ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,657 รายการ




          พระสุพรรณบัฏสถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้านครน่าน พุทธศักราช ๒๔๔๖ มีลักษณะเป็นแผ่นทอง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๔.๑ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๙ เซนติเมตร          เจ้านิรมิต ธิดาเจ้าบุญตุ้ม และเจ้าคำนพ มหาวงศนันท์ (เจ้าบุญตุ้ม เป็นธิดาเจ้าราชวงศ์ หรือเจ้าสิทธิสาร ณ น่าน ผู้เป็นบุตรของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ) มอบพระสุพรรณบัฏนี้ให้กับจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยร้อยตำรวจตรีธนะพงษ์ จักกะพาก ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในขณะนั้น เป็นผู้รับมอบ          ข้อความที่ปรากฏในพระสุพรรณบัฏ ความว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิ์กิตติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน จงเจริญทฤฆชนมายุสุขสวัสดิ์ เทอญ”           พระสุพรรณบัฏนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้จารึกเพื่อเลื่อนฐานันดรศักดิ์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ หรือที่ชาวน่าน เรียกว่า “พระเจ้าน่าน”           พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ มีพระนามเดิมว่า เจ้าสุริยะ ณ น่าน ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๔ และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ (ปัจจุบัน ในทุกๆปีจะมีการจัดงาน “วันพระเจ้าน่าน” ณ บริเวณลานสนามหญ้าด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน)สิริรวมพระชนมายุได้ ๘๗ พรรษา พระองค์เป็นบุตรเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ และเจ้าสุนันทา และทรงมีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วมแม่เจ้ามารดา ๕ พระองค์ ได้แก่ เจ้ามหาพรหม เจ้าสิทธิสาร เจ้าบุญรังษี เจ้านางหมอกแก้ว ณ น่าน และเจ้านางคำทิพ ณ น่าน          พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๖๑ รวมระยะเวลา ๒๖ ปี พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและดูแลกิจการบ้านเมืองนครน่าน ตลอดจนช่วยราชการสยามหลายครั้งหลายครา โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๕ คราที่เกิดกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ส่งกำลังทหารจำนวน ๑,๐๐๐ คนไปช่วยปราบกบฏเงี้ยว แต่เจ้าราชบุตรเมืองแพร่หรือเจ้าน้อยยอดฟ้าบุตรของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชที่ได้แต่งงานกับเจ้าสุพรรณวดี บุตรีของเจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้านครแพร่ มีส่วนพัวพันกับการก่อกบฏเงี้ยว เมื่อสิ้นสุดการปราบกบฏ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชไม่ได้ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่บุตรของตนแต่อย่างใด การตัดสินโทษของเจ้าราชบุตรให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาในเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นอย่างมาก ประกอบกับที่ผ่านมาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ช่วยงานราชการของสยามเป็นอย่างดี          เนื้อความในประกาศเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ความว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๖ พรรษา ปัตยุบันกาลจันทรคตินิยม สะสะสังวัจฉระ กติกมาศ กาฬปักษ์ จตุทสีดิถีพุฒวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ พฤศจิกายนมาศ อัฏฐารสมมาสาหคุณพิเศษ บริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ ฯลฯ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาช้านาน แลได้เคยไปราชการทัพศึก มีบำเหน็จความชอบมาแต่ยังเปนตำแหน่งเจ้าราชวงษ์ในนครเมืองน่าน ครั้นเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เปนเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ก็อุสาหปกครองบ้านเมืองต่างพระเนตร์พระกรรณ์โดยซื่อสัตย์สุจริต มีความโอบอ้อมอารี เปนที่นิยมนับถือของเจ้านายท้าวพระยา แลไพร่บ้านพลเมืองทั่วไปเปนอันมาก ทั้งมีความสวามิภักดิ์ต่อราชการเปนนิตย์ แม้มีราชการสำคัญเกิดขึ้นข้างฝ่ายเหนือคราวใด เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้พร้อมใจกับเจ้านายบุตร์หลานช่วยราชการโดยแขงแรงทุกคราวมา จนเมื่อเกิดเหตุผู้ร้ายก่อการจลาจลขึ้นในมณฑลพายัพ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๑ นี้ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้จัดเจ้านายบุตร์หลานแลท้าวพญาไพร่พลนครเมืองน่านช่วยปราบปรามผู้ร้าย แลเปนกำลังจัดเสบียงอาหารพาหนะส่งกองทหาร ได้รับราชการเปนที่พอพระราชหฤไทยเปนอันมาก อนึ่ง เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทโดยฉะเพาะ แม้อยู่เมืองไกล ก็มิได้คิดแก่ความลำบาก อุสาหฝ่าทางกันดารมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทเนือง ๆ ผิดกับเจ้านครเมืองน่านแต่ก่อน ๆ มา เปนเหตุให้ทรงพระกรุณาสนิทชิดชอบพระราชอัธยาไศรยเปนอันมาก ทรงพระราชดำริห์ว่า นครเมืองน่านก็เปนนครใหญ่อันหนึ่งในหัวเมืองประเทศราชข้าขอบขัณฑสิมา เจ้านายที่ปกครองนครเมืองน่านต่างพระเนตร์พระกรรณ์สืบตระกูลวงษ์ต่อ ๆ กันมา ยังหาได้มีเจ้าตนใดได้เคยรับพระราชทานเกียรติยศเปนพระเจ้าประเทศราชไม่ แลบัดนี้ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ก็เจริญชนม์ไวยยิ่งกว่าบรรดาเจ้าประเทศราชทั้งปวง ทั้งมีอัธยาไศรยเปนสัตย์ธรรมมั่นคง จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทเนืองนิจ แลมีความชอบความดีมาในราชการเปนอันมาก สมควรจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องอิศริยยศเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ให้เปนเกียรติยศแก่นครเมืองน่านแลตระกูลวงษ์สืบไปได้ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนยศถานันดรศักดิ์เจ้านครเมืองน่านขึ้นเปนพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจาฤกในสุพรรณบัตร์ว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษา ธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน ได้ปกป้องเจ้านายบุตร์หลานแสนท้าวพระยาลาวราษฎรในเมืองน่านแลเมืองขึ้นทั้งปวง ให้ปรากฏเกียรติยศ เดชานุภาพสืบไป ขอจงเจริญชนมายุพรรณศุขพล ปฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลทุกประการ ปกป้องพระราชอาณาเขตร์ขันขสีมา โดยความซื่อตรงต่อกรุงเทพมหานคร ดำรงอยู่ยืนยาวสิ้นกาลนาน เทอญ”          นอกจากพระสุพรรณบัฏที่ได้จารึกเฉลิมพระนามสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านแล้วนั้น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ยังได้รับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ อันได้แก่ เสื้อครุย พระชฎา สังข์เลี่ยมทองคำ ๑ หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา ๑ กากระบอกทองคำ ๑ กระบี่ฝักทองคำศีร์ษะนาคลงยา ๑ เสื้อเยียรบับ ๒ ผ้านุ่งเยียรบับ ๑ ผ้านุ่งเขียนทอง ๑ และเจียรบาด ๑          พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ นับเป็น “พระเจ้านครเมืองน่าน” พระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับพระราชทานมหามงกุฎจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าประเทศราช ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครพระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศนี้ -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน -----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่านเล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗. - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๐ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๖, หน้า ๖๐๙ – ๖๑๑


