ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,453 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.407/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.536/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180 (292-302) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำปาฏิโมกข์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เล่ม ๒ หลวงวิจิตรวาทการ ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ ปีที่พิมพ์ : 2493สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : เพลินจิตต์ จำนวนหน้า : 796 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เป็นการศึกษาพงศาวดารและประวัติศาสตร์ รวมถึงการเชิดชูบุญญาบารมีของสมเด็จพระมหากษัตราธิราชทุกพระองค์ เป็นหนังสือชุดใหญ่ ๑๒ เล่มจบ เล่มนี้จะกล่าวถึงประชุมพงศาวดาร ฉบับความสำคัญ เล่ม ๒ มีเนื้อหาทั้งหมด ๕ ภาค โดยเริ่มตั้งแต่ ภาคที่ ๓ เรื่องที่ ๓ ภาคที่ ๔ เรื่องที่ ๑-๓ ภาคที่ ๕ เรื่องที่ ๑-๔ ภาคที่ ๖ และ ภาคที่ ๗ เรื่องที่๑
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "วงเครื่องสายฝรั่งหลวง” วิทยากร นายธนู รักษาราษฎร์ ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต, นายศศิศ จิตรรังสรรค์ ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน สำนักการสังคีต ผู้ดำเนินรายการ นางสาวณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ คีตศิลปินชำนาญงาน สำนักการสังคีต พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ประวัติการค้นพบ โบราณวัตถุที่พบ และอายุสมัยเบื้องต้นซากเรือจมบ้านขอม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. 2541, รายงานการสำรวจแหล่งเรือจมบ้านขอม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี.
กรมศิลปากร. 2560, แหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาทางโบราณคดีระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558, กรุงเทพฯ.
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เล่าเรื่องเมืองพิจิตร จากรายงานตรวจราชการ (ตอนที่ 2) -- ความเดิมจากตอนที่แล้ว พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จฯ ตรวจราชการที่เมืองพิจิตร โดยทรงเดินทางด้วยเรือจากเมืองชุมแสง แวะพักที่บางบุญนาค และเดินทางต่อไปยังเมืองพิจิตร ต่อจากนี้คือเรื่องราวต่างๆ ในระหว่างการเสด็จฯ ตรวจราชการเมืองพิจิตร- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ผู้ร้ายลักเรือ เมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองพิจิตรในคืนวันที่ 30 ตุลาคม ร.ศ. 117 ได้ทรงสนทนากับพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร พระยาเทพาธิบดี และพระครูวัดคะมัง ทำให้ทรงทราบว่า แม้บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องโจรลักเรือ ซึ่งจากรายงานของนายอำเภอเมืองภูมิเมื่อเดือนก่อนระบุว่ามีถึง 3 ราย และไม่สามารถตามเรือกลับมาได้ จากการไต่สวนได้ความว่าการลักเรือมีเฉพาะในฤดูน้ำหลากที่มีเรือไฟเดิน และมีเฉพาะตำบลที่เรือไฟเดินถึงเท่านั้น จึงเข้าใจว่าเรือไฟที่เดินรับ-ส่งผู้โดยสารด้วยนั้นคงจะรับลากเรือที่ผู้ร้ายลักมาลงมาทางใต้ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทรงแนะนำให้ลองนำ “โปลิศลับ” โดยสารไปกับเรือเมล์ดูสักเดือนสองเดือน- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ผู้ว่าฯ นักพัฒนา วันรุ่งขึ้น (31 ตุลาคม ร.ศ. 117) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเสด็จฯ ตรวจถนนในเมืองพิจิตรซึ่งพระยาเทพาธิบดี ผู้ว่าราชการเมืองได้สร้างขึ้นตามริมน้ำหน้าเมือง ทรงเล่าว่าเมื่อครั้งที่เสด็จฯ มาตรวจราชการเมืองพิจิตรครั้งก่อนในปี ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) เมืองพิจิตรยังมีลักษณะเป็นพงป่า มีบ้านเรือนตั้งอยู่ที่ริมตลิ่งไม่กี่หลัง ผู้ว่าราชการเมืองพิจิตรคนก่อนก็อาศัยอยู่ในเรือ เนื่องจากในฤดูแล้งมักจะมีไฟป่าไหม้ลามมาถึงบ้านเรือนราษฎรทุกปี เมื่อผู้ว่าราชการเมืองคนปัจจุบันมารับตำแหน่ง ได้เดินหน้าถางพงจนโล่งเตียน และสร้างถนนในเมืองขึ้นมาสองสาย โดยตัวผู้ว่าฯ เองเข้าไปตั้งบ้านเรือนในถนนสายใน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กรมการเมืองพากันมาตั้งบ้านเรือนบนบกบ้าง ซึ่งผลจากการหักร้างถางพงทำให้เมืองพิจิตรมีภูมิทัศน์ดีขึ้น และปัญหาอัคคีภัยก็เบาบางลงไปกว่าแต่ก่อน. หลังจากนั้นได้เสด็จฯ ไปตรวจราชการตามสถานที่ราชการต่างๆ ในเมืองพิจิตร ซึ่งมีเกร็ดที่น่าสนใจและจะได้นำเสนอในตอนต่อไป.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5 ม 2.14/82 เรื่อง รายงานกรมหมื่นดำรงฯ ตรวจราชการ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก [ 12 ต.ค. – 26 พ.ย. 117 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หนังสือ : เจ้าหญิงสวนกาแฟ
ผู้เขียน : เม น้อยนาเวศ
เรื่องราวของเด็กหญิงสองพี่น้องที่เติบโตในสวนกาแฟ เป็นลูกชาวสวนที่ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ชีวิตตามยุคสมัยและตามวัยของตนเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทุกข์-สุข ผ่านมา แล้วผ่านไป เช่นเดียวกับวัฏจักรของฤดูกาลในสวนกาแฟ เว้นแต่ความสูญเสียบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และไม่อาจหลีกเลี่ยง มันอยู่ที่ว่าแต่ละคนจะเผชิญกับความสูญเสียนั้นอย่างไร
และใช่ว่าผู้ใหญ่จะยอมรับมันได้ง่ายกว่าเด็ก ๆ...
นาน ๆ ทีเราจะเจอวรรณกรรมเยาวชนแนวสมจริง ที่เขียนได้สนุก น่าติดตาม โดยไม่ต้องมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือแฟนตาซีใด ๆ มาช่วยให้เกิดความตื่นเต้นแม้จะดำเนินเรื่องไปอย่างเรียบ ๆ ช้า ๆ เช่นเดียวกับชีวิตในสวนกาแฟ แต่วิธีการเล่าเรื่องและการผูกโยงความสำคัญ กลับทำให้ผู้อ่านต้องติดตามไปทีละบรรทัดอย่างวางไม่ลง มารู้ตัวอีกที ก็อาจจะหลั่งน้ำตาเสียแล้ว...
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.913 ฐ139ด
ชื่อเรื่อง ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ. 297/9หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฏก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ
โอกาสนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูลเบิกผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นและผู้สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เข้ารับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จำนวน ๒๒ ราย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และทอดพระเนตรนิทรรศการประวัติความเป็นมาของอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และห้องคลังโบราณวัตถุภายในอาคาร
กรมศิลปากรได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาสเกี่ยวกับการจัดสร้างคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อปริมาณโบราณวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์วิทยา เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุของชาติ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเปิดให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมศิลปากรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเดิมใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บ ณ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี โดยจัดวางตามหมวดหมู่ประเภทวัสดุตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ออกแบบห้องคลังต่างๆ ให้เป็นคลังเปิดเพื่อการศึกษา หรือ Visible Storage ที่เปิดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมองเห็นได้จากภายนอกผ่านผนังกระจก
ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรก่อสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังใหม่ในพื้นที่ว่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ออกแบบให้เป็นอาคารคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยเฉพาะ ตั้งแต่รูปแบบอาคารที่คำนึงถึงการควบคุมความร้อน ความชื้นจากภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อปกป้องและรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้มีความยั่งยืนและปลอดภัยตามมาตรฐานคลังพิพิธภัณฑ์สากล ได้แก่ ระบบจัดเก็บตามประเภทวัสดุของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิความชื้น ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ป้องกันภัยธรรมชาติ และการโจรกรรม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่พิเศษ ความสูง ๔ ชั้น ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอยภายนอกและภายในรวม ๓๐,๐๐๐ ตารางเมตร สามารถรองรับโบราณวัตถุได้มากถึง ๒๐๐,๐๐๐ รายการ รูปทรงอาคารเป็นทรงไทยประยุกต์ ออกแบบโดยนำเส้นสายฐานบัวอันเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใช้เป็นกรอบโครงด้านนอกของอาคาร เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทยด้วยวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ มีการระบายอากาศที่ดี สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร และเหมาะสมกับสถานที่ตั้งที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคารเป็นวัสดุประเภทเหล็ก คอนกรีต อลูมิเนียมและกระจกเป็นหลัก ไม่ใช้วัสดุประเภทไม้เพื่อลดโอกาสที่จะมีแมลงเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งอาจทำลายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดเก็บอยู่ภายในอาคาร ปัจจุบันมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เก็บรักษาในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จำนวนรวม ๑๑๓,๘๔๙ รายการ จัดเก็บในห้องคลังขนาดใหญ่ รวม ๑๐ ห้อง แบ่งห้องคลังในแต่ละชั้นตามน้ำหนักโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และประเภทวัสดุเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทหินและปูนปั้น ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทโลหะ ๓ ห้อง ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาและแก้ว ๒ ห้อง ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทไม้ ๒ ห้อง และห้องคลังโบราณวัตถุประเภทหนังสัตว์ ผ้า กระดาษ กระดูก งา และเขาสัตว์ ๒ ห้อง
คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ถูกออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการให้เป็นคลังเปิด (Visible Storage) เพื่อให้บริการในรูปแบบของคลังเพื่อการศึกษา (Study Collection) ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บริการใน ๒ รูปแบบ คือการเข้าศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่บริการทั่วไป ได้แก่ ห้องสมุด ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ และใช้บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ การบริการอีกรูปแบบหนึ่งคือ การศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุ ซึ่งต้องยื่นคำร้องขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกนำเข้าศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุมชั้นใน โดยจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาโบราณวัตถุในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ศกนี้ ซึ่งตรงกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สามารถชมบรรยากาศห้องคลังโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในมุมมอง ๓๖๐ องศา ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Virtual Smart Museum และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป
-ขอเชิญร่วมกิจกรรม Chocolate Fondue ช็อกโกแลต ฟองดูว์-ในโครงการKidsเรียนรู้@หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี-ในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. -เข้าร่วมกิจกรรมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น -สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน
ชื่อพระพุทธรูป พระประธานในพระอุโบสถวัดเกาะ
สถานที่ประดิษฐาน วัดเกาะแก้วสุทธาราม ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
ประวัติ ความเป็นมาขององค์พระประธานนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะร่วมสมัยกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนขึ้นในปี ๒๒๗๗ ตรงกับปีที่ ๒ ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยลักษณะทางพุทธศิลป์ขององค์พระประธานเป็นศิลปะอยุธยา พระพุทธรูปปางขัดสมาธิราบ พระพักตร์อิ่มเรียว พระปรางเปล่ง พระโอษฐ์ยิ้มเห็นเส้นไรพระโอษฐ์ พระขนงโค้ง พระนาสิกคมเป็นสัน พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกเล็กมีกรอบไรพระศก พระรัศมีรูปเปลวไฟอ่อนช้อย พระกรรณยาวขอบพระกรรณด้านบนแหลม ครองจีวรห่มเฉวียงบ่าแบบมหานิกาย สังฆาฏิซ้อนทับกันสองชั้นเฉลียงจากไหล่ซ้ายพาดลงมากลางพระอุระยาวจรดพระนาภี ปลายสังฆาฏิโค้งเล็กน้อย ขอบสบงทำเป็นแถบหนาหน้านาง องค์พระประธานประดิษฐานบนฐานรัตนบัลลังก์ไม้แกะสลักประดับกระจกสี ไม่มีผ้าทิพย์ ลวดลายงดงามด้วยงานสกุลช่างวัดเกาะ
อีกหนึ่งลักษณะเด่นของวัดเกาะแก้วสุทธาราม คือ จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ซึ่งลักษณะของฝีมือเป็นแบบงานช่างพื้นบ้าน การสร้างสรรค์ภาพจึงมีความเป็นอิสระกว่างานช่างหลวง โดยลักษณะพิเศษของงานจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะอยู่ที่การออกแบบองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ของผนัง และการแสดงออกที่ไม่ยึดติดกับความงามจนเกินไป ทำให้ช่างสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้ชัดเจน
โดยจิตรกรรมเขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและไตรภูมิโลกสัณฐานตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณี แต่มีความน่าสนใจคือ การสลับตำแหน่งของเหตุการณ์ในภาพจิตรกรรม ซึ่งโดยมักจะพบว่านิยมเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐานอยู่เบื้องหลังพระประธาน และเบื้องหน้าจะเขียนภาพมารผจญ ทว่าจิตรกรรมภายในอุโบสถวัดเกาะนี้ช่างได้เขียนภาพเบื้องหลังพระประธานเป็นภาพมารผจญ และเบื้องหน้าเป็นภาพจักรวาล
โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม): โขนเรือที่เห็นนี้เป็นโขนเดิมที่ยกเลิกใช้งานและนำมาจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย
เลขที่ 80/1 ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โขนเรืออันเดิมที่จัดแสดงที่เห็นนี้จัดแสดงอยู่ด้วยกันกับเรือพระราชพิธีอีกหลายลำ ผู้สนใจสามารถศึกษาหรือเปรียบเทียบลักษณะของโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม) กับโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ที่จอดแสดงอยู่ได้ด้วยตนเอง
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแนวทาง ความคิดเห็น การกำหนดเฉดสีอาคาร ในการดำเนินงานอนุรักษ์รื้อฟื้นอาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ฯ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวัดแพร่ (บ้านเขียว) โดยสามารถแสดงความคิดเห็นใน Facebook Page : สวนรุกขชาติเชตวัน Cheatawan Arboretum ตามลิ้งนี้ https://www.facebook.com/share/p/soWMpieoTWDV982h/?mibextid=ZbWKwL
ทุกความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป