ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ

11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด  RU library's WebmasterNovember 11, 20210webpac, การค้นหาข้อมูล, ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด, เทคนิคค้นหาข้อมูล, แนะนำฐานข้อมูล สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบริการหลากหลายรูปแบบ และมีหลากหลายฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับให้บริการ หนึ่งในนั้น คือ ภาพหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) (เข้าใช้งานได้ที่ https://library.lib.ru.ac.th) ภายในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) ผู้ใช้บริการทั่วไป สามารถค้นหาข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีให้บริการภายในอาคารสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น หนังสือ ชื่อวารสาร วิทยานิพนธ์ สื่อต่างๆ รวมถึงค้นหาดรรชนีบทความวารสารและเอกสาร โดยมีความพิเศษในหน้าจอแสดงผลการค้นหา คือ ชมภาพปกและสารบัญของหนังสือได้ โดยคลิกที่ “Web Resource” หรือ “ปกและสารบัญ” ดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และงานวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเต็ม (Full Text) ได้ โดยคลิกที่ “RU eResearch” หรือ “ดุษฎีนิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)” หรือ “วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)” ในหน้าจอสำหรับค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) มี 11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ดังนี้ ภาพคำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่พบในหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) 1. Keyword (คำสำคัญ)เป็นการสืบค้นโดยการกำหนดคำสำคัญที่ใช้แทนเนื้อหาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ 2. Subject (หัวเรื่อง)เป็นการสืบค้นโดยใช้คำที่กำหนดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ 3. Title (ชื่อเรื่อง)เป็นการสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อนวนิยาย ชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่องานวิจัย เป็นต้น 4. LC Call No.เลขหมู่หนังสือระบบรัฐสภาอเมริกัน ที่สำนักหอสมุดกลางใช้ในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา 5. ISBNคือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number) เป็นเลขที่กำหนดขึ้นสำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไปเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง 6. ISSNคือ เลขมาตรฐานสากลประจําวารสาร (International Standard Serial Number) เป็นเลขที่กำหนดขึ้นสำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารแต่ละชื่อเรื่อง เพื่อใช้สำหรับการค้นข้อมูลวารสารการแลกเปลี่ยน และการติดต่อต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสารให้ถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว 7. Author (ชื่อผู้แต่ง)เป็นการสืบค้นโดยใช้ชื่อบุคคลนามปากการ่วมถึงชื่อหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ 8. Advance Search (การค้นหาขั้นสูง)เป็นการกำหนดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น 9. Locationตำแหน่งของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด 10. Other Call No.เลขหมู่หนังสือระบบพิเศษที่สำนักหอสมุดกลาง ใช้สำหรับการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศลักษณะพิเศษ ได้แก่ ตำราเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง นวนิยาย เรื่องสั้น สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง สิ่งพิมพ์รัฐบาล และสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษอื่น ๆ 11. Statusสถานะของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อแสดงรายละเอียดสถานะร่วมถึงความพร้อมที่จะใช้บริการของทรัพยากรสารสนเทศ ภาพคำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่พบในหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) คำศัพท์น่าสนใจทั้ง 11 คำเหล่าที่แนะนำไว้ข้างต้น หากผู้ใช้บริการทราบความหมายแล้ว จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการดีมากยิ่งขึ้นแน่นอน คลิกดาวน์โหลด ภาพ Infographic เรื่อง 11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่มาRamkhamhaeng University Library. (11 พฤศจิกายน 2564). CAT. STORY เรื่องนี้ที่อยากเล่า (11.11คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้เกี่ยวกับห้องสมุด). ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.facebook.com/ramlibrary/posts/4993235314022767. ข้อมูลโดย ทีม CAT. Story จากหน่วยวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี นำเสนอองค์ความรู้เรื่อง เครื่องถ้วยเชลียง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี .... เครื่องถ้วยไทยที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่พบในระบบการค้าทางทะเล คือ เครื่องถ้วยเชลียง เป็นเครื่องถ้วยต้นแบบของเครื่องถ้วยสังคโลก ในแหล่งโบราณคดีใต้น้ำพบในเรือรางเกวียนโดยพบร่วมกับเครื่องถ้วยเวียดนาม และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน .... เครื่องถ้วยเชลียงเป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ ทางเหนือเมืองศรีสัชนาลัยลักษณะเป็นภาชนะดินเผาแบบหยาบๆ เนื้อดินเหนียวสีคล้ำ และสีเทานวล เคลือบสีเขียวแกมเหลือง และสีเขียวแกมเทา สีน้ำตาล ภาชนะประเภทชามเคลือบสีเฉพาะด้านใน เครื่องเคลือบกลุ่มนี้ผลิตมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 โดยใช้เตาเผาแบบเตาขุดในดินผนังโบกยาดินเหนียว ถือได้ว่าเครื่องถ้วยเชลียงเป็นเครื่องถ้วยต้นแบบก่อนที่จะค่อยๆ พัฒนามาเป็นสังคโลกแบบสีเขียวไข่กา และชามลายปลา ลายพฤกษบุปผาในพุทธศตวรรษที่ 20-21 ที่เป็นสินค้าออกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เครื่องถ้วยเชลียงที่พบในแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ พบในแหล่งเรือจมรางเกวียนเพียงแห่งเดียว ประกอบด้วย ชาม 2 ใบ และ กระปุกจำนวน 11 ใบ .... อ้างอิง 1. สายันต์ ไพรชาญจิตร์,โบราณคดีสีคราม 2 : เครื่องถ้วยจากทะเล (กรุงเทพ : โครงการโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,2532) 2. ปริวรรต ธรรมปรีชากร,สว่าง เลิศฤทธิ์ และกฤษฎา พิณศรี,ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย (กรุงเทพ : โอสถสภา,2539) 3.กรมศิลปากร.ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย.สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,2544


ประยูร พิศนาคะ.  พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช.  พระนคร: เกษมบรรณกิจ, 2513.           รวบรวมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ของชาติไทยอย่างละเอียด ผู้ซึ่งเป็นวีรบุรุษแห่งชาติไทยในยุคกรุงศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.24 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              9; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์           ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดสามทอง ต.ตลิ่งชัน  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538 



#วันนี้ในอดีตเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๒พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไปพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา(รหัสภาพ ฉ/ร/๑๐๔๗)ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/th-th/หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/9S6Uo


วันที่ ๑๙ กันยายน “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กำหนดวันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ 16/05/2538. ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งราชฤดี สำหรับเก็บและรวบรวมวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ทรงได้มาก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ รวมทั้งบรรดาของขวัญ เครื่องราชบรรณาการจากต่างประเทศ ต่อมาไปตั้งแสดงในท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม และพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ (พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทในปัจจุบัน) และทรงเรียกว่า Royal Museum. ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอาคารหอคองคอเดีย (Concordia Hall) หรือศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน อันเป็นอาคารสถาปัตยกรรมตะวันตก บริเวณทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับเป็นสโมสรทหารมหาดเล็ก จัดเป็น “มิวเซียม” พิพิธภัณฑสถานโดยย้ายวัตถุที่จัดแสดงในพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปปัติ ซึ่งเดิมจัดแสดงในพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ใกล้ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมในหมู่พระอภิเนาว์มาจัดแสดงในหอคองคอเดีย โดยแสดงสิ่งของต่างๆ ให้มหาชนนับแต่ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๒๑ พรรษา วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๗ วัตถุจัดแสดงประกอบด้วยสิ่งของที่เป็นสิ่งผลิตโดยชาวสยาม และของจากห้างร้านของชาวต่างประเทศ และเปิดให้เข้าชมเมื่อถึงคราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาในแต่ละปี. เมื่อกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายพิพิธภัณฑสถานมาตั้งในพระที่นั่งพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ โดยใช้พื้นที่จัดแสดงในพระที่นั่ง ๓ องค์ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่ามิวเซียมหลวงที่วังหน้าหรือ The Royal Museum at Wang Na. พ.ศ.๒๔๔๕ ได้มีการจัดตั้ง “อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน” ภายในพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกที่มีการจัดตั้งขึ้นในหัวเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดพิพิธภัณฑสถานอีกหลายแห่งในจังหวัดต่างๆ ในเวลาต่อมา พิพิธภัณฑ์วังหน้าเปลี่ยนไปเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๖๙ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนครเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๙. ภายหลังเกิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ ขึ้น จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ทำให้พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รวมไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอื่นๆ ในภูมิภาคมีฐานะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย. พ.ศ.๒๕๔๕ กรมศิลปากรซึ่งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยแยกงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ออกจากงานโบราณคดี จัดตั้งเป็นสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีหน้าที่ดูแลกิจการพิพิธภัณฑสถานจัดตั้งโดยกรมศิลปากร สถาบันอื่นๆ และเอกชนด้วย.เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดพิพิธภัณฑสถานเพื่อประชา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๗. เข้าถึงได้โดย https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/447980





           เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรม “ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์” เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ซึ่งกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ถือฤกษ์ดีเปิดให้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารเครื่องทองอยุธยา ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           47/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              82 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 150/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1งเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ขอเชิญชมนิทรรศการ "วาดศิลป์แผ่นดินชุมพรครั้งที่ ๑" จัดแสดงผลงานของศิลปินสีน้ำระดับประเทศและระดับนานาชาติกว่า ๑๐๐ ชิ้น แต่ละชิ้นก็มีเอกลักษณ์อันงดงามแตกต่างกัน ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ซึ่งอยู่ติดกับศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์  เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดทุกวันจันทร์ - วันอังคารตัวอย่างผลงาน


Messenger