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ข/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช) สพ.บ.                                  263/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                   ประวัติ วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธาครั้งที่พิมพ์               -ผู้แต่ง                     พระพรหมเทพาจารย์ (กุสุโม)ประเภทวัสดุ/มีเดีย     หนังสือหายากISBN/ISSN             -หมวดหมู่                 ศาสนาเลขหมู่                    294.3135 พ349ปสสถานที่พิมพ์             พระนคร  สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                  2479ลักษณะวัสดุ             23 ซ.ม. 23 หน้า.หัวเรื่อง                   วัดเสนาสนารามวรวิหาร                                                          ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก วัดเสนาสนาราม เป็นวัดชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร อยู่หลังพระราชวังจันทรเกษม อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วิสุงคามของวัดนี้มี 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เดิมชื่อวัดเสือ เป็นวัดโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอโยธยา พระเจ้าอยู่หัวปราสาททองทรงปฏิสังขรณ์ฯ รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาใหม่ทั่วทั้งพระอาราม เมื่อพระพุทธศักราช 2406


เลขทะเบียน : นพ.บ.182/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 3ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.4 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.285/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121  (258-265) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิบาตวณฺณนา(เวสสนฺตรชาดก)ชาดกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ทานขันธ์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "เมืองเชียงรายจากหลักฐานทางโบราณคดี ตอนที่ 1 : การตั้งถิ่นฐานแรกเริ่ม - สมัยล้านนา" เรียบเรียงโดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ.     ในพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาเนิ่นนาน โดยในปี พ.ศ. 2474 ศาสตราจารย์ฟริทซ์ สารสิน (Fritz Sarasin) ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินที่ถ้ำพระ เป็นเครื่องมือแบบไซแอเมียน (Siamian) ในยุคหินเก่า แบบเดียวกับที่พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีที่บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และแหล่งโบราณคดีในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พบเศษภาชนะดินเผา และเครื่องมือที่ทำด้วยกระดูกสัตว์ สรุปว่าคนที่อาศัยอยู่นี้เป็นกลุ่มชนล่าสัตว์ ยังไม่รู้จักการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์.     ส่วนในเอกสารประวัติศาสตร์ พบการกล่าวถึงเมืองเชียงรายในพื้นเมืองเชียงแสน ฉบับรวบรวมและปริวรรตโดย ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ตั้งแต่สมัยตำนานจนถึงสมัยล้านนาและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้     - ลวจังกราช (พ.ศ.1182-1304) ได้โปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งหนึ่งขึ้นในบริเวณที่พบช้างป่าใหญ่ แล้วเรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “เวียงเชียงรอย” ซึ่งภายหลังคำว่าเชียงรอยได้แผลงไปเป็น “เชียงราย”     - ตำนานยังเล่าอีกว่า พ.ศ.1438  พญาเรือนแก้วผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ทรงสร้างพระธาตุขึ้น บนยอดดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกกในเขตตัวเมืองเชียงราย     - ใน พ.ศ.1587 ท้าวกีฅำลาน เจ้าเมืองแคว้นกาวได้ยกทัพมารบกับลาวจังกวาเรือนฅำแก้วที่กลางทุ่งเชียงราย ลาวจังกวาเรือนฅำแก้วพ่ายแพ้ ชาวเชียงรายเสียแม่ทัพ เมืองแตก ทิ้งเมืองไป ทำให้เมืองเชียงรายกลายเป็นเมืองร้างไป     - จนกระทั่งพญามังราย เสด็จประพาสป่าพร้อมกับบริวาร พบเมืองเชียงรายร้าง ทางใต้ของเวียงเงินยาง มีความพึงพอใจ จึงได้สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ และประทับอยู่เมืองเชียงรายนี้ ไม่ได้กลับไปยังเมืองเงินยางอีก โอรสของพระองค์คือ พญาไชยสงครามก็ประทับอยู่ที่เมืองเชียงรายนี้จนสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นบทบาทของเมืองเชียงรายก็ลดน้อยลง กษัตริย์โปรดฯ ให้ขุนนางปกครองเมืองแห่งนี้แทน     - แต่ยังคงปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองเชียงรายด้านพุทธศาสนาในสมัยล้านนาอยู่ ดังเช่นชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงคณะสงฆ์นิกายป่าแดงได้เดินทางไปอุปสมบทกุลบุตรในเมืองเชียงแสนแล้ว ก็ได้เดินทางไปทำการอุปสมบทกุลบุตรที่เมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ.1977     - ในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เกิดฟ้าผ่าองค์เจดีย์วัดป่าเยี้ยะ ได้พบพระแก้วมรกตในองค์เจดีย์นั้น วัดป่าเยี้ยะจึงถูกเรียกว่าว่าวัดพระแก้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา     - จารึกดอยถ้ำพระเป็นหลักฐานแสดงถึงประเพณีการนำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ยังถ้ำพระ ในปี พ.ศ.2027 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีประเพณีนี้มาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น ถ้ำพระจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่สมัยล้านนา     - ขอบเขตของเมืองเชียงรายนั้น ดร. ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานไว้ว่าเมื่อแรกสถาปนาในสมัยราชวงศ์มังราย มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีกำแพงเมืองเก่าเป็นอิฐเพียงบริเวณตีนดอยจอมทองเท่านั้น นอกนั้นเป็นกำแพงดินและอาศัยแม่น้ำกกเป็นคูเมือง.     โบราณสถานในเมืองเชียงรายที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น ทั้งดอยถ้ำพระ พระธาตุดอยทอง วัดพระแก้ว และกำแพงเมือง-คูเมืองเชียงราย มีการใช้งานตลอดระยะเวลาตั้งแต่สมัยล้านนาจนถึงปัจจุบัน จึงถูกดัดแปลงปรับเปลี่ยนตลอดมา จนไม่ทราบลักษณะดั้งเดิมเมื่อสมัยแรกสร้างแล้ว โบราณสถานเกือบทั้งหมดที่ค้นพบยังไม่เคยได้รับการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี จนกระทั่งปี พ.ศ.2560 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ มีโอกาสได้ดำเนินการทางโบราณคดีในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช ทำให้ได้ข้อมูลทางโบราณคดีที่สำคัญของเมืองเชียงรายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป--------------------------------เอกสารอ้างอิง-กองโบราณคดี. โบราณคดีเชียงราย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533.บวรเวท  รุ่งรุจีและคณะ, โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ). ม.ป.ท., 2529.สรัสวดี อ๋องสกุล. พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้งติงลิชชิ่ง, 2546.สุภาพร นาคบัลลังก์ บรรณาธิการ. จากยุคน้ำแข็งไพลสโตซีนสู่สมัยล้านนา. เชียงใหม่ : โครงการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. นามานุกรมแหล่งมรดกวัฒนธรรมในพื้นที่ล้านนาตะวันตก. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์, 2560.อภิชิต ศิริชัย. รู้เรื่องเมืองเชียงราย. เชียงราย : สำนักพิมพ์ล้อล้านนา, 2559.ฮันส์เพนธ์ และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา. เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.



      มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์ย้อย (ธิดาหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร กับหม่อมอิ่ม) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงตั้งอยู่สัมมาปฏิบัติ ประพฤติพระองค์สมควรแก่ราชสกุลทุกประการและยังมีพระอัธยาศัยเผื่อแผ่กว้างขวาง ทรงเห็นประโยชน์ของสาธารณชนเป็นสำคัญ เช่น ตึกอรพินทุ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงสร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ตั้งอยู่ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ      เมื่อประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงทำพินัยกรรมยกทรัพย์ในกองมรดกของพระองค์ ประทานให้เป็นทุนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเก็บผลทำนุบำรุงสาธารณชนผู้ป่วย      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ด้วยพระโรคพระหทัยพิการ ณ พระตำหนักที่ประทับริมคลองสามเสน เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๗๘ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๗๙) สิริพระชันษา ๖๒ ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๘๐) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค




Messenger