ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ

          พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกรอบ ปั้นปูนน้ำมัน           เทคนิค : ภาพเขียนสีน้ำมัน - กรอบปั้นปูนน้ำมัน              ขนาด : กว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร  ยาว ๓๐๐ เซนติเมตร           ศิลปิน (ภาพเขียน) : นายลาภ  อำไพรัตน์  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร           ศิลปิน (งานปั้น) : นายฐิติ  หัตถกิจ  นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน  กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร           ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มงานช่างหุ่น  ปั้นลายและช่างมุก  และกลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)   สามารถรับชมขั้นตอนการจัดสร้างกรอบปั้นปูนน้ำมันได้ทาง YouTube ตามลิ้งค์ด้านล่างนะคะ https://youtu.be/Vwwrj-pcSrY


ชื่อเรื่อง                         ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ.                            297/6หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฏก                                                        บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


         ชื่อพระพุทธรูป หลวงพ่อขนมต้ม          สถานที่ประดิษฐาน กุฏิเจ้าอาวาส วัดบางลําภู ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี          ประวัติ หลวงพ่อขนมต้มเป็นพระที่อยู่คู่กับชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนมอญมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยชาวมอญบางลําภูเป็นชาวมอญที่หนีภัยสงครามมาจากทางใต้ของประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน จากการบอกเล่าของพระครูโสภิตวัชรกิจ (หลวงพ่อสงวน) เจ้าอาวาสวัดบางลําภู กล่าวว่า          “. . . ในครั้งอพยพในครั้งบรรพบุรุษได้อัญเชิญหลวงพ่อขนมต้มมาด้วย เมื่อมืดค่ำที่ใด ก็พักค้างที่นั่น โดยจะนําหลวงพ่อขนมต้มขึ้นประดิษฐานในที่พักและสวดมนต์กราบไหว้ ตลอดการเดินทางจนถึงเมืองเพชรบุรี และได้ตั้งชุมชนที่บริเวณบ้านนามอญใกล้เมืองเพชรบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่บริเวณบ้านทุ่งใหญ่ซึ่งอยู่ติดแม่น้ำเพชรบุรี ใกล้ตัวอําเภอบ้านแหลม เนื่องจาก น้ำเค็มรุกขึ้นสูงจนทํามาหากินไม่ได้ จึงย้ายมาอยู่บริเวณวัดบางลําภูปัจจุบันที่อยู่ด้านเหนือบ้านทุ่งใหญ่เล็กน้อย . . .”          หลวงพ่อขนมต้ม เป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะของพระพุทธสิหิงค์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง แต่สําหรับชาวมอญที่บ้านบางลําภู เรียกว่า “อะละกาวซอ” เป็นชื่อในภาษามอญ โดยมีความหมายว่า เจ้าของบุญกุศลที่จะประสิทธิประสาทพรให้แก่เรา (อะละ แปลว่า เจ้าของ ส่วน กาวซอ แปลว่า บุญกุศล) จากชื่อภาษามอญ ดังกล่าวนั้น เพื่อสื่อสารกับพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อบุญฤทธิ์”          หลวงพ่อขนมต้ม / หลวงพ่ออะละกาวซอ / หลวงพ่อบุญฤทธิ์ เป็นที่สักการะกราบไหว้ของชาวบ้านบางลําภู ตลอดถึงชาวบ้านทั้งใกล้และไกล โดยมีความเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาลให้ได้รับสิ่งประสงค์ดั่งใจปรารถนาแก่ผู้มากราบไหว้ ทั้งการสอบเข้าเรียนต่อ สอบเข้ารับราชการ สอบเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง เจ็บไข้ได้ป่วย ประกอบอาชีพประมง ค้าขาย การขึ้นโรงขึ้นศาล ฯลฯ หรือจะเรียกว่าท่านช่วยได้ “อเนกประสงค์” สิ่งของที่นิยม นํามาถวาย ได้แก่ ข้าวต้มมัด          ประเพณี / ความเชื่อ ในช่วงสงกรานต์ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ เมษายนของทุกปี จะเชิญหลวงพ่อขนมต้มมาให้ชาวบ้านปิดทองตลอดช่วงสงกรานต์ ในวันสุดท้ายคือวันที่ ๑๗ เมษายน จะสรงน้ำหลวงพ่อแล้วอัญเชิญกลับสู่บนศาลาวัด      


