ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ


ชื่อเรื่อง : แหล่งเตาล้านนา ผู้แต่ง : กองโบราณคดี กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2533 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย



          นอกเหนือจากภาชนะไม่เคลือบผิว เครื่องเคลือบสีเขียว และเครื่องเคลือบเขียนลายสีดำหรือ สีน้ำตาลใต้เคลือบแล้ว ยังมีเครื่องสังคโลกประเภทอื่น ๆ อีก ได้แก่ “เครื่องเคลือบสีขาว (White Monochrome Wares)” เป็นกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีขาวหรือสีขาวอมฟ้า มักเป็นเครื่องเคลือบจำพวกกระปุกขนาดเล็กและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรม “เครื่องเคลือบสีน้ำตาลถึงสีดำ (Brown / Black Monochrome Wares)” เป็นกลุ่มเครื่องเคลือบที่มีสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ โดยมากมีคุณภาพด้อยกว่าเครื่องเคลือบสีเขียวและเครื่องเคลือบเขียนลายใต้เคลือบ ส่วนใหญ่เป็นภาชนะในกลุ่ม ไห กระปุก ตุ๊กตา เป็นต้น “เครื่องเคลือบสองสี (Incised Brown – and – Pearl Wares)” เป็นเครื่องเคลือบในระยะหลัง พบเฉพาะที่แหล่งเตาบ้านป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย โดยตกแต่งภาชนะด้วยเทคนิคการขูดขีดเป็นลวดลาย แล้วระบายสีด้วยสีขาวสลับกับสีน้ำตาลก่อนนำไปเคลือบ เครื่องเคลือบประเภทนี้มีรูปแบบไม่หลากหลายและพบจำนวนไม่มาก นักวิชาการจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมหรือเป็นภาชนะสำหรับชนชั้นสูง มักทำเป็นภาชนะจำพวกตลับ ผอบ กาน้ำ เป็นต้น เครื่องเคลือบสีขาว เครื่องเคลือบสีน้ำตาล เครื่องเคลือบสองสี ----------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก----------------------------------



ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงธรรม ปีที่พิมพ์ : 2478 หมายเหตุ : -             หนังสือระยะของพระบรมธาตุเล่มนี้ กล่าวถึงพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุสถานในบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ไว้อย่างละเอียด


องค์ความรู้ เรื่อง "กรณีศึกษาโครงการขุดค้นแนวป้อมเมืองเก่าเพชรบุรี" จัดทำข้อมูลโดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี 


เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๑ ๐ พระพิมพ์  เป็นประติมากรรมขนาดเล็ก  ที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสังเวชนียสถาน 4 แห่ง  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนา  และปรินิพพาน ๐ ด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นหนทางที่จะได้รับกุศลผลบุญ  และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา   จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพิมพ์ขึ้น  ๐ ต่อมาการทำพระพิมพ์ได้แพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย  และเมื่อพระพุทธศาสนาได้มีการแตกออกไปหลายคติและหลายนิกาย  คติและรูปแบบของพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยในแต่ละท้องที่ ๐ พระพิมพ์ดินเผาที่พบในล้านนา มักพบในแหล่งโบราณคดีลุ่มน้ำแม่ปิง อายุของพระพิมพ์เหล่านี้มีตั้งแต่สมัยรัฐหริภุญไชยตอนปลาย (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙) เรื่อยมา จนถึงสมัยอาณาจักรล้านนา  --- โปรดติดตามต่อ ตอนที่ ๒ พระพิมพ์ล้านนาที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ --- ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com


องค์ความรู้ เรื่อง "หลักฐานไศวนิกายที่พบในฝั่งอันดามัน" ค้นคว้า/เรียบเรียง โดย น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-ปุคคลบัญญัติ)สพ.บ.                                  132/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/22ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ผ้าเนื่องในพระพุทธศาสนา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย  ผ้าปักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ด้วยไหมสี ประดับด้วยดิ้นและเลื่อมโลหะ  ได้แก่ตอนมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า) ทรงตัดพระเมาลี ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา โดยมีเทวดาเหาะอยู่ด้านบนเชิญเครื่องบริขาร ด้านล่างเป็นภาพนายฉันนะและมากัณฑกะ ต่อด้วยภาพที่ ๒ เป็นตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ถัดไปอีกภาพเป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงลอยถาดเสี่ยงทาย ณ ริมแม่น้ำเนรัญชรา ด้านล่างของภาพจะเป็นอาคารทรงปราสาทที่อยู่ของพญากาฬนาคราช ซึ่งด้านล่างนั้นมีถาดทองของอดีตพุทธเจ้าอยู่ก่อนหน้านั้นได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์  และพระกัสสปะ  ผ้าปักผืนนี้ ปักข้อความระบุว่าทำโดยเจ้าฟองคำ เวียงยอง


ตำราในการทำนาก ทองแดง ทองปรอท ชบ.ส. ๙๗ เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.31/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)