ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ
ชื่อผู้แต่ง ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ
ชื่อเรื่อง เที่ยวภาคใต้
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ มิตรภาพ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๑๘๒ หน้า
รายละเอียด
เที่ยวภาคใต้เป็นสารคดีการท่องเที่ยว ๑๔ จังหวัดภาคใต้จากนักเขียนสารคดีท่องเที่ยวของภาคใต้จากประสบการณ์การท่องเที่ยวหลายครั้งแล้วนำเสนอข้อมูลแต่ละจังหวัดที่น่าสนใจ
เลขทะเบียน : นพ.บ.407/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 10 (2566)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.536/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180 (292-302) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : ลำปาฏิโมกข์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เล่ม ๒ หลวงวิจิตรวาทการ ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ ปีที่พิมพ์ : 2493 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : เพลินจิตต์ จำนวนหน้า : 796 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เป็นการศึกษาพงศาวดารและประวัติศาสตร์ รวมถึงการเชิดชูบุญญาบารมีของสมเด็จพระมหากษัตราธิราชทุกพระองค์ เป็นหนังสือชุดใหญ่ ๑๒ เล่มจบ เล่มนี้จะกล่าวถึงประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เล่ม ๒ มีเนื้อหาทั้งหมด ๕ ภาค โดยเริ่มตั้งแต่ ภาคที่ ๓ เรื่องที่ ๓ ภาคที่ ๔ เรื่องที่ ๑-๓ ภาคที่ ๕ เรื่องที่ ๑-๔ ภาคที่ ๖ และ ภาคที่ ๗ เรื่องที่๑
ครบรอบ ๑๐๐ ปี วันสิ้นพระชนม์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด พระนามเดิม คือ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ ทรงรับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง และทรงศึกษาต่อในวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา จึงเสด็จกลับประเทศไทยและทรงเข้ารับราชการในกรมทหารเรือ โดยทรงดำรงตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกองทัพเรือจนอยู่ในชั้นมาตรฐานสากล อันเป็นรากฐานแก่กองทัพเรือในสมัยต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๓ ทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สิงหนาม และทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ต่อมาทรงประชวรพระโรคภายใน จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ และเสด็จไปประทับที่ชายทะเลหาดทรายรี ทางใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ในระหว่างที่ทรงพำนักอยู่ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทรงรักษาประชาชนทั่วไปที่ป่วยไข้ อันเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อชาวชุมพร จวบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ กองทัพเรือไทยได้กำหนดให้วันที่ ๑๙ พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันอาภากร พร้อมกับขนานพระนามพระองค์ท่านเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย" ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เล่าเรื่องเมืองพิจิตร จากรายงานตรวจราชการ (ตอนจบ) -- หลังจากที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จฯ ถึงเมืองพิจิตร และได้ทรงตรวจตราสภาพบ้านเมืองของเมืองพิจิตรแล้ว ลำดับต่อไปคือการเสด็จฯ ตรวจราชการ ณ สถานที่ราชการสำคัญของเมืองพิจิตร ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้------------------------------------------------------------------------------แผ่นไม้ปริศนา วันที่ 31 ตุลาคม ร.