ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

อบต.ละหาร จ.ระยอง (เวลา 11.00-12.00 น.) จำนวน 30 คน


วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ ดร. นันทศักดิ์ โชติชนะเดชาวงศ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย และคณะบุคลากรในสังกัดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี จำนวน ๒๗ คน เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเก็บรวบรวมเอกสารโบราณที่เกี่ยวข้องกับตำรายาพื้นบ้านและตำรับยาแผนโบราณ ณ หอสมุดแห่งชาติชลบุรี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทยต่อไป ในการนี้ นางโสภี เฮงสุดผล หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับและเป็นวิทยากรนำชม


เพลินตรัง หนังสือที่ระลึก กีฬา อบจ.ภาคใต้ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2554


     วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2560 เวลา 09.00 น. นางสาวดวงกมลยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ร่วมกันเปิดโครงการ "ถนนสีเหลือง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรและร่วมปลูกต้นไม้เป็นเกียรติ โดยกิจกรรมนี้เป็นการปลูกต้นร่วมกับชุมชนรามเล็กและชุมชนรามใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต้นไม้ที่ปลูกได้แก่ ต้นดาวเรือง ต้นโกสน เป็นต้น






เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรทีี่ ๑๑ อุบลราชธานี ได้นำคณะผู้ตรวจราชการกรมศิลปากรเดินมามาเยี่ยมชมการดำเนินงานตามโครงการร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี โดยมีนางสาวสุกัญญา เบาเนิด นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ นักโบราณคดีชำนาญการ และคณะเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด นำโดย พระอาจารย์คารมย์ โอภาโส ให้การต้อนรับและนำชมผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งการร่วมด้วยช่วยกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีดอนไร่ ซึ่งเป็นการขุดค้นร่วมกันระหว่างสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานีและสมาชิกเครือข่ายฯ โดยไม่มีการจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นที่สนใจของคณะผู้ตรวจราชการกรมศิลปากรเป็นอย่างยิ่ง รวมไปถึงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทองให้มีมุมจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ โดย อบต.เจียด ให้การสนับสนุน ก่อนเดินทางกลับคณะผู้ตรวจราชการกรมศิลปากร ได้ถ่ายรูปร่วมกับคณะเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียดไว้เป็นที่ระลึก


กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน   - สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น   - สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม     - หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย   กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา   - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ฯลฯ   นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศติดต่อ : หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่เสียค่าใช้จ่าย


ชื่อวัตถุ พระพิมพ์ ทะเบียน ๒๗/๑๖๑/๒๕๓๒ อายุสมัย ศรีวิชัย วัสดุ(ชนิด) ดินเผา แหล่งที่พบ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดได้จากกรุสวนสราญรมย์ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘และ ๒๓-๒๘พฤศจิกายน ๒๕๐๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ ๕กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง “พระพิมพ์” พระพิมพ์ดินเผาทรงกลม ด้านหน้าตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งสองด้าน พระพิมพ์เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ศาสตราจารย์อัลเฟรด ฟูเช่ (Alfred Foucher) ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาศาสนาพุทธ กล่าวว่า การสร้างพระพิมพ์ในช่วงแรกทำขึ้นเพื่อเป็น “ของที่ระลึกในการเดินทางไปยังสังเวชนียสถาน” อันเป็นสถานที่ ๔ แห่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า หากผู้ใดเดินทางมายังสถานที่ทั้งสี่ด้วยใจศรัทธาจะถึงสุคติโลกสวรรค์ ชาวพุทธจึงนิยมเดินทางไปจาริกแสวงบุญ ณ สถานที่ทั้ง ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ(เมืองลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้(เมืองพุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (เมืองสารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน(เมืองกุสินารา) ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มสถานที่แสวงบุญอีก ๔แห่ง ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ คือ สถานที่ปราบช้างนาฬาคีรี(เมืองราชคฤห์) สถานที่รับบาตรจากพระยาวานร(เมืองเวสาลี) สถานที่แสดงมหาปาฏิหาริย์หรือยมกปฎิหาริย์(เมืองสาวัตถี) และสถานที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ (เมืองสังกัสสะ) ดังนั้น เมื่อพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปยังสังเวชนียสถานแล้ว คงมีผู้คิดทำพระพิมพ์เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการเดินทางมาจาริกแสดงบุญ ในประเทศไทยได้มีการค้นพบพระพิมพ์ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยพบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งพบในพื้นที่ที่เป็นศาสนสถานโดยฝั่งอยู่ในสถูป เช่น ที่เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นถ้ำ เช่น ถ้ำเขาขรมจังหวัดสุราษฎร์-ธานีถ้ำเขานุ้ย จังหวัดตรัง และยังพบพระพิมพ์ที่ชุมชนโบราณตะกัวป่า จังหวัดพังงา อีกด้วย สำหรับพระพิมพ์ชิ้นนี้พบที่กรุสวนสราญรมณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งโบราณคดีควนพุนพิน(ควนสราญรมณ์/ควนท่าข้าม)พระพิมพ์ชิ้นนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ของภาคใต้มีกลุ่มคนที่ศรัทธาในศาสนาพุทธอาศัยอยู่ส่งผลให้มีการศาสนสถานและพระพิมพ์ซึ่งเป็นรูปเคารพของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาที่คงอยู่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง - ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ตะกั่วป่า : ชุมชนโบราณ,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ๓ (๒๕๔๒): ๒๕๓๕ –๒๕๕๖. - บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง (ป่วน อินทุวงศ์).“เรื่องของพระพิมพ์,” เรื่องโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รุ่งเรืองรัตน์, ๒๕๐๓. - พิริยะ ไกรฤกษ์. “พระพิมพ์ : ที่พบในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ๑๐ (๒๕๔๒): ๕๐๔๑ – ๕๐๖๓. - ภานุวัฒน์เอิ้อสามาลย์. ปฏิบัติการขุดกู้พระพิมพ์ดินดิบเขานุ้ย จังหวัดตรัง ปี ๒๕๕๕. (เอกสารยังไม่พิมพ์เผยแพร่).



วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โรงเรียนบ้านอาวอย ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนนักเรียน ๒๑๓ คน คุณครูจำนวน ๒๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี พนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม



ห้องที่ 1 :   วิถีชีวิตสงขลา  จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ  คือ “ โหนด-นา-เล” คือ วิถีชีวิตของชาวสงขลา ซึ่งผูกพันอยู่กับชีวิตประจำวันของคนในแถบนี้ โดยที่ “โหนด” คือ การใช้ประโยชน์จากตาลโตนด “นา” คือ การปลูกข้าว และ “เล” คือ การทำประมงสองทะเล ทั้งทะเลสาบและทะเลฝั่งอ่าวไทย