ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

ถึง ศุกร์, 31 มกราคม 2556 -  1:00จาก ศุกร์, 21 กุมภาพันธ์ 2556 - 10:00 เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น สถานที่ : เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นติดต่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย



ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจโบราณสถาน ในเขตรับผิดชอบ ของสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา  (ปรางค์บ้านปรางค์ จ.นครราชสีมา,ปราสาททอง จ.บุรีรัมย์, เตาสวาย จ.บุรีรัมย์,เตาเจียน จ.บุรีรัมย์, ปราสาทช่างปี่ จ.สุรินทร์,ปราสาทจอมพระ จ.สุรินทร์)



วันที่ ๑๒ - ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติจัดอบรมโครงการเครือข่ายเยาวชนต้นแบบจดหมายเหตุ โดยในช่วงเช้าวันที่ ๑๒ มี.ค. ๖๐ จัดเสวนาในหัวข้อ "รื้อ หรืออนุรักษ์ประภาคารแหลมสิงห์ โดยนางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษีหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีเป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา ช่วงบ่ายนำคณะผู้เข้าอบรมลงพื้นที่ ดูประภาคารแหลมสิงห์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบนเขาแหลมสิงห์ อยู่ในความดูแลของกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ   วันที่ ๑๓ มี.ค. ๖๐ บรรยายประวัติ หน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี อบรมวิธีการเข้าใช้บริการค้นคว้า รวมถึงการจัดเก็บอนุรักษ์เอกสารเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วม โดยนางสาวขวัญวริณญา มายะรังษีเป็นวิทยากรผู้ดำเนินงาน โดยนางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี ได้กล่าวปิดการอบรม พร้อมถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก เมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.  


การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาจากการศึกษาแผ่นพับแสดงรายละเอียดการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งแผ่นพับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ได้นำข้อมูลจากแผ่นพับมารวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (กรมศิลปากร, ม.ป.ป.) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จัดแสดงเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของจังหวัดสงขลาและพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การจัดแสดงเน้นหลักฐานทางโบราณคดี จากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดปัตตานี รวมถึงศิลปวัตถุ งานสถาปัตยกรรม งานประณีตศิลป์ และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับบริจาคจากประชาชนในพื้นที่ การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 14 ห้อง





          ราชวงศ์สุพรรณภูมิได้ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชวงศ์ที่สองต่อจากราชวงศ์อู่ทอง และเป็นราชวงศ์ที่ได้ครองกรุงศรีอยุธยายาวนานที่สุด ชื่อราชวงศ์สุพรรณภูมิมาจากชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพ่องั่ว กษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยาเคยปกครองมาก่อน           หลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ คือ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๖) กล่าวถึงเมือง “สุพรรณภูมิ” อยู่ทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย “....เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว....”           จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท พ.ศ ๑๙๕๑ (ตรงกับรัชสมัยพระเจ้ารามราชาธิราช พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.๑๙๓๘ – ๑๙๕๒) กล่าวถึง “...แม่นางพัวผู้มีคุณ แม่นางผู้ใจบุญ บุญชาวแม่ทั้งหลายพรรณรายศรัทธาอันโมทนาด้วย ธ เจ้าเมือง แต่ปีชวดนักษัตรสัมฤทธิศก ไพสาขวันอาทตย์ตราเอกาทศเกต จึงพระสงฆ์ทั้งหลาย แต่ ธ เจ้าเมืองประดิษฐานพระศรีรัตนธาตุ แห่งกรุงไชยสถานนาม มาตราหนึ่ง แต่ ธ เจ้าเมืองกระทำกุศลมาแต่กระโน้น ในสุพรรณภูมิ ธ ให้ทานเรียบร้อย ธ กระทำกุฎีพิหารในศรีอโยธยา ให้ข้าสองคนแม่ลูก พระสงฆ์สี่ตนแล้ว...” และในชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. ๒๐๖๐) ได้กล่าวถึง วัตติเดชอำมาตย์ (สันนิษฐานว่า คือ ขุนหลวงพ่องั่ว) ครองเมืองสุพรรณภูมิ //เมืองสุพรรณภูมิเป็นเมืองสำคัญที่อยู่ร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยและนครศรีธรรมราช เป็นเมืองใหญ่ที่มีเจ้าเมืองปกครองสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น มีฐานะเป็นเมืองสำคัญคู่กับราชธานีกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต ขุนหลวงพ่องั่วซึ่งครองเมืองสุพรรณภูมิได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ และทรงเป็นต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติในฐานะพระเชษฐาของพระมเหสีพระเจ้าอู่ทอง           ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ.๑๙๕๒ – ๑๙๖๗) ทรงรวมเอาเมืองใหญ๋ทั้งสาม คือ สุพรรณบุรี สุโขทัย และอยุธยา ผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอยุธยาอย่างแท้จริง           พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิเสด็จขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยา มีทั้งสิ้น ๑๓ พระองค์ ดังนี้ ๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่ว) พ.ศ.๑๙๑๓ – ๑๙๓๑ ๒. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ หรือทองลัน พ.ศ.๑๙๓๑ ๓. สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ หรือสมเด็จพระนครินทราธิราช พ.ศ.๑๙๕๒ – ๑๙๖๗ ๔. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ.๑๙๖๗ – ๑๙๘๑ ๕. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๐๓๑ ๖. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ.๒๐๓๑ – ๒๐๓๔ ๗. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ.๒๐๓๔ – ๒๐๗๒ ๘. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร)พ.ศ.๒๐๗๒ – ๒๐๗๖ ๙. สมเด็จพระรัษฏาธิราช พ.ศ.๒๐๗๖ – ๒๐๗๗ ๑๐. สมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ.๒๐๗๗ – ๒๐๘๙ ๑๑. สมเด็จพระยอดฟ้าหรือพระแก้วฟ้า พ.ศ.๒๐๘๙ – ๒๐๙๑ ๑๒. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.๒๐๙๑ – ๒๑๑๑ ๑๓. สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.๒๑๑๑ – ๒๑๑๒          ในสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราชกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๑ ให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยจึงได้ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมา เรียบเรียงโดย นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ข้อมูลอ้างอิง นิภา สังคนาคินทร์. หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. หน้า ๒๕, ๒๖, ๖๒ อนงค์ หนูแป้น. หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. หน้า ๑๔ แสงเทียน ศรัทธาไทย. ราชวงศ์สยาม. หน้า ๑๕๕ – ๑๕๖


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา—บทสวดมนต์                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี  



       กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การค้าขาย


โครงการอบรมจัดตั้งเป็นสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