ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
1. ว่าด้วยการรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนาเพื่อทำตนให้พ้นทุกข์ 2. ว่าด้วยวินัยของสงฆ์โดยย่อ
การประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร (Conference)วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
นายขจร มุกมีค่าผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิด โครงการสังคีตวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘การแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน "พาลีสอนน้อง"วันจันทร์ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ปรีชา พงศ์ภมร. ๕๕ กษัตริย์ไทยและพระบรมราชินี ทุกรัชกาล. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
บันดาลสาส์น, ๒๕๑๘.
เป็นหนังสือที่ได้แบ่งเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุคคลไว้ตามยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ในสมัยต่าง ๆ ได้แก่ สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงธนบุรี ซึ่งมีรายชื่อพระมหาษัตริย์รวมทั้งสิ้น ๔๕ พระองค์ บอกเล่าถึงการปกครองประเทศ การทำสงคราม เป็นต้น
จวนเรซิดัง กัมปอร์ต ถือเป็นอาคารเรือนไม้โบราณสำคัญอีกหนึ่งแห่งของจังหวัดตราด ตั้งอยู่ในเขตชุมชน ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยพระปราณีจีนประชา ปลัดฝ่ายจีนเมืองตราด เพื่อใช้เป็นเรือนหอให้กับบุตรสาว นามว่า สุด กับหลวงวรบาทภักดี นายอำเภอเมืองตราดในสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อพระยานรเชษฐวุฒิไวย (จางวางเอี่ยม) เจ้าเมืองตราด เกษียณอายุราชการ จึงได้ย้ายเข้าไปพักอาศัยในบ้านหลังดังกล่าว และเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตราดในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ฝรั่งเศสมีความประสงค์จะยึดบ้านหลังนี้เพื่อใช้เป็นที่ทำการ แต่ภายหลังทราบว่าเป็นบ้านเรือนของราษฎร จึงมิได้เข้ายึดครอง เมื่อพระยานรเชษฐวุฒิไวยมิได้ใช้อยู่อาศัยแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้เข้ามายึดครองและทำการปรับปรุงสร้างระเบียงขึ้นเพิ่มเติม แล้วใช้เป็นที่พำนักของ “เรสิดังต์ เดอเฟอริงสิมง” ข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ซึ่งได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๗ – ๒๔๕๐ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อบ้านหลังนี้ว่า “จวนเรซิดัง” จากนั้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๗๑ จวนเรซิดังถูกใช้เป็นที่พักของผู้ว่าราชการเมืองตราด และในปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด นอกจากจวนเรซิดัง กัมปอร์ต จะมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามและสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยมีลักษณะเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๓ ชั้น มีหลังคาเครื่องไม้ทรงปั้นหยาลดชั้นมุงกระเบื้อง ตัวอาคารชั้นล่างก่ออิฐถือปูน บริเวณด้านหน้าเป็นลานโล่งมีกำแพงก่ออิฐถือปูน บริเวณด้านบนมีพนักและลูกกรงประดับล้อมรอบ มีประตูทางเข้า ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มีบันไดภายนอกอาคารขึ้นสู่ชั้น ๒ ซึ่งเป็นระเบียงก่อนเข้าสู่ห้องด้านใน ตัวอาคารชั้น ๒ และชั้น ๓ มีฝาเป็นไม้กระดานตีทับแนวนอนและหน้าต่างขนาดใหญ่ยาวแบบบานเปิดคู่เพื่อรับลม กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานจวนเรซิดัง กัมปอร์ต ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๘๘ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ งาน ๗๘ ตารางวา --------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี--------------------------------------
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ : 2476
หมายเหตุ : เจ้าจอมมารดาสว่าง รชชกาลที่ 5 พิมพ์ 1,500 เล่ม
อนุโมทนาการฉลองพระอุโบสถวัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 28-29 เมษายน 2476 เล่มนี้ ให้รายละเอียดประวัติ และการบูรณปฏิสังขรณ์วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างละเอียด เรียบเรียงโดยพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวา
เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยห่างจากตัวอำเภอกมลาไสย มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๗ กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำปาว เป็นที่ราบลุ่มสลับกับเนินดินและหนองน้ำธรรมชาติหลายแห่ง มีน้ำขังตลอดปีทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์จากตะกอนแม่น้ำที่พัดพามาทับถม ประกอบกับมีแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก จึงเหมาะสมกับการตั้งชุมชนอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ สมัยโบราณ อีกทั้งมีการคมนาคมที่สะดวก เพราะแม่น้ำลำปาวมีต้นน้ำอยู่บริเวณหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น ลงสู่แม่น้ำชีที่เป็นแนวเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กับ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งเกลือสินเธาว์ ไม้เนื้อแข็งประเภท เต็ง รัง ตะแบก และไม้ยาง ปัจจุบันป่าไม้ในพื้นที่หมดสภาพแล้ว ลักษณะกายภาพของเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ตัวเมืองมีคันดิน ๒ ชั้น กว้างประมาณ ๒๕ - ๓๐ เมตร สูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร ระหว่างคันดินเป็นคูน้ำกว้างประมาณ ๒๐ เมตร ล้อมรอบเมืองที่มีแผนผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนบนของผังเมืองสอบเข้าหากัน ทำให้นักวิชาการบางท่านมองว่าคล้ายรูปใบเสมา โดยเชื่อมโยงกับหลักฐานใบเสมาโบราณที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ ตัวเมืองมีความยาวตามแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร กว้างตามแนวทิศตะวันออก - ทิศตะวันตก ประมาณ ๑,๑๕๐ เมตร ภายในตัวเมืองมีเนินดินสูงอยู่ ๓ เนิน เนินที่ ๑ อยู่ทางตอนเหนือของตัวเมือง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปัจจุบันเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพของชาวบ้าน เนินที่ ๒ อยู่ทางตอนใต้ของเนินดินแห่งแรก มาเล็กน้อย เป็นเนินดินขนาดเล็กรูปร่างคล้ายตัวแอล (L) เนินที่ ๓ เป็นเนินดินขนาดใหญ่อยู่ในแนวกึ่งกลางของตัวเมืองแต่ค่อนมาทางด้านตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านเสมาซึ่งประกอบไปด้วยบ้านเรือน วัดโพธิ์ชัยเสมารามและโรงเรียนประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ภายในตัวเมืองซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมต่างๆ นั้น ยังมีร่องรอยของคูน้ำขุดสลับซับซ้อนอยู่ภายใน โดยเนินดินที่ ๑ ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับพื้นที่ปกติภายในเมืองเกือบ ๑๐ เมตร ที่ชายเนินมีร่องรอยของคูน้ำขุดล้อมรอบเป็นรูปเกือบกลม ส่วนเนินดินที่ ๓ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเสมาก็มีคูน้ำขุดล้อมรอบเช่นเดียวกัน ส่วนพื้นที่ราบบริเวณค่อนมาทางใต้ของตัวเมืองก็มีคูน้ำขุดในทางกว้างไปเชื่อมกับแนวคูเมือง และขุดตัดตรงคูเมืองทางตอนใต้ไปเชื่อมกับแนวคูน้ำที่อยู่ภายในเมือง ส่วนนอกเมืองห่างออกไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๐๐ เมตร มีพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง ๒๕๐ เมตร ยาว ๕๐๐ เมตร ส่วนทางทิศใต้ของเมืองห่างของไปประมาณ ๒๕๐ เมตร มีหนองนกพิดซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติยาวเกือบ ๑,๐๐๐ เมตร ขนานไปกับแนวคูเมือง ด้านนอกตัวเมืองโดยรอบมีหนองน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไป เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๓๔ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศแนวเขตพื้นที่โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ระวางแนวเขตพื้นที่ประมาณ ๙๑๐ ไร่ ๓ งาน ๗๕ ตาราง --------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี --------------------------------------------อ้างอิงจาก :จังหวัดกาฬสินธุ์. แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๓๔. (เอกสารอัดสำเนา)
สำหรับเรื่องราวของชาติพันธุ์มนุษย์ หรือ Human Race นั้น ตามทฤษฎีโดยทั่วไปแล้ว จะมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มชาติพันธุ์หลักด้วยกัน อันได้แก่
- มองโกลอยด์ (Mongoloid)
- คอเคซอยด์ (Caucasoid)
- นิกรอยด์ หรือ เนกริโต (Negriod or Negrito)
สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ ก็คือชาติพันธุ์หลักของผู้คนในเอเชียตะวันออก (จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, มองโกเลีย) เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กลุ่มชนพื้นเมืองในภูมิภาคโพลินีเซียน (Polynesian : อาทิ ตองกา, ฮาวาย, ซามัว) ชาวเมารี (Maori) ในนิวซีแลนด์, ชาวเอสกิโมหรืออินูอิต (Inuit) รวมไปถึงชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือและใต้
-----
ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์คอเคซอยด์ ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์หลักของผู้คนในยุโรป, เอเชียตะวันตก (ตะวันออกกลาง) เอเชียใต้ รวมไปถึงแอฟริกาเหนือ
-----
และกลุ่มชาติพันธุ์นิกรอยด์ ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์หลักของผู้คนในทวีปแอฟริกา, ภูมิภาคเมลานีเซีย (Melanesian : อาทิ ปาปัวนิวกินี, ติมอร์ รวมไปถึงชนพื้นเมืองในมาเลเซีย อินโดนีเซีย) รวมไปถึงชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย (ชาวอะบอริจิน) เป็นต้น
-----
โดยนอกจากกลุ่ม 3 ชาติพันธุ์หลักนี้แล้ว ในบางทฤษฎีอาจจะมีการแบ่งแยกย่อยได้ไปอีก อาทิเช่น ชาวอเมริกานอยด์ (Americanoid) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือและใต้ (หรือที่เรียกว่าชาวอินเดียนแดง) , ชาวกอยซาน (Khoisan) ซึ่งเป็นกลุ่มชนในแอฟริกาใต้ รวมไปถึง ชาวออสเตรลอยด์ (Australoid) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย เป็นต้น
-----
*** Reference
- https://www.quora.com/
- https://en.m.wikipedia.org/wiki/
- https://link.springer.com/.../10.1007%2F978-1-4020-6754-9...
#Histofun
ชื่อเรื่อง เทสนาสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน (สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน)สพ.บ. 110/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5.3 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี – มาปัฏฐานสพ.บ. 148/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี