ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,419 รายการ
วันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในระยะที่ ๒ การเรียนรู้สภาพจริง (Authentic learning) จำนวน ๒๕ ท่าน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยนางสาวอรุณี แซ่เล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช กรมศิลปากร ร่วมกับวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช และเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขอเชิญร่วมงาน "ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๕ ปี กรุงรัตนโกสินทร์" เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบูรพมหากษัตริ์ไทยทุกพระองค์ ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน - วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครศรีธรรมราช
วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ หน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ร่วมกับกลุ่ม อส.มส. จันทบุรี ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน หมู่ ๔ จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนทำการขุดค้นแนวโบราณสถานเมืองเพนียด ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
หินทุบเปลือกไม้เพื่อทำผ้า อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว วัสดุ : หิน ประวัติ : พบจากการขุดค้นที่ถ้ำเบื้องแบบ หมู่ ๓ บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน ขุดค้นโดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ เป็นเครื่องมือหินที่มีการขูดผิวหินหรือบากร่องให้เป็นลายเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ เพื่อนำมาทำเส้นใยสำหรับทอผ้า โดยเครื่องมือประเภทนี้พบทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบครั้งแรกที่หลวงพระบาง ประเทศลาว โดยได้มีการจดบันทึกโดย ม.ปาวี (Mission Pavie) ชาวฝรั่งเศส จากงานวิจัยของ A.C. Kruyt เมื่อปี.พ.ศ. ๒๔๘๑ เกี่ยวกับชนเผ่า Toradjas ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย ได้ค้นพบว่าที่ชนเผ่ายังมีการใช้งานเครื่องมือชนิดนี้ โดยงานทุบเปลือกไม้เป็นงานเฉพาะของผู้หญิง นอกจากนี้ชาวชนบทลาวบริเวณหลวงพระบาง ยังมีการใช้งานเครื่องมือลักษณะเดียวกันนี้แต่ทำด้วยไม้ หินทุบเปลือกไม้ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ๑. แบบหัวเรียบ เป็นแท่งสี่เหลี่ยม ส่วนหัวกว้างกว่าด้าม ด้านใช้งานค่อนข้างเรียบ มีรอยบากน้อย ๒. แบบแท่งเรียบ มีการบากร่องที่หัวในแนวยาว หรือเป็นลายตาราง ด้ามถือเล็กกว่าหัว มีลักษณะเป็นแท่งยาว ๓. แบบแท่งสั้น มีเฉพาะส่วนหัวซึ่งทำการบากร่อง ต้องต่อเข้ากับด้ามไม้เพื่อใช้งาน ๔. แบบแท่งยาว ส่วนหัวมีการบากร่อง ด้านหลังเป็นเงี่ยงออกมา เพื่อให้จับได้กระชับกับส่วนด้าม ๕. แบบแท่งสั้น มีเฉพาะหัว คล้ายแบบที่ ๓ แต่ด้านตรงข้ามด้านหัวที่มีรอยบาก จะมีเงี่ยงยื่นออกมา ต้องนำไปต่อกับด้ามไม้เพื่อใช้งาน หินทุบเปลือกไม้ที่พบในไทยเป็นแบบที่ ๒ ทั้งสิ้น พบทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ที่มาข้อมูล กรมศิลปากร. คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
ห้องที่ 5 : สงขลาหัวเขาแดง จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ สงขลาหัวเขาแดง เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ภายใต้นโยบายการค้าเสรีของผู้ปกครองเชื้อสายมุสลิม กระตุ้นให้ธุรกิจการค้าคึกคักกว่าที่เคยเป็น
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. ประวัติการฑูตของไทย. พระนคร : จำหน่ายอุดม, ๒๔๘๖.
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 พิมพ์อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพิทย์ นรพัลลภ ณ เมรุวัดธาตุทองพระขโนง วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2514
พระนคร
โรงพิมพ์พระจันทร์ 2514
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
๑. ชื่อโครงการ Myanmar History from Myanmar Perspectives
ประวัติศาสตร์เมียนมาจากมุมมองของเมียนมา
๒. วัตถุประสงค์
เป็นตัวแทนจากประเทศไทย ตามคำเชิญของศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณีขององค์การซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for History and Tradition) หรือศูนย์ซีมีโอแชท (SEAMEO CHAT) เพื่อเข้าร่วมสัมมนาประจำปี หัวข้อ ประวัติศาสตร์เมียนมาจากมุมมองของเมียนมา (Myanmar History from Myanmar Perspectives) พุทธศักราช ๒๕๖๐
๓. กำหนดเวลา ๑๙-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
๔. สถานที่ ๑. เมืองย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
๒. เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
๓. เมืองพุกาม ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
๕. หน่วยงานผู้จัด
ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณีขององค์การซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for History and Tradition) หรือศูนย์ซีมีโอแชท (SEAMEO CHAT) เมืองย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ (Southeast Asian Ministers of Education Organization) หรือองค์การซีมีโอ (SEAMEO) มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณีของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๖. หน่วยงานสนับสนุน -
๗. กิจกรรม
การเดินทางเพื่อเข้าร่วมสัมมนาหัวข้อ “ประวัติศาสตร์เมียนมาจากมุมมองของเมียนมา” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
๘. ผู้แทนประเทศไทย นายพิทักษ์พงศ์ เก้าเอี้ยน นักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
ในอดีตชาวต่างชาติมักรับรู้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์เมียนมาจากมุมมองที่แตกต่างหลากหลายของนักวิชาการต่างชาติ เนื่องจากนักวิชาการเมียนมามักเผยแพร่ผลงานเป็นภาษาเมียนมา กิจกรรมการสัมมนาหัวข้อ “ประวัติศาสตร์เมียนมาจากมุมมองของเมียนมา” จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากนานาประเทศได้ศึกษาความรู้ ความคิด ความเข้าใจ การตีความประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมียนมา จากมุมมองของนักวิชาการชาวเมียนมาโดยตรง กิจกรรมนี้ประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เมียนมาจากนักวิชาการชั้นนำของเมียนมา ๖ หัวข้อ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามข้อสงสัยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน ทำให้ได้เห็นภาพรวมของเมียนมาในอดีต พัฒนาการ พื้นฐานทางวัฒนธรรมประเพณี ข้อเด่นข้อด้อยและการปรับตัวของเมียนมา หลังจากนั้นเป็นการทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของเมียนมาใน ๓ เมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ และเมืองพุกาม ได้เห็นถึงความงดงามและเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมียนมาที่มีพัฒนาการบนพื้นฐานความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
กรมศิลปากรน่าจะส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและศิลปวัฒนธรรมในต่างประเทศในรูปแบบเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของกรมศิลปากรต่อไป
นายพิทักษ์พงศ์ เก้าเอี้ยน ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา—บทสวดมนต์ บทสวดมนต์ พระอภิธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 14 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง แนะนำ อ.ส.ท.
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ปีที่พิมพ์ 2507
จำนวนหน้า 36 หน้า
รายละเอียด
แนะนำ อ.ส.ท. เป็นหนังสือที่แนะนำและเสนอให้ทราบถึง อ.ส.ท. ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ หน้าที่ของ อ.ส.ท. งานต่างๆ ของ อ.ส.ท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีใน ร.9 ภาพถ่ายของบุคคลสำคัญได้แก่ รูปฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพลถนอม กิตติขจร พร้อมภาพประกอบ