ขบวนรถ 346 ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 06.40 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก 07.50 น. สามารถต่อขบวนรถเพชรบุรี ถึงสถานีกรุงเทพฯ เวลา 11.50 น.          ขบวนรถ 347 ออกจากสถานีธนบุรี เวลา8.20 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 10.00 น. และถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 12.10 น.           ขบวนรถ 348 ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 12.40 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 14.50 น. สามารถต่อขบวนรถประจวบคีรีขันธ์ ถึงสถานีธนบุรี เวลา 17.20 น.       อัตราค่าโดยสารในขณะนั้น            ประเภทชั้น3 จากสถานีสุพรรณบุรี ถึงกรุงเทพฯ เที่ยวเดียว 13 บาท          ไปกลับ 24.40 บาท             จากสถานีสุพรรณบุรี ถึงธนบุรี    เที่ยวเดียว 12 บาท          ไปกลับ 22.40 บาท       ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสุพรรณบุรี ยังคงให้บริการประชาชน พ่อค้าแม่ค้านำสินค้าไปขายยังกรุงเทพฯ นครปฐม หรือจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง โดยมีขบวนรถไฟให้บริการ วันละ 2 ขบวน ได้แก่          ขบวน 356 สุพรรณบุรี - กรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 04.00 น. ถึงสถานีหัวลำโพง เวลา 07.55 น.           ขบวน 355 กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี รถไฟออกจากหัวลำโพง เวลา 16.40 น. ถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 20.04 น.   เป็นขบวนรถชานเมืองแบบพัดลม ในอัตราค่าโดยสาร 32 บาท  (ข้อมูลราคาเดือนก.พ. ปี 2565)    สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย ด้วยความสวยงามคลาสสิคของอาคารสถานีรถไฟสุพรรณบุรี รวมทั้งรางรถไฟ ไม้หมอน ตู้สินค้าเก่าๆ ที่จอดเรียงรายอยู่ตามสถานี และทิวทัศน์ที่เงียบสงบของเมืองสุพรรณบุรี ดึงดูดให้ผู้ที่สนใจแวะเวียนไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอยู่เป็นประจำ ที่มา : คนสุพรรณ.  6,343 (10 พฤษภาคม 2506) 1, 8. ------------.    6,348 (5 มิถุนายน 2506) 1, 8. -------------.   6,350 (15 มิถุนายน 2506) 1, 8.   ภาพพิธีเปิดจากเพจ : โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ


เลขทะเบียน : นพ.บ.408/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4 x 52.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์ต่างๆ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.537/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180  (292-302) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : สุวัณณต่อมคำ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ตำรายาเกร็ด ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2500 สถานที่พิมพ์ : รัตนการพิมพ์สำนักพิมพ์ : พระนครจำนวนหน้า : 176 หน้าสาระสังเขป : หนังสือ ตำรายาเกร็ด เล่มนี้ พิมพ์มาเพื่อช่วยคนที่อยู่ห่างไกลหมอ ใช้เยียวยาโรคบางอย่างได้ตามสมควร โดยส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้ต่างๆที่สามารถทำยารักษาได้เองก่อนเดินทางมาพบหมอ เช่น ยาแก้งูกัด ยาแก้ฝี และยาแก้ปัสสาวะพิการฯ



ชื่อเรื่อง                               กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ.                                 429/ก/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      70 หน้า : กว้าง 4.7 ซม.  ยาว 55.8 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา                                            คัมภีร์สัททาวิเสส                                            ศัพท์นามบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


กองโบราณคดีใต้น้ำขอเสนอหลักฐานทางเอกสารชิ้นสำคัญในการศึกษาเรื่องโครงสร้างเรือโบราณในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียตะวันตก คือ "The Maqāmāt of Al-Hariri" ซึ่งเป็นเอกสารโบราณในการศึกษาวิถีชีวิตของผู้คนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 อ้างอิง: 1. Agius, Dionisius A. "Omani seafaring identity before the early 1600s: Ethnic and linguistic diversity." Oman and overseas. Hildesheim/New York: Georg Olms (2013): 41-55. 2. Grabar, O. 1984 The Illustrations of the Maqamat. Chicago: University of Chicago Press.



ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/3 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  50 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่          แนวคิดการตั้งเมืองเชียงใหม่ในอดีตเปรียบดั่งร่างกาย หัวเวียงอยู่ทางทิศเหนือ หัวเป็นอวัยวะสำคัญ ดังนั้นภายในเวียงเชียงใหม่ นับตั้งแต่กลางเวียงค่อนไปทางเหนือ จึงถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญ สิ่งมงคล เช่น หอคำที่เวียงแก้ว คุ้มเจ้านาย วัดเชียงมั่น วัดเจดีย์หลวง และเสาอินทขิลเพราะถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตีนเวียงจะเป็นแนวยาว ตั้งแต่แจ่งหัวลินถึงแจ่งกู่เฮือง และจากแจ่งกู่เฮืองเลียบมาถึงแจ่งก๊ะต๊ำและแจ่งศรีภูมิ ดังนั้นวัดและอาคารบ้านเรือนที่อยู่ตีนเวียงมักจะมีขนาดเล็ก          ดังปรากฏความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ถึงการการตั้งเมืองเชียงใหม่ให้ฟื้นคืนมา โดยได้ปฏิสังขรณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีมาแต่โบราณ เช่น ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัวที่หัวเวียง ก่อรูปสิงห์ ๒ ตัวที่ข่วงสิงห์ ก่อรูปกุมภัณฑ์ และพระสุเทวฤาษีที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับการย้ายเสาอินทขิลจากวัดสะดือเมืองไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ความว่า “เถิงเดือน ๗ ออก ๑๑ ค่ำ วัน ๗ (มีนาคม ๒๓๔๔) ได้ก่อรูปช้างเผือก ๒ ตัว ไว้ทางหัวเวียง ตัวเบ่นหน้าไปหนเหนือชื่อ ปราบจักรวาฬ ตัวเบ่นหน้าไปวันตกชื่อปราบ เมืองมารเมืองยักษ์ แล้วก่อรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม และก่อรูปพระสุเทวรสีในที่ใกล้วันตกแห่งหออินทขีล ในสกราชเดียวนั้นแล ลูนนั้นได้ ๒ ปี เถิงปีลวงเล้า”          นับแต่การสร้าง เสาอินทขิล เมืองเชียงใหม่ ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชาวเชียงใหม่จึงได้ร่วมจัด ประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีลขึ้น ในช่วงปลายเดือน ๘ ต้นเดือน ๙ หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเข้าสู่งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล เริ่มต้นในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าอินทขิล ไปจนถึงวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงมักเรียกว่า เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก ประกอบด้วย การบูชาอินทขิล การบูชาต้นยางหลวง ในวัดเจดีย์หลวง การบูชาช้าง ๘ ตัว ที่พระเจดีย์หลวง พิธีใส่ขันดอก การใส่บาตรพระประจำวันเกิด พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนแสนห่า และพิธีสืบชะตาเมือง นับว่าเป็นงานประเพณีที่สร้างความเป็นมงคลให้แก่บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง สร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้งเคารพบูชาเทวดาฟ้าดินช่วยดลบันดาลให้ฝนตกสร้างความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตรอีกด้วยผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิง1. คณะกรรมการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.  ๒๕๓๙.  จดหมายเหตุการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”.  เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ ส.ทรัพย์การพิมพ์.2. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.3. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ๒๕๔๓.  ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.  กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พรินติ้ง เฮ้าส์.


Messenger