ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,558 รายการ

นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (งวดที่๒) วันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙


ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมากล่าวต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการ"พิมาย-ภูพระบาท :วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน"สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาและวรรณกรรมโดย นายดุสิต ทุมมากรณ์ หัวหน้ากลุ่มโบราณคดีเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗



กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูสำหรับใช้ควบคู่กับหนังสือสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐาน      ภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๑ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับ      ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓).  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว : กรุงเทพฯ, ๒๕๓๘.      เป็นหนังสือคู่มือครูสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาไทย เช่น การอ่าน การเขียน การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ให้นักเรียนอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ 



ชื่อเรื่อง : อตีตังสญาณหรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร



องค์ความรู้ เรื่อง การดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเบื้องต้น (ประเภทหิน)  ออกแบบและจัดทำโดย นางสาวชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


           หอย เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยในการศึกษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในอดีต รวมทั้งความสัมพันธ์กับมนุษย์ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยหอยที่พบจากแหล่งโบราณคดีมีทั้งนิเวศวัตถุและโบราณวัตถุที่มนุษย์ในอดีตนำมาใช้หรือดัดแปลง            จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี และการศึกษาของ G.M. Mason สามารถจำแนกชนิดของหอยได้กว่า 121 ชนิด ทั้งหอยฝาเดียว (Gastropods) และหอยสองฝา (Bivalves) โดยเป็นหอยที่มีถิ่นอาศัยทั้งหอยทะเล หอยน้ำจืดและหอยบก           1. หอยทะเล เป็นหอยที่พบมากที่สุดจากการขุดค้น ซึ่งหอยทะเลที่พบส่วนใหญ่เป็นหอยที่นำมาบริโภคอาหาร โดยสามารถจำแนกได้เป็น               - หอยฝาเดียว ที่พบจำนวนมาก ได้แก่ หอยพระจันทร์ลายเสือหรือหอยตะกาย (Natica tigrina) หอยจุ๊บแจงยอดทู่ (Cerithidea obtusa)                - หอยขี้กาหรือหอยหลักควาย (Telescopium telescopium) - หอยทะนนลายแต้ม (Nerita articulata) - หอยหมาก/หอยนน (Ellobium aurisjudae) เป็นต้น               - หอยสองฝา ได้แก่ หอยแครง (Anadara granosa (Tegillarca granosa)) เป็นหอยที่พบมากที่สุดและพบตลอดระยะการอยู่อาศัย กว่า 600000 ชิ้น หอยตลับ (Meretrix lusoria) หอยลายหรือหอยหวาน (Paphia undulata (Paratapes undulata)) เป็นต้น           2. หอยน้ำจืดและหอยบก               - หอยฝาเดียว ได้แก่ หอยขม (Filopaludina sp.) หอยโข่งปากส้ม (Pila pesmei) หอยงวงท่อลาย (Rhiostoma housei) เป็นต้น               - หอยสองฝา หอยกาบ (Pseudodon spp.) หอยกาบกี้ (Pilsbryoconcha exilis exilis) หอยกาบลาย (Uniandra contradens rustica (Contradens contradens rustica)) หอยกาบน้ำจืด (Uniandra contradens tumidula) เป็นต้น           จากปริมาณของหอยที่พบทั้งหมดจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี พบว่าเป็นหอยที่มีถิ่นอาศัยบริเวณโคลนดินตามป่าชายเลนในเขตน้ำขึ้น-น้ำลง และเขตชายฝั่งเหนือน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณหาดทราย รวมทั้งพื้นท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยแครง พบตั้งแต่การเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนโคกพนมดีและมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ ในสมัยต่อมา และพบปริมาณน้อยลงต่อเนื่องในสมัยสุดท้ายของการอยู่อาศัย ในขณะเดียวกันหอยชนิดที่มีถิ่นอาศัยอยู่ตอนในของป่าชายเลน หอยน้ำจืด และหอยบก ซึ่งพบน้อยในช่วงระยะแรกของการอยู่อาศัยกลับพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงสมัยต่อมา           จากหลักฐานของหอยที่ปรากฏ สามารถบอกได้ว่า ชุมชนโคกพนมดีเมื่อแรกเริ่มการเข้ามาอาศัย อาจจะตั้งอยู่ติดหรือใกล้กับปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถเดินทางออกสู่ทะเลได้ แต่ในระยะเวลาต่อมาพื้นที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงกลายสภาพเป็นแผ่นดินและชุมชนโคกพนมดีเริ่มอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับชนิดและปริมาณของหอยที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ------------------------------------------ ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี------------------------------------------อ้างอิง : G.M. Mason. The Molluscan remains, The Excavation of Khok Phadom Di a prehistoric site in Central Thailand Volume II: The biological Remains (Part I) , 1991. Jarujin Nabhitabhata. Mollusca fauna Of Thailand.2009 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยสองฝาน้ำจืด. 2560. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยฝาเดียวน้ำจืด. 2560. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยสองฝาทะเล. 2560. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย: หอยฝาเดียวทะเล. 2560.


ชื่อเรื่อง : ระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ ๘  ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๑๐ ผู้แต่ง : คณะกรรมการจัดงานระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ 8 ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ :   โรงพิมพ์แพร่การช่างจำนวนหน้า : 284 หน้า           ระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ ๘  ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๑๐  เป็นหนังสือที่ระลึกในการจัดงาน ระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ ๘ ณ สมาคมชาวปักษ์ใต้  ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๑๐ รวบรวมประมวลภาพในงาน คณะกรรมการจัดงาน ผู้อุปการะ และบทความที่สำคัญต่างๆ เช่น ศึกษาภาษาใต้ตามแนวภาษาศาสตร์  นางงามในวรรณคดี   เป็นต้น  



ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2470 หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในงานสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกแรกได้ในรัชกาลที่ 7 เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2470                            เนื้อหากล่าวถึงรายละเอียดเรื่องพิธีรับช้างเผือกไว้อย่างครบถ้วนเริ่มตั้งแต่การแต่งข้าหลวงออกไปชัณสูตรช้างเผือก การพาช้างเผือกเข้ามาพระนคร ลักษณะการแต่งทางรับช้างเผือกข้าพระนคร กระบวนแห่รับช้างเผือก เสด็จรับช้างเผือกสู่โรงสมโภช พิธีสงฆ์สมโภชช้างเผือกชั้นต้น พระราชทานนามช้างเผือก และพิธีพราหมณ์และมหรสพสมโภชช้างเผือก เป็นต้น


ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี – มาปัฏฐานสพ.บ.                             148/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-ปุคคลบัญญัติ)สพ.บ.                                  134/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี