ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. แบบสอนอ่านสังคมศึกษา ชุดเสริมประสบการณ์สังคมศึกษา เล่ม
1 ชั้นประถมปีที่ 1. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2515.
เป็นแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่บอกเล่าเรื่องราวในสังคมที่อาศัยร่วมกันตั้งแต่สังคมครอบครัว สังคมภายนอก การพึ่งพาอาศัยและการประกอบอาชีพที่สุจริต การเป็นคนดีในสังคม ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่ให้อยู่กันอย่างเครือญาติไว้ใจกัน และระมัดระวังในการดำรงชีพด้วยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ขอเชิญรับชม มหาวชิราวุธ โรงเรียนหลวงแห่งแรกของภาคใต้ https://youtu.be/aP-7zi5oisc
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกพลิ้ว”
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เสน่ห์ของเมืองจันท์นอกจากทะเลแล้ว ก็ยังมีน้ำตกที่สวยงาม น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอยู่หลายแห่ง เข้าหน้าฝนแล้ว น้ำตกจะมีน้ำมากเหมาะแก่การเล่นน้ำพักผ่อน ในตอนนี้จะนำเสนอเรื่องของน้ำตกพลิ้ว
ที่มาของชื่อ “พลิ้ว” นั้น มาจากภาษาขอม มีความหมายว่า ทรายหรือหาดทราย สันนิษฐานกันว่าชื่อน้ำตกพลิ้ว คงมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในที่ดินปนทราย ลักษณะเป็นไม้เถา มีดอกเป็นช่อ ผลเล็กคล้ายลูกเกด สีเหลืองอมแดงขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบนี้ (ปัจจุบันอุทยานฯปลูกไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูด้วย)
น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี อยู่ในเทือกเขาสระบาปภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีไปทางจังหวัดตราดตามเส้นทางถนนสุขุมวิท 15 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางตลอดก็จะถึงบริเวณน้ำตก ก่อนถึงตัวน้ำตกจะผ่านที่ทำการอุทยาน ที่มีนิทรรศการให้ความรู้เรื่องป่าและสถานที่ท่องเที่ยวภายในน้ำตก
น้ำตกพลิ้วตกลงมาจากหน้าผาสูง ลดหลั่นลงมา 3 ชั้น มีอ่างศิลาธรรมชาติรองรับเป็นชั้นๆ น้ำที่ตกลงมาถึงอ่างศิลา 20 เมตร จะกระทบแง่หินแตกกระจายเป็นฟองฝอย และน้ำใสมาก ในแอ่งน้ำเป็นที่อาศัยของฝูงปลาจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาฟองหิน สองฟากฝั่งลำธารมีต้นไม้ใหญ่น้อยเขียวขจีน่าชม เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของที่นี่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสหลายคราว ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้ ได้สร้างสิ่งก่อสร้างเป็นอนุสรณ์ คือ อลงกรณ์เจดีย์สร้างในปี พ.ศ. 2419 เป็นเจดีย์ที่มีมอสปกคลุมเขียวขจี ส่วนสถูปพระนางเรือล่มสร้างในปี พ.ศ. 2424 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จมาที่นี และภายหลังที่พระนางสิ้นพระชนม์จากเรือพระประประเทียบล่มแล้ว ภายในสถูปก็ได้บรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯด้วย
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533.
มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 66 - 76.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
พระพิมพ์ คือ รูปเคารพขนาดเล็กในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ โดยวัสดุในการสร้างนั้นมีหลายประเภท เช่น โลหะประเภทต่าง ๆ และสิ่งที่ไม่ใช่โลหะ อันได้แก่ ดิน ซึ่งมีทั้งดินเผา และดินดิบ
คติในการสร้างพระพิมพ์นั้นมีหลากหลาย เช่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นกุศลสำหรับตัวเองหรืออุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ที่สร้างขึ้นเพื่อการสักการบูชาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเฉกเช่น เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล
พระพิมพ์ปางสมาธินี้ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นพระพิมพ์เนื้อผง ที่มีขนาดกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร สูง ๒ เซนติเมตร
พระพิมพ์มีลักษณะเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับในอิริยาบถสมาธิ พระเศียร (หัว) ค่อนข้างกลม พระกรรณ (หู) ยาว พระเกตุมาลา (ส่วนยอดเหนือพระเศียร) แหลม พระอังสา (ไหล่) กว้าง หงายพระหัตถ์ (มือ) วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) ครองจีวรห่มเฉียง ประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบบนฐานบัว พระพิมพ์องค์นี้อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมมุมมน ฐานด้านล่างองค์พระปรากฏรูที่เกิดจากขั้นตอนการนำพระออกจากแม่พิมพ์
ตามประวัติบันทึกไว้ว่า พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท สร้างพระพิมพ์ปางสมาธิเนื้อผง (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ ขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๔๖๓ นักสะสมพระเครื่องพระพิมพ์ เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว” เนื่องด้วยมีการเล่าขานกันต่อมาว่า มีการแจกพระพิมพ์นี้ให้กับผู้ที่มาช่วยทำครัวที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยพระพิมพ์องค์นี้ พระครูแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ สืบไป
ผู้สนใจสามารถเข้าชมพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ได้ที่อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
-----------------------------------------------------
ที่มาภาพ : หนังสือพระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี https://www.facebook.com/1944769395803916/posts/3357825074498334/
“วัดวงศมูลวิหาร” เป็นวัดที่สร้างขึ้นภายในเขตจวนเดิมของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว ได้พระราชทานบ้านหลวงให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๒ พระองค์ ตามลำดับ กระทั่งในปี ๒๓๕๒ พระราชนิเวศน์เดิมจึงได้เป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าชายประยงค์ หรือ “กรมขุนธิเบศรบวร” (ต้นราชสกุล บรรยงกะเสนา ณ อยุธยา) และเป็นเจ้านายผู้สร้างวัดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างก่อนปี ๒๔๐๐ ด้วยมีหลักฐานระบุเรื่องวัดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ว่า “...กรมขุนธิเบศบวรสร้างขึ้นที่หลังวังวัดหนึ่งก็ค้างอยู่ โปรดให้บุรณะปฏิสังขรณ์ต่อไป...” กระทั่งแล้วเสร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏว่ามีการพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี ๒๔๑๘ สันนิษฐานภายในเขตพระอารามมีอาคารประกอบกิจของสงฆ์ เช่น พระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ โรงทึม (โรงสำหรับตั้ง หรือเก็บศพ) รวมถึงพื้นที่เผาศพ ด้วยวัดวงศมูลวิหารถูกจัดเป็นวัดที่ห้ามเผาในฤดูลมตะวันตก (เพื่อไม่ให้กลิ่นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน หรือลอยเข้าพระบรมมหาราชวัง)
.
โดยความพิเศษของวัดวงศมูลวิหารประการหนึ่ง คือในส่วนของอาคารอุโบสถที่หันออกทางด้านแป ดังมีหลักฐานระบุใน “สาส์นสมเด็จ” ถึงเหตุแห่งซ่อมแปลง “...เล่ากันมาว่า เมื่อกรมขุนธิเบศร์บวรสร้างวัดวงศ์มูลก็หันหน้าโบสถ์และพระประธานไปทางตะวันออก เมื่อสร้างวัดแล้วอยู่มา กรมขุนธิเบศร์บวรไม่ทรงสบาย.. เห็นกันว่า เพราะสร้างวัดตั้งพระประธานหันหน้าเข้าไปทางตำหนัก จึงให้ย้ายพระประธานไปตั้งทางด้านแป...” จึงถือเป็นอาคารพิเศษที่หันออกทางด้านยาว ดังปัจจุบันปรากฏประตูทางเข้า ทั้งทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ รวมถึงมีการประดับใบเสมาติดเสา ลักษณะคล้ายพระอุโบสถสกุลช่างวังหน้าอีกด้วย ต่อมาวัดนี้ถูกยุบเลิกไปในปี ๒๔๕๙ โดยกองทัพเรือได้ขอที่ดินของวัดเพื่อจัดสร้างอู่หมายเลข ๒ คงเหลือไว้เพียงอุโบสถหลังเดียวเท่านั้น
.
นอกเหนือจากความพิเศษของวัดวงศ์มูลวิหาร ยังมีสถานที่น่าสนใจในกิจกรรม Museum Travel ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล พิพิธบางลำพู ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถติดตามข่าวสารได้ทางแฟนเพจ Office of National Museums, Thailand ...แล้วพบกันนะครับ...
.
ภาพที่ ๑ ป้ายหน้าโบสถ์วัดวงศมูลวิหาร (โบราณสถาน) ภาพที่ ๒ โบสถ์วัดวงศมูลวิหารด้านทิศตะวันตก ประดับใบเสมาติดเสา ภาพที่ ๓ พระพุทธรูปในซุ้มหินอ่อน อิทธิพลศิลปะตะวันตก ด้านล่างมีแผ่นโลหะระบุศักราช ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ภาพที่ ๔ แนวกำแพงของพระนิเวศน์เดิม ภายในกรมอู่ทหารเรือ
.
เผยแพร่และภาพโดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
“วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”
วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และบรรดาลูกเสือ เนตรนารี บุคลากรทางการลูกเสือ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า คือ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
#วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
#วันวชิราวุธ
#พระมงกุฎเกล้าฯ
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พลิกฟื้นคืนชีวิต วิหารวัดม่อนจำศีล จังหวัดลำปาง” วิทยากรโดย นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 150/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/7ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง วิศวกรรมสาร Engineering Journal ( ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๐)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ สหมิตรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๔๐ หน้า
รายละเอียด
วารสารของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วยบทความเรื่องการจัดสรรเงินลงทุนในโครงการต่างๆ ข่ายโทรคมนาคมทางสายเคเบิลใต้น้ำและตัวแบบการเรียนรู้งาน ในโรงงานอุตสาหกรรม
เลขทะเบียน : นพ.บ.403/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : มาลัยหมื่น--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม