ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
เนื่องจากมีผู้เข้าใช้บริการ สอบถามเรื่องชื่อถนน"สีบุญเรือง"ที่อยู่บริเวณเขาพลอยแหวน ว่าเป็นมาอย่างไร ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าจากเอกสารที่มีภายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี พบเอกสารที่ใช้อ้างอิง2 ประเภท คือจดหมายเหตุลายลักษณ์ และเอกสารแนบจดหมายเหตุประเภทหนังสือหายาก(น.2) เอกสารทั้ง2 ประเภท ได้เขียนไว้อย่างสอดคล้องกันว่า...นายซองอ๊วน เป็นพี่ชายของนายซองกุ่ย ได้รับโอนกิจการด้านการซ่อมถนนและเดินรถยนต์จากหลวงชนาณัมคณิศร ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตทำกิจการด้านนี้จากกระทรวงมหาดไทย ... ...ต่อมาใน พ.ศ.2470 นายซองอ๊วน ได้รับสิทธิจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการสร้างและซ่อมทางเพื่อถือสิทธิการเดินรถรับจ้างบรรทุกสินค้าและคนโดยสาร... ...ทางเริ่มตั้งต้นจากทางแยกท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรี ผ่านเมืองใหม่บางกะจะ สีพระยา ไร่โอ๋ บ่อพุ ห้วยแร้ง พลอยแหวน ชำฆ้อ โป่งรัก เนินพลอยแหวน วัดหนองโพรง ถึงตลาดท่าใหม่ เป็นสุดเขต... ...กำหนดถือสิทธิ 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา โดยทุนตั้งบริษัทเป็นเงิน 100,000 บาท ลัษณะของถนนสายนี้ เป็นแบบถมดินและโรยกรวด......ในการอนุญาตให้ทำทางในครั้งนี้สิทธิผลประโยชน์โดยรวมของชาวบ้านยังคงได้รับคือสามารถนำพาหนะ ยวดยานมาวิ่งได้ ยกเว้นมาวิ่งเก็บค่าโดยสารทับเส้นทางนี้ไม่ได้เท่านั้น หนังสืออนุสรณ์งานศพของนายซองกุ่ย ผู้เป็นน้องชาย ได้มีการบันทึกไว้ว่า...ภายหลังนายซองอ๊วนถึงแก่กรรม นายซองกุ่ย ผู้น้องได้รับสัมปทานเดินรถยนต์ต่อจากพี่ชาย และเมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง นายซองกุ่ย ได้ยกทางสัมปทานเส้นนี้ให้แก่จังหวัดจันทบุรี เพื่อใช้ในการคมนาคมต่อไป ทางจังหวัดจึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า"ถนนสีบุญเรือง" และทางหลวงสายกรุงเทพฯจันทบุรี ได้ตัดต่อมาเชื่อมถนนสายนี้ในเวลาต่อมา เรื่องนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ที่ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ บางครั้งมักมีแอบหรือสอดแทรกอยู่ในเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ ดังนั้นผู้ค้นคว้ามืออาชีพจึงจำเป็นต้องอ่านและศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง----------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนายซองกุ่ย ศรีบุญเรือง. 2507. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลุริยนเอเจนซี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 1.2.3/11 เรื่องนายซองอ๊วน ผู้รับมอบฉันทะจากหลวงชนาฯ ขออนุญาตทำทางถือสิทธิ์เดิรรถยนตร์ แต่บ้านหัวหินไปถึงตลาดท่าใหม่ (18 มิถุนายน 2470 – 16 พฤษภาคม 2474).
ประวัติพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช(พระเจ้าน่าน)
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ประสูติในแม่เจ้าสุนันทาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเคยดำรงตำแหน่งเจ้าราชวงศ์แห่งเมืองน่าน หลังจากเจ้าอนันตวรฤทธิเดชถึงแก่พิราลัย ได้ขึ้นเป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเจ้านครน่านสืบต่อมา เคยช่วยราชการสยามหลายครั้ง เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2428 สยามยกทัพขึ้นไปปราบกบฏฮ่อในแถบเมืองหลวงพระบาง เจ้าราชวงศ์ได้นำกองทัพเมืองน่านไปสมทบกับกองทัพหลวง
ในปี พ.ศ. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พร้อมพระราชทานเครื่องประกอบยศ เพราะพระเจ้านครน่านเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสยาม ดังปรากฏว่าเมื่อเกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ใน พ.ศ. 2445 เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ส่งกำลังทหารจำนวน 1,000 คน ไปช่วยปราบกบฏเงี้ยว แต่เจ้าราชบุตรเมืองแพร่หรือเจ้าน้อยยอดฟ้าเป็นบุตรของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชที่ได้แต่งงานกับเจ้าสุพรรณวดีบุตรีของเจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้านครแพร่มีส่วนพัวพันกับการก่อกบฏเงี้ยว เมื่อสิ้นสุดการปราบกบฏ เจ้าสุริยพงษ์ไม่ได้ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่บุตรของตนแต่อย่างใด การตัดสินโทษของเจ้าราชบุตรให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาในเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชอย่างมาก ประกอบกับที่ผ่านมาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ช่วยงานราชการของสยามเป็นอย่างดี ภายหลังเจ้าราชบุตรเมืองแพร่ได้กลับคืนไปสู่เมืองน่าน ทำราชการในตำแหน่งเจ้าราชดนัย
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 รวมพระชนมายุ 87 พรรษา
ภาพประกอบ
-ภาพที่1 งาช้างดำ ของคู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดน่าน
-ภาพที่2 ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน พระเจ้าสุริยพงษืผริตเดช
-ภาพที่3 ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 20 หน้า 626 วันที่ 29 พฤฤศจิกายน ร.ศ.122
-ภาพที่4 พระบรมราชโองการตั้งพระเจ้านครน่าน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 20 ตอนที่ 35 วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 หน้า 616
ภาพที่5 ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 18 หน้า 619 วันที่ 10 พฤศจิกายน ร.ศ.120
-ภาพที่6 ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานนามสกุลครั้งที่ 15 ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 31 หน้า 12 วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2475
-ภาพที่7 พระสุพรรณบัฏ ตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าน่าน
-ภาพที่8 รายละเอียดในพระสุพรรณบัฏ
-ภาพที่9 ตราประทับงาช้าง
-ภาพที่10 ตราประทับงาช้างรูปนาคเกี้ยว เป็นตราประทับชาดสำหรับประทับบนใบบอกที่ส่งเข้ามาสยาม
-ภาพที่11 ฉัตรห้าชั้น เครื่อแสดงพระยศพระเจ้าประเทศราช ศักดินา 15,000
-ภาพที่12 อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชประดิษฐานด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
อ้างอิง
-ภาพราชกิจจานุเบกษา https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0...
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร) สพ.บ. 412/4หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 4.2 ซม. ยาว 57.3 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 415/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.178/4 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปพฺพชฺชานิสํสกถา (ปพฺพชฺชานิสํสงฺข)
ชบ.บ.53/1-1ค
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร)
สพ.บ. 319/2ก
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.5 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.274/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 58.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117 (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปริสุทธิสีลกถา(บริสุทธิ์ศีล)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม