ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ


          วันอังคารที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. พลตรี ปราชญ์เปรื่อง โชติกเสถียร ราชองครักษ์ในพระองค์ เป็นประธานการประชุมส่วนหน้า (เตรียมการรับเสด็จ) พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายรณภพ เวียงสิมมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นางพูนทิพย์ สร้อยสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง และนางสาวศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมเตรียมการรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปทอดพระเนตรนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และคณะภาคส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้บริหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าไปดูสัตว์น้ำ -- หากถามว่า สัตว์น้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภคในจังหวัดพะเยามีอะไรบ้าง ? คงตอบกันไม่ยาก เพราะในตลาดก็เห็นปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสวาย กุ้งฝอย ฯลฯ แต่เมื่อ 43 ปีก่อนจะมีชนิดสัตว์น้ำจืดเช่นปัจจุบันหรือไม่ ?. ปี 2523 สถานีประมงจังหวัดพะเยาดำเนินการสำรวจราคาและผลผลิตสัตว์น้ำจืดให้แก่ กองบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจของจังหวัดพะเยามีประมาณ 13 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาดุก ปลาหมอ ปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลานิล ปลาไน ปลาไหล ปลาอื่นๆ กุ้งน้ำจืด กุ้งก้ามกรามสด และกุ้งฝอย. การสำรวจขณะนั้น จำแนกชนิด ผลผลิต และมูลค่าในรูปแบบตาราง 3 ช่วงปี แต่ไม่ได้ระบุปีพ.ศ.ไว้ เน้นความสำคัญที่น้ำหนักกับราคา ยกตัวอย่างกุ้งฝอยสด ปริมาณ 10 กิโลกรัม ราคา 10 บาท จากนั้นราคาก็เพิ่มเป็น 14 บาท และปริมาณ 5 กิโลกรัม ราคา 15 บาท หมายความว่าเดิมทีกิโลกรัมละ 1 บาท จนกระทั่งกิโลกรัมละ 3 บาท ท่านใดเคยซื้อหาราคานี้บ้าง ?. ส่วนประเภทสายพันธุ์สัตว์น้ำที่สำรวจได้ ไม่มีความแตกต่างกับปัจจุบันอย่างใด มีพันธุ์ปลามีชื่อเสียงบางชนิด เช่น ปลานิล ปลาสลิด ปลาไน และกุ้งก้ามกราม ฯลฯ เหมือนกัน แสดงว่าจังหวัดพะเยาไม่ขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญของประเทศ หรือมีเครื่องบริโภครสโอชาไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ . อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ทราบจากการสำรวจครั้งนั้นมี 2 ประการคือ  1. ชนิดปลาอื่นๆ ไม่ได้กล่าวว่ามีปลาอะไรบ้าง ? 2. สัตว์น้ำต่างๆ มีการนำเข้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมรวมกับที่เพาะเลี้ยงในจังหวัดประมาณเท่าไหร่?. ซึ่งน่าเสียดายที่เอกสารของสถานีประมงพะเยาปรากฏเพียงเท่านี้ มิฉะนั้นคงทราบสัตว์น้ำจืดนำเข้า ปริมาณ และราคาขนส่ง (ค่าโสหุ้ย) ร่วมด้วย.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/60 เรื่อง การสำรวจข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดพะเยา [ 23 - 25 ม.ค. 2523 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ ..


         พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์  ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร          เทคนิค : สีฝุ่นบนภาพพระบฎ             ศิลปิน : นายธรรมรัตน์  กังวาลก้อง  ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ          กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร          ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร          ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)          การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  ช่วงเวลา ๑๔.๕๒ น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์  ฉลองพระองค์ครุยสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์  สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย  ประทับเหนือพระที่นั่งพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร  ทรงมหาพิชัยมงกุฎ     ฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์           เป็นฉลองพระองค์สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเสด็จเลียบพระนคร พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน  เดิมฉลองพระองค์สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแต่ครั้งสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นออกนามแต่เพียงว่า “ฉลองพระองค์เครื่องต้นอย่างบรมราชาภิเษก” ถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงปรากฏในหมายกำหนดการออกนามฉลองพระองค์สำรับนี้เป็นครั้งแรกว่า “เครื่องพระราชภูษิตาภรณ์อย่างวันบรมราชาภิเษก” เมื่อเสด็จเลียบพระนคร และเปลี่ยนเป็นใช้ว่า “เครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์”  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เมื่อทรงฉลองพระองค์สำรับนี้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกออกนามว่า "ฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์”          ฉลองพระองค์ครุย ของพระมหากษัตริย์มีมาแต่สมัยอยุธยา ทรงใช้สวมทับเป็นฉลองพระองค์ชั้นนอก ใช้เส้นทอง เส้นเงิน ที่เรียกว่า ทองแล่ง เงินแล่งปักเป็นลวดลายบนผ้าโปร่ง ลวดลายที่ปักจะเป็นอย่างใดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานฉลองพระองค์ครุยของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ พบแต่เรียกตามวัสดุที่ใช้ทำเป็นฉลองพระองค์ครุยและวัสดุที่ใช้ปัก เช่น สมัยรัตนโกสินทร์เรียกฉลองพระองค์ครุยของรัชกาลที่ ๑ ว่า ฉลองพระองค์ครุยปักทองแล่ง  ของรัชกาลที่ ๒ เรียกว่า ฉลองพระองค์ครุยพื้นแดงกรองทอง  ของรัชกาลที่ ๓ เรียกว่า ฉลองพระองค์ครุยปักทองแล่ง ของรัชกาลที่ ๖ เรียกว่า ฉลองพระองค์ครุยกรองทองริ้วปัตหล่า  ส่วนฉลองพระองค์ครุยของรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เรียกเพียง ฉลองพระองค์ครุยเท่านั้น  ในแต่ละรัชกาลทรงใช้ฉลองพระองค์ครุยหลายองค์มิได้ทรงใช้ฉลองพระองค์ครุยเพียงองค์เดียว          ฉลองพระองค์ครุยของพระมหากษัตริย์นั้น แต่เดิมไม่ทราบว่าลวดลายเป็นอย่างไร จนเมื่อมีการถ่ายภาพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และโปรดให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ขณะทรงฉลองพระองค์ครุยไว้ แต่ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ยังคงเรียกตามวัสดุและลวดลายที่ปักลงบนฉลองพระองค์ครุย  เช่น ฉลองพระองค์ครุยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสวมใน  พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ปักเป็นรูปเพชราวุธอยู่ในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ทั้งองค์  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ฉลองพระองค์ครุยที่ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงใช้ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง  ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับฉลองพระองค์ครุยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกองค์หนึ่งแต่ลวดลายต่างกัน  ต่อมาโปรดให้สร้างฉลองพระองค์ครุยขึ้นใหม่ ปักลวดลายเป็นรูปจักรกับตรีอยู่ในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ทั้งองค์ วัสดุที่ใช้ปักคือ “ทองแล่ง”    อ้างอิง ---------- คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocab.php?ispage=10 ----------- ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏ  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------


ชื่อเรื่อง                         ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ.                            297/4หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฏก                                                        บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


         พระพิมพ์ดินเผาจำนวน ๒ ชิ้น พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์ โดยการยืนเอียงสะโพกไปทางด้านซ้าย หย่อนพระบาทขวา พระเศียรมีร่อยรอยนูนของอุษณีษะ รายละเอียดบนพระพักตร์ลบเลือน พระกรรณยาว เอียงพระศอเล็กน้อย รอบพระเศียรมีกรอบประภามณฑลเรียบ พระพุทธรูปทรงครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา จีวรเรียบแนบพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นระดับพระอุระ หันเข้าหาลำตัวอยู่ในท่าจับชายจีวร  พระหัตถ์ขวาทอดลง หงายฝ่าพระหัตถ์บริเวณพระโสณี ชายจีวรที่ตกลงมาจากพระกรซ้ายมีลักษณะเป็นแถบหนาและรอยยับย่นเสมือนจริง นอกจากนั้นบริเวณข้อพระบาทมีขอบสบงที่ยาวลงมากว่าชายจีวรเล็กน้อย บริเวณพระบาทมีฐานคล้ายกลีบบัวมารองรับ           รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏข้างต้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปะ เช่น พระพุทธรูปที่ถ้ำอชันตาหมายเลข ๑๙ ประเทศอินเดีย คือ การยืนตริภังค์เอียงสะโพก หย่อนพระบาทข้างหนึ่ง และเอียงพระศอเล็กน้อย พระพุทธรูปครองจีวรเรียบและไม่มีริ้ว สืบมาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ ส่วนการทำพระพุทธรูปยืนครองจีวรเฉียงนิยมในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ           การแสดงปางของพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าแสดงปางประทานพร โดยพิจารณาจากพระหัตถ์ซ้ายที่ยกขึ้นมีจีวรคลุมตามรูปแบบที่นิยมในศิลปะอินเดีย พระหัตถ์ดังกล่าวนิยมจับชายจีวรไม่แสดงปาง ดังนั้นสันนิษฐานว่า พระหัตถ์ขวาที่วางทอดลง และหงายพระหัตถ์แสดงถึงปางประทานพร ซึ่งลักษณะการจับชายจีวรและการแสดงปางในแนวตรงข้ามเช่นนี้สืบมาจากอินเดียเหนือ โดยปรากฏต่อเนื่องมาจนถึงศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ ถือได้ว่าพระพิมพ์ดินเผาซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทองชิ้นนี้มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมกับศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์แสดงปางประทานพร ในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร สะท้อนถึงรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะที่แพร่กระจายในพื้นที่วัฒนธรรมทวารวดี และเขมรก่อนเมืองพระนคร จากรูปแบบพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏสามารถกำหนดอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐. เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพุทธรูปอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.    ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่า จีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการบรรเลงและการแสดง ในกิจกรรมปี่พาทย์เสภา ครั้งที่ ๒๐ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีรายการบรรเลงและการแสดง อาทิ - การบรรเลงเพลงชุดโหมโรงเย็น และโหมโรงเพลงมะลิเลื้อย - การขับเสภา โดย ครูสมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ และรำอาศิรวาทราชสดุดี - การบรรเลง - ขับร้องประกอบการแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง – ขุนแผนพานางวันทองหนี - การบรรเลงปี่พาทย์เสภา โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร / กรมดุริยางค์ทหารบก / กองดุริยางค์ทหารเรือ / กรมประชาสัมพันธ์ / กองดุริยางค์ทหารอากาศ /  / กองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ / กองการสังคีต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว   อำนวยการแสดงโดยนายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ชมฟรี !!! สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑ รับฟังการเสวนา เรื่อง “ศิลปะการแสดงละครพูด ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” วิทยากรโดย ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ (สาขาศิลปะการแสดง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) , ผศ.ดร. อาทรี วณิชตระกูล (สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดำเนินรายการโดย นายบารมี สมาธิปัญญา (นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ)  ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ             สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๓๒๖๔ (ในวันและเวลาราชการ) ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถรับชมการถ่ายทอด Facebook Live ได้ทางเฟสบุ๊ก National Library of Thailand (www.facebook.com/NationalLibraryThailand)


          ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ           ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ นาคะหรือไทยเรียกว่า นาค เป็นเทพในฮินดูปกรณัมปรัมปรา บางครั้งก็ปรากฏในพระพุทธศาสนาด้วย นาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาคเป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าหลายองค์ของศาสนาฮินดูโยงใยกับนาคหรือที่ปรากฏในรูปร่างของงู หรืองูเทพ (งูทิพย์) เช่น พระวิษณุบรรทมบนพญานาคอนันตะหรือเศษะนาคทอดตัวอยู่เหนือแผ่นน้ำ รูปแบบของงูหรือนาคตัวเล็กๆ จำนวนมากที่หัวเรือเช่นนี้ น่าจะหมายถึงนาคที่มีจำนวนนับพันซึ่งเป็นเหล่าบรรดานาคที่กำเนิดจากมหาฤษีกัศยปะและนางกัทรุ นาคเหล่านี้อาศัยอยู่ในโลกบาดาล เรียกว่า นาคโลก แปลว่า โลกของนาคทั้งหลาย ตามปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ           เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 - 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 61 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges


จารึกบันไดขึ้นเขาวัดธรรมามูล ณ วัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท .. วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัด มหานิกาย ตั้งอยู่ในบริเวณ หมู่ที่ ๑ ตำบลธรรมามูล อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ด้วยพบใบเสมาที่ล้อมรอบพระอุโบสถ เป็นใบเสมาคู่ที่สร้างจากหินทรายสีแดง ซึ่งเป็นใบเสมาที่นิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในพระอารามประกอบไปด้วยอาคารที่สำคัญเช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ และพระวิหารน้อยที่อยู่เหนือขึ้นไปบนเขาธรรมามูล และยังเป็นพระอารามที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัดชัยนาท คือ “หลวงพ่อธรรมจักร” อันเป็นพระพุทธรูปยืน ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชัยนาทและจังหวัดข้างเคียง .. ภายในพระอารามแห่งนี้ยังปรากฎโบราณวัตถุที่สำคัญอีกหนึ่งสิ่ง คือ จารึกบันไดขึ้นเขาวัดธรรมามูล จารึกนี้สร้างจากหินอ่อนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดิษฐานอยู่บริเวณซุ้มบันไดชั้นบนด้านข้างพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นจารึกที่บอกเล่าอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ณ พระอารามแห่งนี้ .. โดยจารึกนี้ได้บอกเล่าถึงเรื่องการสร้างบันไดจากพื้นราบริมแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปยังเชิงเขาที่ตั้งพระอุโบสถและพระวิหารของวัดธรรมามูลและซ่อมบันไดเก่าชั้นบนที่ชำรุดด้วย อีกทั้งจารึกยังบอกเล่ารายละเอียดขนาดความกว้างและความยาวของบันไดนี้ไปจวบจนงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมไปถึงรายพระนามและรายนามผู้บริจาคเงินในการก่อสร้างด้วย โดยในจารึกได้มีการระบุวันที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) แห่งบรมราชจักรีวงศ์ .. โดยในจารึกบันไดขึ้นเขาวัดธรรมามูล ประกอบไปด้วยเนื้อความพอสังเขปดังนี้ “จารึกบรรใดขึ้นเขาวัดธรรมามูลนี้ โดยกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ยาว ๒ เส้น ๒ วา ๓ ศอก รวม ๙๓ คั่น จ้างจีนตุ้นก่อเหมาตลอดถึง ซ่อมบรรใดเก่าชั้นบนที่ชำรุดด้วย สิ้นเงิน ๖๒๒ บาท ๒๓ สตางค์ เสร็จเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ศก ๑๓๐ โดยพระกำแพงพลล้านคิดจัดการ ดังมีรายพระนามแลนามผู้บริจาคทรัพย์แจ้งต่อไปนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถพระพันปีหลวง ๒๐๐ บาท พระนางเจ้าพระราชเทภี ๔๐ บาท พระกำแหงพลล้าน ผู้ว่าราชการเมือง ๘๐ บาท หลวงอภัย ข้าหลวงมหาดไทย ๑๐ บาท หลวงเพ็ชร์สงคราม ยกกระบัตรเมือง ๑๐ บาท นายพร้อม ยกกระบัตรเมือง ๕ บาท นายประชุม ผู้ช่วยราชการคลัง ๖ บาท พระศรีสิทธิ์กรรม์ นายอำเภอมะโนรมย์ ๒๐ บาท หลวงสรรค์สิทธิ์กิจ นายอำเภอสรรค์ ๑๐ บาท หลวงวรัยการธารี ผู้พิพากษา ๑๐ บาท นายจันทร์ พธำมรงค์ ๑๐ บาท ๕ สตางค์ นายใหญ่ รองปลัด ๕ บาท ว่าที่ร้อยตรีนารถ ผู้ช่วยบังคับกองตำรวจภูธร ๕ บาท หลวงคลัง ปลัดขวาอำเภอมะโนรมย์ ๖ บาท นายแต้ม ปลัดซ้ายอำเภอมะโนรมย์ ๕ บาท นายน้อย สมุหบาญชีอำเภอมะโนรมย์ ๖ บาท จ่านายสิบโฉม ผู้ช่วยสัสดี ๕ บาท จีนทังหลัง ยี่กงสุราอำเภอสรรพยา ๑๒ บาท นายถนอม ยี่กงสุราอำเภอเมือง ๑๒ บาท นายชม ยี่กงสุราอำเภอพยุหะ ๘ บาท จีนตังกวย พ่อค้าวัดปลัง ๖ บาท ผู้ออกเงินไม่เกินกว่า ๔ บาท คือ ตำบลวัดปลัง ๒๕ ชื่อ ๒๗ บาท ๒๔ สตางค์ ตำบลบ้านกล้วย ๓๗ ชื่อ ๑๔ บาท ๔๐ สตางค์ ตำบลธรรมามูล ๒๖ ชื่อ ๓๗ บาท ๙๗ สตางค์ ตำบลหาดกงสีน ๕ ชื่อ ๕ บาท ตำบลบ้านเชี่ยน ๑๐ ชื่อ ๖ บาท ๕๐ สตางค์ ตำบลท่าไม้ ๕ ชื่อ ๕ บาท ตำบลหาดท่าเสา ๙ ชื่อ ๕ บาท ๗๖ สตางค์ ตำบลคุ้งสำเภา ๗ ชื่อ ๑๕ บาท ตำบลวัดสิงห์ ๑ ชื่อ ๒ บาท ตำบลวัดงิ้ว ๓๘ ชื่อ ๑๐ บาท ๕๑ สตางค์ ตำบลสรรพยา ๑ ชื่อ ๔ บาท ตำบลบ้านจีน ๓ ชื่อ ๙ บาท ตำบลบ้านเชี่ยน ๔ ชื่อ ๕ บาท ตำบลหันคา ๒๐ ชื่อ ๓ บาท ๘๐ สตางค์ รวมทั้งสิ้น ๖๒๒ บาท ๒๓ สตางค์” .. คุณค่าของจารึกนี้ ได้บอกเล่าการร่วมบุญในการสร้างบันไดทางขึ้นเขาวัดธรรมามูลเพื่อเป็นสาธรณสมบัติสืบไปในอนาคต โดยเป็นการร่วมบริจาคทั้งชาวบ้านตำบลต่างๆ ในจังหวัดชัยนาท พ่อค้าคหบดี ข้าราชการขุนนางในระดับจังหวัด ไปจนถึงพระบรมวงศ์ในราชวงศ์จักรีที่ได้ร่วมบริจาค เป็นหลักฐานที่สะท้อนประวัติศาสตร์เมืองชัยนาทในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ นั่นเอง


ปราสาทศีขรภูมิ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ประกอบด้วย ปราสาทอิฐ ๕ องค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีปราสาทประธาน ๑ องค์อยู่ตรงกลาง และมีปราสาทบริวาร ๔ องค์ ล้อมอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน และมีสระน้ำล้อมรอบเว้นทางเข้าด้านหน้าด้านหลัง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และบูรณะปฏิสังขรณ์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓  


ชื่อเรื่อง                     ปํสุกุลจีวรทานานิสํสกถา (ฉลองผ้าบังสุซะกุร)สพ.บ.                       481/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา     ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                16 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 42 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     นิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น ผู้แต่ง                       สามเณรกลั่นประเภทวัสดุ/มีเดี         หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112 ก171นพทสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 หจก.ศิวพรปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               88 หน้า หัวเรื่อง                     กวีนิพนธ์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น กล่าวถึงประวัติของสามเณรกลั่นและกล่าวถึงคราวติดตามพระภิกษุ สุนทรภู่ไปนมัสการพระแท่นดงรัง สถานที่กล่าวถึงในนิราศพระแท่นดงรังและแผนที่แสดงเส้นทางผ่านไปพระแท่นดงรัง


โรงเรียนเหลียญหัว จ.นครนายก (เวลา 13.00 น.) จำนวน 86 คนวันศุกร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะครูและนักเรียน โรงเรียนเหลียนหัว อ.เมือง จ.นครนายก จำนวน ๘๖ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้