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.59 โคบุตรประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              71; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    โคบุตร                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


          ชื่อเรือ 2 ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2351) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย           ชื่อเรือ ๒ ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย           โขนเรือพาลีรั้งทวีป เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของพาลี พระราชาเมืองขีดขิน แห่งอาณาจักรวานร ในเรื่องรามเกียรติ์ (ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า วาลี ส่วนเมืองชื่อ กีษกินธะ) ชื่อเรือ พาลีรั้งทวีป มาจากเรื่องราวของพาลีผู้อาจหาญ ทุกๆ เช้าจะข้ามทวีปจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้เพื่อกราบไหว้พระอาทิตย์ (พระสูรยะ)           โขนเรือสุครีพครองเมือง เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของสุครีพ (ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า สุครีวะ) น้องชายของพาลี ขึ้นครองเมืองขีดขินหลังจากพาลีวายชนม์ อาณาจักรวานรที่สุครีพขึ้นครองเมืองได้นี้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหนุมานและพระรามซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องรามเกียรติ์           เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือพาลีรั้งทวีปใช้ว่า เรือพาลีล้างทวีป หัวเรือกว้างมีรูกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ เรือแต่ละลำมีความยาว 27.54 เมตร กว้าง 1.99 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 59 เซนติเมตร น้ำหนัก 6.97 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คนที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges


ชื่อเรื่อง                               สระศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสี่แห่งเมืองสุพรรณบุรีผู้แต่ง                                 สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย                 หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                           -หมวดหมู่                             ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เลขหมู่                                959.373 ศ528สสถานที่พิมพ์                         สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                           สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากรปีที่พิมพ์                              2562ลักษณะวัสดุ                         32 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                               สุพรรณบุรี – โบราณสถาน                                        สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ ภาษา                                 ไทยบทคัดย่อ/บันทึก     รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามโบราณราชประเพณีที่ใช้เป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองชากังราว : พระวินิจฉัยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ...เมืองชากังราว เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏชื่อตั้งแต่สมัยสุโขทัยในศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ (พ.ศ. ๑๙๑๑) สืบเนื่องมายังหลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องราวในสมัยอยุธยา ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. ๑๘๙๙ รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (พ.ศ. ๒๒๒๓) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑)..สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาและผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจนได้พระสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” โดยเรื่องเมืองชากังราวนั้นพระองค์ทรงวินิจฉัยไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และทรงพระนิพนธ์อธิบายเพิ่มเติมในหนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอ้างอิงจากพระราชพงศาวดาร และกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชากังราวเป็นเมืองเดิมของเมืองนครชุมซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำปิง ใต้ปากคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร.ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองชากังราวไว้ดังนี้.“...ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายเรื่องชากังราวไว้ตรงนี้สักหน่อยหนึ่งด้วยยังไม่ได้พบอธิบายในที่อื่นว่า เมืองชากังราวเป็นเมืองไหนแน่ในปัจจุบันนี้ ในหนังสือพระราชพงศาวดารมีเรื่องที่เกี่ยวแก่เมืองชากังราวหลายแห่ง ในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชนี้เป็นอย่างมาก แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐยังออกชื่อเสียงชากังราว ลงไปถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบแผนที่เข้ากับเรื่องที่มีมาในพระราชพงศาวดาร เห็นว่าเมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่นนอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้ และได้พบหลักฐานประกอบในพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เรียกชื่อเมืองชาวดงราว กำแพงเพชรควบกันไว้ดังนี้ (คำว่าชาดงราวนั้น เชื่อได้แน่ว่าผู้คัดลอกเขียนผิดมาจากชากังราวนั้นเอง) ที่เมืองกำแพงเพชรที่จริงมีเมืองตั้งติดต่อกันอยู่ถึง ๓ เมือง เมือง ๑ อยู่ข้างฝั่งตะวันตก ยังมีพระมหาธาตุอยู่ เมืองนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิม ที่เรียกชื่อว่า “ชากังราว” ต่อมาสร้างเมืองขึ้นอีกเมืองข้างฝั่งตะวันออก เมืองนี้เห็นชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชา (ลิไทย) เรียกว่าเมืองนครชุม มีวัดวาอารามใหญ่โต ซึ่งเป็นฝีมือสร้างครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด ต่อมาเห็นจะเป็นด้วยเกิดเกาะขึ้นตรงหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนไปเดินข้างตะวันตก ทำให้เมืองนครปุเป็นเมืองดอนไป จึงสร้างเมืองกำแพงเพชรเดี๋ยวนี้ขึ้นที่ริมแม่น้ำหน้าเมืองนครชุม มีป้อมกำแพงอย่างแข็งแรงไว้สำหรับต่อสู้ข้าศึก อยู่ตรงข้ามกับเมืองชากังราวเดิม ชาวข้างใต้คงจะเรียกชื่อเมืองชากังราวอยู่ตามเดิมโดยมาก โหรจึงใช้ชื่อนั้นจดลงในปูม และพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระรามาธิบดี จึงใช้ควบกันทั้งชื่อเก่าและชื่อใหม่ ที่หนังสือพระราชพงศาวดารว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองชากังราวนั้น คือไปตีเมืองกำแพงเพชรเป็นแน่ ไม่มีที่สงสัย...”..ในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์อธิบายเพิ่มเติมความตอนหนึ่งว่า .“...เรื่องเมืองกำแพงเพชรเก่าใหม่ตรวจในสมัยต่อมาได้ความดังนี้ ที่เรียกว่าเมือง “นครปุ” นั้น ที่ถูกคือเมือง “นครชุม” เพราะในจารึกเขียนว่า “นคระชุํ” ดังนี้ เมื่ออ่านกันชั้นแรกเข้าใจว่าชื่อนครปุ ต่อภายหลังจึงพิจารณาเห็นว่า ชุํเมืองนี้ เมืองเดิมที่เรียกในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมืองชากังราว ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกใต้ปากคลองสวนหมาก เมืองกำแพงเพชรที่ริมน้ำทางฝั่งตะวันออกเป็นเมืองสร้างทีหลัง...”..จากพระวินิจฉัยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หากพิจารณาลำดับชื่อเมืองที่ถูกอ้างถึงจำนวนสองครั้งในเนื้อความบทพระอัยการลักษณะลักพาของกฎหมายตราสามดวง ไม่ได้ปรากฏการเรียงลำดับแบบเดียวกันทั้งสองครั้ง แสดงให้เห็นว่า ชื่อ “ชากังราว” ที่อยู่ติดกับคำว่า “กำแพงเพชร” นั้น ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดถึงการเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กัน หรือเป็นชื่อเมืองเดียวกันแต่อย่างใด นอกจากนี้อาจเป็นเพียงการสื่อถึงกลุ่มเมืองในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยอันห่างไกลจากอาณาจักรอยุธยา ส่วนเหตุการณ์สมัยพระบรมไตรนาถที่กล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนามาตีเมืองชากังราวก่อนตีเมืองสุโขทัยในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์นั้น อนุมานได้ว่าเมืองชากังราวอยู่ใกล้ล้านนามากกว่าเมืองสุโขทัย อีกทั้งข้อความในศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ ก็ปรากฏชื่อเมืองชากังราว และเมืองนครชุมในสมัยเดียวกัน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเมืองทั้งสองเป็นเมืองเดียวกัน.ทั้งนี้ไม่ว่าจากเอกสารกฎหมายตราสามดวง ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ หรือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ล้วนแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชากังราวได้...เอกสารอ้างอิงกระทรวงมหาดไทย. (๒๕๐๕). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของพระองค์. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (๒๕๔๒). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรมศิลปากร.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. (2559). ศรีปัญญา.ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (๒๕๕๙). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ ๒). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๖๔). เที่ยวเมืองพระร่วง. ศรีปัญญา.สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (๒๕๔๘). ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรมศิลปากร.


โครงการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ “ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง จังหวัดตราด” ผู้แต่ง : อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องจันทบุรี) ผู้จัดพิมพ์ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด  ปีที่พิมพ์ : 2548 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น. 49 บ. 59704 จบ. (ร) เลขหมู่ : ท. 959.9327 อ263ต สาระสังเขป :  งานวิจัยนี้ประกอบด้วยเนื้อหาว่าด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเมืองตราดและเกาะช้างของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผู้วิจัยได้พบข้อมูลใหม่ ๆ เป็นจำนวนมากเกี่ยวกับเส้นทางการเสด็จฯ เหตุการณ์และเกร็ดสนุก ๆ ในระหว่างเสด็จฯ ซึ่งถือเป็นการเปิดพรมแดนความรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองตราดที่มีอยู่เดิมให้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลภูมิหลังและประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราด ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจังหวัดตราด  


ชื่อเรื่อง                     พระอินทร์ (หนังสืออินตก)สพ.บ.                       482/1กหมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา     ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                12 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 58.2 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๐พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุ ลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อทอดพระเนตรการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกในดินดานในรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านชาวไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีรหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๓.๑/๓๘


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก จ.นครนายก (เวลา 08.30 น.) จำนวน 70 คน วันพุธที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. สำนักงานวัฒธรรมจังหวัดนครนายก นำโดย นายราเมศ ลิ่มสกุล วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิต คุณค่า ประวัติความเป็นมาของขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดนครนายก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมีนักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนโพธิวัฒน์พิทยา จังหวัดนครนายก จำนวน ๗๐ คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ ภายในกิจกรรมประกอบไปด้วย การเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และการบรรยายในหัวข้อ “ประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมขนกชลพัฒน์” โดยนายธิริทธิ์ เรืองทวีทรัพย์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชมการสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครนายกด้วย



โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม จ.ชลบุรี (เวลา 10.30-11.00 น.) จำนวน 284 คน 


            สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบ 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง “จากหอคองคอเดีย สู่วังหน้า ภาพเก่าเล่าพิพิธภัณฑ์” บอกเล่าเรื่องราวการก่อกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทย 19 กันยายน 2417 ตั้งแต่หอคองคอเดีย กระทั่งพัฒนาสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน นำเสนอผ่านข้อมูล เอกสาร และภาพถ่ายเก่าเล่าเรื่อง พร้อมนำโบราณวัตถุที่น่าสนใจมาจัดแสดงให้ชม ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2224 1402ภาพ: หอคอคอเดีย โรงทหารมหาดเล็กที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนศาสดารามภาพ: พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นฤษี หรือโยคี ศิลปะอยุธยาภาพ: พระพุทธรูปปางถวายเนตร จำหลักจากแก้วสีต่าง ๆภาพ: ขวดแก้วมีตะกร้อ ต้นไม้ สิ่งของต่างๆอยู่ภายใน และโคมไม้ไผ่ฉลุลายภาพ: กล้องยาแดงทำด้วยรากไม้ไผ่ป่าแต่งเป็นรูปทรงต่างๆภาพ: ช้างทรงรูปพระโพธิสัตว์ในขบวนแห่วันวิสาขบูชา ภาพ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย เส้นที่เขียนเป็นอักษรญี่ปุ่นโบราณภาพ: ตะกร้าสาน ของชาวม้อย เมืองดาลาต เวียดนามภาพ: ต้นไม้กระดาษภาพ: พระวิษณุ และพระครูประกำ