ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,551 รายการ
ปราสาทช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีชาลาอยู่ด้านหน้าเชื่อมต่อกับซุ้มประตู บรรณาลัยตั้งหันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน ตั้งอยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ กำแพงแก้วล้อมรอบปราสาทประธานและบรรณาลัย มีซุ้มประตูทางเข้าตั้งอยู่กึ่งกลางกำแพงแก้วด้านตะวันออก สระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 สระ ตั้งอยู่นอกกำแพงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการขุดค้นปราสาทช่างปี่ พบหลักฐานสำคัญเช่น ประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเต-ศวรสี่กร ประทับยืนที่ซุ้มประตู ประติมากรรมนี้สันนิษฐานว่า เป็นพระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา และบริวารทั้งสอง คือ พระโพธิสัตว์สูริยไวโรจนจันทรโรจิ และพระโพธิสัตว์จันทรไวโรจนโรหิณีศะ ภายในปราสาทประธาน และภายในบรรณาลัย พบว่ามีการประดิษฐานประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร ประทับนั่ง เป็นต้น
สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ จัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ของหอสมุดแห่งชาติ โดยดำเนินการจัดนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ในด้านขนบธรรมเนียมการบริโภคภายในราชสำนัก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ จนไปถึงเจ้านายและสตรีฝ่ายใน นำเสนอผ่านหนังสือและตำราต่าง ๆ ของหอสมุดแห่งชาติ โดยมีเนื้อหากล่าวถึงอาหารที่เกิดโดยชาววังได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และได้เริ่มมีการบันทึกเป็นตำราทำอาหารเกิดการตีพิมพ์ตำราอาหารขึ้น
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” ระหว่างวันที่ ๑๖ พฤษภาคม - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เปิดวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. วันเสาร์ อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ปิดวันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี ณ ห้องวชิรญาณ ๒ และ ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมรายการ "นิทานก่อนนอน" ที่จะนำนิทานสนุกๆ สอดแทรกทั้งความรู้ มาแบ่งปันและเล่าให้ฟังโดยคุณตุ๊บปอง ในทุกวันเสาร์ เวลา 4 โมงเย็น นิทานเรื่องที่ 1 นำเสนอนิทาน เรื่อง "กระต่ายตื่นตูม" เรื่องโดย ตุ๊บปอง (เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป) ภาพโดย นฤมล ตนะวรรณสมบัติ ผู้สนใจสามารถรับชมได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก National Library of Thailand หรือรับชมผ่านช่องทาง YouTube ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://youtu.be/R3aoaRoJdoo
ชื่อเรื่อง นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสูตร) สพ.บ. 479/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 39 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม )เล่ม 2ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่ 894.23 ป523นสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2505ลักษณะวัสดุ 354 หน้า หัวเรื่อง นิทาน -- อินเดีย นิทาน – อิหร่าน วรรณคดีสันสกฤตภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นนทุกปกรณัม เป็นหนังสือนิทาน ที่นำเนื้อเรื่องมาจากประเทศอินเดีย และที่มาก็คือปัฐจตันตระแทบทั้งสิ้น ส่วนปัจตันตระนั้นก็มาจากชาดกโดยมากชาดกเป็นหนังสือรุ่นเก่ากว่า และที่เกิดปัญจตันตระขึ้นนั้นก็เพราะผู้เรียบเรียงเห็นประโยชน์ในการสั่งสอนโดยวิธีเล่านิทานตามแบบชาดก รวมทั้งสิ้น 53 เรื่อง และประเภทที่ 2 คือ หิโตปเทศวัตุปกรณัมเป็นนิทานประเภทร้อยแก้ว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี จ.ชลบุรี (เวลา 09.00 น.) จำนวน 44 คนวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เข ๓ จำนวน ๔๔ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
โรงเรียนวัดหนองทองทราย ชั้นอนุบาล 2 - ป.3 จ.ระยอง (เวลา 10.00-11.00 น.) จำนวน 86 คน
กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. และขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่กรมศิลปากรขอพระราชทานไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยจะมีพิธีสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทาน ในวันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. และการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ขับพิเภก - พิเภกสวามิภักดิ์ - ถอนต้นรัง - ยกรบ ในเวลา ๑๙.๐๐ น. เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย
วัดมงคลนิมิตร ได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วัดมงคลนิมิตรเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๓๙๒ มีพระภูเก็ต (แก้ว) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตเป็นผู้สร้าง โดยสร้างขึ้นเป็นวัดแรกพร้อมกับการสร้างเมืองภูเก็ต ปรากฏหลักฐานในใบบอกของพระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (ลำดวน) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔
กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร (ชั้น ๓) เลขที่ ๘๑ /๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ หรือบัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี ๐ ๒ ๗ ๐ ๓ ๓ ๔ ๔ ๔ ๐ สาขาถนนข้าวสาร ชื่อบัญชี "การกุศลกรมศิลปากร" ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงวัดมงคลนิมิตรต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๓๐๕๕ , ๓๐๖๓
ชื่อเรื่อง ศาลายาฉายานิทรรศน์ผู้แต่ง อภิลักษณ์ เกษมผลกูลประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก เลขหมู่ 959.3สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ หจก สามลดาปีที่พิมพ์ 2559ลักษณะวัสดุ 306 หน้า หัวเรื่อง ประวัติศาสตร์--ศาลายาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง 20 ปีแห่งการสถาปนาอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พุทธศักราช 2539-2559
พรรณไม้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย ถูกพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ บริเวณเนินปราสาท โดยพบร่วมกันกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร โดยเนื้อความในศิลาจารึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย คำสรรเสริญยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหง และอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไป นับว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงเห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยในอดีต โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) นอกจากเนื้อความที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังปรากฏชื่อของพรรณไม้ในสมัยสุโขทัยอีกด้วย ดังนี้ หมากส้ม หมายถึง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...” หมากหวาน หมายถึง ผลไม้ที่มีรสหวาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...” ข้าว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ - ๑๙ ความว่า “…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...” หมาก ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...” พลู ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...” มะพร้าว เป็นพืชเขตร้อนที่ให้ประโยชน์แก่สัตว์และมนุษย์แทบทุกส่วน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ ความว่า “…เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีหมากพร้าว...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...” หมากลาง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเป็นพืชชนิดใด โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึง ขนุน เป็นคำไทยใหญ่ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียใต้ บริเวณประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ แต่นายพิทูร มลิวัลย์สันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งจำพวกปาล์ม ที่พบอยู่ในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายมะพร้าว ผลมีรสหวานโดยเฉพาะส่วนกาบ ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ – ๓ ความว่า “…ป่าลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...” มะม่วง เป็นพรรณพืชที่เกิดในเขตร้อน นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วง…” ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...” มะขาม เป็นไม้เขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ในแถบประเทศซูดาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีป่าขาม ดูงามดังแกล้...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...” ต้นตาล ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ - ๑๓ ความว่า “..พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหินตั้งหว่าง กลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอก แปดวัน...” และด้านที่ ๓ บรรทัด ๒๔ - ๒๕ ความว่า “…มีในถ้ำรัตนธาร ในกลางป่าตาลมีศาลาสองอัน...” ปัจจุบัน ต้นไม้ที่ปรากฏภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้นไม้ที่ปลูกขึ้นในช่วงที่มีการดำเนินการพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานของเมืองสุโขทัยไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรม โดยอ้างอิงจากพรรณไม้ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย.อ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๔๗). ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จากhttp://164.115.27.97/.../fc038bc8986859d9600f3ba9795d9a22... ประโชติ สังขนุกิจ. (๒๕๖๗). บันทึกสุโขทัย ในวัยสนธยา. พิษณุโลก: โฟกัสมาสเตอร์พริ้นท์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47
วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ในพิธีถวายเครื่องสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม ทั้งนี้นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยร่วมต้อนรับ