ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,559 รายการ

ชื่อเรื่อง                     พระอินทร์ (หนังสืออินตก)สพ.บ.                       482/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา     ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.7 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 45 คนวันศุกร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะครูและบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน ๔๕ คน จาก โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุุรี เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้



โรงเรียนวัดหัวสำโรง จ.ลพบุรี (เวลา 09.30-10.30 น.) จำนวน 20 คน


            หอสมุดแห่งชาติขอเชิญชมภาพยนตร์เพื่อการอนุรักษ์ “หนังดี14นาฬิกา” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 จัดฉายภาพยนตร์ เรื่อง “สมิงบ้านไร่” เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2507 กำกับโดย พันคำ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โมกขศักดิ์ ผู้มีอิทธิพลในตำบลบ้านไร่ และผู้จัดการโรงงานน้ำตาลที่กำลังจะทรุดตัวลง เขาจึงบังคับให้ชาวบ้านร่วมมือกันทำไร่อ้อยเพื่อส่งมาให้ยังโรงงานของตน หนึ่งในนั้นมี สมิง บ้านไร่ ชายหนุ่มที่ไม่คิดจะทำตามข้อบังคับ ทั้งยังเป็นคนที่สนิทสนมกับ นกเขียว ลูกสาวคนเดียวของโมกขศักดิ์ จึงเป็นเหตุให้เขาไม่กล้าที่จะเล่นงานสมิง เพราะกลัวว่าจะเป็นการทำร้ายหัวใจลูกสาวของตน กำกับโดย พันคำ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ ความยาว 132 นาที และอนุรักษ์ภาพยนตร์ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กำหนดการฉายภาพยนตร์ เวลา 14.00 น. ณ ห้อง NLT mini theatre อาคาร 1 ชั้น 1 (จำกัดที่นั่ง 20 ท่าน)             นอกจากนี้ยังสามารถติดตามชมภาพยนตร์ในครั้งต่อไป วันที่ 16 ตุลาคม 2567 เรื่อง เงิน เงิน เงิน (2508), วันที่ 30 ตุลาคม 2567 เรื่อง ทรชนคนสวย (2510), วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง อีแตน (2511), วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512), วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เรื่อง ไอ้ทุย (2514), วันที่ 18 ธันวาคม 2567 เรื่อง สาย สีมา นักสู้สามัญชน (2524), วันที่ 25 ธันวาคม 2567 เรื่อง Lumierel (2559) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2281 3634 และสามารถติดตามกิจกรรมอื่น ๆ ของหอสมุดแห่งชาติ ได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ : National Library of Thailand  


ชื่อเรื่อง : การต่อสู้ของชีวิตพ่อสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ ผู้แต่ง : สมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ ปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : สมุทรสาคร สำนักพิมพ์ : แอ๊ปป้า พริ้นติ้งกรุ๊ป      หนังสือแต่งขึ้นโดยพ่อสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ หนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในอดีตของพ่อสมบูรณ์ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แกคนรุ่นหลังถึงความเป็นมาของบุคคลสำคัญในสมัยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนถึงพ่อสมบูรณ์สร้างครอบครัวมีงานเป็นหลักเป็นแหล่ง ในหนังสือเป็นเรื่องเกี่ยวกับแผนผังชาติตระกูล ประวัติความเป็นมาของพ่อสมบูรณ์ ประวัติการศึกษา การประกอบอาชีพ ชีวิตในกรุงเทพ ชีวิตการทำงานบริษัทขนส่ง ชีวิตรับราชการ ชีวิตพ่อค้า ชีวิตชาวเมือง ชีวิตชาวสวน นอกจากนี้ท่านสมบูรณ์ยังถ่ายทอดประสบการณ์ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และยังศึกษาเกี่ยวกับแพทย์แผนโบราณ สุดท้ายคือชีวิตหัวหน้าครอบครัว


วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 16.30 น. ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประชุมและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ให้กับบุคลากรภาคสนาม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


โบราณสถานและสถานที่สำคัญที่น่าเยี่ยมชม ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ





ร่วมด้วยช่วยกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีดอนไร่  เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมปี ๒๕๕๔ ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีพระอาจารย์คารมย์ โอภาโส เป็นแกนนำและมีสมาชิกเครือข่ายตำบลเจียดมาร่วมกิจกรรมจำนวนมากกว่า ๕๐ คน โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาในทุกวันตลอดโครงการ ตามวันเวลาที่สะดวกของแต่ละคน กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเรียนรู้งานโบราณคดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามััคคีในชุมชน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกรมศิลปากรในการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมต่างมาด้วยจิตอาสา ไม่มีการจ้าง เพราะรู้ว่ากิจกรรมที่ร่วมทำจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนร่วมกัน


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต



เอกสารดาวน์โหลด