ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ
ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรบุคคลทั่วไป
๑. กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้ (ศก.๖)
๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร ไว้ที่ใดโดยละเอียด
๓. ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต ๑ ชุด ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
๔. ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)
สมาคม หมายถึง ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ลงนามรับรอง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา เพื่อศึกษาวิจัย เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี
ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด รองเจ้าอาวาสวัดฯ หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด รับรอง ต้องมีเอกสาร ดังนี้
๑. ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร
๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน
๓. สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์ หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง
ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่ ระดับ ๔ ขึ้นไป)
๑. ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร
๒. สำเนาบัตรข้าราชการ ด้านหน้า – หลัง
อนึ่ง เอกสารที่เป็นสำเนา ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
ภาพถ่ายของวัตถุ
ใช้ภาพสี ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว จำนวน ๒ ภาพ ต่อวัตถุ ๑ รายการ ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้ ชัดเจน หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖) ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา (อาคารกรมศิลปากรใหม่) เทเวศร์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
ระยะเวลาออกใบอนุญาต ๒ วันทำการ
เวลาทำการตรวจพิสูจน์ เช้า เวลา ๑๐.๐๐ น.
บ่าย เวลา ๑๔.๐๐ น.
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
โทรศัพท์, โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓
ขั้นตอนและวิธีการ
การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร
๑. ผู้ขออนุญาต ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา เทเวศร์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
๒. ผู้ขออนุญาต จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด
๓. เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้
๔. ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน
- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๓๐๐ บาท
- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๒๐๐ บาท
- ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๑๐๐ บาท
ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน
- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๒๐๐ บาท
- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๑๐๐ บาท
- ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๕๐ บาท
๕. เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู) เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น
๖. ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต
ชื่อวัตถุ พระพิมพ์ดินดิบ
ทะเบียน ๒๗/๒๔๖/๒๕๕๕
อายุสมัย ศรีวิชัย(?)
วัสดุ(ชนิด) ดินดิบ สีน้ำตาลเทา
แหล่งที่พบ แหล่งโบราณคดีเขานุ้ย หมู่ ๑๒ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง นายถนอม อินทรภิรมย์ ๑๙ หมู่ ๙ ตำบลนาวงอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มอบให้วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“พระพิมพ์ดินดิบ”
พระพิมพ์ดินดิบรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายอดโค้งมน ด้านหน้าตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทใต้ซุ้มขนาดเล็กซึ่งทำเป็นลายใบไม้ ขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งสองด้าน เหนือซุ้มขึ้นไปเป็นรูปธรรมจักรหันด้านข้างซึ่งขนาบข้างด้วยรูปบุคคล ด้านหลังพบจารึกตัวอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อ่านว่า “เย ธรฺมาฯ” ซึ่งเป็นจารึกหลักธรรม “อริยสัจสี่” จำนวน ๔ บรรทัด อ่านและแปลได้ว่า ทุะข (ทุกข์) สมุทย (สมุทัย) นิเราธ (นิโรธ) มารคค (มรรค)กำหนดจากรูปแบบจากตัวอักษรอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (อ่านและแปลความโดยนางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์)
พระพิมพ์เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ศาสตราจารย์อัลเฟรด ฟูเช่ (Alfred Foucher) ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาศาสนาพุทธ กล่าวว่า การสร้างพระพิมพ์ในช่วงแรกทำขึ้นเพื่อเป็น “ของที่ระลึกในการเดินทางไปยังสังเวชนียสถาน” ซึ่งเป็นสถานที่ ๔ แห่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า หากผู้ใดเดินทางมายังสถานที่ทั้งสี่ด้วยใจศรัทธาจะถึงสุคติโลกสวรรค์ ชาวพุทธจึงนิยมเดินทางไปจาริกแสวงบุญ ณ สถานที่ทั้ง ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ(เมืองลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้(เมืองพุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (เมืองสารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน(เมืองกุสินารา) ต่อมาได้มีการเพิ่มสถานที่แสวงบุญอีก ๔ แห่ง ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ คือ สถานที่ปราบช้างนาฬาคีรี(เมืองราชคฤห์) สถานที่รับบาตรจากพระยาวานร(เมืองเวสาลี) สถานที่แสดงมหาปาฏิหาริย์หรือยมกปฎิหาริย์(เมืองสาวัตถี) และสถานที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ (เมืองสังกัสสะ) เมื่อพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปยังสังเวชนียสถานแล้ว คงมีผู้คิดทำพระพิมพ์เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการเดินทางมาจาริกแสดงบุญในครั้งนั้น
ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พบพระพิมพ์ที่มีจารึกคาถา “เย ธรฺมาฯ” ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า นักวิชาการเชื่อว่าการจารึกคำสอนนี้เป็นคติที่เกี่ยวข้องกับคำทำนายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์บางเล่ม อาทิ มิลินทปัญหา ซึ่งได้กล่าวถึงคำทำนายที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ ความว่า “ดูกรอานนท์ พระสัทธรรมของตถาคด จะตั้งอยู่นานประมาณกำหนด ๕๐๐๐ ปี” ด้วยคำทำนายนี้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ (George Coedes) จึงได้เสนอความคิดเห็นว่า พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาจะเสื่อมลงเมื่อครบอายุ จึงคิดทำพระพิมพ์และได้นำไปฝังในถ้ำหรือสถูปต่างๆ เป็นจำนวนหลายพันองค์ โดยหวังว่าในอนาคตอาจมีผู้บังเอิญขุดพบพระพิมพ์ที่มีรูปของพระพุทธเจ้าหรือหลักธรรมของพระองค์ พระพิมพ์นั้นอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสและเชื่อถือในศาสนาพุทธอีกครั้ง
สำหรับพระพิมพ์องค์นี้พบที่แหล่งโบราณคดีเขานุ้ย จังหวัดตรัง ซึ่งได้พบพระพิมพ์จากการดำเนินงานทางโบราณคดี จำนวนมากกว่า ๔๐๐ องค์ ถูกฝังอยู่ในพื้นของถ้ำ พระพิมพ์ที่พบจากถ้ำเขานุ้ยจึงถือเป็นตัวแทนในการสืบทอดพระพุทธสาสนา ตามคำทำนายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์
เอกสารอ้างอิง
- ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ตะกั่วป่า : ชุมชนโบราณ,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ๓ (๒๕๔๒): ๒๕๓๕ –๒๕๕๖.
-บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง (ป่วน อินทุวงศ์).“เรื่องของพระพิมพ์,” เรื่องโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รุ่งเรืองรัตน์, ๒๕๐๓.
-พิริยะ ไกรฤกษ์. “พระพิมพ์ : ที่พบในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ๑๐ (๒๕๔๒): ๕๐๔๑ – ๕๐๖๓.
-ภานุวัฒน์เอิ้อสามาลย์. ปฏิบัติการขุดกู้พระพิมพ์ดินดิบเขานุ้ย จังหวัดตรัง ปี ๒๕๕๕. (เอกสารยังไม่พิมพ์เผยแพร่).
-สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, หม่อมหลวง. “การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘.
โครงการเผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พิเภกสวามิภักดิ์
วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ จังหวัดชัยภูมิ
(รวมภาพทั้งหมดที่ http://www.facebook.com/nakornchaiburin.silpakorn)
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เดินทางไปสำรวจและรับมอบเอกสารเพื่อทำสำเนาจากคุณ วิภาศรี นิสสัย อดีตครูโรงเรียนสฤษดิเดช ซึ่งเป็นลูกของครูพลอย นิสสัย อดีตครูใหญ่ โรงเรียนวัดทองทั่ว ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งสมัยครูพลอย ยังมีชีวิตอยู่ได้ทำการสำรวจ เขียนบันทึกและจัดทำแผนที่ขอบเขตเมืองเพนียด ที่ตั้งโบราณสถาน รวมถึงเส้นทางโบราณ ไว้ เมือ พ.ศ.๒๕๑๗
ย้อนหลังไปในสมัยอยุธยาการแพทย์ของไทยยังคงไว้ซึ่งแบบแผนโบราณ มีการใช้ยาสมุนไพร และวิธีการรักษาพยาบาลตามความเชื่อทางไสยศาสตร์และโชคลาง การเรียนรู้วิชาแพทย์ได้จากการจดจำถ่ายทอดต่อกันมาหรือฝึกฝนทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ จนเกิดความชำนาญ หมอบางคนรู้จริง บางคนใช้วิธีเดาสุ่มรักษาหรือใช้เวทมนตร์ ผู้ป่วยบางรายจึงต้องเสี่ยงอันตรายจากยาและวิธีการรักษาบางประเภท ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการปฏิบัติงานของหมอแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑. หมอหลวง คือ แพทย์ที่รับราชการอยู่ในราชสำนัก และรักษาผู้เจ็บป่วยตามพระบรมราชโองการเท่านั้น ๒. หมอราษฎร์ หรือหมอพื้นเมือง คือ บุคคลทั่วไปที่มีความรู้เกี่ยวกับยาและการรักษาโรค หรือผู้ที่พยายามตั้งตัวเป็นหมอโดยคิดว่าตนเองสามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การใช้ยาสมุนไพร ไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา ฯลฯ และเรียกค่าตอบแทนการรักษาได้ตามความพอใจของตน สำหรับยานั้นทำจากสมุนไพรที่ได้จากเปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ รากไม้ อวัยวะของสัตว์บางชนิด น้ำผึ้ง ฯลฯ อาจจะใช้ต้มกินเป็นยาน้ำ บดยาเป็นผง หรือปั้นเป็นลูกกลอน มีการใช้กลวิธีในการปรุงยาหรือผสมยาให้มีประสิทธิภาพเต็มที่ เช่น การดูฤกษ์ยาม และการใช้เวทมนตร์คาถา เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าการรักษาโรคด้วยสมุนไพรและพิธีกรรมบางอย่างจะดูประหนึ่งว่าไม่มีหลักเกณฑ์ แต่ก็ได้ผลในการรักษาโรคทางกายและจิตใจอยู่มาก ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เกิดไข้ป่วงใหญ่ (อหิวาตกโรค) ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพิธีอาพาธพินาศ โดยมีพระราชดำริถึงความเป็นไข้ซึ่งบังเกิดแก่อาณาประชาราษฎร์เป็นครั้งใหญ่นั้นนับว่าเป็น“กรรมของสัตว์” และยังมีผู้คนในเมืองอื่น ๆ ประสบทุกข์ภัยจากโรคร้ายนี้เช่นเดียวกัน เช่น ที่เกาะหมาก แพทย์ทั้งหลายไม่สามารถจะรักษาโรคนี้ให้หายได้ด้วยยาที่มีอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยให้มีการสวดอาฏานาฏิยสูตรหรือ อาฏานาฏิยปริต ยิงปืนใหญ่รอบพระนคร อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุมาตั้ง ณ พระมณฑลพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นิมนต์พระราชาคณะร่วมกระบวนแห่โปรยปรายประน้ำพระปริตรโปรยทรายทั้งทางบกทางเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบรรดาข้าราชการ พร้อมกันทรงศีลและรักษาศีล ตั้งใจทำบุญสวดมนต์เป็นการใหญ่ พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นอันมากเพื่อซื้อปลาและสัตว์สี่เท้าสองเท้าทั้งหลายในท้องตลาดปล่อยเป็นการกุศล ปล่อยนักโทษที่ถูกจองจำจนหมดสิ้น แม้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำการพระราชพิธีเพื่อปลอบขวัญพระนครและอาณาประชาราษฎร์ ทรงบำเพ็ญทานบารมี แต่ความไข้ก็มิได้เสื่อมทุเลาลง มิสามารถระงับโรคได้ จึงมิได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้อีก แต่พระมหากษัตริย์ได้ทรงหันมาทำนุบำรุงด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนับได้ว่าเป็นปีเริ่มต้นแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อมีมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในเมืองไทยเป็นครั้งแรกได้แก่ ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส ฟรีดริค กุตสลาฟฟ์ (Carl Augustus Friedrich Gutzlaff) ชาวเยอรมัน และศาสนาจารย์ ยาคอบ ทอมลิน (Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษจากสมาคมมิชชันนารีลอนดอน (London Missionary Society) ทั้งสองได้เริ่มงานด้วยการพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาออกแจกจ่าย หนังสือเหล่านี้พิมพ์จากประเทศจีน จากนั้น จึงจ่ายยารักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยทั้งไทยและจีนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากศาสนาจารย์กุตสลาฟฟ์มีความรู้ด้านการแพทย์ จึงรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่คนไทยโดยทั่วไปด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาคนไทยจึงนิยมเรียกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในภายหลังว่า “หมอ” หลังจากที่คริสตจักรอเมริกา (American Board of Commissioners for Foreign Missions) ได้รับรายงานการเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยของศาสนาจารย์กุตสลาฟฟ์ จึงส่งมิชชันนารีเข้ามาอีกหลายครั้ง จนกระทั่งนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๗๘ เมื่อหมอบรัดเลย์เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เขาได้เปิดโอสถศาลาขึ้นที่บ้านพัก มีคนไข้มารับการรักษาและได้รับยาเป็นจำนวนมากทุกวัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โรคระบาดที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดโรคหนึ่งคือ ไข้ทรพิษ การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเริ่มขึ้นเมื่อปลายพ.ศ. ๒๓๗๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกมิชชันนารีได้พยายามปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษมาหลายปี โดยใช้พันธุ์จากฝีดาษแต่ทว่าไม่มีใครเชื่อถือจนพวกมิชชันนารีทดลองปลูกฝีให้แก่บุตรของตนเองเป็นตัวอย่าง ผู้คนจึงเชื่อว่าปลูกได้จริง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยได้รับการปลูกฝี เมื่อได้ทรงทราบว่าหมอมิชชันนารีปลูกฝีได้จริงจึงมีรับสั่งให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๐ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๒ หมอบรัดเลย์ได้พันธุ์หนองฝีมาจากอเมริกาเป็นครั้งแรก การปลูกฝีจึงเป็นที่แพร่หลาย นับเป็นการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษครั้งแรกในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นมาการแพทย์ของไทยจึงได้รับการพัฒนาตามแนวทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องโดยลำดับมาจนถึงปัจจุบัน วิชาความรู้และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นั้นยังคงเป็นความปรารถนาของทุก ๆ คนเสมอ เรียบเรียงโดย นายชรัตน์ สิงหเดชากุล นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ที่มาของข้อมูล https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2886149994766917&id=346438995404709&__tn__=K-R
วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ นางสาวธารทิพย์ ภิรมย์อนุกูล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานโครงการ "ทบทวนโครงสร้างและวางแผนอัตรากำลังของกรมศิลปากร" ประกอบด้วย นางสาววัชรี จงเจริญประเสริฐ นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ นายสุชาติ แสงทองสวัสดิ์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ นางนิสา อุปถัมภ์ประชา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ และนายนพพร จันทรรจนา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รวมถึงนายธนากร ธีรรุจิขจรเดช และนางสาวศรัณยา บุญวรรณ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สังกัดกรมศิลปากร
พะเนียดคล้องช้าง : ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ประวัติและความสำคัญ : พะเนียดคล้องช้างตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านตะวันออก ในบริเวณค่ายพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยม เข้าใจว่ามีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นสถานที่จับช้างเพื่อใช้ในราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อเมอร์ซิเออร์เชอวาเลีย เดอ โชมองคต์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีครั้งแรก ได้เขียนจดหมายเหตุไว้ว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้จับช้างให้ชมที่พะเนียดนี้ นอกจากนี้บริเวณใกล้พะเนียดยังมีประตูเมืองที่เรียกว่า ประตูพะเนียด อีกแห่งหนึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรมกล่าวได้ว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ส่วนประตูพะเนียดก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดสูงใหญ่ ช่องประตูมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมทางโค้งมุมแหลมมน และปรากฏแนวกำแพงช่วงสั้นๆ ก่อด้วยอิฐสอปูนขนาบทั้ง ๒ ข้างของประตูพะเนียด เหนือประตูเพนียดขึ้นไปประดับตกแต่งด้วยใบเสมา การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ที่มา : ทะเบียนโบราณสถาน ในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
คณะกรรมการจัดงาน . ผลงานสมเด็จ วัดอนงคาราม พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ๒๑ เมษายน ๒๕๐๐. พระนคร : บริษัทไทยพัฒนาการพิมพ์ จำกัด , ๒๕๐๐.
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๑. ชื่อโครงการ
โครงการศึกษาด้านขยายศักยภาพเพื่อเป็น HUB การท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกในอาเซียน
๒. วัตถุประสงค์
เพื่อผลักดันให้เกิดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และต่อยอดวิสัยทัศน์ผู้เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงมรดกโลกสุโขทัยสู่มรดกโลกอาเซียน
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐
๔. สถานที่
๔.๑ ราชอาณาจักรกัมพูชา
ประกอบด้วย ปราสาทบายนและเมืองนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี ปราสาทนครวัด โตนเลสาบ และ Angkor National Museum
๔.๒ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ประกอบด้วย เมืองมรดกโลกฮอยอัน มรดกโลกโบราณสถานมิเซิน วัดเทียนมู่ และพระราชวังเว้
๕. หน่วยงานผู้จัด
สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔)
๖. หน่วยงานสนับสนุน -
๗. กิจกรรม
“การเดินทางหารือทวิภาคี ประชุมและ FAMTRIP เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงมรดกโลกอาเซียน” โดยศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว โบราณสถานและเมืองโบราณ กับเจ้าหน้าที่ของ APSARA Authority ราชอาณาจักรกัมพูชา และเจ้าที่ของ Hoi An Department of Commerce and Tourism สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๘. คณะผู้แทนไทย
ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสุโขทัย ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักในจังหวัดสุโขทัย ผู้แทนตำรวจท่องเที่ยว รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย และเจ้าที่จาก อพท.๔ รวมจำนวน ๓๐ คน
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
ศึกษาดูงานพื้นที่เมืองมรดกโลกของราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยเป็นการรับฟังการบรรยายข้อมูลต่างๆ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของ APSARA Authority ราชอาณาจักรกัมพูชา และเจ้าที่ของ Hoi An Department of Commerce and Tourism สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว โบราณสถานและเมืองโบราณ
มรดกโลกที่คณะผู้แทนไทยเดินทางไปศึกษา และหารือทวิภาคีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเป็น HUB ของมรดกโลกสุโขทัย นั้น ประกอบด้วย ปราสาทบายนและเมืองนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี ปราสาทนครวัด โตนเลสาบ ของราชอาณาจักรกัมพูชา และเมืองมรดกโลกฮอยอัน มรดกโลกโบราณสถานมิเซิน วัดเทียนมู่ และพระราชวังเว้ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
- การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ประโยชน์จากการศึกษาดูงานหลายประการเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ปรับปรุง และเป็นแนวทางการบริหารจัดการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในอนาคตหลายประการ เช่น ราชอาณาจักรกัมพูชามุ่งเน้นปริมาณนักท่องเที่ยวมากจนเกินไป ไม่จำกัดจำนวน ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหล เบียดเสียด และแก่งแย่งกันเข้าชมโบราณสถาน อาจส่งผลให้โบราณสถานเสื่อมสภาพและพังทลายอย่างรวดเร็วในอนาคต
- ค่าเข้าชมโบราณสถานในเมืองพระนคร ราคา ๓๗ ดอลล่าร์สหรัฐต่อวันต่อคน ถือว่าแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- การจัดการเรื่องความสะอาดพื้นที่ยังเป็นปัญหาทั้ง ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พื้นที่สกปรก และวัชพืชขึ้นปกคลุม
- การจัดการร้านค้า ผู้ค้า ผู้ประกอบการในพื้นที่มรดกโลก และขอทาน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จัดการได้เรียบร้อยกว่าราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเฉพาะขอทานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีเลย
- การแลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้ประกอบการจากทั้ง ๒ ประเทศ ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวมีผลต่อการนำนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมมรดกโลกสุโขทัย ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวขนาดใหญ่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเกือบทั้งหมด ไม่รู้จักมรดกโลกสุโขทัย แต่เมื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมรดกโลกสุโขทัยแล้ว ผู้ประกอบการยินดีบรรจุตารางนำเที่ยวมรดกโลกสุโขทัยไว้เป็นสถานที่ที่ต้องเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่ง
นายธงชัย สาโค ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