ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.535/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 48 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180 (292-302) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำสุตตโสม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ประมวลพระราชดำรัส และ พระบรมราโชวาท ที่พระราชทานในโอกาสต่างๆตั้งแต่เดือน ธันวาคม ๒๕๑๒ จนถึงเดือน พฤศจิกายน ๒๕๑๓ พิมพ์ขึ้นในโอกาสงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร จำนวนหน้า : 446 หน้า สาระสังเขป : พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทบรรดาที่ประมวลไว้เล่มนี้ เป็นพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ คณะ ในโอกาสต่างๆกัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๓
พระพุธพระอิศวรทรงใช้ช้าง ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษมีผิวกายสีเขียว ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ชอบพูดชอบเจรจา สุขุม รอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย เป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู สัญลักษณ์เลข ๔ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗
“วันอานันทมหิดล” ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมราชชนกไปต่างประเทศ จนกระทั่งพระชนมายุได้ 3 พรรษา จึงได้เสด็จ นิวัติกลับประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคต พระองค์จึงได้เสด็จกลับยุโรปเพื่อศึกษาต่อในชั้นประถม ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หลังจากมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศมากมาย จนกระทั่งถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาเช้ามีเสียงปืนดังขึ้น มหาดเล็กห้องบรรทมวิ่งเข้าไปดู และเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอยู่บนพระที่บรรทมเสด็จสวรรคตแล้ว รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รวมพระชนมายุได้ 21 พรรษา และทรงครองอยู่ในราชสมบัติได้ 12 ปี
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย
เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้
ศิลปิน : นายจักรพันธ์ หิรัญสาลี จิตรกรชำนาญการ
กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร
ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)
การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิค #การเขียนสีฝุ่น บนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้ จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระครูพราหมณ์ถวายอนุษฏุภ ศิวมนตร์และถวายอนุษฏุภวิษณุมนตร์ เอ่ยประโยคสำคัญเป็นครั้งแรกว่า "ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม..." และระบุอีกตอนหนึ่งว่า "ขอทรงรับพระมหาสิริราชสมบัติ ถวัลยราชสมบัติ ขอจงทรงแผ่นปกครองทั่วปฐพี ขอจงทรงชนะอริราชดัสกร ทุกเมื่อเทอญ" ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นเป็น "พระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์" ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีพระปฐมบรมราชโองการพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย และ #ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา
พระที่นั่งภัทรบิฐ
ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตกเฉียงเหนือในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ลักษณะเป็นพระเก้าอี้ถมทอง พนักเก้าอี้และเท้าแขนต่อเนื่องกันเป็นกงแบบเก้าอี้จีน ซึ่งพระเก้าอี้ที่ใช้ประกอบเป็นพระที่นั่งภัทรบิฐนั้น จัดเป็นงานประณีตศิลป์ประเภทเครื่องถม โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว เบื้องหลังพระที่นั่งภัทรบิฐปักนพปฎลมหาเศวตรฉัตร ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับน้ำอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์แล้ว เสด็จพระราชดำเนินประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ เครื่องราชูปโภคและราชสมบัติ
--------------------
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79
ธีรชัย จันทรังษี. “เครื่องถม.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๑๑. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๕๑.
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ ได้จากลิ้งค์ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่
-------------------------------------
https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26
-------------------------------------
ชื่อเรื่อง ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ. 297/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฏก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
องค์พระพุทธรูปยืนปูนปั้นทรงเครื่อง ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี
..
องค์พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องนี้ ไม่ปรากฎพระเศียร (หัว) ปลายพระกร (ปลายแขน) พระหัตถ์ (มือ) พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) และพระบาท (เท้า) พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องนี้ขุดได้จากบริเวณฐานชุกชีของพระพุทธรูปประธานภายในพระวิหารวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท โดยพระมหาเจติยารักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี กรมศิลปากร เก็บรักษาไว้
..
องค์พระพุทธรูปทรงเครื่อง ศิลปะอยุธยาตอนกลางนี้ เป็นองค์พระพุทธรูปปูนปั้นที่ปรากฎร่องรอยของการสวมเครื่องประดับพระวรกายชนิดต่างๆ เช่น กรองศอ ที่ทำเป็นลวดลายแถวของดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนโดยมีลายจุดไข่ปลาล้อมเป็นกรอบบนล่าง และปรากฎลายพวงอุบะที่มีลักษณะคล้ายขนนกห้อยเป็นแนวอยู่ขอบด้านล่างของกรองศอ ถัดลงมาบริเวณลิ้นปี่ของพระพุทธรูปเป็นส่วนส่วนทับทรวงทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนพาหุรัดของพระพุทธรูปเป็นลวดลายดอกไม้กลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และส่วนรัดประคดที่รัดบริเวณพระโสณี (สะโพก) ของพระพุทธรูปก็ปรากฎลวดลายแถวของดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนโดยมีลายจุดไข่ปลาล้อมเป็นกรอบบนล่าง และปรากฎลายพวงอุบะที่มีลักษณะคล้ายขนนกห้อยเป็นแนวอยู่ขอบด้านล่างของรัดประคด ลวดลายดอกไม้กลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่พบบนองค์พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์นี้ พบอยู่ ๓ ส่วน คือ กรองศอ พาหุรัด และรัดประคด โดยเป็นลวดลายที่มีปรากฎมาแล้วเมื่อราว ๑,๔๐๐ ปี ก่อนในวัฒนธรรมทวารวดี
..
พระพุทธรูปทรงเครื่องนั้นมีปรากฎหลักฐานการสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ ในศิลปะอินเดีย ส่วนในสมัยอยุธยา ก็ปรากฎเรื่องคติและรูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมาจวบจนสมัยรัตนโกสินทร์
..
สันนิษฐานได้ว่า ผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ อาจมีความนิยมชมชอบในลวดลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่เป็นลวดลายที่ก่อกำเนิดมาแต่โบราณกาล และเป็นไปได้ว่าองค์พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์นี้อาจเป็นส่วนพระวรกายของพระเศียรพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่อง ในการนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้ครั้งก่อน ในเพจ Facebook ของทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี
..
* กรองศอ คือ เครื่องประดับใช้สวมคอทับลงบนเสื้อ กรองศอนี้บางทีด้านนอกก็ทำแบบกลม บางทีก็มีลักษณะเป็นหยักแหลม ตามลวดลายอาจมีเพชรหรือพลอยประดับ
* พาหุรัด คือ เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน บ้างก็เรียกว่าทองต้นแขน
* ทับทรวง คือ เครื่องประดับหน้าอกแบบหนึ่ง รูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยโลหะ เป็นต้น อาจมีการฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาลทับหน้าอก
* รัดประคด คือ ผ้า หรือสายที่ถักด้วยด้ายสำหรับรัดอก หรือรัดเอวของภิกษุสามเณร
ชื่อเรื่อง เพลงพื้นบ้านภาคกลาง : จากแม่บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ ผู้แต่ง เอนก นาวิกมูลประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ดนตรี เลขหมู่ 782.42162 อ893พสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ บริษัท ฟิลสไตรล์ จำกัดปีที่พิมพ์ 2549ลักษณะวัสดุ 192 หน้า : ภาพประกอบ, ; 29 ซม.หัวเรื่อง เพลงพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคกลาง) ศิลปินแห่งชาติภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพแม่บัวผัน จันทร์ศรี กล่าวถึงประวัติแม่บัวผัน จันทร์ศรี ในชีวิตชั่วอายุ 85 ปีของ การทำงานจนกระทั้งในการเป็นแม่เพลง
ปรางค์พะโค ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นศาสนสถานขนาดเล็ก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ปราสาทประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุเล็กน้อย มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซึ่งมีทางเดินปูด้วยอิฐเชื่อมต่อกับปราสาทอีกหลัง ซึ่งเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุ ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลงเช่นเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศใต้ ตัวอาคารมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า โดยมีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ที่เหลือทั้งสามด้านสลักลวดลายเป็นประตูหลอก เหนือประตูทางเข้าด้านทิศใต้ มีทับหลังสลักภาพสิงห์จับท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง อาคารทั้งสองหลังมีคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบจากการขุดแต่งโบราณสถาน พบทับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ บัวยอดปราสาท ชิ้นส่วนหน้าบัน เป็นต้น
ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธศิริโรจนไชยมงคล หรือ พระร่วงวัดท่าไชย หรือ หลวงพ่อใหญ่ในโบสถ์
สถานที่ประดิษฐาน อุโบสถวัดท่าไชยศิริ ต.สมอพลือ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
ประวัติ พระพุทธศิริโรจนไชยมงคล เป็นพระพุทธรูปประธานประทับยืนองค์เดียวในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง ๓ วัดเท่านั้นที่มีพระพุทธรูปประทับยืนเป็นพระประธาน พระพุทธศิริโรจนไชยมงคลเป็นพระคู่วัดท่าไชยศิริมาช้านาน ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ พระร่วงวัดท่าไชยศิริ ชื่อนี้สอดคล้องกับประวัติวัดที่กล่าวถึงการได้รับวิสุงคามสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๑๐ ตรงกับสมัยแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ซึ่งคนทั่วไปรับรู้ถึงการกล่าวถึงกษัตริย์สมัยสุโขทัยว่า พระร่วง ประวัติวัดยังปรากฏหลักฐานกล่าวถึงการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเป็นมาที่ยาวนานกอปรกับความเป็นชุมชนประวัติศาสตร์ของวัดท่าไชยศิริอันเป็นสถานที่สําคัญในการตักน้ำในบริเวณท่าน้ำในการประกอบพระราชพิธีของราชสํานัก
จากความเป็นมาแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของพระพุทธศิริโรจนไชยมงคลได้เป็นอย่างดี อายุกว่า ๗๐๐ ปี ของวัดทําให้วัดท่าไชยศิริเป็นวัดสําคัญที่ชาวเพชรบุรีให้ความสําคัญ โดยเฉพาะชาวบ้านบางส่วนยังไปตักน้ำที่วัดท่าไชยไปทําน้ำมนต์ในงานมงคลต่าง ๆ แม้กระทั่งการนำน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีไปใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยมีข้อความในตราสารอธิบายว่า “ . . . ด้วยกำหนดพระฤกษ์การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ต้องการนำน้ำเข้าพระราชพิธีอย่างพระมหากษัตริย์เจ้า แต่ก่อนจึงให้ . . . พระยาเพชรบุรีตักน้ำท่าไชยหม้อ ๑ ให้เอาใบบอกปิดปากหม้อ เอาผ้าขาวหุ้มปากหม้อ ด้ายผูกปิดตราประจำครั่งแต่งตั้งกรมการผู้ใหญ่ส่งยังกรุงเทพ . . .”
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรม NLT Edutainment ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 การเสวนา เรื่อง “สู่ราชสำนักสยาม บันทึกการเดินทางของคณะทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียถึงราชสำนักสยามและญวน” วิทยากรโดย นายสุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์ (ผู้แปลหนังสือสู่ราชสำนักสยาม บันทึกการเดินทางของคณะทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียถึงราชสำนักสยามและญวน) และนายพงศกร ระวิเพียรทรัพย์ (หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล) ดำเนินรายการโดย นายบารมี สมาธิปัญญา (นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ) ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00-15.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ www.facebook.com/NationalLibraryThailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว
ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย
ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาคหรืองู ทั้งหลาย ในฮินดูปกรณัมปรัมปรา อนันตะ หมายถึง งูเทพ หรือ งูทิพย์ ผู้มีพลังยิ่งใหญ่ รู้จักกันในชื่อ เศษะ หรือ อาทิเศษะ เป็นผู้ที่มีเศียรหนึ่งพัน และ (ประดับด้วย) อัญมณีหนึ่งพันที่ส่องประกายสว่างจ้าไปทุกหนแห่ง คัมภีร์ปุราณะของอินเดียกล่าวว่า อนันตะอาศัยอยู่ลึกลงไปกว่าโลกบาดาลทั้ง 7 ชั้น และแบกโลกทั้งหมดไว้บนเศียร คราใดที่อนันตะหาว โลกก็สั่นไหว บางคัมภีร์อธิบายว่า อนันตะมีชื่ออีกอย่างว่า วาสุกิ (ไทยเรียกวาสุกรี) ซึ่งมีเจ็ดเศียรและอยู่ในโลกบาดาลชั้นที่ 7 อนันตะปกครองนาคทั้งหลาย เรื่องราวจากคัมภีร์ข้างต้นให้อิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ใต้โลกของเรามีปลาอานนท์ ซึ่งแบกโลกไว้ คราใดปลาอานนท์ขยับตัว โลกจะสั่นคลอนเกิดแผ่นดินไหว และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเจ็ดเศียรบันดาลให้เกิดฝน ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงควรมีเรือพระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราชซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทมบนพญาอนันตนาคราชในช่วงกาลดับสลายและเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 - 2468)
และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2457
หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์-พัดโบก-พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
องค์ความรู้ เรื่อง มรดกวิจิตรศิลป์จรดจาร
ผู้เรียบเรียง :
นางสาวณัฐพร เพ็ชรกลับ บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
"ปรางค์น้อย" โบราณสถานปราสาทพนมวัน
เป็นอาคารหลังเดียวก่อสร้างด้วยหินทรายและอิฐบนฐานศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 9×9 เมตร มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23-24