ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ

หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา—บทสวดมนต์                                    บทสวดมนต์                                    พระอภิธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


โคลงเรื่องรามเกียรติ์ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากรชื่อเรื่อง : โคลงเรื่องรามเกียรติ์ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ -สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : กรมศิลปากรปีทีพิมพ์ : ๒๕๐๘          โคลงเรื่องรามเกียรติ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชักชวน พระบรมวงศานุวงศ์นักปราชม์ ราชบัณฑิต ตลอดจนข้าราชการที่สนใจในกวีนิพนธ์ ให้ช่วยกันแต่ง อธิบายภาพรามเกียรติ์ซึ่งเขียนไว้ที่ผนัง พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นโคลงรวมทั้งสิ้น ๔๙๘๔ บาท โคลงเหล่านี้ ได้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ฝั่งติดไว้กับเสาระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


เลขทะเบียน : นพ.บ.57/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 37 (364-375) ผูก 10หัวเรื่อง :  แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


           ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหอแจก) นิมนต์พระเณรเจริญพระพุทธมนต์แล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า "เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"           เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง "เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"           ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน (เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน .กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542) ภาพ : ประเพณีบุญข้าวจี่ บ้านดอนคา ของชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาจัดขบวนแห่ข้าวจี่ยักษ์ วันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน 3 เป็น รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ จึงถวายข้าวจี่ เป็นการทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา ภาพ : ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาช่วยกันทำข้าวจี่ เพื่อถวายพระ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา--------------------------------------------------ภาพจาก : Facebook Page ศูนย์อนุรักษ์ฟื้นฟูและอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี ลาวเวียงบ้านดอนคา (**ชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) เรียบเรียง : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูลวันที่ 6 ก.พ. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum


การประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา


KEERATI.ทรัพยากรธรรมชาติ...ความมั่งคั่งแห่ง...AEC.จันท์ยิ้ม.11.สิงหาคม 2559.           ความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งที่สําคัญ ของกลุ่มประเทศสมาชิก AEC โดยในแต่ละประเทศ ต่างมีจุดเด่น ทางทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ทะเล เขา ป่าไม้ รวมถึงก๊าซธรรมชาติ น้ํามัน แร่ธาตุ และอัญมณีต่าง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติถือได้ว่าเป็นต้นทุน และปัจจัยพื้นฐานสําคัญทาง โครงสร้างทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ  ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการให้ความสําคัญ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้คํานึงถึงการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นมิตร โดยจะเห็นได้ว่า ประเด็นด้านผลกระทบ ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการกําหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย เนื่องจากหากประเทศต่าง ๆ ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจํากัด ก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ ประชาชน ความยากจนและการกระจายรายได้ เพราะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้นทุน ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน จะถูกนํามาคิตคํานวณเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง นั้นคือ ผลกระทบต่อกรีนจีดีพี (Green GDP) หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศหักด้วยต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง ในกรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งตีน ป่าไม้ อัญมณี น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติ หากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้น ให้ประเทศพม่ามุ่งเน้นที่จะใช้ความได้เปรียบจากความมั่งคั่งเหล่านี้ เป็นความเชี่ยวชาญหลักในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศ โดยไม่มีมาตรการควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็สามารถคาติการณ์ได้เลยว่าอัตราการเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศพม่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอาจจะมากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นตามปกติของทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ทรัพยากรธรรมชาติจะร่อยหรอลงไปอย่างรวดเร็ว ผลประโยชน์ที่ประเทศพม่าจะได้รับจากการเปิดการค้าและการลงทุน ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนย่อมจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น หรือกรณีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วส่งผลกระตุ้นให้ พืชพันธุ์ธัญญาหารมีราคาที่ดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรกรและผู้ผสีตสินค้า เกษตรเพื่อการส่งออกย่อมจะทําการปรับเปลี่ยนที่ดินเพื่อขยาย การเพาะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากยิ่งขึ้น ประเทศที่มีเนื้อที่ในการ เพาะปลูกที่จํากัด เช่น ฟิลิปปินส์ ก็อาจจะถางป่าเพื่อทําการเพาะปลูกพืช เศรษฐกิจนี้ อีกทั้งปัจจัยแรงงานและทุนก็จะมีการโยกย้ายมาจาก ภาคส่วนอื่น ๆ ในกรณีนี้หากเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่างสามารถ เข้าใช้ผืนป่าได้อย่างเปิดกว้างเสรี หรือไม่มีมาตรการดูแลการขยายพื้นที่ เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพแล้วในระยะยาวฟิลิปปินส์จะสูญเสียป่าไม้ และดินอันอุดมสมบูรณ์มากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ หากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้น ให้ปัจจัยการผสีตต่าง ๆ เช่น แรงงานและทุนสามารถเคลื่อนย้ายระหว่าง ประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าการขยายตัว ของปัจจัยการผลิตที่ใช้อย่างเข้มข้นในอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่ง ๆ ย่อมจะกระตุ้นให้การผลิตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น หากอุตสาหกรรมนั้นเป็นกิจกรรมการผลิตที่สร้างผลกระทบทางลบ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นก่อให้เกิดมสพิษทางอากาศหรือทางน้ํา โดยที่ประเทศสมาชิกนั้น ๆ ไม่ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มี ประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่สะอาด หรือไม่มีเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ภาษีสิ่งแวตล้อม โควตา หรือการซื้อขายสิทธิการปล่อยมลพิษแล้ว ก็คาดได้ว่าสวัสดิการ ความเป็นอยู่ของประชาชนจะเลวลงในระยะยาว ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการทําลาย สิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทั้ง ชี้ให้เห็นว่าตัวแปรภายนอก อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและ บริการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็สามารถสร้าง ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ในขณะที่ ประเทศสมาชิกยังต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระยะยาวการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ]


พระธรรมเจ็ดคัมภีร์ย่อหรือพระไตรปิฎกสังเขปแปล. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : โรงพิมพ์พานิช, 2480.               กล่าวถึงประวัติของท่านพระอุปัชฌาย์แก้ว ธมฺมรกฺขิตฺโต และพระวินัย พระสูตร์ พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ย่อ และพระสหัสนัยแปล



มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  ประจักษ์วิทยา : พระนคร, ๒๕๑๐.       เป็นนิทานชาดกสั้น ๆ ที่แสดงถึงปัญญาของพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะเคยได้ยินการเล่าต่อ ๆ กันมาบ้างแล้ว เช่น เรื่องเหยี่ยวคายชิ้นเนื้อทิ้ง   โจรขโมยโคของชาวนา  โจรทีฆปิฏฐิ เป็นต้น



ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2547 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : มิ่งเมือง


ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์แด่พระอธิการสงฆ์ โฆสโก อดีตเจ้าอาวาสวัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา     28 เมษายน  2517 ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      ม.ป.ท สำนักพิมพ์        ม.ป.พ ปีที่พิมพ์          2517 จำนวนหน้า      54   หน้า รายละเอียด           จัดทำเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ พระอธิการสงฆ์ โฆสโก อดีตเจ้าอาวาสวัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา   เนื้อหาประกอบด้วยประวัติวัดพะโคะ ประวัติท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ประวัติพระอธิการสงฆ์ โฆสโก อดีตเจ้าอาวาสวัดพะโคะและหัวข้อธรรมคำกลอน    



  ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์ : 2473 หมายเหตุ : สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสมาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์เป็นมิตรพลีขึ้นปีใหม่ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473                            ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ เล่มนี้ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับราชประเพณีโบราณ โดยนำเสนอเนื้อหาในหมวดโบราณคดี ว่าด้วยราชประเพณีโบราณ ซึ่งประกอบด้วย ประเพณีนำริ้วตรวจทางเสด็จพระราชดำเนิน ประเพณีลงสรงโสกันต์ ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดและเงินเดือนแก่เจ้านายในพระราชวังบวร ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดพระราชวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวช ประเพณีพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พ่อค้าต่างประเทศ ประเพณีเสด็จพระราชทานพระกฐินพระอารามหลวงกรุงศรีอยุธยา และประเพณีพระสงฆ์รามัญสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ในพระราชวังชั้นใน  


ตอน จิตรกรรมล้านนา ๐ สวัสดีค่าาา กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ในวันนี้ เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “จิตรกรรมล้านนา”  ๐ จิตรกรรมและภาพลายเส้นของล้านนานั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะการช่างที่มีความสำคัญ และน่าสนใจมากที่สุดแขนงหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ของสังคมล้านนาในอดีตแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงคติความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ อีกด้วย เทคนิคและวิธีการตลอดจนการแสดงออกของศิลปะ บ่งบอกถึงงานช่าง ความรู้สึกนึกคิด และการติดต่อ สัมพันธ์กับสังคม วัฒนธรรมอื่น อีกทั้งยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย ๐ เนื่องจากจิตรกรรมฝาผนังในดินแดนล้านนานั้นมีมากมายหลายแห่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงคัดเลือก “จิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นของล้านนา” จำนวน ๘ แห่ง มานำเสนอให้กับแฟนเพจทุกๆท่านค่ะ โดยเราจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ตอนค่ะ  --------------------------------------- (ตอนที่ ๑) - วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ : จิตรกรรมช่วงพุทธศาสนารุ่งเรืองในอาณาจักรล้านนา   พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ - วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง : จิตรกรรมสกุลช่างลำปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ - วิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ : ฝีมือช่างไทใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๕  ---------------------------------------- ๐โปรดติดตามตอนต่อไป... ---------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com


Messenger