ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,404 รายการ
ชื่อเรื่อง พุทธเสน (พุทธเสน)
สพ.บ. 320/1
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.279/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 118 (240-247) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
"บารายเมืองสุโขทัย" หนึ่งในระบบจัดการน้ำสมัยสุโขทัย •.บารายเมืองสุโขทัย หรือเรียกตามชื่อโบราณสถานของอุทยานว่า ทำนบ 7 อ. หรืออ่างเก็บน้ำหมายเลข 2 เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นคันดินมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คันดินกว้าง 25-30 เมตร สูง 2-4 เมตร มี 3 ด้าน ด้านทิศเหนือยาว 1,400 เมตร ด้านด้านทิศตะวันออกยาว 750 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 1,050 เมตร และด้านทิศตะวันตกไม่พบแนวคันดินเนื่องจากติดคลองแม่ลำพัน.#การใช้ประโยชน์ของบารายเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ทำการศึกษาทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ.2560-2561 พบหลักฐานทำให้สันนิษฐานได้ว่าบารายหรือทำนบ 7 อ. แห่งนี้ไม่ได้กักเก็บน้ำไว้ตลอดเวลา แต่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ในช่วงฤดูน้ำหลากของแต่ละปี โดยใช้กักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลาก สำหรับรับน้ำจากคลองแม่ลำพันมาเก็บไว้ เมื่อผ่านพ้นฤดูน้ำหลากในแต่ละปีแล้วจึงปล่อยที่กักเก็บไว้ออกสู่พื้นที่ทางการเกษตรโดยรอบบารายเมืองสุโขทัย.#การกำหนดอายุสมัยของบารายเมืองสุโขทัย ได้ส่งตัวอย่างถ่าน จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่พบการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ ปี พ.ศ.2560 เพื่อหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธี Radiocarbon Dating (AMS) ที่มหาวิทยาลัย Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ค่าอายุดังนี้- ตัวอย่างถ่านที่ 1 จากหลุมขุดตรวจคันดินบารายด้านทิศตะวันออก T.1 E.1 ได้ค่าอายุ 613 +-15 B.P. หรือ 628 - 598 ปีมาแล้ว ตรงกับ พ.ศ.1865 - 1895 ซึ่งตรงกับสมัยพระยาเลอไท- ตัวอย่างถ่านที่ 2 จากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบนเนินโบราณสถานวัดโบสถ์ TP.1 ได้ค่าอายุ 578 +-15 B.P. หรือ 593 - 563 ปีมาแล้ว ตรงกับ พ.ศ.1900 - 1930 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยพระยาลิไท - พระยาลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1-2).สรุปได้ว่าบารายเมืองสุโขทัยหรือทำนบ 7 อ. นั้นสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระยาเลอไทหรือพระยางั่วนำถมเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย ช่วงระหว่างปี พ.ศ.1842-1890 ต่อมาในช่วงสมัยพระยาลิไทจึงมีการเริ่มถมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโบราณสถานวัดโบสถ์ขึ้น ส่วนโบราณสถานอื่นๆ ภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็น่าจะสร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกัน.#สภาพปัจจุบันของบารายเมืองสุโขทัยกรมศิลปากรโดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ดำเนินงานโครงการเพื่อฟื้นคืนสภาพดั่งเดิมของคันดินของบารายเมืองสุโขทัยขึ้นมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2562-2563 จากภาพมุมสูงที่ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงหน้าที่การใช้งานของบารายเมืองสุโขทัยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี คือ เมื่อปริมาณน้ำจากคลองแม่ลำพันมีมากเกินไป ก็จะล้นไปลงบารายเมืองสุโขทัยที่อยู่ทางด้านตะวันออก น้ำจะถูกกักไว้เพื่อชะลอความเร็วของน้ำในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อปริมาณน้ำมีมากเกินกว่าระดับคันดินของบารายจะรับไหว ก็จะล้นออกไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่าหรือพื้นที่สำหรับรับน้ำในสมัยสุโขทัย ที่เรียกตามศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหง ว่า "ทะเลหลวง".#เอกสารสำหรับอ่านเพิ่มเติม1) บทความเรื่อง บารายเมืองสุโขทัย โดย ธงชัย สาโค ในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 62 ฉบับที่ 6 พ.ย.-ธ.ค.2562 หน้าที่ 57-75 (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้ >>> https://www.finearts.go.th/.../cuPFUeeUEipwNzjJAUkML1hI1e...)2) หนังสือ ระบบชลประทานสมัยสุโขทัย โดย เอนก สีหามาตย์และคณะ (ดาวน์โหลดและอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งก์นี้ >>> https://drive.google.com/.../1TYO1yCMtoodAHEXgamH.../view...)3) รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บารายเมืองสุโขทัย) โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีงบประมาณ 2560 - 2561 (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งก์นี้ >>> https://drive.google.com/.../1yJK3lURcVgbYexhRAN1.../view...)
วัดสระไตรนุรักษ์ หรือ วัดบ้านนาเวียง อยู่หมู่ที่ ๑ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ประวัติวัดสระไตรนุรักษ์ หรือวัดบ้านนาเวียง สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยพระครูหลักคำ (ชา) ภิกษุชาวลาว ภายหลังได้บูรณะใน พ.ศ.๒๔๕๐ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ หอไตร
. หอไตร ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอีสาน-ล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลไทยใหญ่ ดังจะเห็นได้จากชุดหลังคาจั่วซ้อนชั้น และทำชายคาปีกนกซ้อนชั้นยื่นออกทั้งสี่ด้าน มุงกระเบื้องแป้นเกล็ด คล้ายกับชุดหลังคาหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เสาและตัวอาคารสร้างด้วยไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ขนาดกว้าประมาณ ๘.๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร บานประตูแกะสลักลายเครือเถาขดเป็นวงกลมซ้อนต่อเนื่องกันตลอดทั้งสองบาน ตรงกลางอาคารเป็นห้องทึบ ขนาดกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๕.๐๐ เมตร สำหรับเก็บคัมภีร์ มีทางเดินโดยรอบ หอไตรหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕
. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดสระไตรนุรักษ์ (วัดนาเวียง) ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนพิเศษ ๑๑๓ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๓ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา
------------------------------------------------------------
+++อ้างอิงจาก+++
. กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๖๗๔
. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์
และภูมิปัญญาจังหวัดยโสธร. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๒.
พิพิธภัณฑภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ได้จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2564 เรื่อง เหรียญกษาปณ์จีนที่พบในแหล่งเรือจมในประเทศไทย สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม 1. พระนคร: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2505.
พระราชพงศาวดารพม่า พระราชนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวีรบุรุษและตำนานแห่งชนชาติพม่า โดยเล่ม 1 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 14 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ยุคกษัตริย์ดึกดำบรรพ์ ตอนที่ 2 พระเจ้าอโนรธามังฉ่อ ตอนที่ 3 ยะข่าย ตอนที่ 4 ลังกาตีพม่าครั้งกษัตริย์กรุงพุกาม ตอนที่ 5 พม่าทำสงครามกับจีนครั้งกษัตริย์กรุงพุกาม ตอนที่ 6 กษัตริย์เงี้ยวแยกครองพม่า ตอนที่ 7 ตั้งกรุงอังวะ ยุคราชาธิราช ตอนที่ 8 ยะข่าย ตอนที่ 9 กษัตริย์เงี้ยวครองพม่าและกษัตริย์หงสาวดีจนถึงขัตติยาธิปไตยเมืองตองอูอุไทย ตอนที่ 10 ตองอู ตอนที่ 11 พระเจ้าตเบงชเวตี ตอนที่ 12 พระเจ้าชนะสิบทิศ บุเรงนอง ตอนที่ 13 พระเจ้านันทบุเรงเสวยราชย์ และตอนที่ 14 มอญและพม่ารวมกันอีก
ชื่อเรื่อง สพ.ส.26 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 21; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดสามทอง ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538
วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” พร้อมทั้งมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด “Museum Photo Contest” ภายใต้แนวคิด “The Power of Thai Museums” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการอนุรักษ์มรดกไทย ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีภาคีพิพิธภัณฑ์ไทยเข้าร่วมกิจกรรมกว่า ๑๐๐ คน
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พุทธศักราช ๒๕๖๕ ครบรอบ ๑๔๘ ปี ที่ประเทศไทยมีพิพิธภัณฑสถานเปิดให้บริการแก่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ จนกระทั่งในปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ไทยหลากหลายสาขา ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มากกว่า ๑,๕๐๐ แห่ง การที่กรมศิลปากรมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์จำนวนมากในวันนี้ นับว่าเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ของพิพิธภัณฑ์ไทย เป็นพลังที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์และความยั่งยืน กรมศิลปากรมีนโยบายที่ต้องการมุ่งเน้นเรื่องของการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากขั้นพื้นฐานคือการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน ให้พร้อมถึงด้วยความสามารถ เสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนงานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยพลังร่วมกันปกป้องคุ้มครองจากภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมอันเป็นแหล่งกำเนิดและสืบทอดองค์ความรู้ ทั้งนี้ กรมศิลปากรพร้อมเป็นพลังสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ไทยและพร้อมร่วมปฏิบัติงานกับทุกภาคส่วนอย่างบูรณาการ
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย กว่า ๓๐ แห่ง ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระวันพิพิธภัณฑ์ไทย ในหัวข้อ “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” ประกอบด้วย
Museum Show & Share: ประชาสัมพันธ์กิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยการรวบรวมผลงาน/กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์เครือข่ายในประเทศไทย ๓๐ แห่ง เผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ Facebook: Thai Museum Day 2022
Museum Travel นำผู้ร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสองฝั่งกรุงเทพมหานคร รวม ๔ เส้นทาง เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ กันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเต็มจำนวนทุกเส้นทาง
Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” กับมุมมองหลากหลายและประสบการณ์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร ที่จะมาเป็นแรงพลังให้พิพิธภัณฑ์ไทยอีกมากมาย ก้าวเดินต่อไปพร้อมกับสังคมโลกอย่างมั่นคง โดยมีการบรรยายพิเศษ “A New Museum Definition: ICOM Prague 2022” จากนางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และเรื่องราวจากพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๒ แห่ง ที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์แห่งความยั่งยืน นวัตกรรม และชุมชน
Museum Photo Contest การประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ The Power of Thai Museums เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อสังคม และเกิดทัศนคติที่ดีต่อพิพิธภัณฑ์ โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน ๑๔๓ คน รวม ๓๔๐ ภาพ ติดตามชมภาพถ่ายและผลการประกวดได้ทาง Facebook: Thai Museum Day 2022
นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เปิดให้บริการเป็นกรณีพิเศษ งดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย และจัดกิจกรรมนำชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” บรรยายนำชมโดยวิทยากรจากทีมงานผู้จัดนิทรรศการฯ ทั้งนักโบราณคดี ภัณฑารักษ์ และนักวิชาการอิสระ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรมศิลปากร มีความมุ่งหมายให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ไทย ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ อันเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่หลากหลายและสร้างสรรค์ ให้ทุกคนก้าวไปสัมผัสความรู้และขุมพลังจากพิพิธภัณฑ์ไทย ที่หนักแน่นไปด้วยภารกิจวิชาการพิพิธภัณฑ์ เพื่อรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ยืนหยัดเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนอย่างเปิดกว้างโดยไม่มีการแบ่งแยก ยึดมั่นในจริยธรรมและพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพร่วมกับชุมชน โดยนำเสนอองค์ความรู้และประสบการณ์หลากหลายเพื่อการ ศึกษา ความเพลิดเพลิน และการแบ่งปันสู่สังคม
#เที่ยวทั่วน่านกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน."5 CAFE NAN สายคาเฟ่ห้ามพลาด"น่าน นอกจากจะสวยงามไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปะและวัฒนธรรมแล้ว ร้านกาแฟหรือคาเฟ่ยังเป็นสถานที่ที่ทุกคนต้องไปเช็คอิน ไปเสพบรรยากาศ ดื่มด่ำกับรสชาติกาแฟเมืองน่าน หอมกลิ่นกาแฟ และจุดถ่ายรูปสุดเก๋น่ารักๆ ชิคๆ ที่มาเที่ยวเมืองน่านแล้วต้องแวะมาเยือน.จัดทำโดยนางสาวธิดารัตน์ เมธะพันธุ์นิสิตโครงการสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร สาขาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร
คันทวยพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ : เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมวังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นหนึ่งในอาคารของพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๒ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ขณะนั้นสมเด็จกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีพระประสงค์สร้างขึ้นสำหรับประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่นเดียวกับพระมหาปราสาทในวังหลวง ภายหลังพระองค์อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ลงมายังกรุงเทพฯ จึงทรงอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และขนานนามว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์”* หมายถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า (บางเอกสารออกนามว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”)
ด้วยฐานานุศักดิ์ของพระมหาอุปราช รูปแบบงานสถาปัตยกรรมในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) จึงมีรายละเอียดที่แตกต่างจากวังหลวง อาทิ การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ การประดับรวยระกาที่ไม่มีนาคสะดุ้ง บัวหัวเสาเป็นบัวกลม ในขณะที่ช่างวังหลวงจะทำเป็นบัวแวง (บัวกลีบยาว) และแม้ว่าพระราชวังบวรสถานมงคลจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่เอกลักษณ์ฝีมืองานช่างวังหน้าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ยังคงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะคันทวยซึ่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างแท้จริง
คันทวย** ที่ประดับ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นงานไม้จำหลักลายปิดทองประดับกระจกสี เป็นรูปนาคห้อยเศียรลง มีลายเครือวัลย์ลักษณะเป็นเถาเลื้อย พันเกี่ยวเป็นจังหวะตลอดทั้งคันทวย รูปแบบคันทวยดังกล่าวนี้พบตามพระอารามบางแห่งที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ อาทิ พระอุโบสถ พระวิหาร และมณฑปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พระอุโบสถ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ และ พระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
*ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งองค์นี้จากพระที่นั่งพุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (อ่านรายละเอียดได้ใน : ประกาศรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ประกาศนามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ แลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กับ ประกาศให้เรียกชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ว่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระที่นั่งพุทธาสวรรย์ให้เรียกว่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ )
**“คันทวย” ตามความหมายพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า โครงสร้างอาคารทรงไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา การเปรียญ ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการบางแห่ง คันทวยทำหน้าที่ค้ำยันใต้เต้า (ส่วนที่ยื่นออกจากปลายของผนัง เสาเก็จ หรือเสาราย) ที่ชายคากับผนังเสาดั้งเท้าแขน มีการแกะสลักเป็นรูปนาค ยักษ์ ลิง ครุฑ ฯลฯ เรียกชื่อตามแบบอย่างและท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ทวยตั๊กแตน นาคตัน, ทวย ก็เรียก
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ช ฉบับราชบั