ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดหลังเกิดน้ำท่วมอย่าง ฉับพลันในหลายพื้นที่ ซึ่งกรมศิลปากรได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานใน จังหวัด ปกป้องโบราณสถานสำคัญและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง น้ำไม่ท่วมโบราณสถาน แหล่งมรดกโลกสุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร            สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย รายงานพื้นที่แหล่งมรดกโลก ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนที่ได้รับอิทธิพลพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมเป็นจำนวนมากและเกิดน้ำท่วมขังรอการระบายภายในบริเวณโบราณสถาน ปัจจุบันภาพรวมของสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เนื่องจากปริมาณฝนตกสะสมลดน้อยลง ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยพบว่า มีปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังไม่มากนักรอการระบายออกจากพื้นที่ ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับผลกระทบจากพายุฝน มีต้นไม้บางส่วนล้มทับทำให้โบราณสถานเสียหายเล็กน้อย ได้แก่ แนวกำแพงศิลาแลงวัดพระนอน และป้อมทุ่งเศรษฐีซึ่งมีน้ำฝนที่ท่วมขังรอการระบาย อย่างไรก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง นักท่องเที่ยวยังคงสามารถเดินทางมาเที่ยวชมโบราณสถานภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ได้ตามปกติภาพที่ ๑ - ๓ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยภาพที่ ๔ - ๖ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา           พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ถือว่ามีความเสี่ยงระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อ ประเมินแล้วพบว่าจะมีผลกระทบกับโบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบริเวณภายในและภายนอกเกาะเมืองทั้งหมด ดังเช่น วัดเชิงท่า วัดธรรมาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดไชยวัฒนาราม ป้อมเพชร บ้านโปรตุเกสและบ้านฮอลันดา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ที่ผ่านมา กรมศิลปากรจึงติดตั้งแผงป้องกันน้ำในจุดแรกคือวัดไชยวัฒนาราม เนื่องจาก เป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำสุด และดำเนินการในโบราณสถานอื่นๆ ตามลำดับ          ล่าสุดเมื่อเวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำท้ายเขื่อน ๒,๗๔๙ ลบ.ม. ต่อวินาที ทำให้ขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าสันเขื่อนแล้วในโบราสถานบางแห่ง เช่น วัดไชยวัฒนารามและวัดธรรมาราม ในระดับ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร อย่างไรก็ตามแผงป้องกันน้ำของโบราณสถานทั้งสองแห่งสามารถป้องกันน้ำได้ถึงระดับ ๒ - ๒.๕ เมตร ต่อจากนี้กรมศิลปากรได้มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลฯ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา ฯลฯ ภาพที่  ๗ - ๙ : วัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยาภาพที่ ๑๐ - ๑๑ : วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยาผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่างเสียหายในพื้นที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา          เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการชำรุดของเขื่อนลำเชียงไกรตอนล่าง ทำให้มวลน้ำ จำนวนมากเริ่มไหลทะลักลงมายังพื้นที่ท้ายเขื่อน บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง อำเภอ พิมาย ทำให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับโบราณสถาน และแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลได้เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มเอ่อล้นเข้าในพื้นที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มากขึ้น ทำให้สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ต้องเร่งบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดและส่วนราชการต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยระดมเจ้าหน้าที่ทั้งจากสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หน่วยทหารจากกรมทหารช่างที่ ๒ ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ และจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ ชุดปฎิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ อบต.กระชอนและตำบลชีวาน กว่า ๕๐ ชีวิต เร่งวางแนวกระสอบทรายเพื่อเสริมความสูงของแนวกระสอบทรายบริเวณริมตลิ่งด้านหลังพิพิธภัณฑ์ที่ติดกับแม่น้ำมูล ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า ๑๘๐ เมตร โดยในขณะนี้สามารถวางแนวกระสอบทรายได้ที่ความสูงเหนือจากพื้นตลิ่งโดยเฉลี่ยประมาณ ๖๐ - ๗๐ เซนติเมตร ตลอดแนวความยาวตลิ่ง ทำให้ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำมูลยังอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดของแนวกระสอบทรายประมาณ ๓๐ – ๔๐ เซนติเมตร นอกจากนี้ ยังทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อคอยสูบน้ำที่ซึมเข้ามาตามแนวท่อ และพื้นของสนามที่อยู่ติดริมแม่น้ำมูล อีก ๒ เครื่อง โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงยังมีการเสริมแนวกระสอบทรายเพื่อป้องกันโดยรอบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ บริเวณทางเข้าออก เตรียมการขนย้ายเอกสาร หนังสือ และสิ่งของสำคัญภายในอาคารพิพิธภัณฑ์อีกด้วยภาพที่ ๑๒ - ๑๕ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย          ด้านอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขณะนี้สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เนื่องจาก ช่วง ๒ – ๓ วันที่ผ่านมา สภาพอากาศปลอดโปร่งและไม่มีฝนตก ทำให้ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง แต่อย่างไรก็ดีทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประจำจุดเสี่ยงในบริเวณโดยรอบปราสาทพิมาย เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์หากเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน นอกจากนี้ยังได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมพร้อมและติดตามสถานการณ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง อีกจุดหนึ่งที่สำคัญของพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย คือบริเวณประตูเมืองด้านทิศเหนือ หรือประตูผี ซึ่งติดกับคลองคูเมืองพิมาย และแนวของลำน้ำมูลเก่า ทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้จัดวางแนวกระสอบทรายสูงประมาณ ๖๐ – ๗๐ เซนติเมตร ตลอดความยาวแนวประตูเพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้ามาในพื้นที่ของเมืองพิมาย ซึ่งในปัจจุบันระดับน้ำยังคงอยู่ต่ำกว่าแนวกระสอบทรายที่จุดสูงสุดอยู่มาก          สำหรับโบราณสถานท่านางสระผม และที่ตั้งของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ลำน้ำเค็ม ทางทิศใต้ของประตูชัย ห่างจากตัวปราสาทพิมายประมาณ ๑ กิโลเมตร เหนือขึ้นไปจากจุดที่เป็นที่ตั้งโบราณสถานท่านางสระผม และสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นประตูระบายน้ำ ลำน้ำเค็มของกรมชลประทาน ซึ่งลำน้ำเค็มนี้เป็นลำน้ำสาขาที่เชื่อมต่อกับลำจักราช และแม่น้ำมูล ทำหน้าที่รับน้ำ ที่ระบายมาจากอ่างลำเชียงไกรล่างที่อยู่ตอนบนเป็นระยะ ทำให้ขณะนี้พื้นที่บริเวณนี้มีความเสี่ยงจากระดับน้ำของลำน้ำเค็มที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และบางส่วนของโบราณสถานท่านางสระผมก็เริ่มถูกน้ำท่วมบ้างแล้ว จึงได้เริ่มตั้งแนวกระสอบทรายตลอดแนวอาคารสำนักงาน และบ้านพักเจ้าหน้าที่ รวมถึงเริ่มมีการขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ตลอดจนเอกสารต่างๆ ขึ้นที่สูงเพื่อเป็นการระวังป้องกันน้ำที่อาจจะเอ่อล้นตลิ่งขึ้นมาได้ตลอดเวลา พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ คอยเฝ้าระวังระดับน้ำอยู่ตลอดเวลา



ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.178/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 3ก (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ปพฺพชฺชานิสํสกถา (ปพฺพชฺชานิสํสงฺข)  ชบ.บ.53/1-1ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร) สพ.บ.                                  319/2 ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 58 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                            บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.273/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117  (232-239) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สุรินทชมพู--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ศิลปะทวารวดี จัดเป็นศิลปกรรมต้นอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการ อย่างต่อเนื่อง ณ บริเวณลุ่มน้ําเจ้าพระยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ บรรดาโบราณ วัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ส่วนใหญ่ล้วนสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิหินยาน หากแต่ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานและฮินดูรวมอยู่ด้วย อิทธิพล ของศิลปวัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคใต้ จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะทวารวดี คือ “ต้นกําเนิดพุทธศิลป์ใน สยามประเทศ”           แต่เดิมการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศิลปะทวารวดีมักให้ความสําคัญต่อ กลุ่มพระพุทธรูปเป็นหลัก เนื่องจากมีการค้นพบเป็นจํานวนมาก อีกทั้งยังบ่งบอกถึงการ รับนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในวัฒนธรรมทวารวดีได้เป็นอย่างดี แม้จะมีการค้นพบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และศาสนาฮินดูปะปนอยู่บ้างแต่มีจํานวน ไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจัดแบ่งกลุ่ม และยุคสมัย พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีออกเป็น ๓ กลุ่มตามอายุสมัย ดังนี้               - ศิลปะทวารวดีตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จัด เป็นพระพุทธรูประยะแรกของทวารวดีและพุทธศิลปะที่ปรากฏบนผืนแผ่นดินไทย ได้รับ อิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ - หลังคุปตะ               -  ศิลปะทวารวดีตอนกลาง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นกลุ่มพระพุทธรูปมีลักษณะผสมผสานระหว่างอิทธิพลอินเดียแบบหลังคุปตะ แบบปาละ และอิทธิพลพื้นเมือง จัดเป็นกลุ่มพระพุทธรูปเอกลักษณ์ศิลปกรรมสมัยทวารวดี เป็นแบบ ที่พบมากที่สุด               - ศิลปะทวารวดีตอนปลาย อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ จัดเป็นรุ่นสุดท้าย ของศิลปะทวารวดี ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบาแก๊ง และแบบบาปวน  


          วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก) และวัดบางใหญ่ ในเขต จ.สมุทรสงคราม โดยมีนางศาริสา จินดาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี รายงานความเป็นมา ความคืบหน้าในการบูรณะพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ และให้การต้อนรับ ทั้งนี้ท่านอธิบดีได้ให้แนวทาง ทิศทางในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในการดำเนินงานให้ได้ประโยชน์ประสิทธิภาพ ร่วมกันกับชุมชนทั้งสองฝ่าย



ประเวศ  ศรีพิพัฒน์.  เบนจามิน แฟรงคลิน (เด็กเรียงพิมพ์).  พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2505.         เบน แฟรงคลิน (เด็กเรียงพิมพ์)  มีชื่อเต็มว่า เบนจามิน  แฟรงคลิน   เป็นนักการค้า  นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์  นักการทูต ฯลฯ   ด้วยคยวามมาะจากชีวิตเด็กเรียงพิมพ์ที่ยากจนจึงได้พาตัวเองขึ้นสู่ความเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่มั่งคั่งสร้างสาธารณประโยชน์แก่สังคมอีกมาก            บทที่ 1 ในบอสตันที่หน้าบ้านหนึ่งมีลูกกลมสีน้ำเงินแขวนอยู่และเขียนชื่อโจเซียห์  แฟรงคลิน  แขวนไว้ที่หน้าบาน ตอนนี้เบนจามินอายุ 8 ขวบ แต่เป็นเด็กที่ฉลาดอยากไปเที่ยวบ้านอินเดียแดง แต่แม่ห้ามไว้           บทที่ 2 ครอบครัวเริ่มรู้ว่าเบนชอบอ่านหนังสือและชอบเล่าเรื่องจากหนังสือพ่อเริ่มสนใจในตัวเบน และส่งเบนเรียนหนังสือตั้งความหวังจะให้เบนทำการค้า           บทที่ 3 ครอบครัวผลัดเปลี่ยนกันเล่าเรื่องเล่านิทานให้สมาชิกฟัง เมื่อถึงเบนเล่าเขาก็เล่าอย่างเป้นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวละครที่เขาสมมุติขึ้นมาชื่อว่า เอบีเนเซอร์ ซีเวอร์ ที่อยากให้ยายอยู่ด้วย           บทที่ 4 เป็นเรื่องการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารที่เบนทำผิดพลาดเมื่อตั้งข้อสงสัยว่า”ข้าวใสไป” และเรื่องความกลัวที่เกิดขึ้นในห้องนอนที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพ่ออย่างเคร่งครัด           บทที่ 5 เมื่อพ่อเชิญแขกมาเป็นครู่ที่บ้าน เบนต้องเรียรียนรู้ว่าพ่อค้าต้องมีความซื่อสัตย์       ชาวนาสอนให้มีความขยัน   เศรษฐีสอนให้มัธยัสถ์และรู้จักประหยัดเวลา ให้ตื่นเช้านอนดึก           บทที่ 6 พ่อสีไวโอลินและร้องเพลงให้ลูก ๆ ฟัง           บทที่ 7 แม่เล่าว่าคุณตาปีเตอร์เก่งเรื่องเย็บผ้า  หาปลาวาฬ เป็นครู ทำธุรกิจโรงสี เก่งภาษาอินเดียแดงพูดให้คนอินเดียแดงไม่ฆ่าพวกผิวขาวได้ แล้วก็สุดท้ายคุณตาได้เป็นช่างรังวัด เบนจึงตั้งความฝันว่าจะเก่งเหมือนคุณตา           บทที่ 8 เบนได้เข้าเรียนโรงเรียนผู้ชายล้วน เบนท่องนิทานเรื่องหมากับเงาได้ มีเพื่อสนิทชื่อ นาธาน มอร์ส อายุแก่กว่าเบน 3 ปี ท่องนิทานเรื่อง หมาป่ากับลูกแกะได้ เมื่อวันที่ผู้ว่าราชการแวะมาเยี่ยมเยียนเกิดความโกลาหลเมื่อครูประกาศให้ชื่อนิทานที่เด็กทั้งสองต้องท่องให้ฟังสลับกัน           บทที่ 9 เบนเริ่มเรียนรู้ที่จะเอาชนะชีวิตด้วยการฝึกว่ายน้ำและว่ายเก่งด้วย           บทที่ 10 เบนเริ่มคิดที่จะใช้เครื่องทุนแรงในการว่ายน้ำด้วยการทำพายที่เบาและแข็งแรง และก็ประดิษฐ์สำเร็จและประดิษฐ์สิ่งอื่น ๆ ก็ตามมา           บทที่ 11 เบนเป็นที่รู้จักของนักหนังสือพิมพ์ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลก           บทที่ 12 เบนสร้างเรือบตและนำเรือล่องสู่ในทะเลกลับเข้าฝั่งสำเร็จ           บทที่ 13 เบนเริ่มเรียนการค้าขายด้วยการค้าเทียนไข           บทที่ 14 เบนต้องทำสัญญาจ้างเป็นเด็กเรียงพิมพ์           บทที่ 15 เบนหาหนังสือที่อ่านมาอ่านจนดึก และบอกพี่ชายคือเจมส์ที่เบนไปทำงานด้วยบอกว่าอยากมีเงินซื้ออาหารกินเอง และแบ่งเงินที่เหลือไปซื้อหนังสือมาอ่าน           บทที่ 16 เบนเริ่มเขียนเรื่องตลก โดยสมมุติให้ตนเองเป็นคุณนิ่ง ทำความดี และแอบสอดไว้ที่ประตูโรงพิมพ์ และได้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์คูแรนต์โดยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเรื่องของเบน           บทที่ 17 เจมส์ประกาศให้คุณนายนิ่ง (เรื่องของเบน)  ส่งมาตีพิมพ์อีกบ่อย และประชาชนเรียกร้องให้คุณนายนิ่ง ทำความดีมากขึ้น  และความลับก็ถูกเปิดเผยเจมส์ถึงกับตกตะลึงนึกไม่ถึงว่าคุณนายนิ่ง ทำความดีคือเบนนั่นเอง  เบนจึงนำต้นฉบับที่เขียนมาให้เจมส์ดู           บทที่ 18 เบนเริ่มมทีปัญหากับเจมส์ผู้เป็นพี่ชาย แต่ก็อดทนไม่ยอมไปทำอาชีพกะลาสีและสุดท้ายเขาก็หนีจากเจมส์แล่นเรือไปสู่เมืองใหม่           บทที่ 19 ทุกคนออกตามหาเบนและเบนได้ไปทำงานในโรงพิมพ์ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย และมีชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหาร เสื้อผ้า นาฬิกา           บทที่ 20 หลายปีผ่านไปเบนมีโรงพิมพ์เป็นของตนเอง ได้ทำงานให้กับประเทศชาติและในวันที่เขาเดินทางกลับจากฝรั่งเศส เขาได้รับการต้อนรับด้วยการยิงปืนเสียงดังพร้อมเสียงตีระฆังที่ยิ่งใหญ่ เขาอุทิศตนเพื่อชาติและทรัพย์สินเพื่อการกุศลมากมาย  


ขอเชิญรับชม สถานีรถไฟสงขลา อดีตแห่งความทันสมัย  https://youtu.be/KvRoObXvCQw


องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เรื่อง ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพชรเม็ดงามแห่งกู่พระโกนา จังหวัดร้อยเอ็ด “กู่พระโกนา” โบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในวัดกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณประกอบด้วยปราสาท ๓ องค์ เรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เฉพาะปราสาทประธานองค์กลางที่ปรากฏร่องรอยของมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า มีบรรณาลัยหรือที่เก็บคัมภีร์สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ๑ หลัง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลง มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก กู่พระโกนามีภาพสลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทงดงามน่าชม เช่น ลายบัวแปดกลีบที่อกเลาประตูหลอก ลายก้านขด / ลายก้านต่อดอกที่เสาซุ้มประตูปราสาท เป็นต้น ถึงแม้โบราณสถานแห่งนี้จะพังทลายตามกาลเวลาและมีการซ่อมแซมในสมัยหลัง แต่ยังมีภาพสลักเล่าเรื่องที่งดงามปรากฏอยู่ ได้แก่ “ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือวิษณุอนัตศายินปัทมนาภะ ซึ่งเป็นเรื่องราวการบรรทมของพระวิษณุเหนือพญาอนันตนาคราชเพื่อสร้างโลก ณ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมอันเป็นที่ประทับของพระองค์ โดยตามความเชื่อของฮินดูกล่าวว่า เมื่อโลกถึงกลียุคพระศิวะจะทำลายล้างโลก จากนั้นพระวิษณุ (พระนารายณ์) จะสร้างโลกใหม่โดยกระทำโยคะนิทราจนบังเกิดเป็นดอกบัวทองผุดจากพระนาภี (สะดือ) ภายในดอกบัวมีพระพรหมประทับอยู่และจะทำหน้าที่สร้างโลกต่อไป ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่กู่พระโกนาพบบนทับหลังด้านทิศตะวันออกของปราสาทองค์เหนือ ซึ่งปัจจุบันปราสาทดังกล่าวมีการสร้างอาคารครอบไว้ ทับหลังของปราสาทองค์นี้มีความพิเศษพบได้น้อยมากในดินแดนไทย กล่าวคือ เป็นทับหลังซ้อนกัน ๒ ชิ้น สลักแยกกัน ชิ้นที่ ๑ อยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่ สลักภาพบุคคลที่กึ่งกลางทับหลังซึ่งลบเลือนไปแล้วแต่ยังปรากฏท่อนพวงมาลัย / พวงอุบะ และลายพรรณพฤกษา ชิ้นที่ ๒ อยู่ด้านบนมีขนาดเล็กกว่าสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยลักษณะทับหลังที่มี ๒ ชิ้น ซ้อนกันแบบนี้นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แต่พบว่าทับหลังปราสาทบางองค์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็ยังคงปรากฏอยู่ ดังเช่นปราสาทองค์เหนือที่กู่พระโกณาแห่งนี้ ทับหลังชิ้นที่ ๒ ปราสาทองค์เหนือดังกล่าว สลักภาพพระวิษณุ (พระนารายณ์) ๒ กร พระกรซ้ายถือดอกบัว พระกรขวาหนุนพระเศียรขณะบรรทมตะแคงขวาเหนือพญาอนันตนาคราช ๕ เศียร (ช่างสลักให้เห็นเพียง ๓ เศียร อีก ๒ เศียรถูกบังไว้) ที่พระนาภี (สะดือ) มีก้านดอกบัวผุดออกมาและมีพระพรหมประทับอยู่บนนั้น แต่น่าเสียดายที่ภาพสลักส่วนนี้ชำรุด บริเวณปลายพระบาทของพระวิษณุมีพระลักษมีชายาของพระองค์ประทับอยู่ นอกจากนี้ที่ด้านปลายทั้ง ๒ ข้าง สลักรูปหงส์ข้างละ ๒ ตัวอีกด้วย จากลักษณะของนาคเศียรโล้นและรูปแบบการแต่งกายของพระวิษณุ รวมถึงรูปแบบของทับหลังชิ้นที่ ๑ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะแบบบาปวน ร่วมสมัยกับปราสาทสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก็อกธม จ.สระแก้ว ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ปราสาทกู่พระโกนานี้ นับเป็นทับหลังและภาพสลักที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย อีกทั้งพบเพียงแห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสมบูรณ์งดงามด้วยรูปแบบศิลปะ และยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อครั้งแรกสร้าง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกู่พระโกนาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติสืบไป ผู้เรียบเรียง: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เอกสารอ้างอิง: กษมา เกาไศยานนท์. “รูปเคารพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในประเทศไทย.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่โบราณสถานวัดกู่พระโกนา. อุบลราชธานี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี, ๒๕๔๕. (เอกสารอัดสำเนา) อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.


           วัดสระไตรนุรักษ์ หรือ วัดบ้านนาเวียง อยู่หมู่ที่ ๑ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ประวัติวัดสระไตรนุรักษ์ หรือวัดบ้านนาเวียง สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยพระครูหลักคำ  (ชา) ภิกษุชาวลาว ภายหลังได้บูรณะใน พ.ศ.๒๔๕๐ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ หอไตรหอไตร ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอีสาน-ล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลไทยใหญ่    ดังจะเห็นได้จากชุดหลังคาจั่วซ้อนชั้น และทำชายคาปีกนกซ้อนชั้นยื่นออกทั้งสี่ด้าน มุงกระเบื้องแป้นเกล็ด คล้ายกับชุดหลังคาหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เสาและตัวอาคารสร้างด้วยไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ขนาดกว้าประมาณ ๘.๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร บานประตูแกะสลักลายเครือเถาขดเป็นวงกลมซ้อนต่อเนื่องกันตลอดทั้งสองบาน ตรงกลางอาคารเป็นห้องทึบ ขนาดกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร      ยาวประมาณ ๕.๐๐ เมตร สำหรับเก็บคัมภีร์ มีทางเดินโดยรอบ หอไตรหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดสระไตรนุรักษ์ (วัดนาเวียง) ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนพิเศษ ๑๑๓ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๓ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา ---------------------------------------------- อ้างอิงจาก กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,  ๒๕๓๘. หน้า ๖๗๔ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดยโสธร. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๒.   ---------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02riUfktVs2zKNb2zePx4oD57wVivqfLnL9ExaG7LXMNq4MNWvCEvpy3iw844vJxZQl&id=835594323191791  


          พระพุทธรูปลีลา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแบบนูนสูง แสดงอิริยาบถเดิน โดยพระบาทซ้ายก้าวไปข้างหน้า พระบาทขวายกส้นพระบาทขึ้นเล็กน้อย ยกพระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย นับเป็นการสร้างสรรค์งานประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของศิลปะสุโขทัย เป็นการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ตามคตินิยมเรื่อง “มหาบุรุษลักษณะ” ที่มีความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง คือ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระเนตรเรียวยาวปลายตวัดขึ้น พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยหยักเป็นคลื่น พระวรกายได้สัดส่วนมีความงานตามอุดมคติของสกุลช่างสุโขทัย คือ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก พระหัตถ์เรียวทอดลงเบื้องล่างอย่างได้สัดส่วน ต้นขาเรียวไม่แสดงกล้ามเนื้อ ไม่แสดงข้อต่อใด ๆ จัดเป็นศิลปะสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย https://www.facebook.com/profile/100068946018506/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2