ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
ชื่อเรื่อง ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา)
อย.บ. 327/2
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.
หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
เรื่อง “วันวิสาขบูชา”
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในเดือนพฤษภาคมนี้ คือ วันวิสาขบูชา ที่ปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ในปี พ.ศ.2566 เป็นปีอธิกมาศ คือ เดือน 8 มี 2 ครั้ง วันวิสาขบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 6 ในวันนี้ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชาอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท
ความกตัญญู คือ รู้บุญคุณ คู่กับความกตเวที คือตอบแทนผู้มีพระคุณ อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีขึ้นได้แก่ทุกคนมี 4 ประการ คือ ทุกข์ (ปัญหาของชีวิต) สมุทัย (เหตุแห่งปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหาได้) มรรค (ทางหรือวิธีแก้ปัญหา มรรคมีองค์ ส่วนความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือการระลึกรู้ทันที่คิด พูดและทำ กล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ
พระพุทธเจ้าประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองลุมมินเด ประเทศเนปาล) เช้าวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวชและทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก จนได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองพุทธคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย) เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดผู้ที่ควรแนะนำสั่งสอนใหได้บรรลุมรรคผลจนนับไม่ถ้วน และเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สิริรวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา
การจัดงานวันวิสาขบูชาได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา ให้เป็นแบบแผนขึ้น และกระทำสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงประกาศให้เป็น “วันสำคัญสากลโลก” (Vesak Day)
หนังสือ : แมวกับปลาย่าง
ผู้เขียน : กรุง ญ ฉัตร
เจตนาแฝงเร้นของการแต่งงาน “เธอ” อาจค้นไม่พบในคราแรก ด้วยเข้าใจว่ามันคือความรัก... กระทั่งเมื่อความจริงปรากฏว่า เขาเพียงปรารถนาในสมบัติของเธอ! หนี...เท่านั้นที่เธอเลือก และการหนีครั้งนี้ ทำให้เธอพบกับ “เขา” ผู้ชายช้ำรัก!
เขาโอบอุ้มเธอด้วยมิตรภาพแสนดี ส่วนเธอล่ะ เธออยู่ด้วย เธอคลุกคลี และมอบความไว้วางใจให้กับเขา
กระทั่งมิตรภาพของเธอนั้น พร้อมแปรเปลี่ยนเป็นความรักทันที ถ้าเขาเปิดใจ! เธอศรัทธา ลุ่มหลง และเธอรักเขา! เธอเปิดโอกาสให้เขามากมาย กระทั่งนำตัวเข้าใกล้ชิด
เปรียบตัวเองประดุจปลาย่าง ที่เต็มใจมอบให้กับแมว...ทว่า เขาใช่แมวหน้าโง่จริงหรือหรือว่าจริงๆ แล้ว หัวใจของเขาต่างหาก ที่ยังจมจ่อมอยู่กับอดีตรักที่ขมขื่น...
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.913 ก255ม
ชื่อเรื่อง ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ. 297/11หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฏก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
ตุ๊กตาชาววัง
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็กรูปบุคคลบนเตียงไม้สลักลายปิดทอง ปรากฏรูปบุรุษ (อยู่กึ่งกลาง) ล้อมรอบด้วยรูปเด็กและสตรี ผิวกายทาสีขาว แต่งกายด้วยการห่มสไบ นั่งท่าพับเพียบและหมอบกราบ เตียงมีลักษณะเป็นเตียงเท้าสิงห์จำหลักลายพันธุ์พฤกษาใบเทศ
ตุ๊กตาชาววัง คือตุ๊กตาไทยขนาดเล็กปั้นจากดินเหนียว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยเถ้าแก่กลีบ ข้าราชการฝ่ายในพระราชสำนักเป็นผู้คิดค้นทำตุ๊กตาชาววังขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชบริพาร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดา ม.ร.ว. ย้อย อิศรางกูร ได้ปั้นจำหน่ายที่ตำหนัก จนเป็นที่นิยมซื้อหาไว้เล่นกันทั่วไปตามตำหนักเจ้านายในพระบรมมหาราชวัง มีข้อสังเกตว่าตุ๊กตาชาววังของโบราณจะบอบบางและมีขนาดเล็กกว่าตุ๊กตาชาววังที่จำหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน
บันทึกของแพทย์หลวงชาวอังกฤษนามว่า มัลคอม สมิธ (Dr. Malcolm Smith) ซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ถวายการดูแลพระพลานามัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้บันทึกถึงร้านค้าในพระบรมมหาราชวังว่า มีการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ตลอดจนของเล่นสำหรับชาววัง*
“...ของเล่นของพวกเด็ก ๆ ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดและเป็นผลผลิตที่ทำขึ้นเฉพาะภายในวังได้แก่ รูปปั้นพวกผู้ดีชาวสยาม แม้จะมีขนาดความสูงไม่เกิน ๑-๒ นิ้ว แต่ก็มีรายละเอียดต่าง ๆ สมบูรณ์ครบถ้วนเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตุ๊กตาชาววัง หมายถึง ตุ๊กตารูปผู้หญิงในราชสำนัก...”