ศ. 117 กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จฯ ไปทรงตรวจคุกเมืองพิจิตร ตามด้วยโรงเรียนหลวงสำหรับเมือง จากนั้นจึงเสด็จฯ ไปยังที่ว่าการเมืองซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลากลางหลังเดิม ณ ที่แห่งนี้ทรงพบแผ่นไม้แกะสลักรูปวงกลมกว้าง 14 นิ้ว 3 แผ่น แผ่นแรกสลักภาพพระมหามงกุฎมีฉัตร แผ่นที่สองสลักภาพช้างในวงจักร และแผ่นที่สามสลักภาพราชสีห์จำลองจากตราพระราชสีห์ใหญ่ ทั้งสามแผ่นติดตั้งไว้ที่จั่วข้างในที่ว่าการเมือง ทรงเล่าว่าเมื่อครั้งเสด็จฯ เมืองพรหมก็ทรงพบตราพระราชสีห์ในลักษณะนี้ติดไว้ที่ศาลากลางหลังเดิม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรทูลเล่าว่า ได้ทราบจากคำบอกเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการพระราชทานเงินเพื่อสร้างศาลากลางเมือง เมืองละ 10 ชั่ง ตราบนแผ่นไม้แกะสลักเหล่านี้จึงมาพร้อมกับการสร้างศาลากลางในคราวนั้น ทรงสันนิษฐานถึงความหมายของตราแกะสลักว่าแต่ละตราว่า ตราพระมงกุฎหมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน ตราช้างหมายถึงกรุงสยาม ตราพระราชสีห์หมายถึงกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ยังได้รับสั่งให้แกะตราออกจากหน้าจั่วแล้วนำไปติดไว้ภายในศาลากลาง เพราะหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็จะได้ย้ายหนีออกไปได้ง่าย ------------------------------------------------------------------------------ปล่อยญวนพ้นคุก หลังจากทรงตรวจกิจการของที่ว่าการเมืองแล้ว ได้ทรงตรวจกิจการของศาลซึ่งตั้งอยู่ในอาคารเดียวกับที่ว่าการเมือง ศาลเมืองพิจิตรนี้มีข้าหลวงพิเศษเป็นผู้พิจารณาตัดสินคดี โดยในขณะนั้นมีคดีค้างในอยู่ศาลรอการพิจารณาจำนวน 8 เรื่อง แม้ว่าการดำเนินงานของศาลจะมีคดีที่ค้างอยู่ไม่มาก แต่กรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินคดีของข้าหลวงพิเศษยังสู้ศาลเมืองกรุงเก่าไม่ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีคดีของญวนเข้ารีตชื่อสำอาง ซึ่งกระทำผิดในข้อหาฆ่าหมูเซ่นเจ้าช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยไม่ขออนุญาตต่อเจ้าภาษีหมู โดยข้าหลวงพิเศษตัดสินปรับญวนสำอางเป็นเงิน 90 บาท ญวนสำอางไม่สามารถจ่ายได้จึงต้องถูกขังเพื่อเร่งเงินพินัย ทรงเห็นว่าเงินค่าปรับ 90 บาทนั้น “แรงเหลือเกินนัก” ประกอบกับการที่เจ้าภาษีหมูไม่ติดใจเอาเงินสินไหม และญวนสำอางเองก็ติดคุกมาร่วมเดือนแล้ว จึงมีรับสั่งให้ปล่อยญวนสำอางพ้นโทษไป อย่างไรก็ตาม ทรงเห็นว่า แม้จะมีตัวอย่างจากคดีญวนสำอาง ก็ยังไม่อาจที่จะยืนยันได้ว่าข้าหลวงพิเศษตัดสินบกพร่องจริง เพราะไม่ได้ดูการพิจารณาคดีจริงๆ ว่าทำกันอย่างไร------------------------------------------------------------------------------พระดำริต่อเมืองพิจิตร จากที่ว่าการเมือง เสด็จฯ ไปตรวจบริเวณที่จะทำตลาดใหม่ทางตอนเหนือของเมือง จากนั้นไปตรวจที่ว่าการอำเภอเมือง แล้วจึงเสด็จฯ ลงเรือออกเดินทางจากเมืองพิจิตรเวลา 3 โมงเช้า. ในตอนท้ายของรายงานตรวจราชการเมืองพิจิตร กรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงมีพระดำริว่า เมืองพิจิตรนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ดีกว่าเมื่อครั้งเสด็จฯ มาตรวจราชการเมื่อ ร.ศ. 111 หลายเท่า เนื่องจากในครั้งนั้นเมืองพิจิตรยังประสบปัญหาอย่างเช่นโจรผู้ร้ายชุกชุม และปัญหาที่ราษฎรร้องทุกข์ว่าได้รับความเดือดร้อนในการถูกเกณฑ์ไปทำงานต่างๆ ของทางราชการ ซึ่งได้รับการแก้ไขจนดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้ ทรงเห็นว่าการยกย่องเมืองพิจิตรเช่นนี้ หากเป็นคนที่ไม่รู้เห็นปัญหามาก่อน ก็จะหัวเราะเยาะว่าเชิดชูกันเกินไป เพราะขณะนั้นเมืองพิจิตรยังคงเป็นที่ลุ่มเต็มไปด้วยป่าพง ทำให้มียุงชุมมาก หากใครแปลกหน้าขึ้นมาถูกยุงกัดก็จะพาลเกลียดชังเมืองพิจิตรไปได้ง่ายๆ.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5 ม 2.14/82 เรื่อง รายงานกรมหมื่นดำรงฯ ตรวจราชการ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก [ 12 ต.ค. – 26 พ.ย. 117 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หนังสือ : เด็กหญิงนางฟ้า
ผู้เขียน : ดาราราย
"เด็กหญิงนางฟ้า" เป็นเรื่องแนวจริงผสมจินตนาการ เล่าถึง 'เดี่ยว' เด็กชายลูกคนหาเช้ากินค่ำที่มีโอกาสได้พบกับเด็กผู้หญิงซึ่งเป็นนางฟ้าตัวน้อยที่หล่นมาจากฟ้า ในช่วงเวลาที่เด็กหญิงนางฟ้ามาอยู่เป็นเพื่อนกับเดี่ยว ได้มีส่วนช่วยให้เดี่ยวและเพื่อนเรียนรู้ความจริงของชีวิต และผ่านเหตุการณ์ที่จะเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับการดำเนินชีวิตในภายหน้า
วรรณกรรมเรื่องนี้สื่อความหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การจะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาจากความคิดและการกระทำของตนเองเป็นหลัก มิใช่สิ่งที่นางฟ้าบันดาลให้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าทำไมเด็กหญิงนางฟ้าในเรื่องนี้จึงไม่มีคนอื่นมองเห็นได้นอกจากเดี่ยวและเพื่อนเท่านั้น
รายละเอียดหนังสือ
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.913 ด426ด
ชื่อเรื่อง ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ. 297/10หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฏก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
โถพร้อมฝา เบญจรงค์ลายหน้าขบและครุฑยุดนาค
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
ของหลวงพระราชทานยืม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องวสันตพิมาน (ล่าง) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โถฝาเขียวขลิบแดง ฝาเขียนลายหน้าขบสลับกับลายก้านขดพื้นเขียว ตัวโถเขียนลายครุฑยุดนาคในกรอบลายพุ่มข้าวบิณฑ์สีแดง สลับกับลายหน้าขบในกรอบลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พื้นโถสีเขียวเขียนลายก้านขด กระหนกเปลว และลายหน้าสิงห์ เชิงโถเตี้ย ขอบปากเขียนลายลูกคั่นพื้นสีแดง ขอบเชิงเขียนลายลูกคั่นพื้นสีเขียว ลวดลายบนตัวภาชนะตัดเส้นสีทองทั้งหมด
โถเบญจรงค์ใบนี้เป็นตัวอย่างของ “เครื่องถ้วยลายอย่าง” ที่ช่างไทยได้ให้แบบอย่างลวดลายไทย ไปสั่งทำกับช่างชาวจีน ซึ่งมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ทางบริเวณแม่น้ำแยงซี อาทิ เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น (Jingdezhen) มณฑลเจียงซี (Jiāngxī) ภาชนะลวดลายรูปครุฑนั้นสันนิษฐานว่า เป็นภาชนะที่ใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น ไม่ได้สั่งผลิตและจำหน่ายออกอย่างแพร่หลาย ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า
“...เข้าใจว่ามาจนถึงในรัชกาลที่ ๑ ถ้วยชามที่สั่งไปทำเมืองจีนจึงได้ให้ช่างหลวงเขียนลายตัวอย่างขึ้นใหม่ แต่ดำเนินตามตัวอย่างที่ดีครั้งกรุงเก่าเป็นพื้น เป็นลายไทยเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนเบญจรงค์บ้าง เช่น ลายชามก้านขดเขียนสีบนพื้นถ้วยมีรูปครุฑบ้าง ราชสีห์บ้าง เทพพนมบ้าง ของชนิดนี้มีน้อย ด้วยสั่งเป็นของหลวง ผู้อื่นเห็นจะไม่ได้ใช้ได้ทั่วไป...”
นอกจากนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นช่วงเวลาที่มีความนิยมสั่งเครื่องถ้วยเบญจรงค์ และเครื่องถ้วยลายน้ำทอง เข้ามาในราชสำนักเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ เครื่องถ้วยลายน้ำทองที่สั่งเข้ามาในช่วงเวลานี้ มีรูปแบบทั้งลงพื้นสีทอง แต้มสีทอง รวมถึงตัดเส้นสีทอง โดยขั้นตอนการเขียนสีทองนั้นจะเขียนภายหลังจากการลงสีเบญจรงค์ เพราะสีทองใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า* ซึ่งในขณะที่ราชสำนักไทยสั่งเครื่องถ้วยเบญรงค์ลายน้ำทองจากเมืองจีน ในราชสำนักจีนขณะนั้นก็นิยมเครื่องเบญจรงค์ลายน้ำทองอยู่แล้วเช่นกัน ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเฉียนหลง (พ.ศ.๒๒๗๙-๒๓๓๘) และพระเจ้าเจียจิง(พ.ศ.๒๓๓๙-๒๓๖๓) แห่งราชวงศ์ชิง
*สีเบญจรงค์ใช้อุณหภูมิในเตาเผาประมาณ ๗๕๐-๘๕๐ องศาเซลเซียส ขณะที่สีทองใช้อุณหภูมิในเตาเผาประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ องศาเซลเซียส
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕.
กรมศิลปากร. ศิลปวัตถุกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๕.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ: บพิธ, ๒๕๑๑. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสง่า วรรณดิษฐ์ ท.ม., ต.ช. ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑).
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดนที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร" วิทยากร นายเจษฏา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร