ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (ทิพมนต์)สพ.บ.                                  235/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--บทสวดมนต์                                           บทสวดทิพย์มนต์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมฺโพธิเผด็จ)สพ.บ.                                  139/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมะ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี




ชื่อเรื่อง                                มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน)สพ.บ.                                 164/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           82 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


คณะสงฆ์ไทยไปลังกา ชบ.ส. ๑๐๓ เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.32/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)






เทคนิคและลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดเสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี ๑. การเขียนภาพในเรื่องของพระอสุภกรรมฐานในแต่ละห้องภาพนั้น เน้นจุดเด่นคือตัวภาพที่บรรยายลักษณะของพระภิกษุกำลังพิจารณาสภาพซากศพในลักษณะต่างๆ ตัวภาพมีขนาดใหญ่อยู่บริเวณด้านล่างของแต่ละห้องภาพ ตัวภาพที่เขียนเป็นภิกษุจะมีการเขียนสีตัวภาพแล้วตัดเส้นแบบแผนโบราณ แต่ผ้านุ่งหรือจีวรมีการไล่น้ำหนักของสี แสดงให้เห็นถึงผ้าที่พริ้วและทับซ้อนเสมือนจริง ทั้งตัวภาพที่เป็นซากศพแต่ละลักษณะ ช่างก็เขียนไปในทางเสมือนจริงเช่นกัน การเขียนภาพในเรื่องเกี่ยวกับจริยวัตรของพระภิกษุเช่นนี้เป็นราชนิยมในช่วงรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในงานจิตรกรรมฝาผนัง โดยการกำหนดอายุของจิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ดนี้ก็คงไม่ได้พิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพเพียงอย่างเดียวจะต้องพิจารณาในเรื่องของเทคนิคหรือมุมมองของการเขียนภาพของช่างเขียนและองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาคารสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏ หรือ การเขียนตัวภาพที่มีต่างชาติร่วมด้วยทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาได้เช่นกัน ๒. การเขียนธรรมชาติ จิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ด เป็นการเขียนบรรยากาศโดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่กว้างและลึกระยะใกล้ ไกล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนท้องฟ้า ภูเขา ต้นไม้ หรือ ทะเล แม่น้ำ ช่างเขียนเป็นภาพลักษณะเสมือนจริงมีการไล่น้ำหนักแสงเงา ตามแบบแผนการเขียนภาพทางตะวันตก เนื่องจากในช่วงสมัยนั้นมีการนิยมการเขียนภาพลักษณะนี้ ทั้งยังเขียนภาพแบบมีระยะเช่นต้นไม้ที่อยู่ใกล้มีขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่อยู่ระยะไกลออกไปมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยตามลำดับ การเขียนใบไม้ใช้วิธีแต้มสี และกระทุ้งเพื่อไล่น้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงที่กระทบกับใบไม้ ๓. การเขียนภาพอาคารสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิต มีการเขียนอาคารในรูปแบบทางตะวันตกผสมผสาน เขียนภาพอาคารแบบภาพเปอร์สเปคทีฟ (Perspective)แสดงถึงความลึกทั้งยังใช้เรื่องของสี ร่วมด้วย คือในระยะที่ลึกเข้าไปภายในอาคารจะไล่น้ำหนักของสีใช้สีเข้มทึบดำเพื่อแสดงให้เห็นถึงความลึกเข้าไปภายในเสมือนกับแสงที่ไม่สามารถส่องเข้าไปได้ ทั้งยังมีการเขียนสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นเข้าไปในภาพด้วย เช่นชีวิตของชาวเล การทำประมง รูปแบบเรือต่างๆ ซึ่งภาพที่ปรากฏนี้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องของประวัติศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วย ๔. มีการนำศิลปะ ๒ แขนง มาผสมผสานกัน ผนังด้านหน้าพระประธาน คือประติมากรรมและจิตรกรรม ๕. ยังคงมีการเขียนตัวภาพแบบประเพณีอยู่ คือ ภาพเทพชุมนุม นักสิทธิวิทยาธร โดยเขียนเครื่องทรงอาภรณ์ มีชฎาผ้านุ่งตัดเส้นแบบไทยประเพณี และมีการเขียนคั่นภาพด้วยเส้นสินเทา ผู้เขียน : นางสาววรรัก นวลวิไลลักษณ์ (นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน) กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการประชุมเพลิง คุณหญิงประพันธ์ดำรัสลักษณ์ (ชื่น ศุขะวณิช) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๙


          จากประวัติศาสตร์ไทยในเรื่องเหตุการณ์ ร.ศ.112 ที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยเรามีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส จนถึงขนาดยึดเมืองสำคัญหลายเมืองเป็นประกันเพื่อให้ไทยมอบดินแดนที่ต้องการ ในจำนวนเมืองชายทะเลตะวันออกที่ฝรั่งเศสได้ยึดเป็นเมืองประกัน ได้แก่เมืองจันทบุรีในคราวแรก และเมื่อคืนจันทบุรีแล้วก็ไปยึดตราดต่อถึงเกือบ 3 ปี(22 มกราคม 2447- 23 มีนาคม 2449)          ผู้เขียนพบเอกสารจดหมายเหตุที่พระยาวิชาธิบดี ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี กราบทูลรายงาน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องการรับมอบเมืองตราด และการฉลองเมืองตราด ในวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2450 ในการรับมอบเมืองตราดคืนในครั้งนี้ ตัวแทนของฝรั่งเศสคือ มองสิเออร์รุซโซ เรสิดังของเมืองกำปอด และตัวแทนฝ่ายไทยคือ พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลอง           วันที่ 6 กรกฎาคม เป็นวันรับมอบเมืองตราด ผู้แทนทั้งสองฝ่ายพร้อมคณะพร้อมกัน ณ บริเวณเสาธงที่ว่าการเมืองตราดหลังเก่า มองสิเออร์รุซโซได้อ่านคำมอบเมืองและให้ล่ามแปลเป็นภาษาไทย และพระยาศรีสหเทพได้อ่านตอบและมิสเตอร์รอบินเป็นผู้แปล ต่อจากนั้นพระยาศรีสหเทพได้ชักธงราชธวัชขึ้นสู่ยอดเสา เหล่าทหารและตำรวจทำวันทยาวุธ พร้อมเป่าแตรเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารและตำรวจบนเรือมกุฎราชกุมาร ที่จอดหน้าเกาะช้างยิงสลุด เป็นจบพิธีแบบเรียบง่ายในวันแรก เป็นที่น่าสังเกตุว่า...เสาธงเป็นเสาเปล่า ไม่มีการชักแลกเปลี่ยนเหมือนในครั้งแรกที่ส่งมอบเมือง...ซึ่งหลวงสาครคชเขตต์ ได้บันทึกในจดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรีในส่วนเมืองตราดว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ดีของฝ่ายไทยไม่ให้ต้องขมขื่นต่อกัน กระทรวงมหาดไทยจึงให้เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ           วันที่ 7 กรกฎาคม เว้นไป 1 วัน เนื่องจากพระยาศรีสหเทพ ประธานในพิธีป่วย           วันที่ 8 กรกฎาคม เป็นวันฉลองเมือง จัดพิธีบริเวณรอบเสาธง ในช่วงบ่าย 4 โมงเป็นต้นไป โดยเริ่มพิธีสงฆ์ อาราธนาพระสงฆ์ในเมืองตราด จำนวนเท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระครูสังฆปาโมก เจ้าคณะเมืองจันทบุรี (เจ้าอาวาสวัดเขาพลอยแหวน : ผู้เขียน) หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ เวลาทุ่มตรงมีดินเนอร์ ณ ที่ว่าการเมืองตราดเก่า มีทั้งข้าราชการฝ่ายไทยและฝรั่งเศส พร้อมทั้งมีการจุดประทีปโคมไฟและมีมหรสพบรรเลง           วันที่ 9 กรกฎาคม ราษฎรเมืองตราดร่วมถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ที่ร่วมในพิธีเมื่อวาน เมื่อถึงเวลาบ่ายได้จัดพิธีแสดงความจงรักภักดี พระสงฆ์สวดถวายไชยมงคล ชักธงราชวัตรขึ้นสู่ยอดเสา ยิงสลุด แล้วอ่านคำถวายไชยมงคลต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส แล้วเดินเรียงแถวถวายความเคารพทั้งในส่วนราษฎรและข้าราชการ เป็นอันเสร็จพิธีและค่ำนี้มีมหรสพและจุดประทีปโคมไฟอีก 1 คืน           ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากทำสัญญาคืนดินแดนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 แล้วก็จริง แต่ความเป็นไทของชาวเมืองตราดยังไม่เกิดอย่างแท้จริง เพราะยังมีทหารฝรั่งเศสอยู่ร่วมเมืองด้วยบางส่วน จวบจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2450 ทหารลงเรือกลับออกไป นั่นคือ"อิสรภาพที่แท้จริงของชาวเมืองตราด"-----------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี-----------------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.1/186 เรื่อง หลวงนาถนรารักษ์ เสมียนตรามณฑลขอต่ออายุราชการให้ติดต่อกัน(26 กันยายน 2472- 5 กันยายน 2473)




ชื่อเรื่อง                     จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 18ผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      959.3057 จ657จพสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                    2483ลักษณะวัสดุ               120 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย – ประวัติศาสตร์                              กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5               ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเนื้อหาภายในประกอบด้วยอธิบายจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 (พ.ศ. 2427) คุณค่าของหนังสือเล่มนี้เป็นต้นเรื่องให้รู้ถึงการออกพระราชบัญญัติกฎหมาย หรือราชการแผ่นดินอื่นๆ ปรากฏอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เช่นในปีมะโรง จุลศักราช 1242 และปีมะเมีย จุลศักราช 1244 ก็ไม่อาจทราบได้ว่าใน 2 ปี นั้นได้มีราชการงานเมืองอะไรบ้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชนิพนธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศและเป็นการภายใน


Messenger