สมัยรัชกาลที่ ๖ ในพระบรมมหาราชวัง ก็ยังมีการจำหน่ายตุ๊กตาชาววังอยู่ จากหนังสือชุด “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” ของคุณทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าเรื่องของครอบครัวไทยสมัยรัชกาลที่ ๖ ต่อรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๕) ในตอน “ชาววัง” เนื้อความกล่าวถึงตุ๊กตาชาววังไว้ว่า
“คุณยายว่างเวลาบ่าย เสด็จบรรทมตอนบ่าย คุณยายก็ได้มีโอกาสออกไปเที่ยวในบริเวณวังชั้นใน ที่ในวังมีร้านขายของด้วย เจ้านายทรงออกร้านเองในนั้น มีร้านขายอาหาร ขายตุ๊กตาชาววัง คุณยายซื้อมาหลายตัว มีละครแท่นเล็กๆ ขายด้วย...”
สำหรับสามัญชน อาทิ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้เล่าถึงตุ๊กตาของเล่นสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ใน หนังสือ “เมื่อวานนี้ ตอน เด็กคลองบางหลวง” ว่า
“ตุ๊กตาสมัยนั้นปั้นด้วยดินเผาตัวย่อมๆ แล้วทาสีผ้านุ่งผ้าห่ม ส่วนมากเป็นตุ๊กตาหญิงนั่งพับเพียบท้าวแขนอ่อนเขาทำขายซื้อมาตั้งเล่นบ้าง สำหรับใส่ในศาลพระภูมิบ้าง..”
และอีกตอนหนึ่งว่า
“ของเล่นมีตุ๊กตาท้าวแขน (ปั้นด้วยดินเผาแล้วลงสีผ้านุ่งเป็นผ้าลาย ห่มสะไบเฉียงทำเป็นดอกเล็กๆ สวยดีเหมือนกัน ตุ๊กตาท้าวแขนอย่างนี้ นิยมตั้งในศาลพระภูมิทั่วๆ ไป) ตุ๊กตาเด็กไว้ผมจุก (ทำอย่างเดียวกับตุ๊กตาท้าวแขน)...ตุ๊กตานั้นต่อมาบิดาเอาตุ๊กตาฝรั่งมาให้เป็นของนอก ใส่หีบกระดาษแข็งยาวราวเกือบศอก ตุ๊กตาใส่เสื้อนุ่งกระโปรงใส่ถุงเท้าใส่เกือกอย่างฝรั่ง ผมยาวสีบลอนด์ แขนขายกขึ้นลงได้ ดวงตากลอกได้ เวลาจับลงนอนตาปิด ถ้ายกขึ้นตั้งก็ลืมตา เป็นของใหม่แปลกดีสำหรับสมัยนั้น ปัจจุบันตุ๊กตาฝรั่งแบบนี้เห็นยังมีขาย ส่วนตุ๊กตาท้าวแขนของไทยดูเหมือนจะหมดไป ไม่เห็นมีขายอีก...”
*บันทึกไว้หนังสือเรื่อง “A Physician at the Court of Siam” แปลเป็นภาษาไทยโดย นางสาวศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาตร์ กรมศิลปากรในชื่อหนังสือ “ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ”
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับงานประณีตศิลป์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๕. (หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร).
ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: บริษัทการพิมพ์สตรีสาร, ๒๕๒๑.
วิจิตรมาตรา, ขุน (สง่า กาญจนาคพันธุ์). เมื่อวานนี้ ตอน เด็กคลองบางหลวง เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์, ๒๕๒๐.
สมิธ, มัลคอล์ม. ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๗.
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับรายการแสดง
๑. การบรรเลง - ขับร้อง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงมหัลลกอสุราวตาร เถา
๒. การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “มหัลลกอสุรวตาร”
๓. ละครนอก เรื่องสังข์ทอง ตอนนางมณฑาลงกระท่อม
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต / กำกับการแสดงโดย หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ / อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ชื่อเรื่อง พระนครศรีอยุธยา แหล่งเรียนรู้งานช่างพื้นบ้านครั้งที่ -ผู้แต่ง ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-241-420-3หมวดหมู่ ศิลปะ วิจิตรศิลป์และมัณฑนศิลป์เลขหมู่ 745.5 ช185พสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ภาพพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2545ลักษณะวัสดุ 134 หน้า : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง ศิลปหัตถกรรม -- พระนครศรีอยุธยาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้งานช่างฝีมือพื้นบ้านของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในประวัติศาสตร์
ปราสาทโนนกู่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
เป็นกลุ่มปราสาทก่อสร้างด้วยอิฐและหินทราย ประกอบด้วย ปราสาทประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้าออก 2 ทาง คือ ทิศตะวันออกและตะวันตก ด้านหน้าปราสาทประธานมีวิหารหรือบรรณาลัย 2 หลัง ทางมุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว โดยมีซุ้มประตู 2 ด้าน ด้านตะวันออกและตะวันตก นอกกำแพงแก้วตรงกับซุ้มประตูตะวันออก มีซากอาคารเหลือแต่ฐานอีก 1 หลัง
ชื่อเรื่อง บทละครสังคีต เรื่อง "วั่งตี่"ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่ 895.912 ม113บลสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2509ลักษณะวัสดุ 120 หน้า หัวเรื่อง บทพระราชนิพนธ์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกบทละครสังคีต เรื่องวั่งตี๋ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ขึ้นจากเค้าโครงเรื่อง “มิคาโด” เป็นบทละครเรื่องสั้นที่ขบขันและเสียดสีความประพฤติของขุนนางที่ห่างพระเนตรพระกรรณของพระจักรพรรดิ มีบทร้องและคำเจรจาที่คมคายน่าคิด
อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